การค้าเวียดนาม-จีน สูงถึง 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 10 เดือนแรกของปี 63

กรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าเมื่อเดือนต.ค. เวียดนามมีมูลค่าส่งออกประมาณ 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปยังจีน ส่งผลให้ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการค้าระหว่างประเทศมากกว่า 37.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วย 10 รายการสินค้าที่มีรายได้มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้ว่าจะได้รับสัญญาเขิงบวกหลายด้านด้วยกัน แต่ว่าความตึงเครียดของสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน และการระบาดของไวรัสโควิด-19 คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการนำเข้าและส่งออกของเวียดนามในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ด้วยเหตุนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า จะดำเนินงานให้เกิดความสะดวกในการส่งออกสินค้าไปยังจีน ได้แก่ ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจง่ายขึ้น ปฏิรูประบบให้ดีขึ้นและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการลงทุน เพื่อลดต้นทุนการทำธุรกิจ

  ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnam-china-trade-turnover-reaches-us100-billion-in-ten-months-817862.vov

เวียดนามเผยส่งออกมะม่วงไปยังสหรัฐ พุ่ง 2 เท่า

จากรายงานของหน่วยงานการค้าต่างประเทศ ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่ามูลค่าการนำเข้ามะม่วงของสหรัฐฯ อยู่ที่ 2.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.9 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่ ราคานำเข้าเฉลี่ยอยู่ที่ 2,064.8 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และการนำเข้าส่วนใหญ่เป็นผลไม้สดและผลไม้แช่แข็ง ทั้งนี้ ในแง่ของปริมาณ พบว่าเวียดนามเป็นตลาดนำเข้ารายใหญ่ที่สุด อันดับที่ 12 ของสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.3 ของยอดมูลค่าทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ธุรกิจเวียดนามจำเป็นต้องติดตามเรื่องกฎระเบียบที่เข็มงวดเกี่ยวกับการทำฟาร์ม การบรรจุหีบห่อและแหล่งกำเนิดสินค้า นอกจากนี้ การส่งออกมะม่วงของเวียดนามไปยังสหรัฐฯ ที่พุ่งสูงขึ้นนั้น นับว่าเป็นไปได้ยากมากในช่วงสถานการณ์ของการแพร่ระบาด COVID-19 ที่ส่งผลการส่งออกทั่วโลกลดลง โดยสหรัฐฯ เป็นผู้ซื้อผลผลิตทางการเกษตรของเวียดนามรายใหญ่ อันดับที่ 4 ในปีที่แล้ว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.7 ของการส่งออกรวม รองลงมา จีน สหภาพยุโรปและอาเซียน

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-mangoes-export-volumnes-to-us-doubles-25849.html

UMFCCI คาดปีงบฯ นี้ จีน รั้งประเทศลงทุนอันดับต้นๆ ในเมียนมา

จากข้อมูลของสมาพันธ์การค้าและอุตสาหกรรมแห่งเมียนมา(UMFCCI) ปีงบประมาณ 63-64 นักลงทุนจากจีนจะเป็นนักลงทุนต่างชาติอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้วยเงินลงทุนจำนวนมาก ซึ่งจะมุ่งไปที่โครงสร้างพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์ที่สนับสนุนโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative) จีนลงทุนกว่า 3.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 375 ธุรกิจในเมียนมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 59-60  นอกจากจีนแล้วประเทศที่มีศักยภาพน่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ กระตือรือร้นที่จะเร่งการลงทุนโครงการปัจจุบันของจีนบางส่วนในประเทศหลังจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งจะเพิ่มการลงทุนในภาคพลังงาน โทรคมนาคม การท่องเที่ยว และการผลิตก๊าซธรรมชาติ ในปี 63-64 เมียนมาตั้งเป้าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไว้ที่ 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและ 8.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 64-65 โดยมีเป้าหมายในปีนี้เพื่อส่งเสริมและดึงดูดการลงทุนในภาคเกษตรกรรม การประมง อุตสาหกรรม และเทคโนโลยี

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/china-forecast-be-top-myanmar-investor-fiscal-year-umfcci.html

