อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นส่งผลให้ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้น

จากดัชนีราคาผู้บริโภคที่พุ่งสูงขึ้น ราคาอาหารเ เช่น Monhinga (ก๋วยเตี๋ยวปลาแบบดั้งเดิมพร้อมเครื่องเสริม) แป้งทอด ขนมปัง แป้งนาน และอื่นๆ มีราคาเพิ่มขึ้นอย่างน่าทึ่งในปีนี้ โดยราคาส่วนผสมที่สูง (ข้าวสาลี ไข่ ข้าว น้ำมัน และอื่นๆ) ในการทำอาหารเหล่านั้น กระตุ้นให้ผู้ขายต้องขึ้นราคาอาหารจากเดิมอย่างน้อย 300–500 จ๊าด ในทำนองเดียวกัน ราคาข้าวสาลีขยับขึ้นเป็น 155,000 จ๊าดต่อถุง จากเดิม 145,000 จ๊าดต่อถุง รวมทั้งราคาขายปลีกน้ำตาลก็เพิ่มขึ้นเป็น 4,300 จ๊าดต่อviss และราคาแป้งยังเพิ่มขึ้นเป็น 5,200-5,400 จ๊าดต่อviss จาก 4,800 จ๊าดต่อviss  อย่างไรก็ดี เนื่องจากราคาของชำในครัว ซึ่งรวมถึงข้าว ปลา เนื้อสัตว์ และผัก พุ่งสูงขึ้น ร้านแผงลอยริมถนนบางแห่งที่เสิร์ฟข้าวแกงพม่าก็ขึ้นราคาอาหารหนึ่งมื้อเป็น 3,000 จ๊าด ซึ่งส่งผลให้ภาคครัวเรือนมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rising-inflation-sends-breakfast-costs-soaring/#article-title

256 CEO 76 จังหวัด ห่วงขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ต้นทุนผลิต-ราคาสินค้าพุ่ง

นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 35 เดือน พ.ย. 66 ภายใต้หัวข้อ “ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอย่างไรให้ลูกจ้างและนายจ้างอยู่รอด” พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. มีความกังวลถึงกรณีที่หากภาครัฐมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำรอบใหม่ในอัตราที่สูงเกินไป  รวมทั้งการที่ผู้ประกอบการจะต้องแบกรับภาระในการปรับขึ้นค่าจ้างให้กับแรงงานเดิมตามฐานอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ จะสร้างแรงกดดันต่อต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ทำให้ต้องมีการปรับขึ้นราคาสินค้าเพิ่มขึ้นและจะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ จากผลสำรวจปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีต้นทุนแรงงานอยู่ที่ 11 – 20% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด  ดังนั้น ผู้บริหาร ส.อ.ท. จึงเสนอให้ภาครัฐพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรอบใหม่ โดยยึดหลักการจ่ายค่าจ้างแรงงานตามทักษะฝีมือ (Pay by Skill) เพื่อจูงใจให้เกิดการพัฒนาทักษะแรงงาน  และควรมีมาตรการส่งเสริมกลไก Pay by Skill โดยเฉพาะการเร่งรัดให้มีการกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานให้ครบทุกสาขาอาชีพ และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถนำค่าใช้จ่ายในการส่งพนักงานเข้าทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า นอกจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำรอบใหม่แล้ว ภาครัฐควรจะต้องแก้ไขปัญหาปากท้องของแรงงานในระยะยาวควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะการดูแลลดค่าครองชีพให้กับประชาชน เช่น ลดค่าโดยสารสาธารณะ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เป็นต้น  อีกทั้งยังมีการกำกับดูแลการปรับขึ้นราคาสินค้าอุปโภคบริโภคให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและควบคุมให้มีการปรับราคาสินค้าขึ้น-ลงตามต้นทุนที่แท้จริงซึ่งจะทำให้แรงงานมีเงินเหลือใช้จ่ายมากขึ้นและยังช่วยเพิ่มกำลังซื้อให้กับตลาดอีกทางหนึ่ง อย่างไรก็ดี ส่วนใหญ่มองว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า ภาคอุตสาหกรรมยังมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาการใช้แรงงานในภาคการผลิตอยู่ แต่จะเริ่มมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยการนำเครื่องจักรมาใช้ทดแทนการใช้แรงงานคนมากขึ้น ในอัตราส่วนไม่เกิน 20% ของการใช้แรงงานคนในปัจจุบัน

ที่มา : เว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจ https://www.thansettakij.com/business/economy/582122

