ชาวสวนยางเมืองโฮนมะลี่นปลื้ม ยางพาราราคาพุ่ง สร้างกำไรเป็นกอบเป็นกำ

ชาวสวนยางจากเมืองโฮนมะลี่น เขตซะไกง์ สร้างกำไรงามจากราคายางที่เพิ่มขึ้น ซึ่งขยับราคาจาก 700 จัตต่อปอนด์ เป็น 900 จัตต่อปอนด์ในปัจจุบัน โดยทั่วไปแล้วผลผลิตยางต่อเอเคอร์อยู่ที่ประมาณ 800-1,000 ปอนด์ซึ่งเกษตรกรจะได้กำไร 400,000-500,000 จัต โดยแผ่นยางจากจะถูกส่งไปยังเมืองโมนยวา และ มัณฑะเลย์ การปลูกยางพาราของเมืองโฮมาลินเริ่มในปี 2548 พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นขึ้นทุกปี โดยในปี 2564 มีพื้นที่เพาะปลูกเถึง 8,187 อเคอร์ ซึ่งปีนี้สามารถกรีดยางได้ 531 เอเคอร์และสามารถผลิตยางธรรมชาติประมาณ 300,000 ปอนด์ต่อปี นอกจากนี้ยังมีการปลูกผสมผสานกับต้นกาแฟภายในสวนยางพาราเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/high-rubber-price-boosts-profit-in-homalin-township/#article-title

อุตสาหกรรมเสื้อผ้า CMP ส่งออกสูงสุด 1.4 พันล้านดอลลาร์ในรอบ 5 เดือน

5 เดือนแรก (ต.ค.64 – ก.พ.64) ของปีงบประมาณ 63-64 การส่งออกเสื้อผ้าของเมียนมาพุ่งเกิน 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ แม้โรงงานต่างๆ กำลังเผชิญกับการยกเลิกคำสั่งซื้อใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม H&M ผู้ค้าปลีกสินค้าแฟชั่นสัญชาติสวีเดนเริ่มทยอยกลับมาสั่งซื้อตามด้วยแบรนด์อย่าง Primark และ Bestseller หลังหยุดการสั่งซื้อไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าแบบ CMP (Cutting Making และ Packaging) และการได้รับสิทธิพิเศษจากประเทศตะวันตกกลายเป็นอุตสาหกรรมส่งออกหลักของประเทศ แต่การหยุดชะงักจากภาคโลจิสติกส์ อุปทาน และผลกระทบจากโควิด-19  และความไม่แน่นอนทางการเมืองเป็นอุปสรรคสำคัญ ภาคการผลิตเสื้อผ้าของเมียนมาจึงเป็นส่วนสำคัญของ GDP ประเทศ จากยอดคำสั่งซื้อที่ลดลงทำให้โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าบางแห่งปิดตัวลงชั่วคราวและทำให้คนงานหลายพันคนต้องตกงาน เมียนมาสงออกเสื้อผ้า CMP ไปยังตลาดในญี่ปุ่นและยุโรปเป็นหลักตามด้วย สาธารณรัฐเกาหลีใต้ จีน และสหรัฐอเมริกา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/cmp-garment-exports-top-1-4-bln-in-five-months/#article-title

โอกาสการส่งออกข้าวของเวียดนามในตลาดฟิลิปปินส์

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม ระบุว่าฟิลิปปินส์ปรับลดอัตราภาษีนำเข้าข้าว ช่วยเปิดโอกาสแก่ธุรกิจเวียดนามคงอุปทานให้มีเสถียรภาพและปกป้องตลาดในประเทศ อย่างไรก็ตาม ภาวะการแข่งขันทางด้านราคาที่รุนแรงของผู้ส่งออกแบบดั้งเดิม ได้แก่ ไทยและอินเดีย ทำให้ทางกระทรวงฯ ได้เรียกร้องให้ผู้ประกอบการในประเทศเร่งร่วมมือกับครัวเรือนเกษตร เพื่อลดต้นทุนและยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน ในขณะเดียวกัน ผู้ส่งออกควรศึกษาและปฏิบัติตามกฎระเบียนที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังต้องมั่นติดตามตลาดอยู่เสมอ เนื่องจากการปรับลดอัตราภาษีของฟิลิปปินส์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และจัดทำแผนป้องกันความเสี่ยงทางธุรกิจ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/opportunities-for-vietnam-to-maintain-stable-rice-export-to-philippines/201927.vnp

เวียดนามโดนตัดสิทธิ GSP ของข้อตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย

กระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ของเวียดนาม (Vietrade) เมื่อวันที่ 12 ต.ค. เผยว่าเวียดนามถูกลบออกจากรายชื่อประเทศที่มีสิทธิทางด้านภาษีจากข้อตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (EAEU) ภายใต้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) การเคลื่อนไหวดังกล่าว มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้ส่งออกเวียดนามไปยังกลุ่มประเทศ EAEU อาทิ รัสเซีย เบลารุส คาซัคสถาน อาร์เมเนียและคีร์กีซสถาน โดยเฉพาะรัสเซีย เนื่องจากเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ เวียดนามเป็น 1 ใน 75 ประเทศกำลังพัฒนาที่ถูกลบออกจากรายชื่อ ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่ยอดการค้าระหว่างเวียดนามกับประเทศ EAEU เพิ่มขึ้น 6.5% เป็นมูลค่า 5.2 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-removed-from-list-of-beneficiaries-of-eaeu-tariff-preferences-under-gsp/201933.vnp

