กัมพูชารั้งอันดับต้นๆ ด้านค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการต่ำที่สุดในเอเชีย

เกี่ยวกับต้นทุนเฉลี่ยในการดำเนินธุรกิจค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบในภูมิภาคเอเชีย ตามรายงานของ TMX ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านธุรกิจ ผ่านรายงานล่าสุด “The Great Supply Chain Migration – Breaking down the cost of Doing Business in Asia” โดยรายงานกล่าวถึงกัมพูชาซึ่งถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีต้นทุนในการดำเนินธุรกิจต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับ 9 ประเทศในเอเชีย เป็นรองเพียงประเทศเมียนมาร์และเวียดนาม ซึ่งต้นทุนการดำเนินงานโดยรวมสำหรับบริษัทผู้ผลิตในเวียดนามอยู่ในช่วงตั้งแต่ 79,280 ถึง 209,087 ดอลลาร์ต่อเดือน เทียบกับสิงคโปร์ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งอยู่ที่ 366,561 ดอลลาร์ต่อเดือน และอันดับสองคือประเทศไทยอยู่ที่ 142,344 ดอลลาร์ต่อเดือน โดนการจ้างงานคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55 ของต้นทุนเฉลี่ยทั้งหมด คิดเป็นค่าเฉลี่ย 108,196 ดอลลาร์ต่อเดือน

ที่มา:https://www.khmertimeskh.com/501007945/cambodia-ranks-top-for-lowest-operating-costs-among-nine-countries-in-asia/

ธนาคารกลางสปป.ลาว เวียดนาม ลงนาม MOU แลกเปลี่ยนข้อมูล

รถไฟบรรทุกสินค้าที่บรรทุกสินค้าไฮเทคได้ออกเดินทางจากซูโจวในมณฑลเจียงซูทางตะวันออกของจีนไปยังเวียงจันทน์ สปป.ลาว เมื่อวันที่ 11 ม.ค. เป็นรถไฟบรรทุกสินค้าระหว่างประเทศขบวนแรกจากภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีไปยังลาว เป็นจุดเริ่ใต้นที่ดีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นวันที่ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคมีผลบังคับใช้ รถไฟบรรทุกสินค้าครบครันด้วยจอ LCD และชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผลิตโดยบริษัทไฮเทคในซูโจวและเมืองอื่นๆ ของมณฑลเจียงซู โดยมีมูลค่ารวมประมาณ 50 ล้านหยวน (7.77 ล้านดอลลาร์) รถไฟจะมาถึงเวียงจันทน์ในอีกเจ็ดวัน โดยสินค้าจะถูกส่งไปยังประเทศเวียดนาม มาเลเซีย ไทย และประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเดินขบวนของรถไฟตามโครงการรถไฟจีน-สปป.ลาวมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ และแนะนำผลิตภัณฑ์จีนเพิ่มเติมให้กับประเทศสมาชิก RCEP โดยจะเดินทางระหว่างจีนและลาวสัปดาห์ละครั้ง

ที่มา:http://regional.chinadaily.com.cn/SuzhouNewDistrict/2022-01/14/c_699112.htm

ราคาหัวหอมช่วงฤดูหนาวของเมืองเจาะบะด้อง ร่วงหนัก !

แม้ว่าฤดูเพาะปลูกต้นหอมในช่วงฤดูหนาวของเมืองเจาะบะด้อง  เขตมัณฑะเลย์ ราคามีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้ เกษตรกรยังจำเป็นต้องขายในราคาปกติเพื่อไม่ให้ขาดทุน ทั้งนี้เกษตรกรและผู้ค้าหัวหอมได้รับผลกระทบจากตลาดเนื่องจากขาดความต้องการจากต่างประเทศและสถานการณ์การแพร่ระบาดของของ COVID-19 และยังเผชิญกับต้นทุนการปลูกที่สูงขึ้นถึง 2 ล้านจัตต่อเอเคอร์ ปัจจุบันมีราคาเพียง 300 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) ดังนั้นเกษตรกรจึงดิ้นรนหาทุนสำหรับการเพาะปลูกในฤดูกาลหน้า ในช่วงต้นปี 2563 หัวหอมราคาอยู่ที่ 1,200-1,300 จัตต่อ viss และความต้องการที่สูงขึ้นของตลาดต่างประเทศส่งผลให้ราคาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทำให้มีการขยายการเพาะปลูก แต่หลังจากนั้นราคาดิ่งลงอย่างมากในช่วงวิกฤต COVID-19 ขณะที่ตลาดการส่งออกหลัก คือ บังคลาเทศและอินเดีย โดยหัวหอมส่วนใหญ่ปลูกในเขตมัณฑะเลย์ มะกเว ย่างกุ้ง รัฐเนปิดอว์ และรัฐฉาน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/onion-prices-in-bear-market-even-when-winter-growing-season-starts/#article-title

