ดันอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนสร้างลงทุนเพิ่ม 500 ล.

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้ความสำคัญกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green (BCG) Economy) และสนับสนุนในเกิดการลงทุนจากภาคธุรกิจเอกชนไปพร้อมกัน โดยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนได้มอบหมายให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการ เหมืองแร่เตรียมจัดงานประชาสัมพันธ์โครงการจัดการเศษโลหะอย่างยั่งยืน หรือ Green Scrap Metal Thailand 2020 ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะลดการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ลดการสร้างของเสียในภาคอุตสาหกรรม ด้วยการนำกลับมาผลิตในรูปแบบใหม่ที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูนิโด) กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย รวมถึงผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ สำหรับการดำเนินโครงการดังกล่าวคาดว่าจะส่งเสริมผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรีไซเคิลตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานให้เข้าร่วมโครงการ 1,889 ราย และสนับสนุนผู้ประกอบการให้เป็นโรงงานนำร่อง 5-10 ราย ซึ่งคาดว่าจะสร้างให้เกิดมูลค่าการลงทุนของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการในการปรับปรุงเครื่องจักรและปรับปรุงกระบวนการผลิตมากกว่า 560 ล้านบาท การดำเนินงานโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ระยะเวลาการดำเนินงาน 5 ปี ตั้งแต่ปี 2561-2566 โดยได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก 4.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเงินจากหน่วยงานร่วมดำเนินโครงการอีกรวมเป็นเงิน 33.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  โดยกิจกรรมหลักของโครงการจะมีการทบทวนกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  การประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับยูป๊อป รวมทั้งส่งเสริมการใช้แนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (Best Available Technique) และแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (Best Environmental Practice) เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการติดตามประเมินผลโรงงานนำร่องที่มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อไป การจัดการเศษโลหะอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อเนื่องมหาศาล  เพราะนำกลับมารีไซเคิลได้ ลดของเสียในระบบอุตสาหกรรม การใช้พลังงานในกระบวนการผลิตก็ลดลง  ซึ่งงาน Green Scrap Metal Thailand 2020 จะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 30 ตุลาคมนี้ เพื่อให้ความรู้ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ตลอดจนเพื่อสร้างประสิทธิภาพในภาคอุตสาหกรรมต่อไป”

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/454238?utm_source=sub_category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=industry

COVID-19 ผลักดันให้เวียดนามขาดดุลการคลังราว 6% ของ GDP

นาย Dinh Tien Dung รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่าในปีนี้ เวียดนามขาดดุลงบประมาณ 319.5-328 ล้านล้านด่อง (หรือ 13.78-14.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) คิดเป็นร้อยละ 4.99-5.59 ของ GDP ซึ่งสูงกว่าที่ตั้งเป้าไว้ในช่วงต้นปีนี้ที่ร้อยละ 3.44 ของ GDP ทั้งนี้ การขาดดุลงบประมาณที่อยู่ในระดับสูง เป็นผลมาจากรายรับงบประมาณอยู่ในระดับต่ำจากการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในช่วงได้รับผลกระทบของไวรัสโควิด-19 หากแบ่งรายรับ-รายจ่ายงบประมาณ พบว่าในปีนี้รายรับงบประมาณอยู่ที่ราว 57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 8.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับประมาณการในปีที่แล้ว ในขณะที่ รายจ่ายงบประมาณอาจสูงถึง 72.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 2.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับประมาณการในปีที่แล้ว นอกจากนี้ คณะกรรมการด้านการเงินและงบประมาณ ได้เตือนว่าอัตราส่วนของการชำระหนี้ต่อรายรับงบประมาณอาจสูงถึงร้อยละ 25 สิ่งนี้อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความมั่งคงทางการเงินของประเทศ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/covid-19-pushes-vietnam-fiscal-deficit-to-nearly-6-of-gdp-314586.html

Standard Chartered ปรับเป้า GDP เวียดนามชะลอตัว 3% ในปีนี้ และฟื้นตัวเหลือ 7.8% ในปีหน้า

