สปป.ลาว-เวียดนามปฏิญาณกระชับความสัมพันธ์ความเป็นปึกแผ่นพิเศษ

ประธานาธิบดีสปป.ลาว Mr.Thongloun Sisoulith ได้ให้คำมั่นที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับ Mr.Nguyen Xuan Phuc ประธานาธิบดีแห่งรัฐที่ได้รับการเลือกตั้งใหม่ของเวียดนามเพื่อยกระดับความสัมพันธ์การร่วมมือและความเป็นปึกแผ่นพิเศษระหว่างทั้งสองประเทศให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น หลายปีมานี้เวียดนามได้ให้การสนับสนุนต่อสปป.ลาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งความช่วยเหลือของเวียดนามในการฟื้นฟูสปป.ลาวจากภัยพิบัติ รวมถึงการช่วยสปป.ลาวในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด -19 ท่ามกลางวิกฤตการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศและโลก เวียดนามถือเป็นประเทศหนึ่งที่สปป.ลาวมีการพึ่งพาทั้งด้านการค้าและการลงทุน ซึ่งเวียดนามเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่อันดับสามในสปป.ลาวรองจากจีนและไทยในปี 2563 มูลค่าลงทุนจากเวียดนามทั้งหมด 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้านการค้ามีมูลค่าอยู่ที่ 815 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_LaosViet_68.php

กัมพูชาเรียกร้องจีนสนับสนุนการนำเข้าข้าวสารเพิ่ม

กระทรวงพาณิชย์ (MoC) กล่าวว่ามีแผนที่จะเจรจาปัญหากับคู่ค้าของจีนในปีนี้ สำหรับการขอความสนับสนุนให้จีนเพิ่มโควต้าการนำเข้าข้าวสารจากกัมพูชาเป็น 500,000 ตัน ซึ่งกำหนดเดิมจีนกำหนดโควต้าการนำเข้าข้าวสารจากกัมพูชาไว้ที่ 400,000 ตัน โดยจีนถือเป็นตลาดส่งออกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา ซึ่งการส่งออกข้าวของกัมพูชาในไตรมาสแรกของปีนี้สูงถึง 153,688 ตัน สร้างรายได้ 109.73 ล้านดอลลาร์ ตัวเลขรายงานจาก CRF แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์การส่งออกข้าวในปี 2021 อยู่ในทิศทางที่ค่อย ๆ ฟื้นตัว ส่งผลให้เดือนมีนาคมปริมาณการส่งออกข้าวสารของกัมพูชาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 84.66 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50834638/cambodia-wants-china-to-boost-milled-rice-imports/

กัมพูชาส่งออกข้าวไตรมาส 1 สร้างรายได้กว่า 110 ล้านดอลลาร์

กัมพูชาส่งออกข้าวสารในไตรมาสแรกของปีนี้สูงถึง 153,688 ตัน สร้างรายได้รวมกว่า 109.73 ล้านดอลลาร์ ซึ่งตัวเลขรายงานโดยสมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มการส่งออกข้าวในเดือนมีนาคม 2021 กำลังค่อยๆฟื้นตัว โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นถึง 84.66 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นจาก 41,949 ตัน ในเดือนกุมภาพันธ์ สู่ 77,466 ตัน ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งไตรมาสแรกของปี 2021 เป็นช่วงที่กัมพูชาทำการส่งออกข้าวต่ำที่สุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดย CRF กล่าวว่าสาเหตุหลักที่ทำให้การส่งมอบสินค้าไปยังผู้ซื้อในต่างประเทศล่าช้าโดยเฉพาะประเทศในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่เป็นปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์สำหรับการส่งออกข้าว ที่ส่งผลทำให้ต้นทุนการขนส่งเพิ่มสูงขึ้นกว่า 5 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ 5 ปีที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50834560/cambodia-generates-almost-110-million-from-milled-rice-exports-in-q1/

เกษตรกรเมืองยองปลูกพริก สร้างสร้างกำไรงาม

เกษตรกรผู้ปลูกพริกจากเมืองยองในรัฐฉานตะวันออก กำลังเก็บเกี่ยวพริกและมีรายได้อย่างสม่ำเสมอทุกวัน นอกจากการปลูกพืชตามฤดูกาล เช่น แตงกวา ฟักทอง มะเขือเทศ แตงโม และเมล่อน ส่วนพริกจะมีกรปลูกหลากหลายสายพันธ์ โดยทำการปลูกในพื้นที่ปิดหลังจากนั้น 15 วันจะถูกย้ายลงแปลงปลูกและรดน้ำทุกๆ 5 วัน แม้ว่าจะมีราคาอยู่ถึง 5,000 จัตต่อกิโลกรัมต่อกิโลกรัมในฤดูเก็บเกี่ยว แต่เเร็ว ๆ นี้ราคาได้ลดลงเหลือประมาณ 2,000 จัตต่อกิโลกรัม ปัจจุบันเมียนมาส่งออกพริกสดไปยังจีนและไทย ซึ่งการส่งออกไปไทยจะผ่านชายแดนเมียวดี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/chilli-growers-from-mong-yawng-earning-regular-income/

แผนการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโควิด-19 กำลังดำเนินการอยู่ตามแผน

รัฐบาลได้เริ่มฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงมากที่สุดเพื่อยุติการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ตามแผนระยะแรก (รอบที่ 2 ) วัคซีนได้รับการฉีดวัคซีนในวันที่ 2 และ 3 เมษายน 2564 โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนประมาณ 4,000 คนซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการสัมผัสกับเชื้อโควิด -19 มากที่สุดและมีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรงจากการติดเชื้อหลังจากการผลักดันครั้งแรกในการฉีดวัคซีนในโรงพยาบาลหลัก 7 แห่งในเวียงจันทน์และต่างจังหวัด แผนในการฉีดวัคซีนของสปป.ลาวเป็นไปตามเป้าที่วางแผนไว้ท่ามกลางสถานการณ์การควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่สปป.ลาวสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเร่งการฉีดวัคซีนจะนำพาสปป.ลาวกลับสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว ซึ่งมีผลต่อการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Mass_66.php

IMF รายงานถึงแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคของกัมพูชา

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) รายงานภายรวมเศรษฐกิจมหภาคของกัมพูชา รวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดย IMF ได้สร้างแบบจำลองที่อิงกับเศรษฐกิจกัมพูชาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบระยะสั้นและระยะกลางของการระบาด ซึ่งจากรายงานคาดการณ์ว่าความต้องการ (demand) ภายในประเทศ จะลดลงร้อยละ 2 ในปี 2021 และค่าผลตอบแทนชดเชยความเสี่ยงของประเทศในปี 2021 ก็คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 200 จุดจากจุดพื้นฐาน เนื่องจากสภาวะทางการเงินภายในประเทศที่เข้มงวดขึ้น นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่าราคาอาหารจะสูงขึ้นเนื่องจากการกักตุนสินค้าภายในประเทศเช่นเดียวกัน โดยรายงานยังชี้ให้เห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไปภายในปีนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50833827/imf-offers-economic-outlook-on-cambodia/