มูลค่าการส่งออกยางพาราเพิ่มขึ้น

มูลค่าการส่งออกยางพาราของสปป.ลาวเพิ่มขึ้น โดยสร้างรายได้แก่สปป.ลาวถึง 217.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563 จากการที่พื้นที่เพาะปลูกลดลงในระยะ 3 ปีที่ผ่านทำให้ราคายางพาราเพิ่มขึ้นจาก 3,000-4,000 kip ในปี 60 มาเป็น5,000-6,000 kip ในช่วงนี้ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยจากความต้องการยางพาราของจีนมากถึง 10,000 ตัน จากปีที่แล้วและปี63สปป.ลาวได้รับโควต้าในการส่งออกไปยังจีนอีก 20,000 ตัน ปัจจุบันถึงแม้เกิดการแพร่ระบาดของ covid-19 แต่การส่งออกยางาราไปยังจีน จากแขวงน้ำทาก็ยังทำได้ปกติและสร้างมูลค่ามหาศาลแก่สปป.ลาว

ที่มา: http://annx.asianews.network/content/rubber-falls-second-place-export-value-despite-rise-foreign-sales-114828

ยอดค้าปลีกและบริการเวียดนาม 37.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 เดือนแรก

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ว่ารายได้จากการค้าปลีกและบริการของเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ด้วยมูลค่าอยู่ที่ 863.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในช่วงเดือนมกราคมจนถึงกุมภาพันธ์ มียอดค้าปลีกอยู่ที่ประมาณ 674 ล้านล้านด่อง (29.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หากจำแนกรายสินค้าที่มียอดขายเพิ่มขึ้น พบว่ารถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ตามมาด้วยน้ำมันเบนซินและน้ำมัน (11%), เครื่องใช้ในบ้าน (9.5%), เครื่องนุ่งห่ม (8.9%), อาหาร (8.6%), ยานยนต์ (7.1%) และวัฒนธรรมและอุปกรณ์การเรียน (4.7%) สำหรับเมือง/นครที่มีรายได้จากการค้าปลีกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ Quang Ninh, Hai Phong, Thanh Hoa, Nghe An และ Hanoi เป็นต้น ทั้งนี้ รายได้จากที่พักและบริการจัดเลี้ยงอยู่ที่ 95 ล้านล้านด่อง (4.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องมาจากผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ขณะเดียวกัน รายได้จากบริการด้านการท่องเที่ยวอยู่ที่ 7.4 ล้านล้านด่อง (320 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/retail-sales-service-revenues-post-374-billion-usd-in-two-months/169460.vnp

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเวียดนามเพิ่มขึ้น 6.2% ในช่วง 2 เดือนแรก

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของเวียดนามในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 6.2 เป็นผลมาจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งต่ำกว่าร้อยละ 13.7 และ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 และ 2562 ตามลำดับ โดยภาคการแปรรูปและการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 การผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 การจำหน่ายน้ำและบำบัดน้ำเสียเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ขณะที่ ภาคเหมืองแร่ลดลงร้อยละ 3.7 ซึ่งจากการประชุมที่กรุงฮานอยเมื่อเร็วๆนี้ ทางกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าภาคการแปรรูปและการผลิตของเวียดนาม มียอดค้าปลีกส่วนใหญ่มาจากวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่นำเข้ามาจากจีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสดังกล่าว ทั้งนี้ ในปีที่แล้ว เวียดนามนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอยู่ที่ 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากกลุ่ม 3 ประเทศข้างต้น นอกจากนี้ จากสถานการณ์เดียวกันนั้น ผู้ประกอบการเครื่องนุ่งห่มและรองเท้ายังคงมีวัตถุดิบในการผลิตที่เพียงพอจนถึงต้นเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-industrial-production-up-62-pct-in-two-months/169482.vnp