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดได้ปรับเป้า GDP ของเวียดนามเหลือเพียงร้อยละ 3 ในปี 2563 และกลับมาขยายตัวร้อยละ 7.8 ในปีหน้า เนื่องจากการบริโภคที่เพิ่มขึ้นและได้รับแรงหนุนจากภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ทั้งนี้ นาย Chidu Narayanan นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดเอเชีย กล่าวว่า ‘เวียดนามถือเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียที่มีการขยายตัวในทิศทางที่เป็นบวกปีนี้ ท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด-19 และคาดว่าในไตรมาสที่ 4 กิจกรรมธุรกิจในประเทศจะกลับมาฟื้นตัว อีกทั้ง การปรับปรุงด้านการบริการและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน จะช่วยให้เวียดนามมีความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศแถบเอเชีย’ นอกจากนี้ เม็ดเงินทุน FDI คาดว่าจะไหลเข้าไปยังกลุ่มธุรกิจที่จดทะเบียนใหม่ลดลงในปีนี้ แต่ยังคงอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งอยู่ ด้วยมูลค่า 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากความไม่แน่นอนของอุปสงค์ทั่วโลกและความเชื่อมั่นในด้านการลงทุนที่หดตัวลง อย่างไรก็ตาม เวียดนามได้รับผลประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง แต่การไหลเข้าของการลงทุนมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ว่าด้วยมาตรการของรัฐฯ และการเคลื่อนย้ายของเทคโนโลยี จะช่วยส่งเสริมการไหลเข้าของเงินทุน FDI

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnam-growth-may-slow-to-3-in-2020-likely-to-rebound-to-78-in-2021-stanchart-787676.vov

เมียนมาเร่งปลูกขิงคุณภาพดีเพื่อการส่งออก

เมียนมามองเห็นความต้องการของต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นสำหรับพืชที่ใช้น้ำน้อยในการเพาะปลูก เช่น ขิง น้ำผึ้ง และกาแฟ ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ความต้องการขิงคุณภาพสูงเพิ่มมากขึ้น ขณะนี้เมียนมาสามารถส่งออกขิงได้เพียงปีละ 1 ตัน ซึ่งสหรัฐฯ มีความต้องการขิงมากกว่า 100 ตัน ดังนั้นเมียนมาจะต้องใช้เวลาในการวิจัยสายพันธุ์ขิงที่ทนทานและมีคุณภาพสูงสำหรับการเพาะปลูกปลูก นักวิจัยและนักลงทุนภาคเอกชนจำเป็นต้องจัดหาสายพันธุ์ที่มีคุณภาพส่วนกระบวนการผลิตและการเพาะปลูกจะตามมาเอง ขิงจะใช้เวลาประมาณ 3 ปีในการปลูกเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการในการส่งออก ปัจจุบันมีประมาณ 5,000 ครัวเรือนที่ปลูกขิงในรัฐฉานตอนใต้ ในอีกห้าปีข้างหน้าคาดว่าจะผลิตขิงได้มากกว่า 10,000 ตันต่อปีในพื้นที่ 10,000 เอเคอร์ ในอดีตบังกลาเทศยังนำเข้าขิงจากเมียนมาร์ แต่ปัจจุบันบังกลาเทศสามารถส่งออกขิงแห้งไปยังยุโรป

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-produce-better-quality-ginger-exports.html

