เศรษฐกิจเวียดนามคาดแซงโตสิงคโปร์ ในปี 2029

ธนาคารแห่งชาติสิงคโปร์ (DBS) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของเวียดนามจะเติบโตร้อยละ 6-6.5 ในอีก 10 ปีข้างหน้า หากสามารถรักษาอัตราการเติบโตดังกล่าวได้ เศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโตจนมีขนาดใหญ่กว่าสิงคโปร์ในอีก 10 ปี ด้วยแรงหนุนจากเงินลงทุนที่ไหลเข้าจากต่างประเทศและกำลังการผลิตที่เติบโตสูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า ทั้งนี้ เศรษฐกิจของเวียดนามในปัจจุบัน มีมูลค่าอยู่ที่ 224 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แสดงให้เห็นถึงขนาดเศรษฐกิจถึงร้อยละ 69 ของเศรษฐกิจสิงคโปร์ หรือประมาณ 324 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

  ที่มา : https://baodanang.vn/english/business/202011/viet-nams-economy-forecast-to-grow-bigger-than-singapore-by-2029-3872550/

เวียดนามร่วมลงนาม ‘RECEP’ ตั้งเขตการค้าเสรีใหญ่ที่สุดในโลก

การร่วมลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เมื่อผู้นำ 15 ประเทศ จากกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก คิดเป็นสัดส่วนรวมกันร้อยละ 29 ของ GDP โลก รวมถึงอาเซียน 10 ประเทศ เช่น ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์และเกาหลีใต้ ซึ่งการลงนามในครั้งนี้เป็นหนึ่งในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 37 โดยเวียดนามเป็นประธาน ทั้งนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) จะช่วยให้เวียดนามสามารถเข้าถึง 1 ใน 3 ของประชากรโลก และมีโอกาสที่จะขยายการส่งออกไปยังตลาด ด้วยมูลค่าราว 26 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากข้อตกลงการค้าเสรีแล้วนั้น ยังรวมถึงทรัพย์สินทางปัญญา, อีคอมเมิร์ซ, การแข่งขัน, SMEs ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น เวียดนามสามารถนำเข้าชิปอิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ และนำเข้าวัสดุสิ่งทอจากจีน เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ก็ต้องปฏิบัติตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายในกลุ่ม นอกจากนี้ สนธิสัญญาดังกล่าว จะช่วยให้เวียดนามเข้าถึงตลาดผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุด ภายใต้ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP)

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/vietnam-inks-world-s-largest-trade-pact-rcep-4192071.html

เมียนมาพร้อมเปิดตัวระบบค้าออนไลน์ TradeNet 2.0 มกราคมนี้

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาเผยพร้อมใช้ระบบการค้าออนไลน์ TradeNet 2.0 ที่ปรับปรุงพร้อมใช้อย่างเต็มรูปแบบระหว่างการเปิดตัวเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 63 ที่ผ่านมา เมื่อระบบถูกสมบูรณ์ผู้ค้าจะสามารถยื่นขอใบอนุญาตการส่งออก / นำเข้าทางออนไลน์ได้ ระบบ e-licensing ที่ได้รับการปรับปรุงการสมัครเข้าไว้ในแพลตฟอร์มเดียวกันและมีประสิทธิภาพในการใช้งานมากขึ้น กระทรวงพาณิชย์วางแผนที่จะใช้ TradeNet 2.0 ด้วยเทคโนโลยีและเงินทุนที่จัดทำโดย หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ (USAID) ขั้นตอนการดูแลระบบจะรวดเร็วมากและสามารถลดค่าใช้จ่ายเมื่อมีการย้ายทะเบียนการค้าและใบอนุญาตออนไลน์ภายใต้ระบบเพียงครั้งเดียว ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ผู้ผลิตและเกษตรกรส่งออกผลผลิตไปต่างประเทศได้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-launch-tradenet-20-system-january.html

