ชาวสวนส้มจังหวัดเมิ้งสาด ปลื้ม ส้มคลีเมนไทน์ขายดี ราคาพุ่ง

ส้มคลีเมนไทน์ (clementine ) จากจังหวัดเมิ้งสาด ของ รัฐฉาน (ตะวันออก) ถูกส่งออกไปยังเมืองอื่น ๆ และตลาดกำลังเฟื่องฟูอย่างมากในเมียนมา ส้มคลีเมนไทน์ จากจังหวัดเมิ้งสาด มีเนื้อสด ฉ่ำ รสหวาน มีผู้มาซื้อหาส้มที่ร้านค้าปลีกและสวนส้มเพื่อเป็นของฝากอย่างไม่ขาดสาย จากคำบอกเล่าของเกษตรกรในท้องถิ่น การปลูกจะเน้นแบบวิถีธรรมชาติอย่างการใช้ปุ๋ยคอกแทน ขณะที่สวนส้มต๊อวิน ตันแสง ที่จำหน่ายส้มทั้งปลีกและส่ง เปิดเผยว่า ราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 3,000 จัต ทำให้ตอนนี้เป็นที่ต้องการอย่างมากจากเมืองอื่น ๆ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/clementine-oranges-from-monghsat-township-sold-well/

โควิดระบาด สะดุดสะดุดกระทรวงท่องเที่ยว

กระทรวงข้อมูล วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวบรรลุเป้าหมายบางอย่างในปีที่แล้ว แต่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายอื่นได้เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 นางสวนสวรรค์ วิกนาเกต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงข้อมูล วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวกล่าวว่าความสำเร็จหลักของกระทรวงอยู่ที่งานด้านสื่อ โดยนักข่าวยังคงให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ชัดเจน รวดเร็วและเป็นข้อเท็จจริงต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง ในด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว งานมีการพัฒนาและปรับปรุง แต่เป้าหมายบางอย่างไม่บรรลุผลเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ดังนั้นเพื่อความพยายามฟื้นฟูการท่องเที่ยว รัฐบาลจึงตัดสินใจเปิดประเทศอีกครั้งสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้ อย่างไรก็ตามแม้ว่าชาวต่างชาติจะเดินทางมาที่ลาวเพียงไม่กี่คน แต่การท่องเที่ยวก็เฟื่องฟูจากการเดินทางของคนในท้องถิ่น โดยส่วนใหญ่จะไปหลวงพระบาง อุดมไซ และแขวงเวียงจันทน์ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา แม้ว่ารัฐบาลจะจัดเขตดังกล่าวเป็นเขตท่องเที่ยวสีเขียว โดยกำหนดให้เป็นพื้นที่อนุญาตการเดินทาง

 

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Covid29.php

 

กัมพูชาขยายกรอบระยะเวลายกเว้นภาษีธุรกิจท่องเที่ยวไปอีก 6 เดือน

รัฐบาลกัมพูชาขยายกรอบระยะเวลาในการยกเว้นภาษี สำหรับสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวออกไปอีก 6 เดือนตั้งแต่มกราคมถึงมิถุนายน 2022 เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 รวมถึงเพิ่มกิจกรรมทางธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยภาคการท่องเที่ยวถือเป็นหนึ่งในสี่เสาหลักทางเศรษฐกิจที่สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา ซึ่งทางการคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังกัมพูชาจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวหลังจากปีนี้ หลังจากกัมพูชาได้เปิดให้นักเดินทางที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบตามกำหนดแล้วสามารถเดินทางมายังกัมพูชาได้โดยไม่ต้องกักตัว โดยปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ภายในประเทศกว่า 16 ล้านคน ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างครบถ้วนแล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501022398/cambodia-extends-tax-breaks-for-tourism-related-businesses-for-6-more-months/

การค้าระหว่าง กัมพูชา-สหรัฐฯ พุงแตะ 9.1 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว

การส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง แม้ว่าการส่งออกผลิตภัณฑ์บางอย่าง ภายใต้โครงการ GSP จะเริ่มถูกจัดเก็บภาษีศุลกากร โดยการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสหรัฐฯ มีมูลค่า 9,159 ล้านดอลลาร์ ในปี 2021 เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามรายงานของสำนักสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐสำนัก (USCB) ซึ่งกัมพูชาส่งออกสินค้ามูลค่า 8,745 ล้านดอลลาร์ ไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.2 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยการนำเข้าของกัมพูชาจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 คิดเป็นมูลค่า 413.7 ล้านดอลลาร์ ส่งผลทำให้กัมพูชาเกินดุลการค้าระหว่างสหรัฐฯ ที่ 8,331.6 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 ซึ่งการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าและรวมถึงสินค้า เช่น รองเท้า จักรยาน และเฟอร์นิเจอร์ ภายใต้ GSP โดยกัมพูชานำเข้ารถยนต์ เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501022173/kingdom-united-states-trade-tops-9-1-billion-last-year/