กัมพูชารายงานความคืบหน้าโครงการสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ในพนมเปญ

ทางการกล่าวว่าการก่อสร้างสนามบินพนมเปญแห่งใหม่ที่มีมูลค่าโครงการอยู่ที่ 1.5 พันล้านดอลลาร์ เสร็จสมบูรณ์แล้วร้อยละ 40 ในเดือนพฤษภาคม ภายใต้การดำเนินการตามแผนที่วางไว้แม้จะกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยสนามบินตั้งอยู่ในจังหวัดกันดาลคาบเกี่ยวกับจังหวัดตาแก้วบนพื้นที่กว่า 2,600 เฮกตาร์ มีกำหนดจะเริ่มเปิดดำเนินการในปี 2023 ซึ่งเมื่อสนามบินแห่งใหม่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์และเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจให้กับประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดกันดาลเนื่องจากสนามบินแห่งนี้ถือเป็นสนามบินที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค ซึ่งคาดว่าจะรองรับผู้โดยสารที่เดินทางมายังกัมพูชาได้มากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50861152/new-phnom-penh-international-airport-construction-now-40-percent-complete/

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชาขยายโครงการปรับโครงสร้างหนี้ถึงสิ้นปี

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ออกมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบทางด้านการเงินให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยมาตรการดังกล่าวรวมถึงการคงปริมาณเงินทุนสำรองของสถาบันการเงินภายใรประเทศไว้ที่ร้อยละ 7 เพื่อเป็นการรองรับกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตและทำการขยายการปรับโครงสร้างหนี้ไปจนถึงสิ้นปี ซึ่งลูกค้าที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ล็อกดาวน์สามารถทำการขอรีไฟแนนซ์ได้ถึง 3 ครั้งในช่วงระยะเวลาผ่อนผันนี้ตามประกาศของ NBC ทั้งยังสนับสนุนให้สถาบันการเงินพิจารณาลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมเป็นรายกรณีตามความเหมาะสม โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาสมาคมไมโครไฟแนนซ์กัมพูชา (CMA) รายงานว่าภายในเดือนเมษายนมียอดเงินกู้รวมสูงถึงประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์ ที่ขอทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในสถาบันทางการเงินที่เป็นสมาชิก CMA

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50861450/nbc-extends-loan-restructures-to-end-of-year/

ความพยายามร่วมกันของเอเชียในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19

ประธานาธิบดีสปป.ลาว Mr.Thongloun Sisoulith กล่าวกับที่ประชุมนานาชาติซึ่งจัดโดย Nikkei ผ่านการประชุมทางไกล ในหัวข้อการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังยุคโควิด : บทบาทของเอเชียในการฟื้นตัวของโลก โดยประธานาธิบดีกล่าวว่า “ความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในยุคหลังโควิดต้องอาศัยความพยายามร่วมกันดังนั้นจะต้องหลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ ที่อาจนำไปสู่สงครามหรือความรุนแรงต่อกันในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” ยุคหลังโควิดจะเป็นยุคที่ใช้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอุตสาหกรรม 4.0 โลกจะได้สัมผัสกับเศรษฐกิจดิจิทัลและ AI (ปัญญาประดิษฐ์) อีคอมเมิร์ซและการใช้สื่อออนไลน์เพื่อเข้าถึงข้อมูล เอเชียซึ่งมีประชากรมากที่สุดจึงทำให้เป็นภูมิภาคฐานข้อมูลที่สำคัญ เอเชียจะมีส่วนสำคัญในการฟื้นตัวของโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการมีส่วนร่วมจากประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ประธานาธิบดีสปป.ลาว กล่าวเสริมว่า “อาเซียนซึ่งเป็นกลุ่มภูมิภาค 10 ประเทศที่ลาวเป็นสมาชิกจะส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างจริงจังมากขึ้นและเศรษฐกิจดิจิทัลและสีเขียวหรือเศรษฐกิจอัจฉริยะ”

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Collective_98.php

เศรษฐกิจไทยยังหดตัวต่อเนื่องไตรมาสที่ 5

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/64 หดตัวที่ -2.6% น้อยกว่าที่คาด -3.3% ผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก โดยการส่งออกเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่การที่ไม่สามารถควบคุมการระบาดระลอกใหม่ได้ยังคงส่งผลกระทบต่อการบริโภคและภาคการท่องเที่ยวอย่างมาก ทั้งนี้ได้ประมาณการเศรษฐกิจปี 64 ที่ 1.8% จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ท่ามกลางอัตราการฉีดวัคซีนที่ยังอยู่ในระดับต่ำซึ่งกระทบต่อความเชื่อมั่นและพฤติกรรมของผู้บริโภค ทั้งนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลให้ราคาสินค้าพุ่งสูง ทำให้เงินเฟ้อไทยเพิ่มงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะทำให้ค่าครองชีพของครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ที่มา: https://www.posttoday.com/finance-stock/news/653682