‘เวียดนาม’ เล็งนำเข้าไฟฟ้ามากขึ้นจากสปป.ลาว

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ร้องขอให้การไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) พิจารณาสร้างสายส่งไฟฟ้าใหม่ เพื่อที่จะนำเข้าไฟฟ้าจากสปป.ลาวมากยิ่งขึ้น โดยแผนงานดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้กับภาคเหนือของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากยังไม่มีโครงการพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าแห่งใหม่จนถึงปี 2568 ทั้งนี้ ในปัจจุบัน นายกรัฐมนตรีได้อนุมัตินโยบายรับซื้อไฟฟ้าจากสปป.ลาว เนื่องจากต้นทุนที่ดีหากเทียบกับแหล่งอื่นในภูมิภาค

นอกจากนี้ ในช่วง 11 เดือนของปีนี้ เวียดนามนำเข้าไฟฟ้าจากสปป.ลาวและจีน ราว 4 พันล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง หรือคิดเป็น 1.5% ของการใช้พลังงานทั้งประเทศ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnam-mulls-importing-more-electricity-from-laos/

‘สี จิ้นผิง’ เยือนเวียดนาม หลังสหรัฐฯกระชับความสัมพันธ์

สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีของสาธารณรัฐประชาชนจีน เดินทางมาเยือนเวียดนามในวันที่ 12 ธ.ค. หลังจากผ่านไป 3 เดือนที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน เดินทางมากรุงฮานอย ซึ่งการเดินทางในครั้งนี้ของผู้นำจีน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ดี การเยือนของจีนในครั้งนี้ได้ถูกเลื่อนออกไปอีก เนื่องจากมีการหารือที่ยืดเยื้อถึงการกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคี

นอกจากนี้ มีสัญญาณของการยกระดับความสัมพันธ์ขยับขึ้นไปสู่ระดับที่จีนมองว่าอยู่เหนือความสัมพันธ์สหรัฐฯ-เวียดนาม

ที่มา : https://www.straitstimes.com/asia/chinas-xi-visits-vietnam-after-biden-seeks-to-boost-ties

World Bank แนะ สปป.ลาว ต้องปฏิรูปทางการคลัง เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

World Bank เสนอแนะผ่านรายงานเศรษฐกิจโลกว่า สปป.ลาว มีความจำเป็นต้องทำการปฏิรูปทางการคลังเพื่อบรรเทาปัญหาทางเศรษฐกิจและช่วยสร้างระบบที่มีความยั่งยืนมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบัน สปป.ลาว มีระดับหนี้ที่สูง การเก็บรายได้ของรัฐบาลไม่เพียงพอ และเกิดการอ่อนค่าของเงินกีบ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการลงทุนด้านการศึกษา การฝึกอบรม และด้านสาธารณสุขที่ไม่เพียงพอ ล้วนบ่อนทำลายการพัฒนาที่ครอบคลุมในระยะยาว ประชาชนขาดทักษะฝีมือและขาดการดูแลสุขภาพที่ดี เนื่องจากปัญหาความยากจน มาเรียม เชอร์แมน ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำเมียนมา กัมพูชา และลาว เสนอแนะว่า “การเปลี่ยนแปลงนโยบายการคลังจะสามารถช่วยแก้ไขความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ปกป้องประชากรที่ได้รับผลกระทบ กระตุ้นการเติบโต และลดความยากจน รวมถึงความไม่เท่าเทียมกันได้” ทั้งนี้ จากรายงานดังกล่าวนี้สรุปใจความสำคัญได้ว่า การปรับปรุงการเก็บรายได้ ตลอดจนประสิทธิผลและความเท่าเทียมของการใช้จ่ายสาธารณะ มีมาตรการในการเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการจัดเก็บภาษี การปฏิรูปการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจและสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงกำหนดเป้าหมายการใช้จ่ายภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา : https://english.news.cn/20231212/35c48e9f07274111be9d458c8524ed8b/c.html

คณะกรรมการกลางว่าด้วยการกำกับดูแลการไหลเวียนของการค้าและสินค้า หารือเรื่องการจำหน่ายเชื้อเพลิง และมาตรการเพื่อเพิ่มการส่งออกผลิตผลทางการเกษตร

Mya Tun Oo รัฐมนตรีสหภาพสมาชิกสภาบริหารแห่งรัฐ และประธานคณะกรรมการกลางว่าด้วยการกำกับดูแลการไหลเวียนของการค้าและสินค้า ได้กล่าวปราศรัยในการประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 2/2566 ที่กรุงเนปิดอว์เมื่อวานนี้ ว่ามีการเตรียมการอย่างเป็นระบบเพื่อให้แน่ใจว่ามีเชื้อเพลิงเพียงพอที่สถานีบริการน้ำมันและจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงในสต็อก ในทางกลับกันยังกำกับดูแลการต่อต้านการค้าเชื้อเพลิงที่ผิดกฎหมายอีกด้วย ทั้งนี้ คณะกรรมการยังเน้นไปที่มาตรการเชิงปฏิบัติสำหรับการนำเข้า การจัดเก็บ และการจัดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และพิจารณาว่าเชื้อเพลิงที่นำเข้ามีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานคุณภาพหรือไม่ ในทำนองเดียวกัน มีการแจกจ่ายน้ำมันสำหรับใช้ปรุงอาหารอย่างเพียงพอไปยังภูมิภาคและรัฐ รวมถึงกรุงเนปิดอว์ เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีเสถียรภาพต่อตลาดและราคาสินค้า อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีสหภาพฯ กล่าวต่อว่าในสมัยนั้นมีการใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น ข้าว ถั่ว ข้าวโพด งา และยางพารา นอกจากนี้ยังต้องกำกับดูแลการส่งกลับรายได้จากการส่งออกตามขั้นตอนที่กำหนดและจะจัดลำดับความสำคัญของการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับเขตอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าส่งออก และเน้นย้ำถึงความร่วมมือกับ UMFCCI สมาคมพี่น้อง และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/central-committee-on-ensuring-smooth-flow-of-trade-and-goods-discusses-fuel-distribution-measures-to-increase-export-of-farm-produce/#article-title

