‘สัมพันธ์เวียดนาม-สปป.ลาว’ ส่งผลการค้าเฟื่องฟู

ตามรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เผยว่าการค้าเทวีภาคีมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2559-2563 ได้บรรลุเป้าหมายมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่เมื่อปี 2563 กิจกรรมการค้าเกิดอุปสรรค เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระบาด อย่างไรก็ดี ก็สามารถกลับมาฟื้นตัวในช่วงต้นปี 2564 ทั้งนี้ ในเดือนพฤษภาคม ยอดการค้าระหว่างเวียดนามกับสปป.ลาว อยู่ที่ 570.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 39.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี นอกจากนี้ การค้าระหว่างเวียดนามกับสปป.ลาว ยังได้รับประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี ทำให้อัตราภาษีศุลากากรอยู่ที่ 0% ด้วยเหคุนี้ ทางกระทรวงจึงแนะนำให้ผู้ประกอบการเวียดนามเข้ามาลงทุนในสปป.ลาว เพื่อยกระดับการส่งสินค้าและบริการไปยังตลาดนี้ โดยเวียดนามถือเป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับ 3 ในสปป.ลาว และส่วนใหญ่จะลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงาน การธนาคารและอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-laos-enjoy-flourishing-trade-ties/203731.vnp

ส่งออกสินค้าเกษตรมาแรง พุ่ง 3.88 พันล้านดอลลาร์

แปดเดือนครึ่งของปีงบประมาณ 2563-2564 การส่งออกสินค้าเกษตรพุ่งสูง 3.88 พันล้านดอลลาร์ เพิ่ม  923.9 ล้านดอลลาร์จากช่วงเดียวหันของปีก่อนที่ส่งออกสินค้าเกษตรมีมูลค่า 2.95 พันล้านดอลลาร์ สวนทางกับการส่งออกสินค้าอื่นๆ ที่มีแนวโน้มลดลง ท่ามมาตรการคุมเข้มวิกฤติโควิด-19 ที่เข้มงวดในพื้นที่ชายแดนและค่าขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่เพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมการเกษตรมีแววรุ่งที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 37 ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกที่สำคัญในภาคเกษตร ได้แก่ ข้าวและข้าวหัก ถั่วและข้าวโพด ผลไม้และผัก งา ใบชาแห้ง น้ำตาล และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ ตลาดนำเข้าหลักจะเป็นจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา ซึ่งการส่งออกแบบ G to G ยังช่วยสร้างแข็งแกร่งให้กับตลาด ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ยังผลักดันและช่วยเกษตรกรจัดการปัญหาที่ยากจะควบคุม เช่น ต้นทุนการผลิตที่สูง การจัดหาเมล็ดพันธุ์ ต้นทุนการเพาะปลูกที่สูง และสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/agro-exports-surge-to-3-88-bln-as-of-18-june/#article-title

กางแผนส่งออกครึ่งปีหลัง เน้นออนไลน์-เปิดตลาดใหม่

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เตรียมแผนผลักดันส่งออกในช่วงครึ่งหลังปี 64 โดยเน้นในรูปแบบออนไลน์ ทั้งการจัดงานแสดงสินค้าเสมือนจริงและผสมผสานการจัดงานแสดงสินค้าและการเข้าร่วมในต่างประเทศ การเจรจาการค้าออนไลน์ รวมถึงกิจกรรมแบบออฟไลน์ในประเทศที่เป็นเป้าหมาย ส่วนแผนการขยายการส่งออก จะเน้นการรักษาตลาดเดิม เช่น สหรัฐ จีน สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เพิ่มเพิ่มตลาดใหม่ เช่น รัสเซีย มองโกเลีย (ประตูสู่กลุ่มประเทศยูเรเซีย) อินเดีย และแอฟริกาใต้ รวมทั้งฟื้นตลาดเก่าที่ เช่น อิรัก และซาอุดีอาระเบีย พร้อมเร่งผลักดันเสินค้าที่ต้องการของตลาด 3 กลุ่มหลัก คือ สินค้าเกษตรและอาหาร สินค้าทำงานที่บ้าน และสินค้าป้องกันการติดเชื้อ

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/852866

เศรษฐกิจ การเงินและการปราบปามยาเสพติด ได้รับการเสนอให้เป็นวาระแห่งชาติ

คณะกรรมการกลางของพรรคปฏิวัติประชาชนสปป.ลาวได้แก้ไขการดำเนินการที่มุ่งแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ การเงินและการปราบปามยาเสพติด ซึ่งได้รับการเสนอให้เป็นวาระแห่งชาติ ที่ประชุมเห็นชอบเกี่ยวกับมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและการเงินที่รัฐบาลนำเสนอ ซึ่งรวมถึงการเพิ่มการจัดเก็บรายได้ การส่งเสริมความรัดกุมในการการลงทุนของรัฐและการรักษาเสถียรภาพของสกุลเงิน ในการนี้ ที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะดำเนินการป้องกันและปราบปรามเครือข่ายยาเสพติดอย่างเป็นระบบ รวมทั้งดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติดอย่างเคร่งครัด โปร่งใส และเป็นธรรม