การผลิตภาคอุตฯ ‘เวียดนาม’ เดือน ม.ค. ดีขึ้นต่อเนื่อง

ตามรายงานของ IHS Markit ได้เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเวียดนาม ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 53.7 ในเดือน ม.ค.65 จากระดับ 52.5 ในเดือน ธ.ค.64 สะท้อนให้เห็นว่าภาคการผลิตของเวียดนามมีทิศทางที่ดีขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.64 ทั้งในด้านของผลผลิตและยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นในเดือนแรกของปีนี้ เนื่องจากความต้องการของลูกค้าเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญมองว่าคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการดำเนินธุรกิจขององค์กรต่างประเทศ ด้วยอัตราการเติบโตสูงสุดตั้งแต่เดือน พ.ย.61 ขณะเดียวกัน ความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวดีขึ้น บริษัทที่ตอบรับการสำรวจส่วนใหญ่ 60% คาดว่าผลผลิตในปีนี้จะเพิ่มขึ้น ตลอดจนการจ้างงานเพิ่มขึ้นในเดือน ม.ค. เหตุจากบริษัทต่างๆ ต้องการพนักงานใหม่หลังจากการระบาดโควิด-19 “สายพันธุ์เดลตา” เมื่อปี 2564

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnams-manufacturing-industry-continues-improving-in-january-post923057.vov

‘ข้าวเวียดนาม’ กระแสตอบรับดีมากในตลาดยุโรป

กรมศุลกากรเวียดนาม รายงานว่าปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามไปยังตลาดยุโรปไม่ได้เพิ่มขึ้นมากเท่าไรนัก เมื่อเทียบกับด้านราคาและมูลค่าเงินที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 64 การส่งออกข้าวไปยังตลาดยุโรป มีปริมาณ 53,910 ตัน เพิ่มขึ้น 0.8%YoY คิดเป็นมูลค่า 38.07 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 21.6%YoY แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากข้อตกลง “EVFTA” อย่างมีประสิทธิภาพ ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อโรค รวมถึงค่าเฟรตพุ่งสูงขึ้นมากและการนำเข้าข้าวลดลงในปีก่อน ทั้งนี้ สำนักงานสถิติสหภาพยุโรป (Eurostat) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีที่แล้ว การนำเข้าข้าวของยุโรป ลดลง 10.9% ในแง่ของปริมาณ และ 9.3% ในแง่ของมูลค่า อย่างไรก็ดี สมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) คาดการณ์ว่าการส่งออกข้าวไปยังสหภาพยุโรปจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีนี้ โดยเฉพาะคุณภาพข้าวของเวียดนามที่มีการพัฒนา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ข้าวหอมมะลิที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวยุโรป

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1143078/vietnamese-rice-well-received-in-europe.html

4 เดือนของปีงบประมาณย่อย เมียนมามีรายได้จากการส่งออกถั่วพัลส์ 390.895 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปริมาณส่งออก 486,413 ล้านตัน

กระทรวงพาณิชย์ เมียนมามีรายได้ 390.895 ล้านดอลลาร์จากการส่งออกถั่วต่างๆ กว่า 486,413 ล้านตันผ่านเส้นทางทางทะเลและชายแดน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. ถึง 28 ม.ค. ในช่วงปีงบประมาณย่อย 2564-2565 แบ่งเป็นการส่งออกทางทะเล 453,684.109 ตัน มีมูลค่า 361.919 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ผ่านชายแดน 32,729.362 ตัน มีมูลค่า 28.976 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2562-2563 เมียนมามีรายได้กว่า 1.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกถั่ว ซึ่งการส่งออกมูลค่ากว่า 374 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกถั่วและเมล็ดพืชทั้งทางทะเลและชายแดน เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.64 เมียนมาและอินเดียจับมือทำข้อตกลงบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) ในการส่งออกถั่วพัลส์ของเมียนมารวม 350,000 ตัน แบ่งเป็นถั่วดำ 250,000 ตันและถั่วแระ 100,000 ตันไปอินเดีย เป็นระยะเวลา 5 ปี (ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564-2565 ถึงปี 2568-2569) .ซึ่งส่วนใหญ่แล้วถั่วเขียวและถั่วแระจะส่งออกไปยังอินเดียเป็นหลัก ส่วนถั่วเขียวผิวมันจะส่งออกไปยังจีนและบางประเทศในสหภาพยุโรป

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-390-895-mln-from-over-486413-mln-tonne-pulses-export-in-nearly-4-months-of-mini-budget-year/