ลงนามแล้ว! ไทยเซ็นนานาชาติร่วม อาร์เซ็ป เปิดการค้าเสรีใหญ่สุดในโลก

ลงนามแล้ว ! ไทยลงนามร่วม 15 ชาติ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ตั้งอาร์เซ็ป เขตการค้าเสรีใหญ่สุดในโลก ขนาดจีดีพี 817 ล้านล้านบาท นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมสุดยอดความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป)​ ครั้งที่ 4 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งเวียดนามเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 63 ว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการประกาศความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์ ของการเจรจาความตกลงอาร์เซ็ป หลังจากมีการเจรจามานานเกือบ 8 ปี ซึ่งช่วยสนับสนุนให้ 15 ชาติสมาชิก ประกอบด้วย อาเซียน 10 ชาติ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มีการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนที่ ครอบคลุม เป็นไปตามกฎกติกาของโลก เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับประชาชน ตลอดจนเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ทั้งนี้ ความตกลงอาร์เซ็ปเป็นเขตการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยข้อมูลทางการค้าในปี 62 ความตกลงอาร์เซ็ปครอบคลุมตลาดที่มีประชากรรวมกัน 2,200 ล้านคน หรือเกือบ 30% ของประชากรโลก มี จีดีพี รวมกันกว่า 26.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 817.7 ล้านล้านบาท มีสัดส่วน 30% ของจีดีพีโลก และมีมูลค่าการค้ารวมกว่า 10.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 326 ล้านล้านบาท ผู้นำอาร์เซ็ปได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่เร่งกระบวนการภายในสำหรับให้สัตยาบันเพื่อให้ความตกลงมีผลใช้บังคับโดยเร็ว ซึ่งความตกลงจะมีผลใช้บังคับเมื่อสมาชิกอาเซียน 6 ประเทศและประเทศคู่เจรจา 3 ประเทศให้สัตยาบันความตกลง ในขณะเดียวกัน สมาชิกอาร์เซ็ปยังคงเปิดโอกาสให้อินเดียกลับมาเข้าร่วมความตกลงในฐานะที่เป็นสมาชิกดั้งเดิม และมีบทบาทสำคัญในการเจรจาอาร์เซ็ปตั้งแต่ปี 55 ความตกลงอาร์เซ็ปจะช่วยเสริมสร้างความเป็นแกนกลางของอาเซียนในเวทีระดับภูมิภาค และได้รับผลประโยชน์ร่วมกันจากการเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน อีกทั้งมีการเพิ่มความร่วมมือในด้านต่างๆ มากยิ่งขึ้นจากเอฟทีเอของอาเซียนกับคู่เจรจาที่มีอยู่ก่อนหน้า เช่น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทรัพย์สินทางปัญญา การแข่งขันทางการค้า ตลอดจนมีเรื่องใหม่ ๆ อาทิ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ซึ่งจะสร้างโอกาสครั้งใหญ่ให้กับธุรกิจในภูมิภาคได้

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/807023

หัวเว่ย จ่อลงทุน “ดาต้าเซนเตอร์” ในไทย ดิจิทัลฮับอาเซียน

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี ประเทศไทย ประกาศแผนจะลงทุน 700 ล้านบาท เพื่อสร้างศูนย์คอมพิวเตอร์  ขึ้นในประเทศไทย ในปี 2021 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการของหัวเหวยในการสนับสนุนไทยให้เป็นศูนย์กลางดิจิทัลของอาเซียน อาเบล เติ้ง ผู้บริหารหัวเหวยประเทศไทย กล่าวในงานแถลงข่าว “Powering Digital Thailand 2021: Huawei Cloud and Connect” ว่าจำนวนเงินลงทุนดังกล่าวเทียบเท่ากับเงินลงทุนทั้งหมดของศูนย์คอมพิวเตอร์แห่งแรกของหัวเหวยในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในปี 2018“ พันธกิจของเราคือการเติบโต และสร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทย” อาเบลกล่าวว่าเขาเชื่อว่าหัวเหวยสามารถช่วยให้ไทยทำเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียนเป็นจริงได้ ด้วยเทคโนโลยีโซลูชันแบบครบวงจร และประสบการณ์ในภาคอุตสาหรรมเทคโนโลยีของตน และหัวเหวยมีการเติบโตอย่างมหาศาลในภาคเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย โดยเริ่มจากนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งสะท้อนจุดมุ่งหมายของไทยในการเป็นผู้นำด้านดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน ผู้บริหารหัวเหวยประเทศไทยยังกล่าวว่าโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของไทยนั้นพร้อมแล้วที่จะทำให้ไทยก้าวมาเป็นผู้นำ เพราะความพยายามของรัฐบาลไทยที่ช่วยเร่งการวางระบบ5จี (5G) ผ่านการประมูลใบอนุญาต 5G ในเดือนกุมภาพันธ์ “เรามั่นใจใน ศักยภาพของไทยที่จะก้าวมาเป็นศูนย์กลางดิจิทัลแห่งแรกในอาเซียน ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยมีสัดส่วนร้อยละ 30 ของจีดีพีภายในปี 2030” อาเบลปิดท้าย

