ADB อนุมัติเงินกู้ส่งเสริมห่วงโซ่อุปทานการเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหารในกัมพูชา

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้อนุมัติเงินกู้ 70 ล้านดอลลาร์ เพื่อปรับปรุงขีดความสามารถของธุรกิจภาคการเกษตรใน 6 จังหวัดทั่วกัมพูชาในการแปรรูปสินค้าเกษตรที่สำคัญ เช่น มันสำปะหลัง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มะม่วง ผัก และสัตว์ปีก ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มความปลอดภัยของห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตร โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างประโยชน์ให้กับสหกรณ์การเกษตร 230 แห่ง และธุรกิจด้านการเกษตร 50 แห่งทั่วกัมพูชา ซึ่งมองว่าภาคการเกษตรสามารถช่วยเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ หากธุรกิจด้านการเกษตรไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือขนาดกลางในท้องถิ่นสามารถปรับปรุงความสามารถในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าให้กับผลผลิตและทำการตลาดในประเทศและต่างประเทศได้ โดยปัจจุบันสินค้าแปรรูปจากภาคเกษตรมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 4 ของ GDP เนื่องจากไม่มีผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มที่หลากหลาย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50787037/adb-approves-70-million-loan-to-strengthen-agricultural-value-chain-and-food-safety-in-cambodia/

กัมพูชายังคงได้รับการจัดอันดับเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าท่องเที่ยวชั้นนำของโลก

กัมพูชายังคงเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวที่ดีที่สุดของโลกในปี 2020 ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวกล่าว โดยเน้นว่าสถาบันและเว็บไซต์ระดับนานาชาติที่เชี่ยวชาญด้านการจัดอันดับสถานที่ท่องเที่ยวที่ดีที่สุดทั่วโลกได้จัดอันดับให้กัมพูชาเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ดีที่สุดในการท่องเที่ยวและพักอาศัย โดยในเดือนมีนาคม 2020 กัมพูชาได้รับรางวัล International Travel Award 2020 โดยในวันที่ 9 ตุลาคม 2020 สื่อสิ่งพิมพ์ Big 7 Travel ได้เน้นย้ำให้จังหวัดเสียมราฐของกัมพูชาเป็น 1 ใน 7 สถานที่ที่ผ่อนคลายที่สุดในโลก แต่ในปัจจุบันกัมพูชากำลังเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวได้ทำการรับมือไม่ว่าจะเป็นการกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยในการเดินทางและการท่องเที่ยว ทั้งกระทรวงยังเตรียมแผนเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในปี 2021-2025 อีกด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50787065/cambodia-maintains-its-position-as-one-of-the-worlds-top-tourism-destinations/

เวียดนามเผยดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤศจิกายน ลดลง 0.01% จากเดือนก่อน

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเวียดนามในเดือนพฤศจิกายน ลดลงร้อยละ 0.01 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เป็นผลมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อ่อนตัวลงและค่าน้ำค่าไฟฟ้าที่ปรับตัวลดลง ในขณะที่ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ ดัชนี CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.43 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยมีสินค้าและบริการ 11 รายการในกลุ่มตะกร้าสินค้าที่ใช่ในหลักการคำนวณ CPI พบว่ามี 3 รายการที่ลดลง ได้แก่ การขนส่ง บริการไปรษณีย์และโทรคมนาคมและวัฒนธรรม การท่องเที่ยว เป็นต้น นอกจากนี้ ราคาทองคำเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.87 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

  ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/november-cpi-edges-down-001-percent-from-previous-month/191251.vnp

เวียดนามเกินดุลการค้าลดลงเหลือ 600 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนพ.ย. ขณะที่ ผลผลิตอุตฯ พุ่ง 9.2%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม เปิดเผยว่าในเดือนพฤศจิกายน เวียดนามเกินดุลการค้าลดลงเหลือ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากที่เกินดุลการค้าในเดือนตุลาคม 2.94 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ด้วยมูลค่า 24.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกัน การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 ด้วยมูลค่า 24.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกของเวียดนามมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ด้วยมูลค่า 254.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกัน การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ด้วยมูลค่า 234.50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เกินดุลการค้าอยู่ที่ 20.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ผลผลิตอุตสาหกรรมของเวียดนามในเดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และในช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietreader.com/business/24941-vietnam-nov-trade-surplus-plunges-to-600-mln-industrial-output-rises-92.html

