ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่น หารือความร่วมมือทางเศรษฐกิจและหลักประกันสุขภาพ

รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจสังกัดกระทรวงการต่างประเทศนาย King Phokeo Phommahaxay นำคณะผู้แทนสปป.ลาวเข้าร่วมประชุมผ่านวิดีโอลิงค์ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศแม่น้ำโขง – ญี่ปุ่นครั้งที่ 13 ในวันที่ 10 มิถุนายนผ่านมาในที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับร่างแถลงการณ์ความร่วมมือแม่น้ำโขง – ญี่ปุ่น เพื่อให้เกิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งขึ้น ความร่วมมือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนระดับภูมิภาคระหว่างญี่ปุ่น – กลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแม่น้ำโขงรวมถึงการปรับปรุงวิถีชีวิตของผู้คนในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงให้มีชีวิตการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การจะบรรลุเป้าหมายได้นั้นทุกภาคส่วนต้องมีการร่วมมือซึ่งกันและกัน ผลของการร่วมมือจะนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจรวมถึงวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Mekong_113.php

การเรียนการสอนออกอากาศทางโทรทัศน์เพื่อกระตุ้นการศึกษาทางไกลใน สปป.ลาว

ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาได้ปรึกษาหารือเกี่ยวกับการผลิตรายการโทรทัศน์ตามหลักสูตรอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการศึกษาทางไกลในพื้นที่ชนบทหลังจากประสบความสำเร็จในการออกอากาศในช่วงปิดโรงเรียน  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและกีฬาและบริษัท  Lao Asia-Pacific Satellite จำกัด ได้ร่วมมือกันทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาที่ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 9 พ.ค.ที่ผ่านมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและกีฬาได้เดินทางไปเยี่ยมชมบริษัท ฯ เพื่อหารือเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของโครงการ ซึ่งการออกอากาศรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและกีฬาที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นประโยชน์ต่อภาคส่วน โครงการนี้สามารถถ่ายทอดความรู้จากครูไปสู่นักเรียนได้ และจะยังคงพัฒนาโปรแกรมภายใต้กรอบการศึกษาสำหรับการออกอากาศทางโทรทัศน์วิทยุและโซเชียลมีเดีย สถาบันวิจัยเพื่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ได้ผลิตโปรแกรมการศึกษาออนไลน์สำหรับวิชาสำคัญหลังจากรัฐบาลสั่งให้โรงเรียนและสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งปิดทำการชั่วคราวเพื่อป้องกัน COVID-19 ในชุมชน แต่ความท้าทายการออกอากาศทางไกลคือนักเรียนในบางพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงการส่งสัญญาณโทรทัศน์ได้เนื่องจากไม่มีสัญญาณออกอากาศหรือครอบครัวไม่มีโทรทัศน์โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท นอกจากนี้กระทรวงได้เสนอให้จัดหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการนำเสนอวิดีโอของครูเพื่อการศึกษาออนไลน์

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_TV_113.php

กัมพูชาเร่งสนับสนุนการลงทุนรูปแบบ e-trade ภายในประเทศ

กัมพูชาขอให้ Huawei ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่จากจีนช่วยสนับสนุนการลงทุนเพิ่มเติม ในการพัฒนาระบบ e-trade หรือเรียกกันว่าระบบทำการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ร้องขอระหว่างการพบปะกับ Mr. Yao Yuya ซีอีโอของ Huawei กัมพูชา ณ กรุงพนมเปญ ซึ่งนายสรศักดิ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่าการลงทุนทางด้านการค้าอิเล็กทรอนิกส์จะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของตลาดการค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในกัมพูชามากขึ้น โดยเน้นย้ำถึงให้เห็นสภาพแวดล้อมการลงทุนในกัมพูชาที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน รวมไปถึงจะส่งผลทำให้การค้าขายผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมทั่วประเทศกัมพูชาในอนาคต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50733601/more-e-trade-investments-encouraged/