DHL Express เพิ่มการลงทุนในเอเชียรองรับอีคอมเมิร์ซขยายตัว

บริษัท DHL Express ลงทุนเกือบ 750 ล้านยูโรเพื่อขยายโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่ายทั่วโลกในอีกสองปีข้างหน้า โดย 60 ล้านยูโรจะขยายเครือข่ายการบินในเอเชียแปซิฟิกและเปิดตัวเส้นทางบินตรงที่เชื่อมต่อศูนย์กลางโลจิสติกส์ในภูมิภาคไปยังย่างกุ้งและเวียงจันทร์ของสปป.ลาว DHL คาดว่าปริมาณการจัดส่งในเอเชียแปซิฟิกจะสูงกว่าช่วงพีคของซีซั่นในปีที่แล้วถึง 30-40% ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานที่ขยายตัวและเส้นทางการบินใหม่จะได้ประโยชน์จากตลาดอีคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโตและการค้าข้ามแดนในระยะยาว ตั้งแต่ต้นปี 63 DHL ประสบปัญหาการจัดส่งสินค้าออนไลน์ในเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้น 50% (ไม่นับรวมจีน) นอกจากนี้ยังลงทุน 25 ล้านยูโรเพื่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ในบังกลาเทศซึ่งจะรวมสำนักงานและศูนย์บริการบนพื้นที่ 10,000 ตร.ม. โรงงานแห่งใหม่นี้จะทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 35% และคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 65 นอกจากนี้ยังจะสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ๆ ในออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ อีกทั้งเครือข่ายสายการบินใหม่จะขยายไปยังปักกิ่งและย่างกุ้ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/dhl-express-raises-investment-asia-e-commerce-expands.html

“สุพัฒนพงษ์” ชี้เศรษฐกิจไทยขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ลั่นปี’64 ปั๊มเศรษฐกิจเชิงรุก

“สุพัฒนพงษ์” ยิ้มรับ จีดีพี ไตรมาส 3 ฟื้นตัว มั่นใจไตรมาส 4 ดีขึ้นตามลำดับ ประชาชนให้ความร่วมมือตามนโยบายกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย ท่องเที่ยวในประเทศ ลั่น ปี’64 ปีแห่งการลงทุน เร่งแผนปั๊มเศรษฐกิจเชิงรุก ลุยดึงดูดการลงทุนต่างชาติ วันที่ 16 พ.ย. 2563 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ได้แถลงตัวเลขเศรษฐกิจ (GDP) ประจำไตรมาส 3/2563 อยู่ที่ – 6.4% นั้นเป็นการประเมินจากสถานการณ์เศรษฐกิจในไตรมาส 3 ดีขึ้นกว่าที่คาดไว้ และจะส่งผลให้ไตรมาส 4 ดีขึ้นตามลำดับและตามซีซั่น พร้อมทั้งเชื่อมั่นว่า ปี2563 จะอยู่ที่ -6.7% จากเดิมที่หลายฝ่ายประเมินว่าอาจติดลบ 9-12% โดยถือว่าอยู่ในระดับดี เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน และกรณีความกังวลงบประมาณรายจ่ายของภาครัฐปี64 จะต้องได้ 98% ของงบประมาณรายจ่ายนั้น มองว่า รัฐบาลต้องเร่งรัดประคองรายได้จากภาคการท่องเที่ยว กระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ และส่งออก อย่างไรก็ตาม ปีหน้า 2564 รัฐบาลจะเริ่มเปิดประเทศ โดยพิจารณาอย่างรอบคอบตามมาตรการป้องกัน ควบคุมจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งตั้งเป้าว่า ปีหน้าจะเป็นปีแห่งการดึงดูดการลงทุน ปฎิบัติตามแผนทำงานในเชิงรุก ประกอบกับการที่ไทยมีโครงสร้างพื้นฐานที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดการลงทุน เชื่อว่า จะทำให้เศรษฐกิจในประเทศขยายตัวได้ดีขึ้น เร็วขึ้น ทั้งนี้ ต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนทุกคนร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเป็นสิ่งสำคัญด้วย ” เชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงปลายปีนี้ ยิ่งประชาชนให้ความร่วมมือร่วมขับเคลื่อนโครงการต่างๆตามนโยบายรวมไทยสร้างชาติ กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ การท่องเที่ยวเริ่มกลับมาบ้าง ยิ่งส่งผลดี อาทิ โครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน ช่วงปลายปีนี้ขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ และปีหน้าจะเริ่มแผนเชิงรุกเพื่อดึงดูดลงทุนต่างชาติ”