จับตาศักยภาพ! ยุโรปขึ้นแท่นผู้นำเข้าข้าว ‘เวียดนาม’

ตามรายงานจาก VietNam Investment Review เปิดเผยว่าความต้องการข้าวจากประเทศในแถบเอเชียเพิ่มสูงขึ้น ตลาดสหภาพยุโรป (EU) จึงถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงแก่ผู้ส่งออกข้าวของเวียดนาม โดยในปี 2564 เวียดนามส่งออกข้าวไปยังยุโรป ปริมาณกว่า 60,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 41 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 1% ในแง่ของปริมาณ และ 20% ในแง่ของมูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนหนึ่งมาจากการส่งออกข้าวหอมมะลิราว 40,000 ตัน มูลค่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ ข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ส.ค.63 ช่วยให้ราคาธัญพืชของเวียดนามปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 10-20 เหรียญสหรัฐต่อตัน เนื่องมาจากจากความต้องการเพิ่มขึ้น เหตุโควิด-19 ระบาด นอกจากนี้ ตามรายงานของสำนักงานสถิติยุโรป (Eurostat) ชี้ว่ากลุ่มซัพพลายเออร์ข้าวรายใหญ่ 10 อันดับแรกของกลุ่มนี้ ข้าวจากเวียดนามมีราคาเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่สุดที่ 20.3% ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 781 เหรียญสหรัฐต่อตัน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1115829/eu-remains-highly-potential-importer-of-vietnamese-rice.html

‘เวียดนาม’ เผยคนตกงานนับล้าน รายได้ดิ่งเหว ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในปี 2564 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของแรงงานในเวียดนาม อยู่ที่ 5.7 ล้านดอง ลดลง 32,000 ดองเมื่อเทียบกับปี 2563 ตามการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาวะการจ้างงานในปี 2564 อย่างมีนัยสำคัญ สำหรับปี 2564 แรงงานที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวน 50.5 ล้านคน ลดลง 791,600 คน เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยข้อมูล ณ วันที่ 6 ม.ค. แรงงานที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในไตรมาสที่ 4/64 มีจำนวน 50.7 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.7 ล้านคนเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลง 1.4 ล้านคน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สาเหตุสำคัญมาจากได้รับการฉีดวัคซีนได้อย่างครอบคลุมและมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้เห็นสัญญาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในขณะที่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของแรงงานเวียดนามในไตรมาสที่ 4/64 อยู่ที่ 5.3 ล้านคน ซึ่งรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของคนงานชาย 6.6 ล้านดอง สูงกว่าคนงานหญิง 1.4 เท่า (4.7 ล้านดอง)

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/business/millions-of-people-unemployed-lowest-income-in-years-809417.html

‘พาณิชย์’ ตรึงราคาไก่สดห้างค้าปลีก กก.ละ 60-75 บาท ดีเดย์เริ่ม 18 ม.ค.

