พ่อค้ากดซื้อ ทุบราคายางดิ่ง รัฐแบกชดเชย

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เตรียมนำเสนอเรื่องต่อครม.เพื่อเดินหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางพาราระยะที่ 1 งบประมาณ 2.43 หมื่นล้านบาท โดยยางแผ่นดิบคุณภาพดีประกันรายได้ที่ 60 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) น้ำยางสด (DRC 100%) ที่ 57 บาทต่อกก. ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ที่ 23 บาทต่อกก. โดยจะจ่ายเงินส่วนต่างราคาตลาดกับราคาประกัน เข้าบัญชีเกษตรกรผู้ปลูกยางที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทยผ่านบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในทุก 2 เดือน ซึ่งงวดแรกจะจ่ายในเดือนธันวาคมนี้ อย่างไรก็ดีผลพวงที่ตามมาเวลานี้ได้รับเสียงสะท้อนจากเกษตรกรว่าผู้ค้ายางเริ่มกดราคารับซื้อยาง เพื่อหวังฟันกำไร โดยผลักภาระในการชดเชยส่วนต่างราคาให้กับรัฐบาล หากไทยไม่รีบปรับตัวสร้างนิวบาลานซ์ใหม่โดยใช้ยางในประเทศและส่งออกให้สมดุลกัน อนาคตอุตสาหกรรมยางพาราไทยทั้งระบบจะลำบาก เพราะเวลานี้นอกจากไทย อินโดนีเซีย มาเลเซียที่เป็นผู้ผลิตยางรายใหญ่แล้ว จีนก็มีการปลูกยางได้เองในมณฑลยูนนาน และยังมาเช่าพื้นที่ปลูกใน CLMV ขณะที่อินเดียก็เร่งขยายพื้นที่ปลูกในประเทศ ซึ่งผลผลิตจะทยอยออกมากขึ้นในทุกปีนับจากนี้ ดังนั้นตลาดจีน รวมถึงตลาดอื่นๆ จะลดการนำเข้ายางพาราจากไทยลงแน่นอน

ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 26 – 28 ก.ย. 2562—

เศรษฐกิจดิจิทัลเวียดนาม มีแนวโน้มแตะระดับ 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2568

จากข้อมูลของ Open Gov Asia เปิดเผยว่ามูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลเวียดนามอยู่ที่ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2561 และคาดว่าจะพุ่งสูงขึ้นถึง 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2568 นับว่าเศรษฐกิจดิจิทัลเวียดนามมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สถานการณ์การค้าขายออนไลน์ในเวียดนามเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้เกิดโมเดลธุรกิจใหม่ๆ และการขยายตัวของอีคอมเมิร์ซ ล้วนส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยในปี 2561 มูลค่าของอีคอมเมิร์ซ อยู่ที่ 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ เพื่อให้เศรษฐกิจดิจิทัลมีการเติบโตอย่างยั่งยืนนั้น เวียดนามจำเป็นต้องสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนให้มากยิ่งขึ้น และการส่งเสริมกฎหมาย ให้มีความเหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานภายใต้เศรษฐกิจดิจิทัล รวมไปถึงหาแนวทางโซลูชั่นต่างๆ เพื่อให้ระบบมีความปลอดภัยและพร้อมไปด้วยข้อมูลในการพัฒนาทางด้านการลงทุน และโครงสร้างดิจิทัล เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-digital-economy-likely-to-hit-30-billion-usd-in-2025/161055.vnp

ADB คาดเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวร้อยละ 6.8 ในปี 2562

จากข้อมูลของธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) ณ วันที่ 25 กันยายน เปิดเผยว่าเศรษฐกิจเวียดนามยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องร้อยละ 6.8 และ 6.7 ในปี 2562 และ 2563 ตามลำดับ และในช่วงครึ่งปีแรก 62 การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเวียดนาม (GDP) ชะลอตัวลง แต่ภาวะเศรษฐกิจยังคงมีความยืดหยุ่นอยู่ ถึงแม้ว่าในปีหน้า เวียดนามจะเผชิญกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่อ่อนแอลง ซึ่งทางด้านอุปสงค์จากต่างประเทศนั้นลดลง ทำให้ปริมาณการส่งออกสินค้า/บริการชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของครึ่งปีแรกที่ผ่านมา แต่ว่าอำนาจในการซื้อภายในประเทศยังคงแข็งแกร่งอยู่ ในขณะที่ ภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ มีแนวโน้มการเติบโตที่ชะลอตัวในทุกภาคส่วน แต่มีผลกระทบในแต่ละภาคแตกต่างกัน อย่างเช่น ภาคเกษตรกรรมที่เผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดหมูสายพันธุ์แอฟริกา เป็นต้น นอกจากนี้ แม้ว่าการส่งออกเวียดนามจะชะลอตัวก็ตาม แต่อำนาจซื้อของคนเวียดนามยังคงอยู่ในระดับสูง และเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง

ที่มา :  https://english.vov.vn/economy/adb-forecasts-vietnams-economy-to-grow-at-68-per-cent-in-2019-403674.vov

เมียนมาจับมือสิงคโปร์ลงนามการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน

การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเมียนมา – สิงคโปร์ ครั้งที่ 7 ณ กรุงย่างกุ้งเมื่อวันที่ 24 ก.ย.62 ที่ผ่านมาทั้งสองประเทศได้ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างเมียนมาและสิงคโปร์ ปริมาณการลงทุนของสิงคโปร์ไปยัเมียนมามีมากกว่า 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เมียนมาอนุมัติการลงทุน 321 แห่งของสิงคโปร์ ตั้งแต่ปี 31-32 และการลงทุนสูงถึง 22 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็น 27% ปีงบประมาณ ปัจจุบันสิงคโปร์มีการลงทุนมากที่สุด กระทรวงพาณิชย์ระบุว่าค้าระหว่างสองประเทศมีมูลค่า 3.838 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในการประชุมเน้นส่งเสริมการลงทุนและเขตอุตสาหกรรมความร่วมมือทางเทคนิคและความช่วยเหลือสำหรับ SMEs การพัฒนาชุมชนเมือง การบริการด้านการเงินและการธนาคาร ด้านกฎหมายและทรัพย์สินทางปัญญา คณะกรรมการร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรีเมียนมา – สิงคโปร์ก่อตั้งขึ้นในปี 38 มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสองประเทศ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-and-singapore-sign-agreement-on-promotion-and-protection-of-investment

ปี 62 รายรับการส่งออกเมียนมาเพิ่ม 595 ล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์ระบุตั้งแต่ปี 61 ถึงวันที่ 13 ก.ย. 62การส่งออกมีมูลค่า 15.976 พันล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 595 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เมียนมาส่งออกฟาร์มสัตว์ ผลิตภัณฑ์ทางทะเล เหมืองแร่ อุตสาหกรรมสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากตัวเลขพบมีการขาดดุลการค้ามากกว่า 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐก่อนสิ้นปีงบประมาณนี้ ปัจจุบันมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 15.976 ล้านเหรียญสหรัฐและการนำเข้า 17.218 ล้านเหรียญสหรัฐ ปีนี้การค้าระหว่างประเทศคาดว่ามีมูลค่ามากกว่า 31 พันล้านเหรียญสหรัฐและการขาดดุลการค้าจะลดลงเหลือ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ การขาดดุลการค้าในปัจจุบันลดลงกว่า 1.930 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/export-earnings-increases-over-595-m-usd-this-fy