อัตราเงินเฟ้อ สปป.ลาว ยังคงอยู่ในระดับสูง แม้รัฐบาลมีความพยายามควบคุมราคาสินค้า

อัตราเงินเฟ้อใน สปป.ลาว ลดลงเล็กน้อยในช่วงเดือนกันยายนมาอยู่ที่ร้อยละ 25.69 ลดลงจากร้อยละ 25.88 ซึ่งได้รายงานไว้ในช่วงเดือนสิงหาคมตามรายงานของสำนักงานสถิติ สปป.ลาว อย่างไรก็ตามอัตราดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับสูง โดยได้รับแรงหนุนจากปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ ผลผลิตภายในประเทศที่อ่อนแอและการที่ประเทศพึ่งพาการนำเข้าในสัดส่วนที่สูง ค่าเงินกีบที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง และราคาสินค้านำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้น สำหรับในช่วงเดือนกันยายนค่าเงินกีบอ่อนค่าลงร้อยละ 5.8 และอ่อนค่าร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับเงินสกุลเงินดอลลาร์และบาทไทย ตามลำดับ เมื่อเทียบกับตัวเลขในเดือนสิงหาคม นอกจากนี้ราคาสินค้านำเข้า โดยเฉพาะเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลทำให้การ สปป.ลาว ขาดดุลทางการค้าสะสมเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ที่ 444 ล้านดอลลาร์ ด้านรัฐบาลได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการมาตรการเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อที่สูง รวมถึงรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา และจัดการกับหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_197_Inflation_y23.php

ในช่วงเดือนสิงหาคม อัตราเงินเฟ้อ สปป.ลาว ชะลอตัวลงแตะ 25.88%

อัตราเงินเฟ้อในประเทศ สปป.ลาว ณ ช่วงเดือนสิงหาคมลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 25.88 เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคมที่ร้อยละ 27.8 ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติ สปป.ลาว โดยราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.85 ต่ำกว่าในช่วงเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 37.81 ถือเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการปรับตัวลดลงของราคาสินค้ากลุ่มดังกล่าว สำหรับภาคส่วนที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำสุดในเดือนสิงหาคม ได้แก่ เครื่องใช้ในครัวเรือนอยู่ที่ร้อยละ 0.20 ไปรษณีย์และโทรคมนาคมร้อยละ 0.57 และการศึกษาร้อยละ 0.75 แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามควบคุมการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการแล้วก็ตาม ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อใน สปป.ลาว มาจากค่าเงินกีบที่อ่อนค่าลง หนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น และการขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงไปยังเศรษฐกิจของ สปป.ลาว รวมไปถึงส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำรงชีวิตของประชาชน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/laos-inflation-drops-to-2588-in-august/267230.vnp

เงินเฟ้อ พ.ค. อ่อนแรงรอบ 21 เดือน ขึ้นแค่ 0.53% พณ.กางปัจจัยกดเงินเฟ้อต่ำต่อ

นายวิชานัน นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) ของไทยเดือนพฤษภาคม 2566 เท่ากับ 107.19 สูงขึ้น 0.53% เทียบเดือนพฤษภาคม 2565 และลดลง 0.71% จากเดือนเมษายน 2566 ซึ่งเป็นการชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และดัชนีต่ำสุดรอบ 21 เดือน นับจากเดือนกันยายน 2564 นายวิชานัน กล่าวว่า สาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ค่ากระแสไฟฟ้า ราคาสินค้าหมวดอาหารสดชะลอตัวต่อเนื่อง ประกอบกับฐานราคาที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคม 2565 อยู่ระดับสูง ทำให้อัตราเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคมปีนี้ชะลอตัวค่อนข้างมาก และหากเทียบอัตราเงินเฟ้อไทยกับต่างประเทศ อิงตัวเลขเดือนเมษายน 2566 พบว่าไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อระดับต่ำ และต่ำที่สุดในอาเซียน จาก 7 ประเทศ และเทียบทั่วโลก 136 ประเทศ ไทยต่ำในอันดับ 14 นายวิชานันกล่าวต่อว่า สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักกลุ่มอาหารสดและพลังงาน) สูงขึ้น 1.55% เทียบเดือนพฤษภาคม 2565 และลบ 0.06% จากเดือนเมษายนปีนี้ที่สูงขึ้น 1.66% ส่งผลให้ 5 เดือนแรก 2566 เงินเฟ้อทั่วไปของไทยสูง 2.96% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน และเงินเฟ้อพื้นฐานสูง 1.98%

ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_4015097

“รัฐบาลสปป.ลาว” ให้คำมั่นแก้ไขปัญหาศก. ตกต่ำ

จากการที่ประชุมของรัฐบาล โดยมีนายพันคำ วิพาวัน นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นประธานและคณะรัฐมนตรี ได้มีการสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจมหภาคอย่างจริงจัง รวมถึงการสร้างบรรยากาศการลงทุน ปรับปรุงการชำระหนี้ การรับมือกับภัยธรรมชาติ การควบคุมเงินเฟ้อและอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ โฆษกรัฐบาลลาว กล่าวว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องให้ความสำคัญในเรื่องการควบคุมราคาสินค้าและการชำระหนี้ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะหนี้รัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ ยังได้เน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องหลักเลี่ยงการก่อหนี้ใหม่ เนื่องจากรัฐบาลให้คำมั่นว่าจะไม่ยอมให้ประเทศผิดนัดชำระหนี้