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-556760

กัมพูชาเร่งศึกษาด้านพลังงานรองรับนโยบาย “Kingdom’s industry 4.0”

ในขณะที่กัมพูชากำลังก้าวเข้าสู่โลกของอุตสาหกรรม 4.0 ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ากุญแจสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศคือพลังงานและทรัพยากรมนุษย์ที่ถือเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต โดยสังเกตว่าความต้องการพลังงานสะอาดกำลังเพิ่มขึ้นและด้วยความต้องการดังกล่าวจะทำให้ความต้องการพนักงานที่มีทักษะพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันกัมพูชาค่อนข้างล้าหลังในเรื่องพลังงานหมุนเวียน เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทยและเวียดนาม ทั้งกัมพูชายังไม่มีแผนงานหรือนโยบายที่แท้จริงในการพัฒนาศักยภาพทางด้านนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/782455/education-on-energy-is-key-to-kingdoms-industry-4-0-future/

นักลงทุนท้องถิ่นเร่งลงทุนสนับสนุนภาคการก่อสร้างกัมพูชา

ภาคการก่อสร้างกัมพูชาได้รับแรงหนุนจากนักลงทุนในท้องถิ่น หลังจากโครงการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศหยุดชะงักจากผลกระทบของ COVID-19 โดยผู้จัดการทั่วไปของ Cambodia Constructors Association กล่าวว่าการระบาดครั้งนี้ทำให้การลงทุนจากต่างประเทศลดลงอย่างมากในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันโครงการส่วนใหญ่ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้จะเป็นการลงทุนมาจากนักลงทุนในพื้นที่ โดยยังช่วยรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้วยการจ้างงานภายในภาคการก่อสร้าง โดยรายงานจากกระทรวงการจัดการที่ดินการวางผังเมืองและการก่อสร้าง (MLMUP) แสดงให้เห็นว่าการลงทุนในภาคการก่อสร้างของประเทศในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2020 มีมูลค่ารวม 5.8 พันล้านดอลลาร์ ลดลงมากกว่าร้อยละ 9 จาก 6.5 พันล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งภาคการก่อสร้างภายในประเทศสร้างงานมากกว่า 170,000 ตำแหน่ง โดยเฉลี่ยต่อวันทั่วประเทศในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 เพิ่มขึ้นจาก 134,000 ตำแหน่ง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50782454/local-investors-boost-construction-sector/

ผู้นำกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงกระชับความสัมพันธ์ผ่านการประชุมสุดยอด Mekong-ROK

ความร่วมมือระหว่างประเทศในลุ่มน้ำโขงและสาธารณรัฐเกาหลี (ROK) เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะที่ความร่วมมือระหว่างประเทศลุ่มน้ำโขงและญี่ปุ่นก็ขยายวงกว้างขึ้นเช่นกัน ในการประชุมสุดยอด Mekong-ROK สัปดาห์ที่ผ่านมาผู้นำจากสปป.ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ ไทย เวียดนามและเกาหลีใต้ ได้ทบทวนความร่วมมือที่ผ่านมาตามแผนงานความร่วมมือระยะเวลาตั้งแต่ปี 2560-2563 กรอบความร่วมมือได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วภายใต้ 3 เสาหลักและลำดับความสำคัญ 7 ประการในด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การเกษตรและการพัฒนาชนบท การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและสิ่งแวดล้อม สปป.ลาวได้ดำเนินโครงการ 4 โครงการโดยได้รับการสนับสนุนจาก Mekong-ROK Cooperation Fund มูลค่า 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐโครงการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านทรัพยากรมนุษย์และแก้ปัญหาความยากจนในสปป.ลาว สปป.ลาวได้รับประโยชน์จากโครงการความช่วยเหลือหลายโครงการภายใต้ความร่วมมือแม่โขง – ญี่ปุ่นซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการก้าวสู่การเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Leaders_223.php