INFOGRAPHIC : เวียดนามเผย 8 สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกมากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มี 8 รายการสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกมากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 69.4 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด จำแนกสินค้า ดังต่อไปนี้

  • โทรศัพท์และชิ้นส่วน 21.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (17.7%)
  • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ 19.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 19.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (15.9%)
  • เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ 12.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (10.5%)
  • เครื่องจักรและส่วนประกอบ 10.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • รองเท้า 8.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (6.7%)
  • ไม้และผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (4.1%)
  • ยานพาหนะและส่วนประกอบ 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (3.1%)
  • อาหารทะเล 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2.9%)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/8-commodities-with-export-value-of-over-3-billion-usd/177870.vnp

INFOGRAPHIC : เวียดนามเกินดุลการค้า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าเวียดนามเกินดุลการค้า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 โดยแบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออก 121.21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ มูลค่าการนำเข้า 117.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ สินค้าสำคัญ ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ, เครื่องนุ่งห่ม, เครื่องจักรและชิ้นส่วนประกอบ, รองเท้า เป้นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-trade-surplus-tops-4-billion-usd/177871.vnp

ยอดค้าปลีกเวียดนาม 6 เดือนแรก เพิ่มขึ้นแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากโรคระบาด

สำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการค้าปลีกสูงถึง 1,895,600 พันล้านด่ง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 79.6 ของมูลค่าทั้งหมดและเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการค้าออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงขึ้น เมื่อภาครัฐดำเนินมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมนั้น ทำให้ผู้คนมีความต้องการอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 ในขณะที่ เครื่องใช้ในครัวเรือนและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ทั้งนี้ เมือง/จังหวัดที่มีการทำธุรกรรมการค้าปลีกเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ได้แก่ ไฮฟอง (10.4%) รองลงมาโฮจิมินห์ (10.1%), ฮานอย (9.9%, ด่งนาย (8.4%), บินห์ดินห์ (4.3%), บ่าเหรี่ยะ-หวุงเต่า (3%) และทัญฮว้า (0.9%) ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน รายได้จากที่พักและบริการจัดเลี้ยง อยู่ที่ 234,700 ล้านด่ง ลดลงร้อยละ 18.1 เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งช่วงไตรมาสสองของปีนี้ ลดลงอย่างรุนแรงถึงร้อยละ 26.1 เนื่องจากผลกระทบของมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/retail-sales-enjoy-sixmonth-increase-despite-epidemic-impact-415539.vov

คนเวียดนามกว่า 7.8 ล้านคนได้รับผลกระทบจาก COVID-19

กระทรวงแรงงาน ภายใต้กระทรวงแรงงาน ผู้พิการและสวัสดิการสังคม (MOLISA) เปิดเผยว่าคนตกงานสูงถึง 1.4 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูป ค้าปลีก โลจิสติกส์และภาคธุรกิจการบริการ เป็นต้น บริษัทยักษ์ใหญ่บางแห่ง ประกาศปลดพนักงานเพิ่มขึ้น อาทิ บริษัทผลิตรองเท้าสัญชาติไต้หวัน “Pouyuen Vietnam” เป็นต้น ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างรายใหญ่ที่สุดในเมืองโฮจิมินห์ ในขณะที่ บริษัทรองเท้าอีกเมืองหนึ่ง “Hue Phong Footwear Jsc” ลดจำนวนแรงงานลงเหลือครึ่งหนึ่ง 4,600 คน ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ จำนวนผู้คนที่ได้รับประโยชน์จากการว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 32 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว เป็น 565,000 ราย ส่งผลให้รัฐบาลต้องจ่ายเงินประมาณ 7 ล้านล้านด่ง (300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) นอกจากนี้ อัตราการขยายตัวของ GDP ในช่วงครึ่งปีแรก อยู่ที่ 1.81% ถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจได้รับผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก การว่างงานเพิ่มขึ้นและธุรกิจมีรายได้ลดลง ท่ามกลางมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าว

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/78-million-vietnamese-workers-jobs-affected-by-covid19-415530.vov

ธนาคารในเมียนมาเปิดตัวบัตรเดบิต – เครดิตเพื่อผลักดันการใช้เงินสด

ธนาคารประชาชนแห่งเมียนมา (MCB) เตรียมให้บริการบัตรเดบิตโดยร่วมกับสหภาพพม่า Payment Union (MPU) และผู้ให้บริการชำระเงินจากญี่ปุ่นอย่าง JCB ธนาคารประกาศในช่วงสุดสัปดาห์ การร่วมมือกันครั้งนี้ จะช่วยให้ผู้ใช้บัตรอสามารถเข้าถึงเครือข่ายการค้าของ MPU ทั่วประเทศและถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็ม MCB, ตู้เอทีเอ็มอื่น ๆ ที่รองรับบัตร MPU / JCB และ ATM ที่รองรับบัตร JCB ในประเทศอื่น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการชำระเงินผ่านเครื่อง ณ จุดขาย (POS) ที่เคาน์เตอร์ขายในประเทศและต่างประเทศรวมถึงชำระเงินและเติมเงินออนไลน์ได้ สัปดาห์นี้หลังจากที่ Yoma Bank จับมือกับ Mastercard จะช่วยให้ธนาคารสามารถขยายการให้บริการทางดิจิทัลและความความก้าวหน้าของเศรษฐกิจดิจิทัลของเมียนมา รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการพัฒนาและใช้ผลิตภัณฑ์การชำระเงินแบบไร้เงินสดและแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อผลักดันการเติบโตและการรับมือกับการระบาดของ COVID-19

