เศรษฐกิจเวียดนามไตรมาส 1/67 ชะลอตัวที่ 5.66%YoY คาดทั้งปี 67 เติบโต 5.8-6.0% หนุนโดยการส่งออก

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

เศรษฐกิจเวียดนามไตรมาส 1/67 ชะลอตัวที่ 5.66%YoY คาดทั้งปี 67 เติบโต 5.8-6.0% หนุนโดยการส่งออก

  • เศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาส 1/2567 เติบโตชะลอตัวลง จากการชะลอตัวของการลงทุนในภาพรวม
  • การส่งออกยังเป็นปัจจัยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาสที่ 1/2567 โดยมูลค่าการส่งออกเติบโตเร่งขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 2%YoY ในไตรมาสที่ 1/2567
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ทั้งปี 2567 เศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มเติบโตอยู่ที่ระดับ 8-6.0% จากแรงหนุนของการส่งออก

ที่มา : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/Vietnam-GDP-EBR4050-29-03-2024.aspx

เวียดนามเรียกร้องให้สถานะ ‘เศรษฐกิจแบบตลาด’

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่าเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. นายบุ่ย แทงห์ เซิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเวียดนาม และนายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

โดยทางรัฐมนตรีต่างประเทศของเวียดนาม กล่าวในที่ประชุมว่าเวียดนามเรียกร้องให้สหรัฐฯ กำหนดสถานะเวียดนามว่าเป็น ‘เศรษฐกิจแบบตลาด’ ในขณะที่ว่าหุ้นส่วนชาวอเมริกัรพูดถึงเวียดนามว่ามีความเข้มแข็ง อิสระ ยืดหยุ่นและเป็นประโยชน์ต่อสหรัฐฯ และหวังว่าทั้งสองประเทศจะมีความสัมพันธ์ดำเนินไปได้ด้วยดีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเวียดนามเสนอศักยภาพของอุตสาหสาหกรรมที่ได้รับความสนใจจากสหรัฐฯ ได้แก่ เซมิคอนดักเตอร์ แร่ธาตุที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก และปัญญาประดิษฐ์ โดยความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยยกระดับของเวียดนามในตำแหน่งห่วงโซ่คุณค่าระดับโลกและเป็นประโยชน์ต่อสหรัฐฯ อีกด้วย

นอกจากนี้ การลาออกของนายโว วัน เทืองที่ละเมิดและข้อบกพร่องของพรรค ไม่มีผลกระทบต่อนโยบายต่างประเทศและการพัฒนาเศรษฐกิจ

ที่มา : https://borneobulletin.com.bn/vietnam-appeals-for-market-economy-status/

คณะผู้แทนเมียนมาเข้าร่วมการประชุม XIII International Forum ATOMEXPO 2024

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม คณะผู้แทนเมียนมา นำโดยดร.เมียว เต็ง จ่อ รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสหภาพ พร้อมด้วยอู ธิต ลิน โอห์น เอกอัครราชทูตเมียนมาร์ประจำสหพันธรัฐรัสเซีย เข้าร่วมการประชุมนานาชาติครั้งที่ 13 ATOMEXPO 2024 ที่เมืองโซชี สหพันธรัฐรัสเซีย โดยรัฐมนตรีและพรรคสหภาพแรงงานเข้าร่วมการเสวนาโต๊ะกลมเรื่อง Advanced Training for Generation IV NPP Personnel: Driver for Sustainable Development ในเช้าวันเดียวกัน จากนั้น ได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์การฝึกอบรมและการทดลองหุ่นยนต์ Sirius ของ Proryv และสังเกตหุ่นยนต์คุณภาพสูง หุ่นยนต์หลายบทบาทและหุ่นยนต์ขนส่ง และอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับการผลิตแบบไร้คนขับ พร้อมโมดูลที่เปลี่ยนได้ซึ่งเครื่องจักรสามารถให้บริการได้ อย่างไรก็ดี ในช่วงบ่ายรัฐมนตรีสหภาพแรงงานร่วมเสวนาในหัวข้อโครงสร้างพื้นฐานนิวเคลียร์: ตัวขับเคลื่อนโครงการนิวเคลียร์ ซึ่งได้เน้นย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของพลังงานนิวเคลียร์ในฐานะทรัพยากรที่สำคัญสำหรับพลังงานที่มีแนวโน้ม สะอาด และยั่งยืนในการกำหนดอนาคต การใช้พลังงานนิวเคลียร์อย่างสันติซึ่งสามารถรับประกันการส่งเสริมชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคมสำหรับสาธารณะในระยะยาว ข้อผูกพันระยะยาวสำหรับโครงการปรมาณูที่ปลอดภัยและยั่งยืน การสนับสนุนหน่วยงานในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนิวเคลียร์ในเมียนมา ความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแลสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม และนิวเคลียร์ของรัฐบาลกลาง และการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของเมียนมาในอาเซียน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-delegation-attends-2nd-day-of-xiii-international-forum-atomexpo-2024/

ปัญหาเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ฉุดรั้งอันดับความสุขของ สปป.ลาว ปี 67

