รมว.ท่องเที่ยวกัมพูชา คาด ‘พระสีหนุ’ จะมีนักท่องเที่ยวมาเยือนเพิ่มขึ้น

รมว.ท่องเที่ยวกัมพูชา กล่าวว่า ทางการคาดหวังให้นักท่องเที่ยวมาเยือนพระสีหนุเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันประเทศกัมพูชาได้กลับมาเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ สำหรับให้ท่องเที่ยวที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบกำหนด สามารถเดินทางมายังกัมพูชาได้โดยไม่ต้องกักตัว โดยเจ้าหน้าที่ของกระทรวงได้กล่าวเพิ่มเติมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใหม่ของจังหวัด และการเตรียมการทางด้านมาตรการป้องกันโควิด-19 ส่งผลให้ปัจจุบันมีจำนวนนักท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในระยะถัดไปในอนาคตกัมพูชาคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ จะเริ่มกลับมาภายในไม่ช้า โดยรัฐมนตรีกล่าวว่าภายหลังจากความสำเร็จของอัตราการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนภายในประเทศกัมพูชา คาดว่าจะส่งผลทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันกัมพูชารายงานถึงจำนวนเที่ยวบินที่เดินเข้า-ออกกัมพูชา ต่อวันทั่วประเทศเพิ่มขึ้น 28 เที่ยวบินต่อวัน รวมทั้งที่สนามบิน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/981144/ministry-of-tourism-expects-more-visitors-in-preah-sihanouk/

Bitkub เผย ปีหน้าจ่อขยายไปมาเลย์-ฟิลิปปินส์-สปป.ลาว วางเป้าเป็น Coinbase แห่งอาเซียน

บลูมเบิร์กรายงานอ้างอิงคำให้สัมภาษณ์จาก ‘ท็อป-จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา’ ระบุว่า Bitkub กำลังวางแผนที่จะนำเสนอสกุลเงินดิจิทัลที่หลากหลาย และบริการในประเทศอื่นๆ เพิ่มเติม บนจุดมุ่งหมายคือ “เพื่อที่จะเป็น Coinbase แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” โดย Bitkub Online กำลังสำรวจหาโอกาสในการตั้งหน่วยงานของตนเอง หรือร่วมมือกับผู้เล่นที่มีอยู่ในประเทศต่างๆ เช่น มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ และสปป.ลาว ในปีหน้า โดยเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์จะยังคงเหมือนกับ Bitkub และหลีกเลี่ยงการเข้าไปทำตลาดในประเทศที่มีผู้เล่นรายใหญ่ๆ ครอบงำอยู่แล้ว เช่น ในอินโดนีเซีย ที่มี Indodax ทั้งนี้ การขยายธุรกิจไปในภูมิภาคของ Bitkub นั้นได้รับแรงหนุนมาจากความสำเร็จในประเทศไทย ที่ Bitkub เป็นผู้เล่นรายใหญ่ และมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 1,000% ต่อปี นับตั้งแต่เริ่มจัดตั้งบริษัทในปี 2018 ก่อนที่ในช่วงต้นเดือน พ.ย. 2021 ที่ผ่านมา ยานแม่อย่าง SCBX จะส่งบริษัทลูกเข้ามาซื้อกิจการ Bitkub Online และถือครองหุ้นมากกว่า 51% ทั้งนี้ Coinbase เป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโทฯ ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ และเข้าสู่ตลาด Nasdaq ไปเมื่อต้นปี โดยถือเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่ได้รับประโยชน์จากความสนใจคริปโทฯ ที่เพิ่มขึ้นของนักลงทุน จนผลักดันให้ตลาดสกุลเงินดิจิทัลทั่วโลกอยู่ที่ราว 2.75 ล้านล้านเหรียญในปัจจุบัน

ที่มา : https://workpointtoday.com/bitkub-%e0%b9%80%e0%b8%9c%e0%b8%a2-%e0%b8%9b%e0%b8%b5%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%88%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%82%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%84%e0%b8%9b%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b9%80/

‘เวียดนาม’ เผยอุตสาหกรรมฟื้นตัวช้าลง เหตุจากผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น