สมาคมปศุสัตว์กัมพูชากำลังเร่งทำงานเพื่อลดราคาเนื้อหมูภายในประเทศ

สมาคมผู้เลี้ยงปศุสัตว์กัมพูชาแถลงว่าจะทำงานเพื่อลดราคาเนื้อหมูภายในสัปดาห์หน้าเพื่อรองรับต่อผู้บริโภคในท้องถิ่น โดยการปรับราคาขึ้นหลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรแสดงความกังวลเกี่ยวกับราคาเนื้อหมูที่สูงในตลาดภายในประเทศ ณ ปัจจุบัน ซึ่งสมาคมจะทำงานร่วมกับเกษตรกรในท้องถิ่นเพื่อหาวิธีที่จะสามารถลดราคาเนื้อหมูในท้องถิ่นให้เหลือเพียง 12,000 เรียล (ประมาณ 3 ดอลลาร์) ต่อกิโลกรัม โดยมีรายงานว่าเกษตรกรผู้เพาะปลูกในท้องถิ่นหลายคนแสดงความตั้งใจที่จะขยายการทำฟาร์มปศุสัตว์หลังจากที่นายกรัฐมนตรีฮุนเซนเรียกร้องให้ลดการนำเข้าพืชผักและปศุสัตว์ลงเพื่อกระตุ้นการผลิตในท้องถิ่น ซึ่งในบรรดาการทำฟาร์มทุกประเภทการเลี้ยงหมูกำลังเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากหลังจากราคาเนื้อหมูในท้องถิ่นเพิ่มขึ้นในปัจจุบันราคาเนื้อหมูในตลาดอยู่ในช่วง 13,200 เรียล (ประมาณ 3.25 ดอลลาร์) ถึง 14,200 เรียล (ประมาณ 3.50 ดอลลาร์) ต่อกิโลกรัม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50733576/livestock-association-to-lower-price-of-pork/

มัณฑะเลย์ยกเลิกสัญญาโครงการบำบัดน้ำเสีย

เมืองมัณฑะเลย์กำลังยกเลิกโครงการบำบัดน้ำเสียที่ล่าช้ามากเนื่องจากบริษัทจากประเทศไทยที่ไม่สามารถดำเนินการห้เสร็จสิ้นได้ ปัจจุบันค่ากำจัดน้ำเสียตกอยู่ที่เดือนละ 56,000 จัต (40 ดอลลาร์สหรัฐ) สำหรับ 24 โรงงานในเขตอุตสาหกรรม แต่โรงงานขนาดเล็กไม่สามารถจ่ายได้ ท่อน้ำเสียจะปล่อยน้ำเสียลงในแม่น้ำดอกทาวดี (Dokhtawady) ซึ่งถูกสร้างโดยเขตอุตสาหกรรม

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mandalay-city-moves-cancel-wastewater-treatment-contract.html

ต่างชาติยังสนใจลงทุนในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเมียนมาเชื่อยังแข็งแกร่งแม้ส่งออกลดลง

ความสนใจของนักลงทุนต่างชาติในภาคการผลิตเสื้อผ้ายังคงแข็งแกร่งแม้จะมีปริมาณการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลงในปีงบประมาณ 2562-2563 จากข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) มีบริษัทต่างชาติ 178 แห่งที่ได้รับอนุญาตให้ลงทุนในเมียนมาระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 31 พฤษภาคม 2563 แม้การส่งออกจะลดลงเหลือเพียง 2.7 พันล้านดอลลาร์ โดยลดลงมากกว่า 24 ล้านดอลลาร์จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากการยกเลิกคำสั่งซื้อของสหภาพยุโรปจากปัญหา COVID-19 ทั้งโรงงานยังเลิกจ้างหรือปิดกิจการซึ่งส่งผลกระทบถึงแรงงานกว่า 700,000 คนโดยเฉพาะแรงงานหญิงในโรงงาน 600 แห่ง และการหยุดชะงักของการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศจีนนื่องจากการล็อกดาวน์ประเทศ โดยร้อยละ 70 ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป เช่นเดียวกับญี่ปุ่น เกาหลี แคนาดา และสหรัฐอเมริกา จากการช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลและสหภาพยุโรปทำให้อุตสาหกรรมกำลังฟื้นตัว นอกจากนี้ยังมีรายได้จากการส่งออกจากชายแดนเมียนมา – ไทย ในเมียวดีโดยมีการส่งออกมูลค่า 71 ล้านดอลลาร์ไปยังประเทศไทย ทั้งนี้รัฐบาลมีแผนรับมือทางเศรษฐกิจโดยได้จัดสรรเงินกู้ยืมให้กับอุตสาหกรรมที่มีปัญหารวมถึงอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าด้วย ภาคการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเมียนมามีรายรับจากการส่งออก 5 พันล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2561-2562

