สปป.ลาว-UN เสริมสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาประเทศ

องค์การสหประชาชาติ (UN) ยืนยันว่าจะยังคงให้การสนับสนุนรัฐบาลสปป.ลาวภายใต้กรอบความร่วมมือเพื่อให้รัฐบาลสามารถออกแบบยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในการพัฒนาสปป.ลาวได้ยังยั่งยืน โดยกรอบความร่วมมือสร้างขึ้นจากการนำความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญทั้งหมดมาพิจารณา รวมถึงระบบการพัฒนาของสหประชาชาติที่จะตอบสนองต่อลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ระดับชาติที่พูดถึงความต้องการและลำดับความสำคัญในการพัฒนาและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทั้งนี้ในที่ประชุมยังได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเพิ่มความเป็นเจ้าของของรัฐบาลในการออกแบบกรอบความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ที่ชัดเจนซึ่งตอบสนองต่อลำดับความสำคัญของประเทศและวางรากฐานสำหรับด้านการศึกษาโดยยึดรูปของประเทศที่พัฒนาแล้ว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos44.php

กัมพูชาส่งออกเสื้อผ้าไปยัง EAEU ลดลงอย่างมากในปี 2020

การส่งออกเสื้อผ้าของกัมพูชาไปยัง EAEU (สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย) ลดลงกว่าร้อยละ 36.6 เมื่อเทียบเป็นรายปีในระหว่างปี 2019 ตามรายงานของ Fibre2Fashion Pvt Ltd. ผู้ดำเนินธุรกิจแบบ B2B ขับเคลื่อนตลาด โดย EAEU ประกอบด้วย 5 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย เบลารุส คาซัคสถาน อาร์เมเนีย และ คีร์กีซสถาน ซึ่งการลดลงของภาคการส่งออกไปยัง EAEU เกิดขึ้นระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายนของปี 2020 โดยปริมาณการส่งออกเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นในเดือนกรกฎาคม Fibre2Fashion กล่าวว่าอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มถือเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมการส่งออกของกัมพูชา ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของการส่งออกสินค้าทั้งหมดของประเทศ โดยในปี 2019 กัมพูชาส่งออกไปยัง EAEU เกือบ 180 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50820107/garment-exports-to-eaeu-drop-significantly-in-2020/

กัมพูชาส่งออกข้าวสารลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

ปริมาณการส่งออกข้าวสารของกัมพูชาในช่วง 2 เดือนแรกของปี มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 64.53 ล้านดอลลาร์ รวม 76,222 ตัน ตามรายงานของสมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) โดยปริมาณลดลงร้อยละ 44.16 ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ซึ่งการลดลงส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการขาดตู้คอนเทนเนอร์และต้นทุนการขนส่งทางทะเลที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อัตราดังกล่าวเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 500 จากปี 2019 เมื่อเทียบกับตัวเลขของเดือนมกราคม โดยการส่งออกข้าวสารในเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย รายงานระบุเพิ่มเติมว่าการส่งออกข้าวสารในเดือนมกราคมมีจำนวน 34,273 ตัน ส่งไปยัง 28 ปลายทาง ในเดือนกุมภาพันธ์การส่งออกข้าวสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 สู่ 41,949 ตัน ส่งออกไปยัง 35 ประเทศ ซึ่งจีนรวมทั้งฮ่องกงและมาเก๊ายังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการส่งออกข้าวของกัมพูชา โดยตลาดดังกล่าวมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 49.37 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับถัดไปคือสหภาพยุโรปโดยมีส่วนแบ่งอยู่ที่ร้อยละ 24.91 คิดเป็น 18,996 ตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50820068/milled-rice-exports-decline-year-on-year/

ต่างประเทศ – อาเซียนจี้พม่าเปิดคุย-หยุดโหด

วันที่ 2 มี.ค. เอเอฟพีรายงานว่า กลุ่มประเทศอาเซียนมีแนวโน้มจะกดดันคณะรัฐประหารของเมียนมาให้หยุดปราบปรามผู้ประท้วงอย่างนองเลือด หลังจากการปราบปรามเมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 ก.พ. มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 18 ราย หลังจากสหประชาชาติประณาม อาเซียนถูกวิพากษ์วิจารณ์มาอย่างยาวนานกรณีนิ่งเฉยไม่ทำอะไรในยามเผชิญวิกฤต เพราะยึดติดกับหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของสมาชิก กระทั่งสิงคโปร์ ชาติที่ลงทุนใน เมียนมามากที่สุดเริ่มแสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับการใช้กำลัง นายวิเวียน บาลากริชนัน รมว.การต่างประเทศสิงคโปร์กล่าวต่อรัฐสภาว่าการใช้กำลังอย่างรุนแรงต่อพลเรือนดังกล่าวน่าตกใจอย่างยิ่ง เราเรียกร้องให้ทหารเมียนมาอดทนอดกลั้นอย่างที่สุด ขณะเดียวกันกระตุ้นให้เมียนมาหวนสู่เส้นทางการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย สำหรับเวทีการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการวันที่ 2 มี.ค. แหล่งข่าวจากนักการทูตเผยว่า รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนหลายคนมีแนวโน้มที่จะขอให้ทหารเมียนมาหยุดความรุนแรง หยุดทำร้ายประชาชน โดยอาเซียนจะขอให้กองทัพพูดคุยกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมถึงพรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตยหรือเอ็นแอลดีของนางออง ซาน ซู จี ผู้นำเมียนมาด้วย

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/newspaper/newspaper-inside-pages/news_6059441