GMAC ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอเรียกคืนสิทธิพิเศษทางการค้าจาก EU ต่อกัมพูชา

สมาคมผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมาธิการยุโรปจากผลกระทบของ COVID-19 และการถูกเพิกถอนสิทธิประโยชน์ทางการค้า Everything but Arms (EBA) ของสหภาพยุโรปบางส่วน ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยส่งผลกระทบต่อการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหภาพยุโรปประมาณ 1 ใน 5 ของมูลค่าการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ซึ่งภาคเสื้อผ้า รองเท้าและสินค้าเพื่อการเดินทาง มีมูลค่ารวม 1.1 พันล้านยูโรสำหรับการส่งออก แบ่งเป็นการส่งออกเสื้อผ้ามูลค่าราว 770 ล้านยูโร, รองเท้า 210 ล้านยูโร และสินค้าด้านการท่องเที่ยว 120 ล้านยูโร โดยการถอนสิทธิพิเศษทางการค้าในครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงตลาดในสหภาพยุโรปของกัมพูชาประมาณร้อยละ 20 ซึ่งจากการสำรวจสมาชิกพบว่าผู้ผลิตรองเท้ามีปริมาณการผลิตลดลงเฉลี่ยร้อยละ 20-40 ในช่วงครึ่งแรกของปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50767213/gmac-seeks-court-order-to-restore-trade-perks-from-eu/

สินเชื่อด้อยคุณภาพภายในกัมพูชาภายใต้ธนาคารไมโครไฟแนนซ์ยังคงคงที่

หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สำหรับภาคอุตสาหกรรมการเงินรายย่อยของกัมพูชายังคงทรงตัวที่ร้อยละ 2.31 ในเดือนสิงหาคมหลังจากเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.33 ในเดือนมกราคมและสูงสุดในเดือนพฤษภาคมที่ร้อยละ 2.61 ตามรายงานของอุตสาหกรรมการธนาคาร โดยจากรายงานด้านการเงินส่วนบุคคลและสินเชื่อเพื่อการเกษตร ได้รับผลกระทบมากที่สุดโดยบันทึกอัตรา NPL ไว้ที่ร้อยละ 3.37 และร้อยละ 3.31 ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสวนทางกับความกังวลที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเสถียรภาพของภาคการเงินรายย่อยของกัมพูชาเนื่องจากความกลัวว่าจะมีปริมาณการว่างงานในประเทศเป็นจำนวนมาก ทั้งในภาคเครื่องนุ่งห่มและการท่องเที่ยวเนื่องจากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 ที่อาจจะส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของประชากรภายในประเทศได้ โดยสำหรับอัตรา NPL ที่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ถือว่าเป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรมระดับโลก แต่อย่างไรก็ตามคนในอุตสาหกรรมยังคงกลัวว่าอัตรา NPL อาจพุ่งสูงขึ้นในช่วงปลายปี เมื่อเงินกู้ที่มีการระงับการชำระ 6 เดือน ซึ่งได้รับการปรับโครงสร้างใหม่ในเดือนมีนาคมและเมษายนเสร็จสิ้นลงและหากภาวะเศรษฐกิจยังคงแย่ลง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50767152/mfis-bad-loans-remain-in-a-stable-condition/

ระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในเมียนมาเริ่ม 1 ตุลาคม 63 นี้

ธุรกิจต่างๆ ในเมียนมาได้รับการแจ้งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าใหม่ซึ่งที่ยื่นคำขอก่อนจะมีสิทธิก่อน (First to File)” จะถูกนำมาใช้สำหรับการจดทะเบียนและการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าซึ่งแตกต่างจากระบบผู้ใช้ก่อนมีสิทธิดีกว่า (First to Use) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งจะช่วยให้ บริษัทต่างๆ มีช่องทางตรวจจับ ปกป้องลิขสิทธิ์ของตนและส่งเสริมการแข่งขันนวัตกรรมและการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างเป็นธรรม สิ่งเหล่านี้จะช่วยปรับปรุงการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ววันที่ลงทะเบียนจะเป็นวันที่ยื่นจะทะเบียนตามที่กระทรวงกำหนด โดยสามารถชำระค่าธรรมเนียมการลงทะเบียนผ่านธนาคารบนมือถือได้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/trademark-registration-system-open-october-1.html