อินเดีย-เมียนมา เดินหน้าเจรจาทวิภาคีหนุนการค้าและการลงทุน

ในการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าเมียนมา – อินเดียครั้งที่ 7 ทั้ง 2 ประเทศจะร่วมมือกันส่งเสริมการค้าและการลงทุนแบบทวิภาคี นายอูหมินหมิน อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าเมียนมากล่าวว่าการหารือเป็นไปเพื่อกระตุ้นการค้ารวมถึงการเพิ่มโควต้าการนำเข้าของอินเดียสำหรับถั่วและพัลส์ และการเปิดตลาดชายแดน หลังจากแก้ปัญหาชายแดนการขยายตลาดสำหรับภาคสิ่งทอได้รับความช่วยเหลือด้านเทคนิคของอินเดียในภาคการเกษตรและปศุสัตว์และเร่งโครงการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนและสะพานตามเส้นทางการค้าเมียนมา – อินเดีย นอกจากนี้ยังจับมือกับ MyanTrade ซึ่งเป็นหน่วยงานส่งเสริมการส่งออกเพื่อเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างสองประเทศ สิ่งนี้จะทำให้เกิดโอกาสพัฒนาและการเติบโตใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมการเกษตร สิ่งทอ การขนส่ง และการธนาคารของเมียนมาด้วย ทั้งสองประเทศยังหารือเกี่ยวกับการเพิ่มการลงทุนของอินเดียในภาคพลังงานของเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/india-myanmar-strengthen-bilateral-trade-and-investment.html

ติวเข้มเกษตรกรมุ่งใช้เอฟทีเอส่งออกสินค้าท้องถิ่น

‘พาณิชย์’ ลงพื้นที่ตั้งวงให้ความรู้เกษตรกรไทย ดันสินค้าเกษตรอินทรีย์-ผ้าย้อม เจาะตลาดส่งออก แนะใช้เอฟทีเอเพิ่มแต้มต่อคู่ค้า สร้างรายได้ในชุมชน นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 – 29 พ.ย. 2563 กรมฯ ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรในพื้นที่อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ ดินแดน “หุบเขาเกษตรอินทรีย์”เพื่อสำรวจศักยภาพสินค้าเกษตรในพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) เพิ่มแต้มต่อให้กับสินค้าเกษตรของไทยในตลาดคู่ค้าสำคัญให้กับสหกรณ์ เกษตรกร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่สร้างเครือข่ายผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์จำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือขยายการส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทยสู่ตลาดโลก ซึ่งปัจจุบันไทยมีความตกลงการค้าเสรี 13 ฉบับ กับ 18 ประเทศ ที่ได้มีการลดและยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรกับสินค้าส่งออกส่วนใหญ่จากไทยแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่เกษตรกรในอำเภอหนองบัวแดง จะพัฒนาสินค้าให้ได้คุณภาพเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ  ทั้งนี้จากการลงพื้นที่ พบกลุ่มสินค้าที่มีศักยภาพ อาทิ ผ้าย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติหนองบัวแดง   ทอลวดลายแบบโบราณ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นลงบนผืนผ้า ซึ่งได้รับความนิยมมากทั้งในและต่างประเทศ สร้างรายได้ 3.6 ล้านบาทต่อปี   กล้วยหอมทอง(ส่งออกไปญี่ปุ่น)  มีรายได้ 2.4 ล้านบาทต่อปี    ด้านกลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านโหล่น ผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ส่งออกไปประเทศเกาหลีใต้ จีน และเวียดนาม มีรายได้ 63 ล้านบาทต่อปี สำหรับสถิติการค้าระหว่างประเทศปี 2563 ในช่วง 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค. 2563) พบว่า การส่งออกสินค้าเกษตร (กสิกรรม ประมง และปศุสัตว์ ไม่รวมอุตสาหกรรมการเกษตร) ของไทยไปประเทศที่มีความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) มีมูลค่ารวมกว่า 12,288.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 70.5% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยไปโลก โดยยังคงขยายตัว 0.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 จึงมีโอกาสสูงที่การส่งออกสินค้าเกษตรไทยจะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากไทยมีความพร้อมในการควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ดี ปัจจุบันไทยเป็นประเทศผู้ส่งออก อันดับ 2 ของอาเซียน รองจากฟิลิปปินส์ ในช่วง 10 เดือนของปี 2563 (ม.ค.-ต.ค.) ไทยส่งออกกล้วยหอมสดสู่ตลาดโลก 2,800 ตัน มูลค่ากว่า 2.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 6.4% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 ตลาดสำคัญ คือ ญี่ปุ่น จีน และกัมพูชา นอกจากนี้ ไทยยังครองตำแหน่งผู้ส่งออกมะม่วง อันดับ 1 ของอาเซียน  มีปริมาณ 8.5 หมื่นตัน มูลค่ากว่า 83 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 15% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 ตลาดส่งออกสำคัญ คือ มาเลเซีย เกาหลีใต้ จีน และญี่ปุ่น

ที่มา: https://www.posttoday.com/economy/news/639140