ไทย-ฮ่องกง เอ็มโอยูหุ้นส่วนศก.

รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เปิดเผยว่า ในวันที่ 29 พ.ย.นี้ ผู้ว่าการเขตบริหารพิเศษฮ่องกง จะเดินทางมาไทย เพื่อเข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-ฮ่องกง เป็นครั้งแรก กับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ 6 ฉบับ โดยฉบับแรกถือเป็นฉบับใหญ่ที่สุด เป็น กรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลที่มีเนื้อหาครอบคลุมความร่วมมือในการพัฒนาทุกด้าน ส่วนเอ็มโอยูที่เหลือจะเป็นกรอบการพัฒนาที่แยกออกเป็นด้าน ต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรม การเงิน และนวัตกรรม ทั้งนี้ในการหารือครั้งดังกล่าว ทั้ง 2 ประเทศจะร่วมกันพิจารณาแนวทางความร่วมมือระหว่างกันซึ่งต่อยอดมาจากการเดินทางไปเยือนฮ่องกงของนายสมคิด และคณะ เมื่อช่วงเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา โดยในระหว่างการหารือครั้งนี้จะยกเนื้อหาที่ครอบคลุมทางด้านเศรษฐกิจหลายเรื่องมาหารือกัน เช่น การทำความตกลงการค้าไทยฮ่องกง การส่งเสริมผู้ประกอบการกลุ่มสตาร์ทอัพ การร่วมมือทางด้านเทคโนโลยี การเชื่อมโยงด้านการเงินระหว่างกัน และการส่งเสริมเรื่องของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เช่นเดียวกับการเชื่อมโยงทางด้านประเด็นทางการเมืองด้วย นอกจากนี้ยังมีคณะของ รมต.พาณิชย์และการพัฒนาเศรษฐกิจของฮ่องกง พาคณะนักธุรกิจฮ่องกงกว่า 50 คนมาเยือนไทย เพื่อมาศึกษาช่องทางการค้าและการลงทุน และวันที่ 28 พ.ย.นี้ จะมีงานสัมมนาใหญ่เพื่อชี้แจงข้อมูลการลงทุนด้วย.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 28 พ.ย. 2562

‘ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย’ ขยายรองรับผู้โดยสาร 100 ล้านคนต่อปี

ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย หรือเรียกอีกชื่อว่า “สนามบินฮานอย” จะขยายรองรับผู้โดยสาร 100 ล้านคนต่อปี เพื่อให้มีการพัฒนาพื้นที่รอบสนามบินฮานอยอย่างเหมาะสม และช่วยลดผลกระทบต่อการวางแผนโครงการ โดยรองนายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมประชุมกับกระทรวงและหน่วยงานท้องถิ่น ในการหารือเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงานและวางแผนของสนามบินนานาชาติดังกล่าว ซึ่งทางกระทรวงคมนาคมและการบินพลเรือนเวียดนาม (CAAV) ร่วมมือกับบริษัท ADPi ที่เป็นบริษัทให้คำปรึกษาด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมสนามบิน ทั้งนี้ การวางแผนจะรองรับผู้โดยสารมากขึ้นนั้น เพื่อต้องการลดการขยายพื้นที่น้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่อยู่อาศัย เพื่อให้โครงการได้สภาพแวดล้อมอย่างเหมาะสม ตลอดจนลดค่าใช้จ่ายการลงทุน ทั้งนี้ ในปี 2561 สนามบินรองรับผู้โดยสารประมาณ 25.9 ล้านคน ซึ่งสูงกว่าที่ตั้งไว้ด้วยจำนวนผู้โดยสาร 13.1 ล้านคน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/noi-bai-airport-to-be-expanded-for-100-million-passengers-per-year-406739.vov

เวียดนามเผยยอดส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้เกินกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเดือนตุลาคม

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้มากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเดือนตุลาคมของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยรองประธานสมาคมหัตถกรรมและแปรรูปไม้นครโฮจิมินห์ (Hawa) ระบุว่าเป็นครั้งแรกที่มีมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ที่สูงกว่ามาตรฐานที่ตั้งไว้ ประกอบกับรัฐบาลได้ป้องกันการทุจริตว่าด้วยเวียดนามส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ ดังนั้น ตลาดส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้คาดว่าจะสดใส ในช่วงเดือนสุดท้ายของปีนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไม้แปรรูปยังคงต้องตื่นตัวต่อปัญหาการทุจริตในการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้และไม้แปรรูป เพื่อรักษาตลาดสำคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และจีน ทั้งนี้ ในปี 2561 การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้เวียดนาม คิดเป็นมูลค่าราว 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/wood-and-wood-product-exports-exceed-1-billion-usd-in-october-406728.vov