เศรษฐกิจไทยศักยภาพต่ำลง ซมพิษโควิด-19 ธปท.แนะรัฐปรับโครงสร้างทันที

ธปท.ชี้พิษโควิด-19 ทำเศรษฐกิจไทยศักยภาพต่ำลง การแข่งขันลด แต่ความเหลื่อมล้ำเพิ่มสวนทาง จี้รัฐปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจทันที ก่อน “ทุน” หมด พร้อมแนะหยุดมาตรการเบี้ยหัวแตก แจกเงินเหวี่ยงแห แต่เจาะกลุ่มที่จำเป็น นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในงานสัมมนาวิชาการของ ธปท.ประจำปี 2563 ในหัวข้อ “ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ทำอย่างไรให้เกิดได้จริง” ว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 เพิ่มความรุนแรงของความเหลื่อมล้ำในเศรษฐกิจ และสังคมไทย ความเปราะบางในระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งลดทอนความสามารถในการแข่งขัน มากขึ้น ส่งผลต่อศักยภาพการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ดังนั้น ต้องปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจให้เกิดผลได้จริง และต้องทำทันที เพื่อรองรับชีวิตวิถีใหม่ เพราะธุรกิจหลังโควิด-19 จะมีการแข่งขันสูงขึ้น นอกจากนี้ ต้องลดพึ่งพาภาคเศรษฐกิจใดภาคหนึ่งมากจนเกินไป จากปัจจุบัน ที่พึ่งพาการส่งออกมาก โดยต้องกระจายทรัพยากร และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง โดยรัฐต้องสร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ บนรากฐาน 3 ด้าน คือ 1.คนไทยและธุรกิจไทยต้องมีผลิตภาพสูง มีความสามารถในการแข่งขัน 2.ต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดี รับมือสถานการณ์ต่างๆ ที่ผันผวน ซับซ้อนและคลุมเครือในอนาคต 3.การกระจายผลประโยชน์จากการเติบโตเศรษฐกิจ ต้องทั่วถึง ไม่เกิดความเหลื่อมล้ำรุนแรงขึ้น  อย่างไรก็ตาม การดำเนินมาตรการหลังจากนี้ควรทำภายใต้แนวคิด 3 ด้านคือ 1.การเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้น ต้องสอดคล้องกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ด้านที่ 2 การปฏิรูปโครงสร้างจะไม่เกิดขึ้นได้จริง หากไม่สามารถย้ายทรัพยากรจากภาคเศรษฐกิจหนึ่งไปสู่อีกภาคเศรษฐกิจหนึ่งได้ ดังนั้น รัฐต้องสนับสนุนการโยกย้ายทรัพยากรจากภาคเศรษฐกิจที่มีกำลังการผลิตส่วนเกินไปยังภาคเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูงกว่า ส่วนด้านที่ 3 ยกระดับชนบท โดยให้ท้องถิ่นเป็นเป้าหมายสำคัญของการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ เพราะโควิดทำให้แรงงานย้ายกลับภูมิลำเนามากกว่า 1 ล้านคน ซึ่งจะต้องทำให้แรงงานเหล่านี้ เปลี่ยนเป็นพลังพลิกฟื้นเศรษฐกิจในต่างจังหวัด.