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2022_Govt165.php

ราคาสินค้านำเข้า สปป.ลาว พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ต้นทุนของสินค้าในครัวเรือนที่นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15-50 ในเดือนเมษายน เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม จากผลการศึกษาล่าสุด จัดทำโดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ รายงานวิจัยระบุว่าราคาที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการอ่อนค่าลงของ kip อย่างต่อเนื่องและต้นทุนการขนส่งที่สูงขึ้น ซึ่งเกิดจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในครัวเรือนที่นำเข้ามีส่วนสำคัญต่ออัตราเงินเฟ้อในลาว โดยมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งเต่เดือนมกราคมที่อยู่ที่ร้อยละ 6.25% ในเดือนกุมภาพันธ์เป็น 7.31% และ 8.54% ในเดือนมีนาคม ทั้งนี้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องส่งเสริมการส่งออกเพื่อนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในประเทศมากขึ้น อีกทั้งรัฐบาลควรมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อดึงดูดเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ระบบธนาคารรวมึงควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเข้มงวด ส่งเสริมธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินค้าส่งออกให้ดำเนินการผ่านระบบธนาคาร และดูแลให้การค้าสินค้าและบริการในลาวใช้ kip เป็นหลัก

 

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Price75.php

อัตราเงินเฟ้อสปป.ลาวพุ่งสูงสุดรอบ 2 ปี

อัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบปีต่อปีเพิ่มขึ้นเป็น 6.25% ในเดือนมกราคม ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดนับตั้งแต่มกราคม 2563 ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนสปป.ลาว ทำให้ต้นทุนสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.04 ในเดือนพฤศจิกายน ก่อนจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.27 ในเดือนธันวาคม ตามรายงานล่าสุดจากสำนักสถิติลาว ต้นทุนเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นเป็นหนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนหลักของเงินเฟ้อในสปป.ลาวรวมถึงการระบาดใหญ่ของโควิด-19  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด Omicron กระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนและทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นเนื่องจากอุปสงค์และอุปทานไม่สมดุลกัน ทั้งนี้รัฐบาลสปป.ลาวกำลังดำเนินการเพื่อเพิ่มผลผลิตเพื่อลดการนำเข้าเพื่อควบคุมราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อเศรษฐกิจและประชาชนทั่วไป

อีกทั้งรัฐบาลได้ตัดสินใจลดภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 7 ในปีนี้ และลดปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าราคาน้ำมันสำรองในปัจจุบันอยู่ที่ 0 กีบ/ลิตร เพื่อกั้ญหาอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Inflation_37_22.php

‘พาณิชย์’ ตรึงราคาไก่สดห้างค้าปลีก กก.ละ 60-75 บาท ดีเดย์เริ่ม 18 ม.ค.

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 ม.ค. ได้หารือร่วมกับสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย รายใหญ่ ห้างค้าปลีกค้าส่ง สมาคมตลาดสดแห่งประเทศไทย กรมปศุสัตว์ และสมาคมที่เกี่นวข้อง เห็นตรงกันที่จะตรึงราคาจำหน่ายปลีก ณ ห้างค้าปลีกค้างส่ง ได้แก่ บิ๊กซี แม็คโคร โลตัส ให้ไก่สดรวมเครื่องใน, ไก่สดไม่รวมเครื่องใน ราคา 60-65 บาทต่อกิโลกรัม น่องติดสะโพก ราคา 60-65 บาทต่อกิโลกรัม น่อง, สะโพก ราคา 65-70 บาทต่อกิโลกรัม เนื้ออก ราคา 70-75 บาทต่อกิโลกรัม เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 ม.ค. ไปจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย หากพบเห็นว่ามีการกักตุนหรือฉวยโอกาสจำหน่ายสินค้าในราคาที่ไม่เป็นธรรม สามารถแจ้งได้ที่สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/675931/

เจ้าหน้าที่ของนครหลวงเวียงจันทน์คุมเข้มราคาสินค้าในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19

การแพ่ระบาดของไวรัส covid-19 ในสปป.ลาวทำให้รัฐบาลต้องมีมาตราการต่างๆออกมาเพื่อควบคุมอย่างล่าสุดได้ออกมาตราการ lockdown ในจังหวัดต่างๆ และให้ประชาชนกักตัวตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน -19 เมษายน ทำให้ประชาชนบ้างส่วนมีการกักตุนสินค้าซึ่งทำให้มีผู้ประกอบการบางรายมีการขึ้นราคาสินค้าเกินความเหมาะสม โดยเฉพาะสินค้าที่นิยมอย่างเนื้อหมูที่ประชาชนสปป.ลาวนิยมบริโภคกัน ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดราคาขายปลีกที่ 40,000 kip / kg สำหรับ type 1 (filet และ ribs) และ 38,000 kip / kg สำหรับ type 2 (เบคอนและชิ้นส่วนไขมัน) หากมีร้านค้าใดฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีทั้งปรับและจำคุก ซึ่งมีการตรวจตราจากเจ้าหน้าที่ของภาครัฐอย่างเข้มงวด และประชาชนสามารถแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบถึงการละเมิดราคาได้อีกช่องทางหนึ่งด้วย

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/04/08/vientiane-economic-officials-patrol-wet-markets-enforces-price-controls/