รัฐบาลสปป.ลาวเปิดจุดผ่านแดนในท้องถิ่นอีกครั้งเพื่ออำนวยความสะดวกทางธุรกิจส่งออก-นำเข้า

รัฐบาลกำลังเปิดจุดผ่านแดนอีกครั้งเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและลดผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลในการปรับสมดุลของมาตรการควบคุมไวรัสกับการผ่อนคลายข้อจำกัด เพื่อให้ธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้าได้ดีขึ้นการยกเลิกข้อ จำกัด บางประการจะช่วยให้การค้าข้ามพรมแดนระหว่าง 4 จังหวัดในสปป.ลาวและประเทศเพื่อนบ้านดีขึ้นอย่างไรก็ตามผู้นำเข้าและผู้ส่งออกต้องปฏิบัติตามมาตรการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าที่ทางการสปป.ลาวและจีนวางไว้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดระลอกสองที่อาจกลับมารุนแรงกว่าเดิม ปัจจุบันตามรายงานของ National Taskforce for Covid-19 Prevention and Control พบว่ามีผู้คนมากกว่า 40.9 ล้านคนทั่วโลกที่ทำสัญญากับ Covid-19 มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1.1 ล้านคนและมีผู้ฟื้นตัวอย่างน้อย 30.5 ล้านคน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govtre_208.php

เวียดนามเผยส่งออกซีเมนต์และปูนเม็ดพุ่ง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

จากรายงานอุตสาหกรรมซีเมนต์ในประเทศที่เผยแพร่โดยบริษัท FPT Securities Joint ระบุว่าปริมาณการส่งออกซีเมนต์และปูนเม็ดของเวียดนาม เพิ่มขึ้น 30 เท่าในปี 2553-2562 มีสัดส่วนร้อยละ 32 ของการบริโภครวม และการส่งออกสินค้าดังกล่าวมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าการส่งออกจะอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากธุรกิจในประเทศส่วนใหญ่ส่งออกปูนเม็ดและวัตถุดิบที่ทำมาจากซีเมนต์ ทั้งนี้ ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 38.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ซึ่งราคาส่งออกต่ำกว่าในประเทศร้อยละ 10 เป็นผลมาจากธุรกิจต้องลดราคา เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งตลาดต่างประเทศได้ นอกจากนี้ จากตัวเลขสถิติของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกซีเมนต์กว่า 28 ล้านตันในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ในแง่ของปริมาณ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 และในแง่ของมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

  ที่มา : https://vov.vn/en/economy/cement-and-clinker-exports-skyrocket-over-past-decade-812483.vov

เวียดนามส่งออกไปอาเซียน โตต่ำ 5.26%

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่าในปีนี้ เวียดนามส่งออกไปยังอาเซียนอยู่ที่ 23.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่อัตราการขยายตัวในปี 2559-2563 คาดว่าจะขยายตัวในระดับต่ำที่ร้อยละ 5.26 ซึ่งจากตัวเลขสถิติ ชี้ให้เห็นว่ามูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเวียดนามไปอาเซียน คาดว่าจะอยู่ที่ 55.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.4 ของยอดการส่งออกและนำเข้าของเวียดนามทั้งหมด โดยอาเซียนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของเวียดนามอันดับที่ 5 ของคู่ค้าต่างประเทศ หากแบ่งรายประเทศ พบว่าไทยและมาเลเซียเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนามกว่า 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาอินโดนีเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา ฟิลิปปินส์และสปป.ลาว ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนามไปอาเซียน ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน, เหล็กทุกชนิด, คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, เครื่องจักรและส่วนประกอบ, ยานยนต์และอะไหล่, เสื้อผ้า สิ่งทอและข้าว เป็นต้น ในขณะเดียวกัน สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ ผักและผลไม้, ขนมและธัญพืช, อุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ, ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม, ยาง,  วัสดุพลาสติก เป็นต้น นอกจากนี้ นอกจากนี้ ในปี 2562 มูลค่าการนำเข้า-ส่งออกของเวียดนามไปยังอาเซียนอยู่ที่ 57.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และขาดดุลการค้ากับอาเซียน 6.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับปี 2561

ที่มา : http://export.vccinews.com/detail/26004/vietnamese-exports-to-asean-grow-at-low-rate-of-5-26.html

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชากับไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 5,569 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีลดลงร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รายงานโดยกระทรวงพาณิชย์ของไทยแสดงให้เห็นว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกันยายนกัมพูชาส่งออกไปไทยรวม 958 ล้านดอลลาร์ ลดลงถึงร้อยละ 48 ในขณะเดียวกันการนำเข้าทั้งหมดของกัมพูชาจากไทยลดลงร้อยละ 9 มาอยู่ที่ 4,611 ล้านดอลลาร์ ซึ่งการลดลงของการค้าทวิภาคีส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยทำให้เกิดปัญหาในการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนจากความเข้มงวด ทำให้การเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างสองประเทศเป็นไปได้ยาก ในแง่ของการลงทุนแม้ว่าโลกจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่บริษัทไทยในกัมพูชาก็ยังคงดำเนินการผลิตตามปกติต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50776444/cambodia-thailand-bilateral-trade-5-5-billion-in-first-nine-months/

