เมียนมาออกใบอนุญาตการค้ามูลค่ากว่า 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงโควิด -19

กรมการค้าภายใต้กระทรวงพาณิชย์เผย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนถึง 23 กันยายน 63 มีการออกใบอนุญาตสำหรับการซื้อขายทั้งหมด 23,820 ใบซึ่งมีมูลค่าประมาณ 8.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยทุกคนสามารถขอใบอนุญาตการซื้อขายทางออนไลน์ได้แล้ว ซึ่งสามารถให้บริการเกือบ 200 จาก 300 ใบอนุญาตโดยไม่ต้องมีการพบกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เกือบร้อยละ 70 ของใบอนุญาตทั้งหมดได้ดำเนินการทางออนไลน์ตั้งแต่ COVID-19 ระบาดครั้งแรกเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยสามารถชำระค่าธรรมเนียมได้ทางออนไลน์กับ Myanmar Payment Union ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 63 พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ (Harmonized System) รหัส 888 และ 650 HS จะได้รับการขยายการส่งออกและการนำเข้าสำหรับการสมัครออนไลน์ตามลำดับ โดยมีการเตรียมการสำหรับการสมัครออนไลน์เต็มรูปแบบ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-issues-over-us8-billion-worth-trade-permits-during-covid-19.html

คนงานหลายพันคนในพะโคเจอปัญหาการเงินจากการปิดโรงงาน

คนงานหลายหมื่นคนกำลังประสบปัญหาด้านการเงินจากการปิดโรงงาน 47 แห่งในเขตพะโคไปจนถึงวันที่ 11 ตุลาคม 63 ซึ่งปกติจะได้รับค่าจ้างในวันที่ 5 ของทุกเดือน โดยเมื่อวันที่ 25 กันยายน 63 กระทรวงสาธารณสุขและกีฬาออกคำสั่งให้อยู่บ้านหรือที่พำนักสำหรับ 11 เมือง ในพะโค มน มัณฑะเลย์ อิรวดีและรัฐต่าง ๆ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/thousands-workers-face-financial-difficulty-bago.html

INFOGRAPHIC : เวียดนามเผยเม็ดเงินลงทุน FDI 21.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้

กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) อยู่ที่ประมาณ 21.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 18.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน) แบ่งออกเป็น 1,947 โครงการใหม่ด้วยเงินทุนจดทะเบียนรวม 10.36 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ, 798 โครงการที่ปรับเพิ่มเงินทุนต่ำกว่า 5.11 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 5,172 โครงการที่มาจากการซื้อหุ้นของนักลงทุนต่างชาติด้วยมูลค่ารวม 5.73 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

นักลงทุนต่างชาติอัดฉีดเงินทุนไปยังภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปมากที่สุด ด้วยมูลค่าราว 9.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.7 ของเงินลงทุนรวม รองลงมาการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า แก๊สและน้ำ มูลค่ามากกว่า 4.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (20.3% ของเงินลงทุนรวม), ภาคอสังหาริมทรัพย์ มูลค่าราว 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (15.1% ของเงินลงทุนรวม), การค้าปลีกค้าส่งและซ่อมยานยนต์ มูลค่า 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (6.1% ของเงินลงทุนรวม) และภาคอื่นๆ ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/fdi-reaching-212-billion-usd-in-first-nine-months/187681.vnp