ที่มา : https://mgronline.com/china/detail/9630000117212

ยอดขายรถยนต์ของเวียดนามในเดือน ต.ค. พุ่ง 15%

สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ของเวียดนาม (VAMA) เปิดเผยว่ายอดขายรถยนต์ในเดือนตุลาคม อยู่ที่ 33,254 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แบ่งออกเป็นประเภทของรถยนต์ ดังนี้ รถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคล 25,339 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ตามมาด้วยรถยนต์เชิงพาณิชย์ 7,528 คัน (17%) และรถยนต์ใช้งานเฉพาะด้าน 387 คัน (71%) ทั้งนี้ ในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม ยอดขายรถยนต์อยู่ที่ 212,409 คัน ลดลงร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่ “THACO” เป็นผู้นำตลาดรถยนต์ของเวียดนามในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.8 ของยอดขายรวม รองลงมา TC Motor และ Toyota ตามลำดับ นอกจากนี้ ในส่วนของการนำเข้ารถยนต์ของเวียดนาม สำนักงานศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าปริมาณการนำเข้ารถยนต์ของเวียดนามในเดือนกันยายน อยู่ที่ 12,670 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากไทย อินโดนีเซียและจีน อย่างไรก็ตาม การผลิตรถยนต์ถือเป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม  คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3 ของ GDP อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมนี้ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่มา : http://hanoitimes.vn/car-sales-in-vietnam-surge-15-in-october-314798.html

“บิ่นห์เซือง” ดึงดูดเม็ดเงิน FDI เกินกว่าที่ตั้งเป้าไว้

บิ่นห์เซือง (Binh Duong) เป็นจังหวัดทางตอนใต้ของเวียดนาม ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ประมาณ 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งเกินกว่าที่ตั้งเป้าไว้ทั้งปีที่ร้อยละ 19 นายเหงียน ประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดบิ่นเซือง กล่าวว่าธุรกิจในท้องถิ่นพยายามอย่างหนัก ในการขจัดอุปสรรคต่างๆ จากการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคมในปี 2563 ทั้งนี้ ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจังหวัดบิ่นเซือง คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5, ยอดค้าปลีกสินค้าและบริการรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ในปีนี้ ในขณะเดียวกัน การเติบโตของ GDP จังหวัด อยู่ที่ราวร้อยละ 6.78 นอกจากนี้ หน่วยงานในท้องถิ่นให้ความสนใจเกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการลงทุนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงปรับเปลี่ยนแนวทางในการดึงดูดการลงทุน เพื่อที่จะตอบสนองกับความต้องการของนักลงทุนที่หลากหลาย

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/binh-duong-overfulfills-yearly-fdi-attraction-goal/190251.vnp

การลงทุนในประเทศยังเพิ่มแม้ COVID-19 ระบาด

จากข้อมูลของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและการบริหารจัดการของเมียนมา (DICA) ถึงจะมีการระบาดของ COVID-19 แต่การลงทุนของนักลงทุนและประชากรในเมียนมาในปีงบประมาณ 62-63 มีมูลค่ากว่า 1,88 ล้านล้านจัต ซึ่งสูงกว่าปีงบประมาณที่แล้วประมาณ 200 ล้านจัต โดยอนุมัติให้ธุรกิจใน 130 แห่งลงทุนใน 9 ภาคธุรกิจ ย่างกุ้งได้รับการลงทุนที่สุดโดยมีมูลค่าการลงทุนกว่า 901 พันล้านจัต มัณฑะเลย์ 410 พันล้านจัต ขณะที่รัฐชาน 170 พันล้านจัต และอิรวดี 161 พันล้านจัตตามลำดับ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมโรงแรมและการท่องเที่ยว และการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งนักลงทุนท้องถิ่นต้องได้รับการประเมินความสามารถในการลงทุนโดย Myanmar Investment Commission (MIC) ก่อนที่จะได้รับอนุมัติให้ลงทุนได้ จากนั้น MIC จะออกใบรับรองซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การลดหย่อนภาษี การยกเว้นภาษี และสิทธิพิเศษอื่น ๆ ในปีงบประมาณ 62-63 มีโอกาสในการทำงานมากกว่า 23,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการลงทุนของนักลงทุนในประเทศ มีการจ้างงานคนในท้องถิ่น 22,700 คน และแรงงานต่างชาติกว่า 480 คน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-citizens-raise-investments-country-despite-pandemic.html