กัมพูชายังคงดึงดูด FDI อย่างต่อเนื่องจากโครงการลงทุนอีก 4 โครงการ

สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ได้อนุมัติโครงการลงทุนอีก 4 โครงการด้วยเงินลงทุนรวม 37.6 ล้านดอลลาร์ คาดว่าจะสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นถึง 6,338 ตำแหน่ง ซึ่งโครงการทั้ง 4 โครงการครอบคลุมถึงการจัดตั้งโรงงานซักย้อมสี โรงงานผลิตรองเท้า โรงงานผลิตอุปกรณ์เสริมสำหรับรองเท้า และโรงงานประกอบแผงโซลาร์เซลล์ โดยโครงการนี้เป็นของ Luentec Textile Solutions, Lecrown Shoes Industry, CFC Garment Pty และ Sunenergy Technology (Cambodia) ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเมืองหลวงพนมเปญ กำปงสปือ และ กำปงจาม โดยการลงทุนดังกล่าวท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติในเสถียรภาพเศรษฐกิจของกัมพูชา การเมืองและสังคมของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50776597/cambodia-continues-to-draw-fdi-despite-loss-of-eba-with-another-four-investment-projects-worth-37-6-million/

เมียนมาโปรโมตการท่องเที่ยวเสมือนจริงหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ

กระทรวงการโรงแรมและการท่องเที่ยวของเมียนมาจะเรียกร้องให้มีการประมูลสำหรับโครงการ digital marketing 12 โครงการเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในปีงบประมาณ 2563-2564 เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้ช่องทางการตลาดตามแบบเดิมมาใช้ในช่วงการระบาดของ COVID-19 สำหรับผู้ที่สนใจในการสร้าง content ส่งเสริมการการท่องเที่ยว เช่น วิดีโอการคุณภาพสูงจะไปยังกระทรวงการโรงแรมและการท่องเที่ยว ซึ่งนายอูอองโซ ไกด์ท้องถิ่นกล่าวว่า นับว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องและควรดำเนินการให้ที่สุด

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-tourism-promotions-go-virtual.html

ดันอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนสร้างลงทุนเพิ่ม 500 ล.

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้ความสำคัญกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green (BCG) Economy) และสนับสนุนในเกิดการลงทุนจากภาคธุรกิจเอกชนไปพร้อมกัน โดยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนได้มอบหมายให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการ เหมืองแร่เตรียมจัดงานประชาสัมพันธ์โครงการจัดการเศษโลหะอย่างยั่งยืน หรือ Green Scrap Metal Thailand 2020 ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะลดการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ลดการสร้างของเสียในภาคอุตสาหกรรม ด้วยการนำกลับมาผลิตในรูปแบบใหม่ที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูนิโด) กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย รวมถึงผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ สำหรับการดำเนินโครงการดังกล่าวคาดว่าจะส่งเสริมผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรีไซเคิลตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานให้เข้าร่วมโครงการ 1,889 ราย และสนับสนุนผู้ประกอบการให้เป็นโรงงานนำร่อง 5-10 ราย ซึ่งคาดว่าจะสร้างให้เกิดมูลค่าการลงทุนของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการในการปรับปรุงเครื่องจักรและปรับปรุงกระบวนการผลิตมากกว่า 560 ล้านบาท การดำเนินงานโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ระยะเวลาการดำเนินงาน 5 ปี ตั้งแต่ปี 2561-2566 โดยได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก 4.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเงินจากหน่วยงานร่วมดำเนินโครงการอีกรวมเป็นเงิน 33.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  โดยกิจกรรมหลักของโครงการจะมีการทบทวนกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  การประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับยูป๊อป รวมทั้งส่งเสริมการใช้แนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (Best Available Technique) และแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (Best Environmental Practice) เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการติดตามประเมินผลโรงงานนำร่องที่มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อไป การจัดการเศษโลหะอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อเนื่องมหาศาล  เพราะนำกลับมารีไซเคิลได้ ลดของเสียในระบบอุตสาหกรรม การใช้พลังงานในกระบวนการผลิตก็ลดลง  ซึ่งงาน Green Scrap Metal Thailand 2020 จะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 30 ตุลาคมนี้ เพื่อให้ความรู้ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ตลอดจนเพื่อสร้างประสิทธิภาพในภาคอุตสาหกรรมต่อไป”

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/454238?utm_source=sub_category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=industry