ตามข้อมูลของ ไอเอชเอส มาร์กิต รายงานว่า เดือน พ.ย. สถานการณ์ธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมในภาพรวม ปรับตัวดีขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 แต่ยังคงมีความกังวลต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ และปัญหาการขาดแคลนแรงงาน นายแอนดรูว์ ฮาร์เกอร์ ผู้อำนวยการของบริษัท กล่าวว่าปัจจุบัน ภาคการผลิตของเวียดนามยังอยู่ในทิศทางที่เป็นบวกในเดือน พ.ย. อย่างไรก็ดี การกลับมาของโควิด-19 คุกคามการฟื้นตัวในระยะสั้นของธุรกิจต่างๆ ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือน พ.ย. ของเวียดนาม อยู่ที่ระดับ 52.2 จากระดับ 52.1 ในเดือน ต.ค. ซึ่งส่งสัญญาว่าสภาพธุรกิจดีขึ้นเล็กน้อยติดต่อกันเป็นเดือรที่ 2 หลังจากเวียดนามเริ่มการระบาดระลอกที่ 4 ตั้งแต่ปลายเดือน เม.ย.

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/rising-covid-case-numbers-threaten-manufacturing-recovery/

‘เวียดนาม’ ดันการค้าระหว่างประเทศ พุ่ง 22.3% ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าการค้าระหว่างประเทศในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 599.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตัวเลขข้างต้นนั้น เมื่อพิจารณาในเดือน พ.ย. พบว่ามูลค่าอยู่ที่ 29.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 18.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทำให้ยอดการส่งออกในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 299.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ สินค้าอุตสาหกรรมผลิตทำรายได้จากการส่งออกมากที่สุด มีมูลค่า 266.75 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 89% ของการส่งออกทั้งหมด นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังคงเป็นผู้นำเข้าสินค้าจากเวียดนามรายใหญ่ที่สุด ด้วยมูลค่า 84.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองงมาจีน สหภาพยุโรป อาเซียน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ตามลำดับ อย่างไรก็ดี เวียดนามเกินดุลการค้า 225 ล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่เดือน ม.ค.-พ.ย.

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnam-sees-40-rise-in-intl-tourist-arrivals-in-nov/

รอบ 1 ปี เมียนมาส่งออกใบชาไปแล้วกว่า 4,900 ตัน

ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2563 ถึง 30 ก.ย. 2564 เมียนมาส่งออกใบชาประมาณ 4,900 ตัน ส่งออกไปยังเกาหลีใต้ เยอรมนี จีน ประเทศในสหภาพยุโรป และประเทศต่างๆ ในเอเชีย มากกว่า 4,000 ตันถูกส่งออกผ่านด่านชายแดน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เมียนมาเน้นส่งเสริมการส่งออกของรัฐฉาน โดยเน้นเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรเพื่อเป็นการพัฒนาทางเลือกในการเพาะปลูก ขณะที่ตลาดใบชาโลกผู้นำเข้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย สหราชอาณาจักร เวียดนาม ซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน โมร็อกโก เยอรมนี จีน และฮ่องกง ด้านผู้ส่งออกรายใหญ่ ได้แก่ จีน อินเดีย ศรีลังกา เคนยา โปแลนด์ เยอรมนี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และใต้หวัน ส่วนผู้ผลิตชารายใหญ่ที่สุดในโลก ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เคนยา ตุรกี เมียนมาร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม ศรีลังกา และอิหร่าน เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตใบชารายใหญ่ การเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการผลิตและเทคโนโลยีการเกษตรจะทำให้เมียนมาเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกชารายใหญ่ที่สุดของโลก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/more-than-4900-tonnes-of-tea-leaves-exported-within-one-year/