สปป. ลาว: ความยากจนยังคงลดลง แต่ความคืบหน้าภายใต้การคุกคาม

สปป. ลาวมีความก้าวหน้าอย่างมากในการลดความยากจนในช่วง 25 ปีที่ผ่านมาโดยสัดส่วนของประชากรที่อาศัยอยู่ในความยากจนลดลงกว่าครึ่งหนึ่งจาก 46% ในปี 36 เป็น 18% ในปี 62 การค้นพบนี้มาจากรายงาน 2 ฉบับที่เผยแพร่โดย สำนักงานสถิติลาวและธนาคารโลก แต่ข่าวดีมาพร้อมกับข้อแม้: ผลประโยชน์บางส่วนจากความยากจนอาจถูกลบล้างไปได้จากผลกระทบของการระบาดของโควิด -19 ต่อเศรษฐกิจสปป.ลาว จากการสำรวจค่าใช้จ่ายและการบริโภคล่าสุดของสปป.ลาว (LECS) แสดงให้เห็นว่าอัตราความยากจนของประชากรในประเทศลดลง 6.3 % ในช่วง 6 ปีจาก 24.6% ในปี 56 เป็น 18.3% ในปี 62 หัวหน้าสำนักงานสถิติสปป.ลาวกล่าวว่า รายได้จากฟาร์มและการส่งเงินช่วยเหลือผู้คนในส่วนต่างๆของประเทศให้หลุดพ้นจากความยากจนเพิ่มขึ้น พื้นที่ชนบทได้ลดช่องว่างความยากจนกับเขตเมือง ปัจจัยหลายประการได้ชะลอการลดความยากจน โดยการหางานนอกภาคเกษตร ส่งผลให้ความไม่เท่าเทียมกันโดยรวมเพิ่มขึ้น ค่าจ้างเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 60 แต่หลายคนไม่สามารถเข้าถึงโอกาสจากการจ้างงานได้ ทั้งนี้ผลกระทบทางเศรษฐกิจของ COVID-19 เป็นความท้าทายอย่างยิ่งต่อความพยายามในการยุติความยากจน การระบาดสร้างแรงกดดันให้กับตลาดงานที่อ่อนแออยู่แล้ว ในขณะเดียวกันการกลับมาของแรงงานข้ามชาติโดยเฉพาะจากประเทศไทยทำให้การส่งเงินลดลงอย่างมาก รายงานการประเมินความยากจนคาดว่าความยากจนจะเพิ่มขึ้น 1.4 ถึง 3.1 % ในปี 63 ด้วยความท้าทายเหล่านี้จะต้องมีการแทรกแซงที่กว้างขวางโดยกำหนดเป้าหมายไปยังกลุ่มคนยากจนที่แตกต่างกันเพื่อฟื้นฟูการลดความยากจนในสปป. ลาว

ที่มา : https://moderndiplomacy.eu/2020/10/22/lao-pdr-poverty-continues-to-decline-but-progress-under-threat/

เกษตรกรเมืองชัยธานีร่วมมือกันเพื่อเพิ่มอุปทานของผลผลิตอินทรีย์

กลุ่มเกษตรอินทรีย์ในหมู่บ้านทองมัง เมืองชัยธานีไซธานีเวียงจันทน์ได้จัดตั้งสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ทองมังเพื่อจัดหาผลผลิตที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดและตอบสนองผู้บริโภค นางคำมนต์ หลวงลัท หัวหน้าสหกรณ์การเกษตรอินทรีย์ทองมังกล่าวในพิธีเปิดสหกรณ์ “ เราจะปรับปรุงร้านค้าที่ขายผลิตผลและสถานที่บรรจุผลิตผล เราจะจัดฝึกอบรมด้านการบริหารจัดการสหกรณ์และการผลิตสำหรับสมาชิกของเราตลอดจนการฝึกอบรมด้านการเงินและการตลาดให้ธุรกิจเราแข็งแกร่ง” โดยกลุ่มเหล่านี้มีเป้าหมายที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องและตั้งเป้าที่จะปลูกผักเพื่อสุขภาพบนพื้นที่ทำกินรอบเมืองหลวงเพื่อรองรับความต้องการของคนในประเทศรวมถึงสร้างความมั่นคงด้นอาหารแก่สปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Xaythany206.php