เกษตรกรชาวไทใหญ่ตั้งเป้าส่งออกกาแฟไปสหรัฐและไทยมากขึ้นในปีนี้

เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในเขตเมือง Ywar Ngan รัฐฉานกล่าวว่าพวกเขาหวังที่จะขายเมล็ดกาแฟให้กับผู้ซื้อในยุโรปสหรัฐอเมริกาและไทยในปีนี้ เนื่องจากสภาพอากาศในปีนี้การเก็บเกี่ยวจะเริ่มในช่วงกลางเดือนมีนาคม เมือง Ywar Ngan จะผลิตเมล็ดกาแฟได้ประมาณ 400 ตันในปีนี้และผู้ซื้อต่างประเทศกำลังติดต่อขอซื้ออยู่แล้ว เมล็ดกาแฟคุณภาพสูงสามารถทำรายได้มากกว่า 6,000 เหรียญสหรัฐ (8.5 ล้านจัต) ต่อตันมีพื้นที่ปลูกกาแฟมากกว่า 3,480 เฮกตาร์ในเขตเมือง Ywar Ngan สามารถผลิตเมล็ดกาแฟได้ 800 ตัน สมาคมผู้ส่งออกกาแฟกำลังพยายามพัฒนาคุณภาพการผลิตให้เป็นมาตรฐานและจัดตั้งศูนย์วิจัยกาแฟในปีนี้ กาแฟของเมียนมาได้ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐด้วยความช่วยเหลือจากหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ (USAID) และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรอย่าง Winrock International ขณะนี้พยายามส่งออกไปญี่ปุ่น เกาหลีใต้ แคนาดาและประเทศอื่น ๆ ในตลาดยุโรป จะได้รับการช่วยเหลือจาก GIZ ซึ่งเป็นหน่วยงานพัฒนาของเยอรมนีที่มีสำนักงานใหญ่ในกรุงบอนน์ เมล็ดกาแฟที่ปลูกส่วนใหญ่คือ อาราบิก้าและโรบัสต้าโดยที่อาราบิก้ากำลังเป็นที่นิยม เมล็ดกาแฟที่ผลิตราคาขายอยู่ระหว่าง 1,000 ถึง 8,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันขึ้นอยู่กับคุณภาพ โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2,000 เหรียญสหรัฐต่อตัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/shan-growers-set-sights-selling-more-coffee-us-thailand-year.html

การใช้จ่ายของรัฐบาลเมียนมาล่าช้าแม้รายรับจากภาษีจะเพิ่มขึ้น

แม้ว่ารายได้จากภาษีของเมียนมาจะเพิ่มขึ้นทุกปีใน แต่การใช้จ่ายของรัฐบาลยังไม่เพิ่มขึ้น โดยเมียนมาใช้ไปเพียง 0.3% ของภาษีที่เก็บทั้งหมดเมื่อเทียบกับ 2% ของเวียดนาม เมื่อเทียบกับตลาดเกิดใหม่อื่น ๆ เมียนมามีค่าใช้จ่ายภาครัฐต่ำกว่าถึงแปดเท่า รายรับภาษีรวมทั้งสิ้น 8.3 ล้านล้านจัตในช่วงปีงบประมาณ 61-62 ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าหนึ่งในสามเมื่อเทียบกับห้าปีที่แล้ว แต่อัตราส่วนรายได้ภาษีต่อ GDP ลดลง ในปี 61-62 เป็น 7.9% เทียบกับ 8.7% ในปีงบประมาณ 57-58 เฉลี่ย 15% ของทั้งภูมิภาคอาเซียน ดังนั้นเมียนมาควรเพิ่มการใช้เงินเพื่อการพัฒนา โดยงบประมาณส่วนใหญ่ควรถูกจัดสรรให้กับกรมสรรพากรเพื่อวัตถุประสงค์ในการยกระดับกระบวนการจัดเก็บภาษีและการศึกษาด้านภาษี รัฐบาลต้องการการสนับสนุนจากรัฐสภาในการเร่งแก้ไขกฎหมายภาษีที่มีอยู่และเมื่อประกาศใช้กฎหมายภาษีใหม่

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-spending-lagging-despite-higher-tax-revenues.html

