ราคาที่ดินพื้นที่การเกษตรพุ่ง ในช่วงโควิด-19

ในขณะที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่พยายามดิ้นรนเอาตัวรอดในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่พื้นที่การเกษตรยังคงได้รับการลงทุนที่ร้อนแรง เนื่องจากผู้คนหันกลับไปพื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น สำหรับมุมมองของนายหน้าซื้อขายที่ดิน กล่าวว่าราคาพื้นที่การเกษตรพุ่งสูงขึ้น 2 เท่าและ 3 เท่า ในจังหวัดทางตอนใต้ของเวียดนาม เป็นผลมาจากผู้คนย้ายจากเมืองไปยังพื้นที่ชานเมืองมากขึ้นและจากการแพร่ระบาดของไวรัส รวมถึงระยะห่างทางสังคมทำให้คนจำนวนมากเล็งสวนและพื้นที่การเกษตรแทนที่จะอาศัยอยู่ในเมือง ซึ่งในเมืองด่าหลัด พื้นที่สูงตอนกลาง แต่ละแปลงของพื้นที่การเกษตร 1,000 ตารางเมตร ด้วยต้นทุน 400-700 ล้านด่ง (17,000-30,000 ดอลลาร์สหรัฐ) ในปีที่แล้ว โดยปัจจุบัน ราคาพื้นที่พุ่งสูงขึ้นอยู่ที่ 3-6 พันล้านด่ง ในขณะเดียวกัน พื้นที่การเกษตรรอบนครโฮจิมินห์ อาทิ จังหวัดด่งนาย ราคาพื้นที่แตะ 2-2.5 พันล้านด่งต่อแปลง นอกจากนี้ เมื่อความกังวลต่อสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความสนใจในการลงทุนในพื้นที่ชนบทมากขึ้นตามไปด้วย ส่งผลราคาพื้นที่การเกษตรพุ่งสูงขึ้นในตลาด

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/agricultural-land-price-increases-during-covid19/171770.vnp

GDP เวียดนามโต 7% อีก 5 ปีข้างหน้า

นายเหงียน ซวน ฟุก นายกรัฐมนตรีเวียดนาม เปิดเผยว่าได้ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยแผนพัฒนาเศรษฐกิจ (No. 118/CT-TTg) ในช่วงปี 2564-2568 ซึ่งทางกระทรวงและหน่วยงานท้องถิ่นต้องดำเนินพิจารณาถึงประเด็นสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจอีก 5 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป้าหมายในการเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 7 ในช่วงเวลาดังกล่าว อีกทั้ง นายกรัฐมนตรี ระบุว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจเวียดนามจะเผชิญกับความลำบากและความท้าทายหลายอย่างด้วยกัน จากอุปสรรคปัจจุบัน กระแสสังคมและปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ จำนวนประชากรสูงอายุ ช่องว่างทางรายได้ โรคภัยตามธรรมชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ คาดว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-eyes-gdp-growth-of-7-percent-in-next-five-years/171771.vnp

UN ปกป้องสิทธิสตรีในเมียนมาท่ามกลางการระบาดของ COVID-19

สหประชาชาติ (UN) ยืนยันเมื่อวันที่ 15 เมษายน 63 ได้ทำงานร่วมกับรัฐบาลเมียนมาเพื่อปกป้องสิทธิและโอกาสของผู้หญิงท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในประเทศ ที่กำลังมีผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจที่ร้ายแรงสำหรับผู้หญิงและเด็กผู้หญิงโดยเฉพาะ ซึ่งเกือบ 60% ของผู้หญิงทั่วโลกทำงานในระบบเศรษฐกิจและนอกระบบมีรายได้น้อยลง ประหยัดน้อยลงและมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะตกอยู่ในความยากจน สถานการณ์ดังกล่าวเป็นที่จับตามากขึ้นในเมียนมาซึ่งผู้หญิงคิดเป็น 60% ของพนักงานที่ทำงานบริการด้านอาหารและที่พักและระหว่าง 70 ถึง 90% ของผู้ขายอาหารริมทาง นอกจากนี้แรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงาน UN ได้ให้ความช่วยเหลือในการฝึกอบรมนักสังคมสงเคราะห์กว่า 80 คนของกรมสวัสดิการสังคมในมิติทางเพศในช่วงการระบาดของ COVID-19 และการให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยาสังคม ทั้งนี้ยังมอบโทรศัพท์มือถือ 60 เครื่องให้แก่กระทรวงการสังคมสงเคราะห์บรรเทาทุกข์และการตั้งถิ่นฐานใหม่ เพื่อเพิ่มการบริการและช่วยเหลือทั่วประเทศ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/un-helps-safeguard-myanmar-women-rights-amid-pandemic.html

สปป.ลาวขยายการ Lockdown ไปอีก 14 วัน

มาตราการ Lockdown ในเมืองต่างๆของสปป.ลาว รัฐบาลมองถึงความสำคัญของความต่อเนื่องของการป้องกันการแพร่ระบาดทำให้มีมติในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ให้ขยายเวลาเพิ่มเติมจากเดิมวันที่ 1-19 เมษายนให้เพิ่มจากเดิมไปอีก 14 วัน เพื่อความต่อเนื่องของการป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสถึงแพร่ยอดผู้ติดเชื้อของสปป.ลาวอาจไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับประเทศรอบๆอย่างไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฯลฯ แต่รัฐบาลต้องการให้การแพร่ระบาดหยุดให้เร็วที่สุดเพราะหากปัญหาดังกล่าวกิยเวลานานจะส่งต่อระบบเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง เพราะในปัจจุบันภาคการท่องเที่ยว การผลิตและธุรกิจ sme  ล้วนแล้วได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์นี้ อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้ออกนโยบายเพื่อบรรเทาความยากลำบากของประชาชนและภาคธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนจ่ายภาษีออกไป 3 เดือน หรือมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในขณะนี้ ท้ายที่สุดรัฐบาลสปป.ลาวเชื้อเป็นอย่างยิ่งหากประชาชนให้ความร่วมมือเราจะผ่านสถาการณ์ที่เลวร้ายนี้ไปได้