สหประชาชาติรายงานความสุขทั่วโลกประจำปี 2567 พบว่า อันดับความสุขของ สปป.ลาว ปรับลดลง 5 อันดับ มาอยู่อันดับที่ 94 จากกว่า 140 ประเทศทั่วโลก การลดลงนี้สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดย สปป.ลาว ได้คะแนน 5.13 จากคะแนนเต็ม 10 ขณะที่ฟินแลนด์ซึ่งเป็นประเทศที่มีความสุขที่สุดได้คะแนน 7.74 และอัฟกานิสถานซึ่งเป็นประเทศที่มีความสุขน้อยที่สุด 1.72 คะแนน ทั้งนี้ ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีส่วนสำคัญที่ทำให้อันดับความสุขของ สปป.ลาว ในปีนี้ปรับลดลง โดยมีอัตราเงินเฟ้อเป็นปัญหาสำคัญ การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อมีสาเหตุมาจากค่าเงินกีบที่อ่อนค่าลง ผลผลิตในประเทศลดลง มูลค่าการนำเข้าสูง และความท้าทายในการควบคุมราคาสินค้าในตลาดท้องถิ่น

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/03/26/laos-drops-in-global-happiness-rankings-economic-factors-play-key-role/

สหภาพยุโรปมอบเงิน 1.5 ล้านยูโร ส่งเสริมการเกษตรอัจฉริยะใน สปป.ลาว

สหภาพยุโรป (EU) อนุมัติเงิน 1.5 ล้านยูโร ให้แก่ สปป.ลาว สำหรับดำเนินโครงการส่งเสริมการเกษตรอัจฉริยะเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มสตรีและเกษตรกรเยาวชนที่เปราะบาง สำหรับโครงการนี้จะดำเนินการใน 15 หมู่บ้านใน 7 เมือง ในแขวงสะหวันนะเขต และแขวงหลวงพระบาง คาดว่าจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อครอบครัวเกษตรกรรมจำนวน 300,000 ครอบครัว และอื่นๆ อีกกว่า 100,000 คน ผ่านการให้เทคนิค ความรู้ และทักษะที่เกี่ยวข้องกับ Climate Smart Agriculture (CSA) นอกจากนี้ ยังคาดว่าจะช่วยเพิ่มผลผลิต ปรับปรึงความเป็นอยู่ โภชนาการ และความมั่นคงทางอาหารในท้องถิ่นของ สปป.ลาว อีกด้วย

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_63_EU_y24.php

ระบบลงทะเบียนธุรกิจออนไลน์ของกัมพูชาได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี

ระบบ Single Portal หรือระบบลงทะเบียนธุรกิจออนไลน์ ดำเนินการโดยกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง (MEF) ของกัมพูชา ซึ่งกระทรวงได้รายงานถึงปริมาณการลงทะเบียนธุรกิจ (OBR) ที่มูลค่าการลงทุนรวมกว่า 3.76 พันล้านดอลลาร์ในปี 2023 เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในปีที่แล้วมีการลงทะเบียนธุรกิจผ่านระบบ Single Portal จำนวนทั้งสิ้น 23,454 แห่ง เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 467 เมื่อเทียบกับจำนวน 4,139 แห่ง ที่ลงทะเบียนในปี 2022 สำหรับมูลค่าการลงทุนตามประเภทธุรกิจ พบว่า ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบริการที่พักอาศัยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 21.46 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด รองลงมาคือ ธุรกิจที่ปรึกษาบริหารจัดการที่ร้อยละ 7.58 ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ร้อยละ 7.55 ธุรกิจผลิตยางพาราร้อยละ 7.20 ธุรกิจผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปร้อยละ 6.01 และธุรกิจอื่นๆ ร้อยละ 50.20

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501462968/single-portal-registers-3-76-billion-investments/

DCTS ดันส่งออกกัมพูชาไปยังสหภาราชอาณาจักรโตกว่า 25%

กัมพูชาส่งออกไปยังสหราชอาณาจักร (UK) เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 25.1 คิดเป็นมูลค่ากว่า 136 ล้านดอลลาร์ สำหรับในช่วงสองเดือนแรกของปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับแรงหนุนจากโครงการ Developing Countries Trading Scheme (DCTS) ฉบับใหม่ของสหราชอาณาจักร ซึ่งอนุญาตให้ส่งออกสินค้าปลอดภาษีสำหรับสินค้าเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 99 ของสินค้าทั้งหมด) โดยเฉพาะสินค้าส่งออกสำคัญของกัมพูชาอย่างสินค้าสิ่งทอ สินค้าเพื่อการเดินทาง และสินค้าที่ทำจากเครื่องหนัง ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ Cambodia Development Centre ได้รายงานไว้ ถึงการที่กัมพูชายังคงได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับการส่งออกไปยังสหราชอาณาจักรภายใต้ DCTS แม้ว่าจะพ้นจากสถานะประเทศด้อยพัฒนา (LDC) แล้วก็ตาม สำหรับโครงการพิเศษภายใต้ DCTS Enhanced Preferences สำหรับประเทศที่มีรายได้น้อยและประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางที่มีระบบเศรษฐกิจเปราะบาง ซึ่งมีการกำหนดภาษีเป็นศูนย์สำหรับสินค้ามากกว่าร้อยละ 85 หรือ DCTS Standard Preferences สำหรับประเทศรายได้น้อยและประเทศรายได้น้อยถึงปานกลาง ที่มีการยกเลิกหรือลดภาษีศุลกากรบางส่วนหรือทั้งหมดสำหรับสินค้ามากกว่าร้อยละ 80 จากสหราชอาณาจักร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501462930/dcts-boosts-cambodias-exports-to-uk-by-25/