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-local-banks-launch-debit-credit-cards-drive-cashless-push.html

สปป.ลาว,จีน ร่วมเป็นหุ้นส่วนการปรับปรุงคุณภาพอาหาร

สปป.ลาววางแผนที่จะเปิดศูนย์แห่งชาติในปีนี้เพื่อตรวจสอบและรับประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่นำเข้าหรือผลิตในประเทศ ซึ่งจะเป็นแห่งแรกในสปป.ลาว โดยอธิบดีกรมมาตรฐานและมาตรวิทยาภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและประธาน Tech Food of China ร่วมลงนาม โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและเจ้าหน้าที่ของใบรับรองมาตรฐานแห่งชาติแห่งชาติและศูนย์ตรวจสอบคุณภาพเข้าร่วมพิธีลงนามข้อตกลง หากเสร็จสิ้นการก่อสร้างศูนย์แห่งชาติในปี 63 ศูนย์แห่งใหม่นี้จะมีอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยและพนักงานที่มีคุณภาพสูงซึ่งสามารถสร้างความมั่นใจว่าผู้บริโภคสามารถเข้าถึงอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณภาพสูง ผลิตภัณฑ์อาหารทุกประเภทจะถูกตรวจสอบหาสารเคมีที่ไม่ต้องการ โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมสินค้าที่ผลิตแบบออร์แกนิกและเพิ่มความมั่นคงด้านอาหารให้กับประชาชน ศูนย์จะสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่มขึ้น กระทรวงกำลังทำงานเพื่อเสริมสร้างความสามารถของพนักงานในสาขาเพื่อให้สามารถแนะนำการตรวจสอบคุณภาพอาหารมากขึ้นและมอบใบรับรองให้กับธุรกิจที่ตรงตามมาตรฐาน เป้าหมายอีกประการหนึ่งของกระทรวงคือการร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศเพื่อขอความช่วยเหลือด้านการระดมทุนและการแลกเปลี่ยนบุคลากรเรื่องมาตรฐานเพื่อรับประกันและปรับปรุงคุณภาพในทุกภาคส่วนเนื่องจากสปป.ลาวมีพนักงานที่มีคุณสมบัติไม่เพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos126.php

รัฐบาลสปป.ลาวเสนอการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม

รัฐบาลสปป.ลาวได้ขอให้รัฐสภาอนุมัติการแก้ไขกฎหมาย 2 ฉบับคือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เสนอร่างแก้ไขกฎหมายน้ำและแหล่งน้ำฉบับแก้ไขในปี 60 และแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สมาชิกสมัชชาพิจารณาแก้ไข ได้เน้นถึงความต้องการในการรับรองร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมโดยกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงมีความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าการบริหารทรัพยากรน้ำและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเป็นไปตามกฎหมายที่ดินซึ่งรับรองในปี 62 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับกลยุทธ์การจัดการที่ดินของประเทศ ซึ่งรัฐบาลมีแผนจะดำเนินการจนถึงปี 73 เป้าหมายหลักของการจัดการที่ดินคือเพื่อให้แน่ใจว่า 70% ของพื้นที่สปป.ลาวเป็นป่า นอกจากนี้อนุญาตให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้รับผิดชอบการจัดการที่ดินทุกประเภท รวมถึงที่ดินที่ล้อมรอบแหล่งน้ำ การแก้ไขกฎหมายจะช่วยให้ภาคทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถดำเนินการสำรวจเกี่ยวกับที่ดินทุกประเภทและกำหนดแผนสำหรับการอนุรักษ์และพัฒนาที่ดิน ทั้งนี้ประธานรัฐสภาได้ขอให้สมาชิกพิจารณาว่าการเปลี่ยนแปลงที่เสนอเกี่ยวข้องกับความต้องการในปัจจุบันและจะทำให้มั่นใจได้ว่าการบริหารจัดการที่ดินและการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติมีประสิทธิภาพหรือไม่

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt126.php

คลองชลประทานภายในกัมพูชาเข้าถึงพื้นที่การเพาะปลูกกว่าร้อยละ 62

ในช่วงกลางปี 2563 ระบบชลประทานของกัมพูชาสามารถเข้าถึงได้โดยประมาณร้อยละ 62 ของพื้นที่เพาะปลูก 2,957,400 เฮกตาร์ทั่วประเทศ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรน้ำและอุตุนิยมวิทยาคาดว่าจะเพิ่มความครอบคลุมต่อไปเมื่อโครงการพัฒนาชลประทานขนาดใหญ่ 12 โครงการเสร็จสมบูรณ์ในปี 2566 ซึ่งในปี 2562 น้ำชลประทานครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรม 1,835,422 เฮกตาร์ ทั่วประเทศกัมพูชารวมถึง 537,077 เฮกตาร์ สำหรับปลูกข้าวในฤดูแล้งและ 1,298,345 เฮกตาร์สำหรับปลูกข้าวในฤดูฝน  หากเปรียบเทียบกับความครอบคลุมของการชลประทานระหว่าง 2510-2562 การเข้าถึงของคลองชลประทานเพิ่มขึ้นร้อยละ 81รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยังเน้นย้ำถึงความพยายามของรัฐบาลกัมพูชาในการฟื้นฟูและพัฒนาระบบชลประทานของกัมพูชาเพื่อสนับสนุนและขยายการพัฒนาการเกษตรของประเทศต่อไปในอนาคต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50739924/water-from-cambodias-irrigation-canals-accessible-by-62-of-total-farm-land/