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/investor-interest-myanmar-garment-sector-still-strong-despite-lower-exports.html

รัฐเดินหน้าแผน travel bubble รับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศวันละ 1 พัน

กระทรวงท่องเที่ยวเดินหน้า แผน travel bubbleเปิดรับนักท่องเที่ยว วันละ1,000 คนเข้าประเทศ โดยไม่ต้องกักตัว 14 วัน เตรียมเสนอแนวทางดำเนินการให้ศบค.พิจารณา 17 มิ.ย.นี้ เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 63 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ผลักดัน travel bubble หรือ การจับคู่ประเทศ เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างประเทศที่สามารถจัดการโรคโควิด-19 ได้ดีเท่าๆ กัน ซึ่งเป็นความร่วมมือในลักษณะทวิภาคีด้านการท่องเที่ยวแบบใหม่ที่ทั่วโลกกำลังหันมาสนใจ ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 ในหลายๆประเทศเริ่มดีขึ้น
ที่มา: https://www.posttoday.com/economy/news/625975

‘ไทยเวียตเจ็ท’ กลับมาเปิดบริการในประเทศ

สายการบินไทยเวียตเจ็ท (Thai Vietjet) กลับมาเปิดบินเส้นทางระหว่างกรุงเทพ (สุวรรณภูมิ) และสนามบินนานาชาติภูเก็ตในวันเสาร์ที่ผ่านมา เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้โดยสารและเป็นสายการบินรายแรกที่กลับมาดำเนินต่อ จากข้อมูลข้างต้นนั้นเป็นไปตามแถลงของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ที่จะเปิดเส้นทางบินนานาชาติภูเก็ตในประเทศ ทั้งนี้ สายการบินไทยเวียตเจ็ทยังได้เสนอไฟล์ทบินฟรีเป็นระยะเวลา 1 ปีแก่บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงสมาชิกของคณะกรรมการควบคุม COVID-19 และแพทย์ พยาบาลที่ได้รับการแต่งตั้ง 160 ราย ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในไทย นอกจากนี้ สายการบินดังกล่าว ก่อตั้งเมื่อปี 2556 ซึ่งมาจากกิจการร่วมค้าระหว่างเวียตเจ็ท (ถือหุ้น 49%) และกานต์ แอร์ถือหุ้นส่วนที่เหลือ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/738138/thai-vietjet-resumes-domestic-flights.html

เวียดนามเผยยอดส่งออกปลาสวายไปยังยุโรปดิ่งลงฮวบ เหตุโควิด-19

จากรายงานของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่ากลางเดือนพ.ค. การส่งออกปลาสวาย (Pangasius) ของเวียดนามไปยังสหภาพยุโรป มีมูลค่า 53.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบเศรษฐกิจโลก รวมถึงสหภาพยุโรป ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกปลาสวายของเวียดนามไปยังสหภาพยุโรปลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ราคาปลาสวายที่ขายเพื่อเป็นวัตถุดิบปรับตัวลดลง เช่นเดียวกับจีนที่ยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ที่มีแนวโน้มชะลอตัว นอกจากนี้ เพื่อลดผลกระทบจากปัจจัยข้างต้น ภาคการประมงเร่งส่งเสริมสร้างความเข็มแข็งในการควบคุมสภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและคุณภาพของการผลิต ช่วยให้เกษตรกรและธุรกิจเข้าร่วมการจัดการห่วงโซ่อุปทาน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/tra-fish-exports-to-eu-see-a-sharp-fall-due-to-covid19-414903.vov