ชายแดน Kyinsankyawt รถขนส่งแตงโมไปจีน ประมาณ 100 คันต่อวัน

จากข้อมูลของคลังเก็บสินค้าข้าวด่านมูเซ ระบุ เมียนมาส่งรถบรรทุกแตงโมจำนวน 100 คันไปยังจีนในทุกๆ วันปัจจุบัน เมียนมาส่งสินค้าจำนวน 140 คันไปยังจีนทุกวันผ่านด่านชายแดน Kyinsankyawt รวมถึงรถบรรทุก 100 คันที่บรรทุกแตงโมและรถบรรทุก 40 คันบรรทุกข้าว ข้าวหัก เมล็ดพืช ยางพารา พลัมแห้ง และสินค้าอาหารอื่นๆ ส่วนการส่งออกแตงโมนั้นผู้ค้าต้องจ่ายค่าขนส่งประมาณ 30,000 หยวนซึ่งค่าขนส่งที่สูงเนื่องจากแตงโมเป็นผลไม้ที่เน่าเสียง่าย ส่งผลให้จำนวนคนขับรถบรรทุกลดลงเพราะแบกรับต้นทุนไม่ไหว เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ COVID-19 ส่วนการผ่านชายแดน Kyinsankyawt จะอนุญาติให้ขนส่งสินค้าช่วงระยะทางสั้นๆ เท่านั้น จึงทำให้ราคาบริการขนส่งสินค้าระยะใกล้พุ่งสูงเกินจริง อยู่ที่ 10 ล้านจัตต่อราคาขนส่งรถบรรทุกหนึ่งคัน ในขณะที่ก่อนหน้านี้ราคาอยู่ที่เพียง 700,000-800,000 จัต ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกข้าวและข้าวหักจึงลดลงจาก 60,000 ถุงเหลือ 10,000 ถุงต่อวัน ทั้งนี้จีนปิดจุดผ่านแดนที่เชื่อมกับชายแดนมูเซในช่วงที่ COVID-19 ระบาด ส่วนด่าน Kyinsankyawt ได้กลับมาซื้อขายอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย.64 โดยเริ่มส่งออกยาง ถั่วและพัลส์ต่างๆ พลัมแห้ง แตงโม แตงไทย และสินค้าอาหารอื่นๆ ไปยังจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/approximately-100-watermelon-truckloads-daily-delivered-to-china/

บริษัท รถไฟลาว-จีน จำกัด (LCRC) ขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา

บริษัท รถไฟลาว-จีน จำกัด (LCRC) ได้สรุปปัญหาต่างๆ ที่รัฐบาลจำเป็นต้องแก้ไขเกี่ยวกับการดำเนินงานรถไฟ โดยประเด็นดังกล่าวกำลังถูกหยิบยกขึ้นมาในระหว่างการเยือนของรองนายกรัฐมนตรี ดร.โซนเซย์ สิปันโดน หนึ่งในปัญหาที่สำคัญคือความจำเป็นในการเร่งการอนุมัติการนำเข้าสินค้าปลอดภาษีที่ LCRC ต้องการ นอกจากนี้ บริษัทยังได้ขอให้ธนาคารแห่ง สปป. ลาวจัดให้มีการขายตั๋วรถไฟ ค่าขนส่ง และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่ชำระเป็นสกุลเงินต่างประเทศให้เป็นไปตามอัตราแลกเปลี่ยนของตลาด นับตั้งแต่รถไฟเปิดให้บริการเมื่อต้นเดือนธันวาคม ผู้คนมากกว่า 113,800 ได้เดินทางโดยรถไฟ ในแต่ละวันมีผู้เดินทางอย่างน้อย 1,700 คน ในขณะที่บางวันมีจำนวนเกิน 2,800 คน สร้างรายได้มากกว่า 12 ล้านหยวน หรือเท่ากับ 21 พันล้านกีบ นอกจากนี้ทางรถไฟยังมีการขนส่งสินค้ามากกว่า 139,000 ตัน สร้างรายได้มากกว่า 48 ล้านหยวน (86 พันล้านกีบ)

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Rail28.php

สกุลเงินดอลลาร์ยังคงมีบทบาทสำคัญในกัมพูชา

แม้ว่าภาคธุรกิจจะยอมรับการชำระหรือการทำธุรกรรมด้วยสกุลเงินดอลลาร์และเรียล แต่ทางการกัมพูชาก็เน้นย้ำในการสนับสนุนให้ใช้สกุลเงินท้องถิ่นหรือสกุลเงินเรียลเพิ่มมากขึ้น สำหรับใช้จ่ายในท้องถิ่น ด้านSaravanan Ragupathy ผู้เชี่ยวชาญด้าน Core Banking ของ Chip Mong Bank Ragupathy กล่าวว่ากัมพูชาเป็นประเทศที่มีสกุลเงิน 2 ระบบ โดยทั่วไปแล้วสกุลเงินดอลลาร์จะถูกใช้เป็นสกุลเงินหลัก ซึ่งในระยะยาวอาจจะส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจในแง่ของเงินเฟ้อ ซึ่ง Kang Wai เจ้าของธุรกิจ Bliss Cafe ในกัมพูชา กล่าวว่า เขาเองก็สะดวกที่จะรับเงินดอลลาร์มากกว่าสกุลเงินเรียล ด้วยเหตุผลที่ว่ามูลค่าของผลิตภัณฑ์และบริการ สะท้อนด้วยสกุลเงินดอลลาร์ง่ายกว่า รวมถึงเป็นที่ยอมรับในระดับสากลเมื่อเทียบกับสกุลเรียล ในด้านการดำเนินธุรกิจอาจมีต้นทุนในการแปลงสกุลเงินจากเรียลไปเป็นสกุลเงินอื่นเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องทำการคำนวณเพื่อให้ได้มูลค่าที่แท้จริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักธุรกิจต่างชาติ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501021539/dollar-is-lovable-but-use-more-riel-when-it-comes-to-local-products/