กัมพูชา สปป.ลาว ให้คำมั่นหนุนภาคพลังงาน

กัมพูชาและสปป.ลาวตกลงที่จะกระชับความร่วมมือในภาคพลังงาน เนื่องจากกัมพูชานำเข้าพลังงานหมุนเวียนจากลาวในปัจจุบัน ข้อตกลงดังกล่าวมีขึ้นในการประชุมระหว่างรัฐมนตรีกระทรวงเหมืองแร่ Suy Sem และ Daovong Phonekeo ถ้อยแถลงของกระทรวงกล่าวว่าในการประชุม ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งและขยายความร่วมมือในภาคพลังงาน ทั้งกรอบทางเทคนิคและเชิงพาณิชย์ และแลกเปลี่ยนการศึกษาสำหรับโครงการไฟฟ้าพลังน้ำของทั้งสองประเทศ ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำดอนสะโฮงและภาคกลางตอนล่าง 2 ในอนาคต แก้ว รัตนนัค อธิบดีการไฟฟ้าของกัมพูชา (EDC) ระบุว่า ไฟฟ้าที่นำเข้าจากเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำของลาวมีส่วนทำให้พลังงานหมุนเวียนในกัมพูชาเพิ่มขึ้น ภายใต้ข้อตกลงที่ลงนามในปี 2562 กัมพูชาซื้อไฟฟ้า 2,400 mW จากสปป.ลาว โดยระยะแรกเริ่มในปี 2567 ตามด้วยระยะที่สอง ระยะที่สาม และระยะที่สี่ในปี 2568, 2569 และ 2570 ตามลำดับ ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นส่วนช่วยผลักดันภาคพลังงานของสองประเทศให้เป็นภาคอุตสาหกรรมที่ใหญ่ขึ้นและมีผลต่อค่าครองชีพของประชาชนและภาคเศรษฐกิจโดยรวม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50980061/cambodia-laos-pledge-to-boost-energy-sector/

กัมพูชาเรียกร้องอินโดนีเซียเปิดเที่ยวบินตรงระหว่างกัน

กัมพูชาได้เรียกร้องให้อินโดนีเซียดำเนินการเปิดเที่ยวบินตรงระหว่างประเทศกับกัมพูชา เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่นักท่องเที่ยวที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบตามกำหนดแล้ว โดย Sok Sangvar ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวกล่าวในงาน Famtrip ที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือที่ดีระหว่างสองประเทศในด้านการเจรจาต่อรอง การค้า การท่องเที่ยว และอื่นๆ ในหัวข้อ “Exploring the Land of Sunda” ที่สถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียในกรุงพนมเปญ โดยในเดือนมิถุนายน 2019 ที่ผ่านมา Citlink ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของสายการบินได้เพิ่มเที่ยวบินระหว่างจาการ์ตาและพนมเปญ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ แต่เที่ยวบินดังกล่าวถูกระงับไปในเดือนเมษายน 2020 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 และปัจจัยด้านน้ำหนักบรรทุก โดยเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียให้คำมั่นที่จะผสานกับทางการอินโดนีเซียในการติดต่อขอเที่ยวบินตรงระหว่างประเทศให้กลับมาให้บริการอีกครั้ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50980346/cambodia-urges-indonesia-to-resume-direct-flights/

สถานภาพความร่วมมือทางด้านการสนับสนุนและการลงทุน กัมพูชา-จีน

ตั้งแต่ปี 1992 ถึงปี 2020 จีนได้ให้เงินช่วยเหลือสนับสนุนแก่กัมพูชามากกว่า 4 พันล้านดอลลาร์ และการลงทุนรวมของจีนภายในกัมพูชาอีกประมาณ 27,000 ล้านดอลลาร์ โดยเรื่องนี้ถูกกล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งจัดโดยสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ของกัมพูชา โดย Sok Chenda Sophea เลขาธิการ CDC และ Wang Wentian เอกอัครราชทูตจีนประจำกัมพูชา เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีนักธุรกิจชาวจีนประมาณ 300 คนเข้าร่วมด้วย ในการปราศรัยของเขา เลขาธิการ CDC ได้สรุปว่าจนถึงปี 2020 จีนได้มอบเงินช่วยเหลือให้กับกัมพูชาถึง 4,655 ล้านดอลลาร์ และปริมาณการลงทุนของจีนในประเทศสูงถึง 27,000 ล้านดอลลาร์ ณ เดือนตุลาคม โดยคาดว่ากฎหมายฉบับนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์กับภาคการค้าและจากข้อตกลงการค้าเสรีต่างๆ เช่น ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกัมพูชาและจีนที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2022 และข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีอื่นๆ กับประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50980054/china-has-provided-over-4-billion-in-grants-and-27-billion-in-investment-from-1992-to-2020/