คาดการณ์เศรษฐกิจสปป.ลาวในปีนี้อยู่ในระดับปานกลาง

การเติบโตทางเศรษฐกิจของสปป. ลาวคาดว่าจะอยู่ในระดับปานกลางในปี 62 และ 63 เนื่องจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีแรกของปี 62 เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาน้อยลง การส่งออกไฟฟ้าซบเซา แม้ในภาคเกษตรจะฟื้นตัวเล็กน้อย ซึ่ง ADB คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสปป.ลาวจะเติบโต 6.2% ในปี 62 และ 63 ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อยที่ 6.5% ในเดือนเม.ย. 62 และ 63 ในช่วงสี่เดือนแรกของปี 62 การส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในรูปดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปี 61 เนื่องจากการส่งออกไฟฟ้าขยายตัวเพียง 2.3% ซึ่งช้ากว่า 7.0% ในปีก่อนมาก สิ่งนี้บ่งชี้ว่าการเติบโตของอุตสาหกรรมชะลอตัวในช่วงครึ่งแรกของปีและการหดตัวของผลผลิตเหมือง ในขณะเดียวกันการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวจาก 6.1% ในช่วงครึ่งแรกของปี 61 เป็น 5.0% ในช่วงเดียวกันของปีนี้ เงินกีบดูเหมือน overvalued อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 2.3% ในปี 62 และ 63 สูงกว่าการคาดการณ์ 2.0% ในเดือนเม.ย.ปีนี้ ภาวะการเงินและสินเชื่อยังคงตึงตัวในประเทศทั้งคู่ขยายตัว 3.9% และ 3.1% ตามลำดับในไตรมาสแรกของปี 62 การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในอัตราร้อยละของจีดีพีคาดว่าจะอยู่ที่ 8.9% ในปี 62 และ 8.4% ในปี 63 จากการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การนำเข้ามีแนวโน้มหดตัวที่ 9.5% ในปี 62 และ 10% ในปี 63 แม้ว่าสปป.ลาวจะคาดว่าการปรับปรุงดุลบัญชีเดินสะพัดจะลดลง แต่ทุนสำรองระหว่างประเทศขั้นต้นคาดว่าจะอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ในเดือนธ.ค. 62 ซึ่งจะครอบคลุมการนำเข้าเพียงเดือนเดียว

ที่มา : http://kpl.gov.la/En/Detail.aspx?id=48415

บริษัทของอินโดนีเซียเร่งลงทุนในรถไฟของกัมพูชา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกัมพูชาขอให้บริษัท PT Industri Kereta Api Indonesia (Inka) ซึ่งเป็น บริษัท ผลิตรถไฟของรัฐบาลอินโดนีเซีย เร่งลงทุนในระบบรถไฟของกัมพูชา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงขอให้ตัวแทนของ Inka เข้าหารือเกี่ยวกับการลงทุนในระบบรถไฟของกัมพูชากับหน่วยงานในท้องถิ่นและการรถไฟของกัมพูชา ซึ่ง Inka ตกลงที่จะส่งทีมเจ้าหน้าที่เพื่อหารือเกี่ยวกับการพัฒนาทางรถไฟกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น โดยกัมพูชากำลังทำการเพื่อขยายเครือข่ายทางรถไฟและทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะกัมพูชามีเส้นทางรถไฟเพียงสองเส้นทาง ได้แก่ พนมเปญถึงสีหนุวิลล์และพนมเปญไปปอยเปตของบันเตียเมียนเจย ซึ่งเครือข่ายทางรถไฟเดิมของประเทศได้รับการจัดการโดย Royal Group ผ่าน Royal Railways ที่เป็นบริษัทในเครือ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50646169/indonesian-firm-urged-to-invest-in-cambodian-railroads/

ผู้ประกอบการจีนลงทุนสร้างโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ขนาดใหญ่ในกัมพูชา

บริษัท Hameinivin ของจีนประกาศแผนการลงทุนในโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ขนาดใหญ่ในจังหวัดตโบงฆมุม ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะเปิดดำเนินการผลิตภายในสิ้นปี 2563 ซึ่งจะมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 50,000 ตันต่อปีเมื่อเฟสที่ 1 แล้วเสร็จ และเมื่อเฟสที่ 2 แล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อีก 10,000 ตัน โดยก่อนหน้าบริษัทได้ทำการเข้าซื้อพื้นที่เพื่อการเพราะปลูกไว้แล้วกว่า 1,300 เฮกเตอร์ในปี 2559 ซึ่งเชื่อว่าเกษตรกรจะได้รับประโยชน์จากการลงทุนของบริษัท ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร 2,000-4,000 เหรียญสหรัฐต่อปีจากการขายยาสูบ เพราะบริษัทเองประกอบธุรกิจโรงงานผลิตใบยาสูบแห้งอีกด้วย โดยมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 2,000-3,000 ตันต่อปี ซึ่งตามรายงานของกระทรวงเกษตรกัมพูชามีการผลิตยาสูบอยู่ที่ 7,454 ตันในปี 2561 ลดลง 18% จากปี 2560

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50646140/chinese-firm-to-invest-10-million-in-organic-fertilizer-plant/