แบงก์ชาติ หวั่นบริโภคดิ่งลึก ไวรัสลามหนักฉุด GDP ต่ำ 1%

ธปท.ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปีนี้โตต่ำสุด เผยเดือน ก.พ. ตัวเลขดิ่งลึก กนง.จับตา 3 ปัจจัยเสี่ยง เร่งใช้งบฯปี”63-ภัยแล้ง-ไวรัส COVID-19 หวั่นโรคระบาดลามทั้งปี ฉุดจีดีพีโตต่ำ 1% ชี้ยกเลิกงานอีเวนต์-กิจกรรมในประเทศ ส่งผลการบริโภคหดตัวไม่ถึง 4% ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ปีนี้จะต่ำสุดของปี 2563 โดยตัวเลขเศรษฐกิจเดือน ก.พ. จะเป็นเดือนที่ลงลึกสุด เนื่องจากผลกระทบจากปัจจัยการระบาดของไวรัส COVID-19 ยังไม่กระทบมากนัก และยังคงติดตามสถานการณ์ 3 ปัจจัย 1.พ.ร.บ.งบประมาณปี”63 ที่ประกาศใช้และมาตรการเพิ่มเติมของรัฐที่จะออกมา 2.ภัยแล้งที่รุนแรงกว่าปี 2559 เนื่องจากสต๊อกน้ำไม่เพียงพอและอยู่ในภาวะวิกฤต 3.COVID-19 แม้การระบาดในจีนเริ่มชะลอตัว แต่การระบาดเพิ่มนอกประเทศ เช่น เกาหลี และในยุโรป ที่พุ่งขึ้นค่อนข้างเร็ว และมีผลต่อเศรษฐกิจโลก รวมทั้งเศรษฐกิจไทย จากเดิมที่กระทบแค่เศรษฐกิจจีน ทั้ง 3 ปัจจัยสถานการณ์ยังไม่นิ่ง และมีผลต่อเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยเดือน ม.ค. 2563 ยังอยู่ในภาวะชะลอตัวต่อเนื่อง การส่งออกสินค้าไม่รวมทองคำหดตัวต่อเนื่องที่ 1.3% ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมและเครื่องชี้วัดการลงทุนภาคเอกชน หดตัวติดลบ 8.1% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐหดตัวสูง เนื่องจาก พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี 2563 ยังไม่ประกาศใช้ โดยการใช้จ่ายในส่วนรายจ่ายประจำติดลบ 20.4% และรายจ่ายลงทุนติดลบ 35.5% ส่วนการบริโภคภาคเอกชนมีอัตราการเติบโต 1.2% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวรวมเดือน ก.พ. คาดว่าจะหายไป 40-45% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยนักท่องเที่ยวจีนหายไปกว่า 90% ฉุดการบริโภคทั้งปีหดต่ำกว่า 4% สำหรับสถานการณ์การยกเลิกการจัดงานอีเวนต์ การประชุมสัมมนาต่าง ๆ เบื้องต้นจะกระทบกิจกรรมภายในประเทศที่มีผลต่อการบริโภค คาดว่าการบริโภคทั้งปี 2563 ไม่น่าจะยืนการเติบโตได้ในระดับ 4% ตามกรอบประมาณการ แต่เชื่อว่าหากไวรัส COVID-19 เริ่มคลี่คลาย จะเห็นกิจกรรมต่าง ๆ กลับมาเป็นปกติได้ ขณะเดียวกัน ธปท.ร่วมกับสมาคมธนาคารไทย ธนาคารพาณิชย์ และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือลูกค้าและผู้ประกอบการ ส่วนหนึ่งก็เพื่อช่วยเหลือประคองให้ลูกค้า-ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจในช่วงนี้ไปก่อน

ที่มา: https://www.prachachat.net/finance/news-426856

รัฐบาลสปป.สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเกษตรเพื่อผลผลิตที่มั่นคง

คณะกรรมการป้องกันและควบคุมภัยพิบัติแห่งชาติกำลังช่วยเหลือเกษตรกรทั่วประเทศโดยการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชที่มีความยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศในสปป.ลาวโดยเฉพาะความทดทานในช่วงฤดูแล้ง โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562 ปริมาณน้ำลดลงร้อยละ 41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วทำให้สปป.ลาวจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศแห้งแล้งเร็วขึ้น ทำให้อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตเกษตรจากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีพื้นที่เพาะปลูกในช่วงนี้ 384,300 เฮกตาร์ ซึ่งจากความแห้งแล้งดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมคาดว่าจะนำมาซึ่งความแห้งแล้งและอุทกภัยที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยผลผลิตอาจลดลง 10% ในปี 2563 และ 30% ในปี 2593 ดังนั้นการทำการศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนาการเกษตรจึงเป็นสิ่งที่สปป.ลาวกำลังผลักดันและให้การสนใจอย่างยิ่งตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2559-2563)เพื่อความมั่นคงด้านอาหารภายในประเทศและประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตร

ที่มา  : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Farmers_43.php

สหภาพยุโรปลดสิทธิพิเศษทางการค้ากัมพูชา

สหภาพยุโรปได้ลดผลประโยชน์ทางการค้ากัมพูชาอย่างเป็นทางการในบันทึกสิทธิมนุษยชนของราชอาณาจักร โดยสหภาพยุโรปกล่าวว่าจะระงับการตั้งค่าปลอดภาษีบางส่วนภายใต้ข้อตกลง “Everything But Arms” (EBA) เป็นโครงการที่จะช่วยกระตุ้นการค้าในประเทศเศรษฐกิจที่ยากจน ซึ่งสหภาพยุโรปกำลังดำเนินการตามคำแนะนำของคณะกรรมาธิการยุโรป เนื่องจากปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนของคนงานในกัมพูชาลดน้อยลง อย่างไรก็ตามการตัดสินใจครั้งนี้เป็นเพียงบางส่วนโดยทำการถอนสิทธิพิเศษทางการค้าประมาณ 20% หรือหนึ่งพันล้านยูโร (1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ) จากการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหภาพยุโรปในทุกปี โดยกัมพูชารับมือด้วยการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศอื่นแทน ซึ่งกัมพูชาเป็นผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปรายใหญ่อันดับหกของสหภาพยุโรปและเป็นประเทศส่งออกสินค้าเสื้อผ้าและสิ่งทอมูลค่ากว่า 4 พันล้านเหรียญสหรัฐสู่สหภาพยุโรปในปี 2561

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50696924/eu-finally-slashes-cambodia-trade-benefits-over-rights-violations