รัฐบาลกัมพูชาหารือนักลงทุนเกี่ยวกับการก่อสร้างถนนสายใหม่

กระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง (MPWT) จัดให้มีการปรึกษาหารือเพื่อตัดสินใจที่ตั้งของถนนสายที่ 4 รอบกรุงพนมเปญ โดยเมื่อสร้างเสร็จแล้วคาดว่าจะช่วยอำนวยความสะดวกด้านการจราจรและการขนส่งสินค้า แต่ที่ตั้งของโครงการอยู่ระหว่างการควบคุมเพื่อหลีกเลี่ยงการขึ้นราคาที่ดินซึ่งเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นในโครงการที่ผ่านมา ซึ่งให้คำปรึกษาและนำเสนอโดย China Road and Bridge Corp (CRBC.) ในภาพรวมของโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยการปรึกษาหารือมีตัวแทนจากกระทรวงและหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องตลอดจนตัวแทนจาก 10 บริษัท ทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมการหารือในครั้งนี้ ซึ่ง MPWT ยืนยันว่าจะสร้างถนนใหม่หลังจากการก่อสร้างถนนวงแหวนแห่งชาติที่ 3 เสร็จสมบูรณ์ ที่มีความยาวอยู่ที่ 53 กิโลเมตร และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2022 ซึ่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้น และในช่วงสองปีที่ผ่านมาราคาที่ดินริมถนนทางหลวงสูงขึ้นถึงร้อยละ 10 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50775152/speculation-fears-over-location-of-new-ring-road/

แบงค์ชาติกัมพูชาเข้าแทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราภายในประเทศ

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ได้ประกาศอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจมูลค่า 50 ล้านดอลลาร์ ในสัปดาห์นี้เพื่อรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินท้องถิ่นในตลาด โดย NBC ได้แจ้งให้ธนาคารสถาบันการเงินรายย่อย (MFI) และผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราที่ได้รับใบอนุญาตกำหนดอัตราขั้นต่ำในการแลกเปลี่ยนในระบบ ซึ่งรองอธิบดี NBC กล่าวว่าในช่วงที่ COVID-19 ระบาดธนาคารกลางสังเกตว่าสกุลเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่ผันผวนเนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงรวมถึงเรียลของกัมพูชาซึ่งอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดยธนาคารกลางกัมพูชาได้ตัดสินใจเข้าแทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเพื่อทำการควบคุมสกุลเงินในระบบเศรษฐกิจของกัมพูชา เพื่อเป็นการปรับปรุงการใช้เงินเรียลอย่างต่อเนื่อง โดยความต้องการธนบัตรเพิ่มขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาโดยเฉลี่ยร้อยละ 16 ต่อปีตามข้อมูลของ NBC ทั้งเพิ่มความเชื่อมั่นของประชาชนเกี่ยวกับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคและทางการเงิน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50775257/nbc-auctions-50-million/

หัวเว่ยดันไทยดิจิทัลฮับอาเซียนแนะรัฐลงทุน-ลุย 5G เพิ่มจีดีพีประเทศ

รองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด บรรยายพิเศษ “ดิจิทัลอีโคซิสเต็มยกระดับศักยภาพไทยสู่ศูนย์กลางภูมิภาค” ในงานสัมมนา “เศรษฐกิจดิจิทัล พลิกฟื้นประเทศ” จัดโดย บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ว่าการผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งบริษัทมองเป้าหมายให้ไทยเป็นดิจิทัลฮับของอาเซียนทั้งนี้ จากการศึกษาของนักวิเคราะห์มองว่าการลงทุนด้านไอทีซี 16-20% จะช่วยเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (จีดีพี) ประมาณ 1% หลายประเทศนำดิจิทัลอีโคโนมีมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งไทยยังพึ่งพาค่อนข้างน้อย ไม่ถึง 20% อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันไทยเริ่มเข้าสู่โครงข่ายเทคโนโลยี 5G มากขึ้น ทำให้ไทยสามารถผลักดันจีดีพีประเทศสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยสำหรับดิจิทัลอีโคโนมีไม่ใช่เรื่องใหม่ และหลังจากนี้จะมีความสำคัญมาก ซึ่งในต่างประเทศเริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยี และพัฒนาโครงข่าย 4G และ 5G รวมถึงไทยซึ่งเป็นกลุ่มประเทศแรกๆ ที่เริ่มขับเคลื่อน 5G เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ถือว่าไทยเลยขั้นแรกมาแล้ว อยู่ในช่วงของการเตรียมความพร้อมเรื่อระบบคลาวด์ รวมถึงนำดาต้าเซ็นเตอร์เข้ามาใช้งาน และสุดท้ายจะนำเอไอเข้ามาใช้

ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2405565