‘เวียดนาม’ คาดเงินเฟ้อคงอยู่ภายใต้การควบคุม ปี 65

การสัมมนา หัวข้อเรื่อง ”การตลาดและการตั้งราคา” จัดขึ้นที่กรุงฮานอย คุณ Nguyễn Bá Minh ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาเศรษฐกิจและการเงิน ได้คาดการณ์ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปี 2565 จะเพิ่มขึ้นราว 2-3% เมื่อเทียบกับปี 2564 โดยจากข้อมูลข้างต้น เงินเฟ้อในปี 2565 จะอยู่ภายใต้การควบคุม สาเหตุจากราคาวัตถุดิบทั่วโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ยาก อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโควิดสายพันธุ์ใหม่ “โอไมครอน” สงครามการค้าและความขัดแย้งทางการเมืองในระดับโลก ตลอดจนกำลังซื้อในประเทศยังคงเปราะบาง ทั้งนี้ คุณ Nguyễn Đức Độ ผู้เชี่ยวชาญ ยังเห็นด้วยว่าดัชนี CPI ในปี 2565 จะคงอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัว ในขณะที่เศรษฐกิจของเวียดนามคาดว่าจะเติบโตที่ 6.5% อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญมองว่าการควบคุมเงินเฟ้อในปี 2565 จะไม่ง่ายนัก เนื่องจากดัชนีเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงตั้งแต่ต้นปี จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีแนวโน้มสูงขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1112395/inflation-forecast-to-be-under-control-in-2022.html

‘ยอดการค้าเวียดนาม-อียู’ พุ่ง 14.8% ปี 64

การค้าระหว่างเวียดนามและสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 14.8% ในปี 2564 คิดเป็นมูลค่า 63.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าในปี 2564 เวียดนามส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรป มูลค่ากว่า 45.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ขณะที่มูลค่าการนำเข้า 17.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.5% โดยสาเหตุที่การค้าเพิ่มขึ้น มาจากความตกลงการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรปและเวียดนาม (EVFTA) นอกจากนี้ ปัจจุบัน ธุรกิจเวียดนามได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีจากข้อตกลง EVFTA พร้อมกับใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (C/O)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnameu-trade-increases-148-percent-in-2021/220286.vnp

งบประมาณย่อย 64-65 ค้าชายแดนเมียนมา ดิ่งลง 966 ล้านเหรียญดอลลาร์หรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการค้าชายแดนทั้งหมดจากด่านชายแดน 18 แห่งมีมูลค่าเกิน 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงงบประมาณย่อย 64-65 ลดลง 966 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ 2.409 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ถึง 24 ธ.ค.ของปีงบประมาณ 64-65 แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 1.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้าเป็น 427.7 ล้านดอลลาร์ โดยด่านเมียวดีติดอันดับชายแดนที่มีมูลค่าการค้าสูงสุด 581.36 ล้านดอลลาร์หรัฐฯ ตามมาด้วยด่านทิกิที่ 402.06 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์ทางทะเล แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ สินค้าการผลิต และอื่นๆ ในขณะที่การนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/total-border-trade-value-decreases-by-us966-mln-this-mini-budget-period/#article-title

รัฐบาลลงนามข้อตกลงระบบทะเบียนราษฎร์อิเล็กทรอนิกส์และระบบสถิติที่สำคัญอิเล็กทรอนิกส์

รัฐบาลกำลังพัฒนาระบบทะเบียนราษฎร์อิเล็กทรอนิกส์และระบบสถิติที่สำคัญเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรวบรวมสถิติด้านประชากรศาสตร์ และผลผลิตเพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้านเศรษฐกิจสังคมและความยากจนที่เชื่อถือได้และทันเวลา นอกจากนี้ ระบบยังช่วยให้การติดตามและประเมินผลความคืบหน้าในการบรรลุผลสำเร็จตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยรัฐบาลสปป.ลาวได้ลงนามในข้อตกลงกับ WCC Group B.V. บริษัทผลิตภัณฑ์ชั้นนำที่ให้บริการโซลูชั่นซอฟต์แวร์ขั้นสูงสำหรับบริการจัดหางานภาครัฐและเอกชน WCC Group B.V. ชนะการประกวดราคาเนื่องจากมีประสบการณ์ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ (HERA) สำหรับการทะเบียนราษฎรทางอิเล็กทรอนิกส์และสถิติสำคัญ (eCRVS) ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในเอกสารการประมูล สัญญามีมูลค่ามากกว่า 3.2 ล้านเหรียญสหรัฐ  รัฐบาลสปป.ลาวคาดการณ์ว่าภายในปี 2030 พลเมืองสปป.ลาวทุกคนจะสามารถใช้ระบบการขึ้นทะเบียนได้ และเพื่อให้มีการรวบรวมสถิติประชากรในลักษณะที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ภายในปี 2024 พลเมืองลาวร้อยละ 70 ทั้งหมด รวมทั้งเด็กแรกเกิด จะได้รับการจดทะเบียน ระบบการทะเบียนราษฎร์อิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt04.php

