ดัชนี CPI เวียดนาม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนสิ.ค.

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในเดือนสิงหาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน เนื่องจากผลกระทบของการเกิดฝนตกหนักทั่วประเทศและราคาข้าวข้าวในประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงราคาของธุรกิจในกลุ่มการศึกษายังขยับเพิ่มขึ้น ขณะที่ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ดัชนีดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนก่อน สูงที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าและบริการ 11 หมวดในจำนวนกลุ่มสินค้าหลัก 7 หมวดมีการปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาหารและบริการจัดเลี้ยงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.11, เครื่องดื่มและบุหรี่ (0.05%), ที่อยู่อาศัยและวัสดุก่อสร้าง (0.1%), บริการด้านสุขภาพและยา (0.02%), ค่าขนส่ง (0.1%), การศึกษา (0.18%) และสินค้าและบริการอื่นๆ (0.2%) นอกจากนี้ อัตราแลกเปลี่ยนด่องต่อดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.08 อยู่ในระดับ 23,288 ด่องต่อดอลลาร์สหรัฐในตลาดเสรี

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-cpi-index-goes-up-slightly-in-august-417977.vov

เวียดนามเผยนำเข้าหมูพุ่ง ส่งผลให้ราคาหมูในประเทศลดลง

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าการพัฒนาสายพันธุ์สุกรได้อย่างมีประสิทธิภาพและปริมาณการนำเข้าเนื้อสุกรแช่แข็งและสุกรมีชีวิตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาสุกรมีชีวิตในประเทศลดลง โดยทางกระทรวงฯ คาดว่าผลผลิตเนื้อสุกรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงสิ้นไตรมาสที่ 3 ไปถึงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ส่งผลให้ราคาเนื้อสุกรในประเทศมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามนำเข้าเนื้อสุกรมากกว่า 93,248 ตัน ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากแคนาดา เยอรมัน โปแลนด์ บราซิล สหรัฐฯ สเปนและรัสเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 223 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 กระทรวงฯ ได้อนุมัติให้นำเข้าสุกรมีชีวิตจากไทยไปเวียดนาม ตั้งแต่วันที่ 12 มิ.ย. นอกจากนี้ นาย Phung Duc Tien รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท กล่าวว่าปัจจุบัน ต้นทุนสุกรมีชีวิตอยู่ที่ 71,000 ด่องต่อกิโลกรัม ในขณะที่ กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังคงดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19, ไข้หวัดหมูแอฟริกันและผสมพันธุ์สุกร เพื่อให้แน่ใจว่าผลผลิตสุกรมีเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศจนสิ้นไตรมาสที่ 3

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/pig-imports-push-domestic-pork-prices-down/182103.vnp

กัมพูชาวางแผนจัดซื้อเครนใหม่เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในท่าเรือน้ำลึก

Kalmar ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Cargotec ได้สรุปข้อตกลงระหว่าง Phnom Penh Autonomous Port (PPAP) เพื่อจัดหาเครนจาก Kalmar SmartPower Rubber-Tyred Gantry (RTG) จำนวน 4 ตัว สำหรับท่าเรือ LM17 Container Terminal โดย Cargotec จำทำการส่งมอบเครนภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2021 ซึ่งท่าเรือ LM17 ของ PPAP เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ในเดือนมกราคมปี 2013 ในจังหวัดกันดาล สามารถขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ได้ราว 150,000 TEUs ณ ปัจจุบัน ซึ่งการสั่งซื้อเครนในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการขยายโครงสร้างพื้นฐานภายในท่าเรือน้ำลึก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนแผนการเติบโตของบริษัทภายในประเทศที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของเทอร์มินัลขนส่งให้เป็นสองเท่า รวมถึงเป็นการจัดซื้ออุปกรณ์ภายในท่าเรือที่ได้มาตรฐานในระดับสากล

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50758112/kalmar-smartpower-rtgs-chosen-for-port-expansion-in-cambodia/