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Party_123.php

ALCEDA Bank กัมพูชา ตั้งวงเงินกู้สนับสนุน SMEs 169 ล้านดอลลาร์

ACLEDA Bank ประกาศตั้งวงเงินกู้ระยะยาว 5 ปี มูลค่ารวม 169 ล้านดอลลาร์ ให้กับภาค SMEs ภายในประเทศ จากความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศในการสนับสนุนการเติบโตเชิงกลยุทธ์และถือเป็นการกระจายแหล่งเงินทุนตามแผนการดำเนินงานของธนาคาร ซึ่งคาดว่าจะอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการประคับประคองธุรกิจ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50881234/acleda-bank-procures-169mn-loan-to-support-smes/

ส่งออกกัมพูชาโตร้อยละ 17 ในช่วง 5 เดือนแรกของปี

สถานภาพทางเศรษฐกิจของกัมพูชายังคงทรงตัว แม้จะเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในประเทศ จนทำให้รัฐบาลต้องประกาศล็อกดาวน์ในเขตเมืองหลวง กรุงพนมเปญและจังหวัดกันดาลในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยการส่งออกของกัมพูชาในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17 ในหมวดผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เครื่องนุ่งห่ม เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จักรยาน แผงโซลาร์เซลล์ และสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 52 สะท้อนถึงความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่ทางกัมพูชาทำการส่งออกมากขึ้น ช่วยลดการพึ่งพาการส่งออกสินค้าประเภทเครื่องนุ่งห่มซึ่งถือเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของกัมพูชา ซึ่งจากรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชากล่าวเพิ่มเติมว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าของกัมพูชาในช่วงไตรมาสแรกของปีอยู่ที่ 4.428 พันล้านดอลลาร์ โดยสินค้าเกษตรและเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50881810/17-percent-increase-in-cambodian-exports-in-first-five-months-of-the-year/

ธนาคาร UOB คาดเศรษฐกิจเวียดนามปี 64 โต 6.7% แม้เผชิญโควิด-19 ระบาด

ธนาคาร United Overseas Bank (UOB) สิงคโปร์ คาดการณ์ว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในปี 2564 ฟื้นตัวแตะ 6.7% ถึงแม้ว่าจะมีการระบาดระลอกที่ 4 แต่เศรษฐกิจเวียดนามยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 4.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ เมื่อเดือนก่อน ยอดการส่งออกของเวียดนามอยู่ที่ 26.19 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 1.3% จากเดือนเม.ย. เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระบาด แต่หากเมื่อพิจารณาช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ยอดการส่งออกแตะ 131.13 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 33.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ดี การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ส่งสัญญาเชิงบวก ด้วยจำนวนโครงการจดทะเบียนใหม่ 613 โครงการในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ คิดเป็นเงินทุนจดทะเบียนรวม 8.33 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 18.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20210626/uob-projects-vietnams-2021-gdp-growth-at-67-despite-covid19/61732.html

เวียดนามคาดตลาดอสังหาฯ กลับมาฟื้นตัว เมื่อควบคุมการระบาดได้

การระบาดใหญ่ของไวรัวโควิด-19 ส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว แต่ผู้เชั่ยวชาญหลายท่านมองว่าเป็นเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น และหวังว่าจะฟื้นตัวเมื่อสามารถควบคุมการระบาดได้ คุณ Sử Ngọc Khương ผู้จัดการอาวุโสของบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ Savills Vietnam กล่าวว่าการระบาดของโควิด-19 ในไตรมาส 2 ของปีนี้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้กำลังซื้อของภาคอสังหาฯ ลดลง และนักลงทุนระมักระวังกันมากขึ้น ทั้งนี้ คุณ Nguyễn Van Đính รองผู้อำนวยการสมาคมอสังหาริมทรัพย์เวียดนาม กล่าวว่าการขาดแคลนของอุปทาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาอพารต์เมนต์สูงขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ การฉีดวัคซีน ถ้าควบคุมการระบาดได้สำเร็จ การลงทุนจะไหลเข้าเศรษฐกิจเอง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/980408/real-estate-market-expected-to-recover-when-virus-is-under-control.html