ดีมานด์ตลาดสิ่งทอพุ่ง หนุนอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยและกัมพูชา

อุตสาหกรรมสิ่งทอของกัมพูชาไม่สามารถรองรับกับสถานการณ์การขยายตัวของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้การส่งออกสิ่งทอของไทยปรับตัวพุ่งสูงขึ้น และคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 15 ในปีนี้ ทางด้านสื่อไทยรายงานถึงการส่งออกสิ่งทอที่ได้รับแรงหนุนจากความต้องการในสินค้าทั่วโลกปรับตัวดีขึ้น รวมถึงภาคการผลิตในภูมิภาคเริ่มกลับมาดำเนินการอีกครั้ง อาทิเช่น กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย และอินเดีย รวมถึงจากโซนยุโรป และสหรัฐฯ โดยโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าและสิ่งทอของไทยกลับมามีกำลังการผลิตเต็ม 100% อีกครั้ง แต่ยังคงติดอยู่กับปัญหาการขาดแคลนแรงงานหลังจากแรงงานต่างด้าวเดินทางกลับประเทศของตนในช่วงวิกฤตโควิด-19 ซึ่งปัจจุบันโรงงานภายในประเทศไทยขาดแคลนแรงงานสูงถึง 30,000-50,000 คน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501001754/soaring-demand-from-cambodia-other-countries-leads-to-thai-textile-industry-exports-surging/

จีนยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าจากกัมพูชากว่าร้อยละ 90 ของสินค้าทั้งหมด

จีนส่งเสริมภาคการค้าระหว่างกัมพูชา ผ่านข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปในวันที่ 1 ม.ค. ที่ผ่านมา เพื่อเป็นประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน อาทิเช่น วิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิต ผู้ส่งออก และประชาชนของทั้งสองประเทศ โดยข้อตกลงการค้าเสรีดังกล่าวกำหนดไว้ว่าทั้งสองประเทศจะต้องยกเว้นการจัดเก็บภาษี หรือกำหนดภาษีการนำเข้าให้เป็นศูนย์ แก่สินค้านำเข้าจากอีกฝั่ง ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมสินค้านำเข้ากัมพูชามากกว่าร้อยละ 90 โดยทั้งสองประเทศวางแผนที่จะกระชับความร่วมมือในด้านต่างๆเพิ่มเติม เช่น สนับสนุนภาคการค้า ภาคบริการ การลงทุน โครงการเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 (BRI) และตลาดอีคอมเมิร์ซ ซึ่งในปัจจุบันปริมาณการค้าทวิภาคีระหว่างจีนและกัมพูชาเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 45.9 คิดเป็นมูลค่า 10.98 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501001767/china-cambodia-to-promote-free-trade-deal-with-zero-tariff-on-more-than-90-percent-of-imports-from-cambodia/

‘เวียดนาม’ เผยโฉมแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจ 15.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด-19

เวียดนามวางแผนเปิดแพ็คเกจการใช้จ่ายเงินมูลค่า 347 ล้านล้านดอง หรือประมาณ 15.25 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วงปี 2565-66 เพื่อรองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโรคโควิด-19 และเยียวผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการที่เข็มงวด โดยแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งล่าสุดนั้น มีมูลค่าต่ำกว่าที่เสนอไว้ที่ 800 ล้านล้านดองในเดือน พ.ย. รวมถึงมาตรการลดดอกเบี้ยเงินกู้และการชะลอการชำระคืนเงินกู้ของกิจการ ทั้งนี้ ตามแพ็คเกจดังกล่าว ธนาคารกลางเวียดนามจะดำเนินการขายพันธบัตรรัฐบาลคิดเป็นมูลค่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับในประเทศ เพื่อใช้ในการแทรกแซงตลาดและบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้มีเสถียรภาพ นอกจากนี้ เศรษฐกิจเวียดนามในปี 2564 เพิ่มขึ้น 2.58% ชะลอตัวลงจากปีก่อนที่เติบโต 2.91%

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20220105/vietnam-seeks-153-bln-stimulus-package-to-prop-up-virushit-economy/65064.html

‘เวียดนาม’ เผยผลผลิตอุตฯ ขยายตัว 4.82% ปี 64

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของเวียดนาม ปี 2564 เพิ่มขึ้น 4.82% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป เพิ่มขึ้น 6.73% ส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวม 1.61% ทั้งนี้ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในปี 2564 อุจสาหกรรมสำคัญส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2563 อาทิ การผลิตโลหะ เพิ่มขึ้น 22.1%, การผลิตยานยนต์ 10.2%, ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ 9.6% และการขุดเหมือง 9% นอกจากนี้ การดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) พบว่าภาคการผลิตและแปรรูปยังเป็นแหล่งดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติมากที่สุด ด้วยเม็ดเงินจดทะเบียนรวม 7.25 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วน 47.6% ของทุนจดทะเบียนใหม่ทั้งหมด

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/industrial-production-up-482-percent-in-2021/220222.vnp