บริษัทเริ่มใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตการเกษตรในรัฐฉาน

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา AEG Agriculture ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ร่วมมือกันในการลงทุนกับรัฐฉาน ถือเป็นการเริ่มต้นในการให้บริการเทคโนโลยีแก่การเกษตรในท้องถิ่น ด้วยการใช้ระบบความแม่นยำที่ชาญฉลาด HydroPlant ที่จะให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสภาพอากาศ สภาพดิน และรายละเอียดอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการเพาะปลูก ระบบอัจฉริยะนี้นำเสนอข้อมูลที่เกษตรกรต้องการผ่านสมาร์ทโฟนรวมถึงระบบควบคุมอัตโนมัติ AEG Agriculture ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ 5,000 ไร่ในรัฐฉานด้วยความช่วยเหลือจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ซึ่งสามารถบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อต้นปีที่ผ่านมา HydroPlant ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในห้าเทคโนโลยีที่เข้าร่วมโครงการ Cohort 3 ของ Phandeeyar Accelerator สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นและเติบโตเทคโนโลยีใหม่ๆ ของเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/firms-use-technology-optimise-agriculture-yields-shan.html

รัฐฉานต้องการการลงทุนเพิ่มในภาคการเกษตร

คณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) เรียกร้องให้มีการลงทุนในประเทศและต่างประเทศมากขึ้นในภาคเกษตรของรัฐฉาน เพราะเป็นรัฐที่มีศักยภาพที่ดีสำหรับธุรกิจการเกษตร แหมาะแก่การพัฒนาในด้านการเกษตร ปศุสัตว์และภาคอุตสาหกรรม เป้าหมายคือเป็นภูมิภาคที่จัดหาสินค้าเกษตรสำหรับตลาดในและต่างประเทศ ปัจจุบันมีผลผลิตอย่าง กาแฟ ใบเมี่ยง ข้าวโพด เนย และผัก ซึ่งสินค้าเกษตรมีจำหน่ายในตลาดท้องถิ่นและส่งออก กาแฟส่งออกไปยังอเมริกา ยุโรป และเอเชีย พืชชนิดอื่น ๆ จะส่งออกไปจีนเป็นหลัก รัฐฉานมีสภาพอากาศเหมาะสมสำหรับธุรกิจการเกษตร และมีที่ตั้งใกล้กับไทยและจีนนั้นเป็นข้อได้เปรียบในการกระจายสินค้า ความท้าทายคือ ขาดเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงใช้วิธีเพาะปลูกแบบดั้งเดิม รัฐบาลกำลังเชิญชวนนักลงทุนให้เข้ามาลงทุน อีกทั้งยังแนะนำโครงการลงทุนของรัฐฉาน (2563-2573) และโครงการพัฒนาการเกษตรระยะสั้น ส่วนความขัดแย้งในบางพื้นที่อาจเป็นเรื่องท้าทายของรัฐบาลที่กำลังหาทางแก้ไข การลงทุนส่วนใหญ่มาจากธุรกิจท้องถิ่น รัฐบาลมีแผนที่จะจัดตั้งเขตเกษตรกรรมและเศรษฐกิจใน Hopone โดยร่วมมือกับเขตปกครองตนเอง Hopone และเขตเศรษฐกิจชายแดนเมียนมา – จีนทางตอนเหนือของรัฐฉาน จากสถิติบริษัทต่างชาติได้ลงทุนในรัฐฉานตั้งแต่ปี 2531 ถึง 2560 มีมูลค่ามากกว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/shan-state-seeking-more-investors-agricultural-sector.html

ผู้นำกลุ่มแม่น้ำโขง-สาธารณรัฐเกาหลีได้ชื่นชมผลของความร่วมมือที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