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/business/1940138

เวียดนาม, ไทยจะก้าวเป็นผู้ผลิตแล็ปท็อปชั้นนำของโลก

สำนักข่าวญี่ปุ่น Nikkei Asian Review ได้อ้างรายงานของ Market Intelligence & Consulting Institute (MIC) กล่าวว่าในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะผลิตแล็ปท็อปครึ่งหนึ่งของโลกในปี 2573 โดยคาดว่าเวียดนามและไทยจะเป็นศูนย์กลางการผลิตสำคัญของภูมิภาค สำหรับบทความดังกล่าว ชี้ให้เห็นถึงต้นทุนแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นในจีน ประกอบกับทั่วโลกต้องการที่จะลดการพึ่งพามากเกินไปในภูมิภาคเดียวและปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงก็ตกไปอยู่ที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ ในปี 2562 ตลาด PC ทั่วโลกที่มีจำนวนอยู่ที่ 160 ล้านชิ้น ซึ่งกว่าร้อยละ 90 มาจากจีน และส่วนใหญ่จะผลิตสินค้าในไต้หวัน ในขณะที่ มีเพียงส่วนน้อยที่ผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่น ระบุว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้กระตุ้นให้เกิดการสื่อสารทางไกลและเรียนออนไลน์มากขึ้น ในขณะเดียวกัน ความต้องการคอมพิวเตอร์ ‘Chromebook’ ก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

 ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnam-thailand-to-emerge-as-leading-laptop-producers-781897.vov

เวียดนามเผยภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปยังเป็นเป้าสำคัญของเงินทุนจากต่างชาติ

กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) ระบุว่าปริมาณเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้ามายังเวียดนาม ตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงวันที่ 20 ก.ย. อยู่ที่ 21.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในจำนวนเงินทุนดังกล่าว มาจากการเบิกจ่ายของนักลงทุนต่างชาติ 13.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ 1,947 โครงการใหม่ด้วยเงินทุนจดทะเบียนรวม 10.36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.6 ในแง่ของมูลค่า และร้อยละ 29.4 ในแง่ของจำนวนโครงการ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปยังคงเป็นที่สนใจมากที่สุดของนักลงทุนต่างชาติ ด้วยมูลค่า 9.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.6 ของเงินลงทุนทั้งหมด รองลงมาการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า, ภาคอสังหาริมทรัพย์และการค้าปลีกค้าส่ง ตามลำดับ นอกจากนี้ ในบรรดา 111 ประเทศทั่วโลกที่ลงทุนมายังเวียดนาม พบว่าสิงคโปร์ยังคงเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ด้วยมูลค่า 6.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32 ของเงินลงทุนทั้งหมด รองลงมาเกาหลีใต้, จีน, ญี่ปุ่น, ไทยและไต้หวัน เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/foreign-capital-still-heads-to-manufacturing-processing/187665.vnp

เอสแอนด์พี คาดเศรษฐกิจเวียดนามเติบโตเร็วที่สุด เป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิก

จากรายงานของ S&P Global Ratings เปิดเผยว่าเวียดนามอาจเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เร็วที่สุดอันดับ 2 ในเอเชีย-แปซิฟิก รองจากจีน ซึ่งทางสถาบันได้ปรับลดการเติบโตของ GDP เวียดนาม อยู่ที่ร้อยละ 1.9 ในปีนี้ จากเดิมร้อยละ 1.2 “เศรษฐกิจอยู่ในทิศทางที่ดี เป็นผลมาจากการค้าโลกที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่ ภาคการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ดิ่งลงหายไป” ในภาพรวมแล้ว เวียดนามจะเป็นหนึ่งในประเทศชั้นนำที่ฟื้นตัวหลังจากโควิด-19 และคาดว่าในปี 2564 GDP จะโตสูงถึงร้อยละ 11.2 สูงที่สุดในเอเชีย-แปซิฟิก ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2563 จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 2.5 จากเดิมร้อยละ 1.8 เพราะว่าอุปสงค์ในประเทศแข็งแกร่งเกินคาดไว้ในระดับปานกลาง

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-economy-likely-second-fastest-growing-in-asia-pacific-sp-global-ratings-314323.html