รัฐบาลเยอรมันให้รายละเอียดความร่วมมือด้านการพัฒนากับลาว 26.5 ล้านยูโร

รัฐบาลเยอรมันได้สนับสนุนความพยายามในการปฏิรูปของสปป.ลาวและยืนหยัดในการเป็นหุ้นส่วนช่วยเหลือพัฒนาประเทศ ซึ่งมีมูลค่ากว่า 26.5 ล้านยูโร สำหรับความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสปป.ลาว – ​​เยอรมันในปี 2563 ตัวเลขดังกล่าวได้รับการรายงานในการเจรจาความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างรัฐบาลสปป.ลาวและเยอรมนี รัฐบาลทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะสานต่อความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจว่าโครงการที่กำลังดำเนินอยู่รวมถึงกิจกรรมเพิ่มเติมที่ตกลงกันในการเจรจาเหล่านี้จะได้ข้อสรุปตามแผนที่วางไว้และแนวทางและผลลัพธ์ที่ตั้งใจไว้สนับสนุนลาวในเส้นทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ในที่ประชุมยังได้คุยในประเด็นสำคัญของความร่วมมือ ได้แก่ การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนควบคู่ไปกับดูแลพัฒนาชนบททรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เยอรมนียังคงรักษาความสัมพันธ์ทางการทูตและความร่วมมือด้านการพัฒนากับสปป.ลาวมา ตั้งแต่แรกเริ่มในปี 2501 เยอรมนีถือเป็นประเทศที่สนับสนุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและมีส่วนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการศึกษาโดยให้ความสำคัญกับการลดความยากจนโดยรวมของสปป.ลาวตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา ปัจจุบันสปป.ลาวมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมากเนื่องจากรัฐบาลดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหาความเท่าเทียมกัน ความยุติธรรมทางสังคมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนผ่านความร่วมมือกับรวมกันกับประเทศที่มีศักยภาพไม่ว่าจะเป็น จีน ไทย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น รวมถึงเยอรมนี

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_German_189.php

GMAC ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอเรียกคืนสิทธิพิเศษทางการค้าจาก EU ต่อกัมพูชา

สมาคมผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมาธิการยุโรปจากผลกระทบของ COVID-19 และการถูกเพิกถอนสิทธิประโยชน์ทางการค้า Everything but Arms (EBA) ของสหภาพยุโรปบางส่วน ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยส่งผลกระทบต่อการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหภาพยุโรปประมาณ 1 ใน 5 ของมูลค่าการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ซึ่งภาคเสื้อผ้า รองเท้าและสินค้าเพื่อการเดินทาง มีมูลค่ารวม 1.1 พันล้านยูโรสำหรับการส่งออก แบ่งเป็นการส่งออกเสื้อผ้ามูลค่าราว 770 ล้านยูโร, รองเท้า 210 ล้านยูโร และสินค้าด้านการท่องเที่ยว 120 ล้านยูโร โดยการถอนสิทธิพิเศษทางการค้าในครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงตลาดในสหภาพยุโรปของกัมพูชาประมาณร้อยละ 20 ซึ่งจากการสำรวจสมาชิกพบว่าผู้ผลิตรองเท้ามีปริมาณการผลิตลดลงเฉลี่ยร้อยละ 20-40 ในช่วงครึ่งแรกของปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50767213/gmac-seeks-court-order-to-restore-trade-perks-from-eu/

สินเชื่อด้อยคุณภาพภายในกัมพูชาภายใต้ธนาคารไมโครไฟแนนซ์ยังคงคงที่

หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สำหรับภาคอุตสาหกรรมการเงินรายย่อยของกัมพูชายังคงทรงตัวที่ร้อยละ 2.31 ในเดือนสิงหาคมหลังจากเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.33 ในเดือนมกราคมและสูงสุดในเดือนพฤษภาคมที่ร้อยละ 2.61 ตามรายงานของอุตสาหกรรมการธนาคาร โดยจากรายงานด้านการเงินส่วนบุคคลและสินเชื่อเพื่อการเกษตร ได้รับผลกระทบมากที่สุดโดยบันทึกอัตรา NPL ไว้ที่ร้อยละ 3.37 และร้อยละ 3.31 ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสวนทางกับความกังวลที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเสถียรภาพของภาคการเงินรายย่อยของกัมพูชาเนื่องจากความกลัวว่าจะมีปริมาณการว่างงานในประเทศเป็นจำนวนมาก ทั้งในภาคเครื่องนุ่งห่มและการท่องเที่ยวเนื่องจากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 ที่อาจจะส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของประชากรภายในประเทศได้ โดยสำหรับอัตรา NPL ที่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ถือว่าเป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรมระดับโลก แต่อย่างไรก็ตามคนในอุตสาหกรรมยังคงกลัวว่าอัตรา NPL อาจพุ่งสูงขึ้นในช่วงปลายปี เมื่อเงินกู้ที่มีการระงับการชำระ 6 เดือน ซึ่งได้รับการปรับโครงสร้างใหม่ในเดือนมีนาคมและเมษายนเสร็จสิ้นลงและหากภาวะเศรษฐกิจยังคงแย่ลง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50767152/mfis-bad-loans-remain-in-a-stable-condition/

ระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในเมียนมาเริ่ม 1 ตุลาคม 63 นี้

ธุรกิจต่างๆ ในเมียนมาได้รับการแจ้งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าใหม่ซึ่งที่ยื่นคำขอก่อนจะมีสิทธิก่อน (First to File)” จะถูกนำมาใช้สำหรับการจดทะเบียนและการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าซึ่งแตกต่างจากระบบผู้ใช้ก่อนมีสิทธิดีกว่า (First to Use) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งจะช่วยให้ บริษัทต่างๆ มีช่องทางตรวจจับ ปกป้องลิขสิทธิ์ของตนและส่งเสริมการแข่งขันนวัตกรรมและการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างเป็นธรรม สิ่งเหล่านี้จะช่วยปรับปรุงการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ววันที่ลงทะเบียนจะเป็นวันที่ยื่นจะทะเบียนตามที่กระทรวงกำหนด โดยสามารถชำระค่าธรรมเนียมการลงทะเบียนผ่านธนาคารบนมือถือได้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/trademark-registration-system-open-october-1.html

เศรษฐกิจไทยศักยภาพต่ำลง ซมพิษโควิด-19 ธปท.แนะรัฐปรับโครงสร้างทันที

ธปท.ชี้พิษโควิด-19 ทำเศรษฐกิจไทยศักยภาพต่ำลง การแข่งขันลด แต่ความเหลื่อมล้ำเพิ่มสวนทาง จี้รัฐปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจทันที ก่อน “ทุน” หมด พร้อมแนะหยุดมาตรการเบี้ยหัวแตก แจกเงินเหวี่ยงแห แต่เจาะกลุ่มที่จำเป็น นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในงานสัมมนาวิชาการของ ธปท.ประจำปี 2563 ในหัวข้อ “ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ทำอย่างไรให้เกิดได้จริง” ว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 เพิ่มความรุนแรงของความเหลื่อมล้ำในเศรษฐกิจ และสังคมไทย ความเปราะบางในระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งลดทอนความสามารถในการแข่งขัน มากขึ้น ส่งผลต่อศักยภาพการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ดังนั้น ต้องปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจให้เกิดผลได้จริง และต้องทำทันที เพื่อรองรับชีวิตวิถีใหม่ เพราะธุรกิจหลังโควิด-19 จะมีการแข่งขันสูงขึ้น นอกจากนี้ ต้องลดพึ่งพาภาคเศรษฐกิจใดภาคหนึ่งมากจนเกินไป จากปัจจุบัน ที่พึ่งพาการส่งออกมาก โดยต้องกระจายทรัพยากร และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง โดยรัฐต้องสร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ บนรากฐาน 3 ด้าน คือ 1.คนไทยและธุรกิจไทยต้องมีผลิตภาพสูง มีความสามารถในการแข่งขัน 2.ต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดี รับมือสถานการณ์ต่างๆ ที่ผันผวน ซับซ้อนและคลุมเครือในอนาคต 3.การกระจายผลประโยชน์จากการเติบโตเศรษฐกิจ ต้องทั่วถึง ไม่เกิดความเหลื่อมล้ำรุนแรงขึ้น  อย่างไรก็ตาม การดำเนินมาตรการหลังจากนี้ควรทำภายใต้แนวคิด 3 ด้านคือ 1.การเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้น ต้องสอดคล้องกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ด้านที่ 2 การปฏิรูปโครงสร้างจะไม่เกิดขึ้นได้จริง หากไม่สามารถย้ายทรัพยากรจากภาคเศรษฐกิจหนึ่งไปสู่อีกภาคเศรษฐกิจหนึ่งได้ ดังนั้น รัฐต้องสนับสนุนการโยกย้ายทรัพยากรจากภาคเศรษฐกิจที่มีกำลังการผลิตส่วนเกินไปยังภาคเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูงกว่า ส่วนด้านที่ 3 ยกระดับชนบท โดยให้ท้องถิ่นเป็นเป้าหมายสำคัญของการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ เพราะโควิดทำให้แรงงานย้ายกลับภูมิลำเนามากกว่า 1 ล้านคน ซึ่งจะต้องทำให้แรงงานเหล่านี้ เปลี่ยนเป็นพลังพลิกฟื้นเศรษฐกิจในต่างจังหวัด.

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/business/1940138