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 ม.ค. ได้หารือร่วมกับสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย รายใหญ่ ห้างค้าปลีกค้าส่ง สมาคมตลาดสดแห่งประเทศไทย กรมปศุสัตว์ และสมาคมที่เกี่นวข้อง เห็นตรงกันที่จะตรึงราคาจำหน่ายปลีก ณ ห้างค้าปลีกค้างส่ง ได้แก่ บิ๊กซี แม็คโคร โลตัส ให้ไก่สดรวมเครื่องใน, ไก่สดไม่รวมเครื่องใน ราคา 60-65 บาทต่อกิโลกรัม น่องติดสะโพก ราคา 60-65 บาทต่อกิโลกรัม น่อง, สะโพก ราคา 65-70 บาทต่อกิโลกรัม เนื้ออก ราคา 70-75 บาทต่อกิโลกรัม เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 ม.ค. ไปจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย หากพบเห็นว่ามีการกักตุนหรือฉวยโอกาสจำหน่ายสินค้าในราคาที่ไม่เป็นธรรม สามารถแจ้งได้ที่สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/675931/

ธนาคารกลางสปป.ลาว เวียดนาม ลงนาม MOU แลกเปลี่ยนข้อมูล

ผู้ว่าการธนาคารแห่งสปป.ลาว (BOL) และธนาคารแห่งเวียดนาม (SBV) เพิ่งลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการกำกับดูแลการธนาคาร ข้อตกลงดังกล่าวได้ลงนามระหว่างการเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการโดยนายกรัฐมนตรีพันคำ ตั้งแต่วันที่ 8-10 มกราคม 2565 เพื่อตอบรับคำเชิญจากนายกรัฐมนตรี พิม มินห์ ชินห์ ของเวียดนาม การลงนามในบันทึกความเข้าใจ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการกำกับดูแลการธนาคารที่ลงนามในปี 2551 เพื่อสะท้อนถึงการลงทุนด้านการธนาคารในปัจจุบัน  ข้อตกลงฉบับใหม่ระบุความร่วมมือระหว่างธนาคารกลางทั้งสอง โดยเน้นที่การแบ่งปันข้อมูล การกำกับดูแลการธนาคารข้ามพรมแดน การตรวจสอบ ณ สถานที่ปฏิบัติงาน และการจัดการภาวะวิกฤตของธนาคารพาณิชย์ภายใต้การกำกับดูแลความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานบนพื้นฐานความไว้วางใจซึ่งกันและกันและ ความเข้าใจสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของธนาคารกลางทั้งสองในการส่งเสริมคุณภาพของการตรวจสอบการจัดตั้งข้ามพรมแดน การสร้างขีดความสามารถของผู้ตรวจสอบ และการวิเคราะห์ความเสี่ยงของธนาคาร ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธนาคารและความร่วมมือในการดำเนินการตามกรอบการบูรณาการการธนาคารในอาเซียนของทั้งสองธนาคารกลาง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Lao_Vietnamese_10.php

สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม ยังคงถือเป็นเสาหลัก ด้านการส่งออกของกัมพูชา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและการฝึกอาชีพกัมพูชา กล่าวว่า การส่งออกสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้าและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการเดินทาง รวมถึงกระเป๋า ถือเป็นภาคส่วนสำคัญสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา และยังคงเป็นภาคการส่งออกที่สำคัญที่สุดของประเทศ โดยเติบโตเฉลี่ยประมาณร้อยละ 10 ต่อปี เป็นช่วงเวลาติดต่อกันถึง 10 ปี แม้ว่าในปี 2020 การส่งออกจะลดลงเล็กน้อย แต่ในปี 2021 เริ่มเห็นถึงการกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง โดยการส่งออกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2021 เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีมูลค่ารวมสูงถึง 6.538 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6 จากปีก่อนหน้า การส่งออกรองเท้ามีมูลค่ารวมอยู่ที่ 1.113 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ในขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์เพื่อการเดินทางมีมูลค่ารวมกัน 1.179 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 49 โดยภายในสิ้นปี 2021 จำนวนโรงงานที่ขอจดทะเบียนอย่างเป็นทางการในภาคส่วนนี้เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 1,200 แห่ง สร้างการจ้างงานเกือบ 1 ล้านคน ซึ่งในปี 2021 มูลค่าการส่งออกรวมของภาคส่วนนี้อยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณร้อยละ 63 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของกัมพูชา

ที่มา:https://www.khmertimeskh.com/501007751/textiles-garments-footwear-and-travel-products-and-bags-are-the-key-pillars-of-cambodias-exports/