เมียนมาร์กระตุ้นการส่งออกถั่วพัลส์ตามเป้าหมายประจำปี โดยส่งออกไปแล้ว 1 ล้านตัน

สมาคมผู้ค้าถั่วพัลส์ ถั่ว ข้าวโพด และเมล็ดงาของเมียนมาร์ รายงานว่า ด้วยการส่งออกพัลส์ในปัจจุบันมากกว่า 1 ล้านตัน โดยส่วนใหญ่ทางทะเล ในปีงบประมาณนี้ คาดการณ์ว่าสมาคมจะบรรลุเป้าหมายประจำปีตามปกติอยู่ที่ประมาณ 1.5 ถึง 2 ล้านตันต่อปี โดยการค้าทางทะเลถือเป็นช่องทางหลักในการส่งออก ในขณะที่เส้นทางชายแดนส่วนใหญ่ใช้สำหรับขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีน ท่ามกลางความยากลำบากในการขนส่งทางถนน ทั้งนี้ ในบรรดาประเทศปลายทาง อินเดียถือเป็นประเทศอันดับหนึ่งที่เมียนมาร์มีการส่งออกสินค้าประเภทดังกล่าว โดยการส่งออกไปยังอินเดียส่วนใหญ่ผ่านทางทะเล เนื่องจากการค้าชายแดนเป็นเรื่องยากในการขนส่ง อย่างไรก็ดี ตามข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ในช่วงระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 17 พฤศจิกายน ปีงบประมาณนี้ เมียนมาร์มีรายได้มากกว่า 850 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกถั่วพัลส์มากกว่า 1 ล้านตัน รวมถึงถั่วดำและถั่วแฮะ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-pulses-export-on-track-to-meet-annual-target-with-1-mln-tonne-already-shipped/

ADB ร่วมกับ MPWT สร้างโครงการฝังกลบในพระตะบอง มูลค่า 6.28 ล้านดอลลาร์

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ร่วมมือกับกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง (MPWT) ในการก่อสร้างหลุมฝังกลบแบบควบคุมขนาด 20 เฮกตาร์ ในจังหวัดพระตะบองสำเร็จ โดยมีเป้าหมายเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากรในชุมชนที่มีอยู่ราว 126,000 คน ด้วยกำลังการกำจัดขยะ 100 ตัน ต่อวันเป็นเวลา 10 ปี ด้วยเม็ดเงินลงทุนในโครงการมูลค่า 6.28 ล้านดอลลาร์ ภายใต้ชื่อโครงการการจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองครั้งที่สองในลุ่มน้ำทะเลสาบโตนเลสาบ โดยโครงการนำร่องได้เริ่มดำเนินการมาแล้ว 2 เดือน และพร้อมที่จะให้บริการแก่ชุมชนทั่วทั้งจังหวัด ซึ่งจุดฝังกลบดังกล่าวตั้งอยู่ห่างจากเทศบาลเมืองพระตะบอง 25 กิโลเมตร และห่างจากชุมชนเนื่องจากความกังวลด้านสุขภาพของประชาชนในระยะยาว โดยขยะทั้งหมดสามารถนำมาใช้เป็นทรัพยากรในการผลิตก๊าซและปุ๋ยต่อไปได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501404698/adb-mpwt-build-6-28-million-landfill-project-in-battambang/

กัมพูชาดันระบบชำระเงินข้ามพรมแดนร่วมกับจีน หวังกระตุ้นการท่องเที่ยว

ภาคการท่องเที่ยวกัมพูชามีแนวโน้มขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการจัดทำข้อตกลงสำคัญอย่างข้อตกลงการชำระเงินข้ามพรมแดนระหว่างจีนและกัมพูชา ซึ่งมีศักยภาพในการผลักดันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่กำลังเฟื่องฟู หลังได้รับผลกระทบมาจากโควิด-19 ด้วยการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เกิดการใช้จ่ายที่มากขึ้นด้วยการเสริมความสะดวกในการชำระเงิน ผ่านระบบภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว นอกจากข้อตกลงข้างต้นทั้งสองประเทศยังวางแผนที่จะผลักดันนโยบายส่งเสริมเที่ยวบินและการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวระหว่างกันเพื่อที่จะส่งเสริมการเดินทางระหว่างกันมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้นักท่องเที่ยวชาวจีนในกัมพูชาสามารถชำระเงินโดยเข้าถึงระบบ Alipay ผ่านระบบ Bakong ของกัมพูชา และนักท่องเที่ยวชาวกัมพูชาในประเทศจีน ให้สามารถชำระเงินโดยใช้ระบบ Bakong เพื่อซื้อสินค้ากับผู้ขายที่ใช้ Alipay ในประเทศจีนได้สะดวกขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501404692/cross-border-payment-deals-with-china-to-catapult-tourist-numbers/