วันที่ 27 พย. มีการประชุมสุดยอดแม่น้ำโขง-สาธารณเกาหลีครั้งที่ 1 ที่กรุงปูซานในการประชุมครั้งนี้เป็นการยกระดับความร่วมมือในระดับที่สูงขึ้น รวมถึงเป็นเวทีในการกำหนดแผนในอนาคตสำหรับกรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง – สาธารณรัฐเกาหลีเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแม่น้ำโขง โดย 3 โครงการที่กำลังดำเนินการในลาวปัจจุบันมีเป้าหมายในการเพิ่มขีดความสามารถของประชาชนสปป.ลาวและเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการบูรณาการความร่วมมือทางเศรษฐกิจสถาบันและการเปิดกว้างเชิงพาณิชย์ต่อไป ซึ่งทั้ง 3โครงการได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง – สาธารณรัฐเกาหลีโดยในปี 61เกาหลีได้ให้เงินสมทบเพิ่ม 1.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปี 62 อีก 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยเร่งการเติบโตในในภูมิภาคแม่น้ำโขง ภายในงานยังมีการกล่าวปฏิญญาของผู้นำในกลุ่มโดยระบุถึงแผนความร่วมมือใน 7 ด้านเพื่อการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สันติภาพของสปป.ลาวรวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อสาธารณรัฐเกาหลีอย่างยั่งยืน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Mekong_259.php

กฎหมายภาพยนตร์ใหม่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์: รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม

อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของสปป.ลาวจะได้รับการส่งเสริมที่สำคัญในไม่กี่ปีข้างหน้าหลังจากการแนะนำกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์ตามที่รัฐมนตรีกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว หนึ่งในผลลัพธ์ที่สำคัญที่กระทรวงคาดหวังจากกฎหมายคือสปป.ลาวและผู้สร้างภาพยนตร์นานาชาติจะได้รับการสนับสนุนให้ผลิตภาพยนตร์ในสปป.ลาวมากขึ้นด้วยกฎที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เนื้อหารายละเอียดของกฎหมายจะเป็นแหล่งอ้างอิงที่มีประโยชน์สำหรับผู้ผลิตภาพยนตร์ นอกเหนือจากการสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ กฎหมายใหม่จะให้แนวทางที่ชัดเจนขึ้นสำหรับผู้บริหารการผลิตภาพยนตร์ และจะทำให้ผู้บริหารการผลิตภาพยนตร์เรียนรู้จากประชาคมระหว่างประเทศ เกี่ยวกับวิธีการควบคุมอุตสาหกรรมภาพยนตร์อย่างมีประสิทธิภาพ ในการร่างกฎหมายกระทรวงได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อดูแลกระบวนการและเสริมว่าคณะกรรมการศึกษาเนื้อหาของกฎหมายที่คล้ายกันในประเทศเพื่อนบ้านก่อนที่จะร่าง นอกจากนี้คณะกรรมการจัดประชุมกับผู้แทนของอุตสาหกรรมภาพยนตร์และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ เพื่อหารือเกี่ยวกับเนื้อหาเพื่อให้แน่ใจว่าสอดคล้องกับนโยบายของรัฐและกฎหมายอื่น ๆ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_New_film_259.php

การส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนของกัมพูชายังคงอยู่ภายใต้โควตาของปีที่แล้ว

ซีอีโอของธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบท (RDB) กล่าวว่า Cofco ผู้ผลิตและผู้ค้าอาหารรายใหญ่ที่สุดของจีนยังไม่ได้ส่งคำสั่งซื้อใดๆ สำหรับข้าวสารที่ผลิตในกัมพูชาในปี 2562 โดยโควตาสำหรับปี 2562 อยู่ที่ 400,000 ตัน ซึ่งผู้ส่งออกข้าวในประเทศบางรายกำลังพยายามส่งข้าวไปยังประเทศจีนตามโควตาสำหรับปี 2018 ที่ 300,000 ตัน โดยจีนได้ให้คำมั่นที่จะซื้อข้าว 400,000 ตันจากกัมพูชาในปีนี้ ซึ่งคำปฏิญาณดังกล่าวเกิดขึ้นในเดือนมกราคมระหว่างการประชุมที่ปักกิ่งระหว่างนายกรัฐมนตรีฮุนเซนและประธานาธิบดีจีนจินผิงโดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคมปีนี้กัมพูชาส่งข้าวสารจำนวน 184,844 ตัน ไปยังประเทศจีน คิดเป็น 40% ของการส่งออกข้าวสารทั้งหมดของกัมพูชาที่ 457,940 ตัน เพิ่มขึ้น 5% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จากข้อมูลของ SOWS-REF สหภาพยุโรปเป็นผู้ซื้อข้าวกัมพูชารายใหญ่เป็นอันดับสองโดยซื้อข้าวสารจำนวน 155,950 ตัน ในช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคมเพิ่มขึ้น 34% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รายงานแสดงให้เห็นว่า 83 บริษัท ส่งออกข้าวกัมพูชาไปยังตลาดต่างประเทศรวมทั้ง บริษัท Baitang (Kampuchea) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50664440/rice-exports-to-china-still-under-last-years-quota-crf/