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos_extends_80.php

ราคาส่งออกข้าวของกัมพูชาเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า

ราคาข้าวหอมมะลิส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในเดือนที่แล้วจาก 50 เหรียญสหรัฐสู่ 100 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตันตัน ตามรายงานของสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) อย่างไรก็ตามราคาซื้อขายข้าวขาวในประเทศยังคงทรงตัว โดยเลขาธิการ CRF อธิบายถึงความไม่เท่ากันของราคาส่งออกที่พุ่งขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการปิดชายแดนเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 หลายประเทศทำให้การขนส่งสินค้ารวมถึงข้าวทำได้ยากขึ้นและสิ่งนี้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า ดีมานด์ก็เพิ่มขึ้นเช่นกันเนื่องจากจุดหมายปลายทางที่ทำการส่งออกไปมีสต็อคของสินค้าที่ค่อนข้างต่ำ ซึ่งความต้องการดังกล่าวยังเห็นว่าราคาข้าวหอมมะลิกัมพูชา (Malys Angkor) เพิ่มขึ้น 70 เหรียญสหรัฐเป็น 950 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตัน ปัจจุบันกัมพูชาได้รับอนุญาตให้ส่งออกข้าวหอมเท่านั้นเนื่องจากได้ราคาที่สูงขึ้นในตลาดต่างประเทศ ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมารัฐบาลกัมพูชาสั่งห้ามการส่งออกข้าวขาวและข้าวเปลือกชั่วคราวจนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติมเพื่อให้มั่นใจว่ามีสต็อกเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการภายในประเทศผ่านช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนซึ่งเกิดจากการแพร่กระจายของ COVID-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50713246/price-of-exported-rice-doubles/

กัมพูชาไม่มีแผนรับมือในด้านการปรับลดค่าไฟฟ้าทั่วประเทศ

แม้จะมีการลดอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับคนงานในโรงงานที่ถูกระงับเนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่การไฟฟ้าแห่งกัมพูชา (EAC) หน่วยงานอิสระของทางภาครัฐที่รับผิดชอบในการจัดการและบริหารด้านพลังงานไฟฟ้าในประเทศกล่าวว่า แผนทั่วไปสำหรับการลดค่าไฟฟ้ายังไม่ได้รับการยกขึ้นมาพิจารณา โดยปัจจุบันราคาไฟฟ้าจะถูกเรียกเก็บในระดับที่เลื่อนจาก 380 riel ($ 0.095) ต่อ kWh สำหรับผู้ที่ใช้น้อยกว่า 10 kWh ต่อเดือนและเพิ่มขึ้นถึง 480 riel ต่อ kWh สำหรับการใช้ไฟฟ้าระหว่าง 11 kWh ถึง 50 kWh ต่อ เดือน. หากพลังงานที่ใช้ลงทะเบียนระหว่าง 51 ถึง 200 kWh ในช่วงเวลาเดียวกันจะถูกเรียกเก็บที่ 610 riel ต่อ kWh โดยมี 730 riel ต่อ kWh สำหรับอัตราค่าไฟฟ้าในการใช้งานที่มากกว่า 200 kWh ต่อเดือน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50713248/no-plan-to-reduce-electricity-bills-nationwide/

‘จีน-ไทย’ เห็นพ้องตั้งกองทุนรับมือโควิด-19 ร่วมแก้ปัญหา ป้องกันการแพร่ระบาด

“จีน-ไทย” เห็นพ้องตั้งกองทุนรับมือโควิด-19 ร่วมแก้ปัญหา วางกลไกเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยเมื่อวันที่ 15 เม.ย. 63 พล.ต.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์และการป้องกันประเทศ และผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ประมวลและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีจีนร่วมการประชุมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) วาระพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านระบบทางไกล เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 14 เม.ย.63 ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ 1.นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ได้กล่าวถึงการเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันในอนาคต โดยต้องดำเนินการเพื่อเอาชนะโควิด-19 ให้ได้โดยเร็ว ซึ่งนอกจากจะคุกคามต่อสุขภาพและชีวิตของผู้คนแล้ว ยังทำให้เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจากการหดตัวของอุปสงค์และอุปทาน รวมถึงเกิดความผันผวนในตลาดการเงินและการค้า ตลอดจนการลงทุนที่ซบเซา ดังนั้น อาเซียนและประเทศคู่เจรจาบวกสามจึงควรแก้ไขปัญหาวิกฤติร่วมกัน โดยวางกลไกการเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉินสำหรับต่อสู้กับโรคระบาด และเพิ่มบทบาทในเชิงบวกของการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการต่อสู้กับการแพร่ระบาดร่วมกัน และช่วยเหลือกันในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ รวมทั้งเพิ่มความเชื่อมั่นในภูมิภาค

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/876140