ภาคการผลิตข้าวในกัมพูชาเริ่มมีเงินทุนหมุนเวียนมากขึ้น

สมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) และธนาคารเพื่อการเกษตรและพัฒนาชนบท (ARDB) ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐได้หารือเกี่ยวกับการขยายเงินกู้พิเศษจากรัฐบาลสำหรับการรวบรวมข้าวเปลือกในฤดูเก็บเกี่ยวที่กำลังจะมาถึง โดยประธาน CRF กล่าวว่าในฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวที่กำลังจะมาถึงนี้ต้องใช้เงินอย่างน้อย 300 ล้านดอลลาร์ ในการซื้อข้าวเปลือกให้ได้ตามเป้าหมายการส่งออกที่ 800,000 ตัน ซึ่งในปัจจุบัน ARDB ได้เบิกจ่ายเงินจำนวน 50 ล้านเหรียญสหรัฐให้กับผู้ผลิตข้าวเป็นเงินกู้พิเศษด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อซื้อข้าวเปลือกการสีเพื่อการส่งออก โดยปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกข้าวสารไปยังตลาดต่างประเทศจำนวน 620,106 ตัน ใกล้เคียงกับในปี 2018 ในปริมาณที่ส่งออกที่ 626,225 ตัน ซึ่งในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ มีการส่งออกข้าวของกัมพูชาไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 38.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50758091/more-funds-for-paddy-rice-collection-mulled/

การพัฒนาโครงการอุตสาหกรรมของเกาหลีเริ่มธันวาคม 63

จากข้อมูลของ Korea Land and Housing Corporation จากเกาหลีใต้โครงการ Construction of the Korea-Myanmar Industrial Complex (KMIC) คาดว่าจะสร้างด้วยการลงทุนมูลค่า 4.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ สามารถสร้างงานให้ชาวเมียนมามากกว่าครึ่งล้านคนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาของเมียนมา KMIC เป็นโครงการระดับรัฐบาลซึ่งเป็นโครงการแรกระหว่างสองประเทศ ภายใต้การร่วมทุนระหว่าง Korea Land and Housing Corp, Global SAE-A Co Ltd และกระทรวงการก่อสร้างจะได้รับการพัฒนาบนพื้นที่ 556 เอเคอร์ในหมู่บ้านญองเนาบีน ในเมืองแลกูของย่างกุ้ง Korea Land & Housing Corporation จะถือหุ้นร้อยละ 40 ในโครงการในขณะที่ Global SAE-A Co จะถือหุ้นร้อยละ 20 เฟสแรกจะดำเนินการบนพื้นที่ 315 เอเคอร์ โดยเกี่ยวข้องกับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับอาหารและเครื่องดื่ม การผลิตแบบสั่งตัด (CMP) โลจิสติกส์และคลังสินค้า เฟสที่สองจะมีพื้นที่ 240 เอเคอร์ เน้นใช้ผลิตวัสดุก่อสร้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ โดยเขตอุตสาหกรรมทั้งหมดจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2565 ในขณะเดียวกันกระทรวงการก่อสร้างจะพัฒนาถนนวงแหวนรอบนอกและจัดหาไฟฟ้าและน้ำเข้าเพื่อให้ถึงเขตอุตสาหกรรมด้วยเงินกู้ 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากกองทุนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจเกาหลีใต้ ซึ่งได้รับเงินทุนแล้ว 62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ KMIC จะร่วมมือกับสถาบันของรัฐบาลเกาหลีเพื่อสนับสนุนธุรกิจต่างๆ ด้วยบริการให้คำปรึกษาและการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และจะร่วมมือกับรัฐบาลเมียนมาเพื่อดำเนินการศูนย์บริการแบบครบวงจรสำหรับนักลงทุนอีกด้วย ขณะเดียวกันกำลังเร่งดำเนินการก่อสร้างสะพานดาหลาในย่างกุ้งเพื่อให้แล้วเสร็จภายในกรอบเวลาที่กำหนดไว้แม้จะจะมีการระบาดของ COVID-19 ก็ตาม สะพานแห่งนี้หรือที่เรียกว่าสะพานมิตรภาพเมียนมา – เกาหลีคาดว่าจะมีมูลค่า 168 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (257 พันล้านจัต) จะเชื่อมระหว่างเมืองดาลาข้ามแม่น้ำย่างกุ้งไปยังตัวเมืองย่างกุ้งเริ่มก่อสร้างในเดือนพฤษภาคม 62 และมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 65

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/development-korean-industrial-project-begin-december.html