ปตท. ชงโมเดลธุรกิจLNGเสนอกกพ. หนุนไทยก้าวสู่ฮับในภูมิภาคอาเซียน

ปตท.จัดทำรูปแบบธุรกิจแอลเอ็นจีต่อกกพ.เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นฮับในภูมิภาคนี้ มั่นใจไทยมีความพร้อมทั้งความต้องการใช้ โครงสร้างพื้นฐานสถานีรับจ่ายก๊าซแอลเอ็นจีและด้านภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลาง ขณะที่  นายวุฒิกร สติฐิต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังเปิดงาน Gas Day 2019 Energy fuel for today and tomorrow ว่า ปตท.อยู่ระหว่างจัดทำรูปแบบธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG)เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางซื้อขายก๊าซแอลเอ็นจีในภูมิภาคนี้ (แอลเอ็นจี ฮับ) เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยรูปแบบธุรกิจดังกล่าว ปตท.มีศักยภาพในการส่งออกแอลเอ็นจีไปตลาดในภูมิภาคนี้ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานรองรับสถานีรับจ่ายแอลเอ็นจี (แอลเอ็นจี เทอร์มินอล) ทำได้อยู่แล้ว โดยปีนี้จะรีโหลดแอลเอ็นจีใส่เรือ เพื่อ ขนไปจำหน่ายให้กับลูกค้า เบื้องต้นได้มีการเจรจากับลูกค้าโรงงานอุตสาหกรรมบางราย และในอนาคตจะต่อยอดไปจำหน่ายในต่างประเทศ ซึ่งทางบริษัทฯ มองว่าประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเป็นฮับอาเซียน เนื่องจากมีความได้เปรียบทั้งโครงสร้างพื้นฐาน และมีความต้องการใช้แอลเอ็นจีมาก และด้านภูมิศาสตร์ประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลาง CLMV ทำให้ไทยมีศักยภาพที่จะเป็นฮับแอลเอ็นจี ในอาเซียน โดยกลุ่ม ปตท.ดำเนินธุรกิจก๊าซครบวงจรเพื่อมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและไฟฟ้า โดยการขนส่งก๊าซฯไม่จำเป็นต้องผ่านทางท่อเท่านั้นแต่ขนส่งผ่านรถ และเรือได้

ที่มา : ผู้จัดการรายวัน 360 องศา

ซุ่มดึง บจ. CLMV เข้าตลาดหุ้น “ไฟฟ้าลาว-เขตศก.พนมเปญ” จ่อไฟลิ่ง

ที่ปรึกษาการเงินซุ่มทำดีลดึง บจ. “CLMV” เข้าระดมทุนตลาดหุ้นไทยแบบ dual listing “แอสเซท โปรฯ” ประกาศบุก “ลาว-กัมพูชา” นำร่องเข็น “บริษัทผลิตไฟฟ้าลาว-เขตเศรษฐกิจพนมเปญ” เตรียมแผนปีหน้ายื่นไฟลิ่งเข้าจดทะเบียน SET ฟาก “ยูโอบี” อยู่ระหว่างปั้นดีลในมือ 7-10 ราย ตลท.ชี้ตลาดหุ้นไทยโดดเด่นสภาพคล่องสูง หุ้นติดโผ MSCI กว่า 33 ตัว ในขณะที่ นายสมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ประธานกรรมการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาการเงิน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้บริษัทให้ความสนใจกับการไปดึงบริษัทจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะใน สปป.ลาวและกัมพูชา นอกจากนี้ยังได้หารือกันถึงเครื่องมือการเงินอื่น ๆ เช่น การตั้งกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Trust) รวมถึงการนำบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ของลาวที่มีศักยภาพ เข้ามาจดทะเบียนควบ 2 ตลาด (dual listing) ในตลาดหลักทรัพย์ไทย นอกจากนี้ยังได้หารือกันถึงเครื่องมือการเงินอื่น ๆ เช่น การตั้งกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Trust) รวมถึงการนำบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ของลาวที่มีศักยภาพ เข้ามาจดทะเบียนควบ 2 ตลาด (dual listing) ในตลาดหลักทรัพย์ไทย รวมไปถึงมองว่าการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยจะช่วยขยายฐานนักลงทุนและหนุนการเติบโตของบริษัท ทำให้หน่วยงานในประเทศเหล่านั้นต่างสนับสนุนให้บริษัทในประเทศตนมาจดทะเบียนในไทย ขณะที่ความน่าสนใจของตลาดหลักทรัพย์ไทยนอกจากจะเป็นตลาดที่มีสภาพคล่องสูงสุดในภูมิภาคอาเซียนแล้ว ยังมีกลุ่มนักลงทุนที่หลากหลาย ทั้งนักลงทุนสถาบันไทย นักลงทุนต่างประเทศ และนักลงทุนบุคคล อีกทั้งมีหุ้นที่ได้รับการจัดอันดับจากดัชนี MSCI ถึง 33 ราย มากเป็นอันดับสองของอาเซียนรองจากมาเลเซีย

ที่มา : http://www.prachachat.net

กรีซนำเข้าปลาทูน่าพุ่งสูงขึ้นจากเวียดนาม

จากรายงานของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกปลาทูน่าไปยังประเทศกรีซ ด้วยมูลค่าราว 1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งสมาคมฯ มองว่าสถานการณ์การส่งออกไปยังกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปนั้นลดลง แต่ทางด้านตลาดกรีซกลับมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยมูลค่าการส่งออกปลาทูน่าแปรรูปกระป๋องของเวียดนามไปยังสหภาพยุโรป คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 94 ของมูลค่าส่งออกปลาทูน่าไปยังตลาดโลก อีกทั้ง กลุ่มผู้บริโภคชาวกรีซนิยมทานปลาทูน่ากระป๋องจากอิตาลี อย่างไรก็ตาม ในปี 2559 ความต้องการสินค้าคุณภาพสูงลดลง เป็นผลมาจากการปรับขึ้นราคาสินค้า ดังนั้น กรีซจึงต้องนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากกลุ่มประเทศในแถบเอเชียเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และตุรกี ซึ่งกลุ่มประเทศดังกล่าว ล้วนเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุด

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/greece-increases-imports-of-vietnamese-tuna/160255.vnp

เวียดนามเผยยอดเกินดุลการค้าพุ่งสูงขึ้น จากการส่งออกโทรศัพท์ซัมซุง ในเดือนสิงหาคม

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในเดือนสิงหาคม กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มียอดเกินดุลการค้าอยู่ที่ 3.435 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 43 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทางด้านการส่งออกมีมูลค่าสูงถึง 25.885 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว ในขณะที่ มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 22.450 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.1 โดยสินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนามในเดือนสิงหาคม ได้แก่ โทรศัพท์ เสื้อผ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ส่วนสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก้ เครื่องจักร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อีกทั้ง โทรศัพท์สมาร์ทโฟนและชิ้นส่วนในเวียดนามที่มีการส่งออกไปยังต่างประเทศนั้น ส่วนใหญ่ผลิตโดยบริษัทซัมซุง (Samsung Electronics) เพิ่มขึ้นร้อยละ 48 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว นอกจากนี้ จากตัวเลขสถิติในเดือนสิงหาคม ระบุว่าเวียดนามมียอดเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ในขณะที่ เวียดนามขาดดุลการค้ากับจีน ด้วยสินค้าประเภทวัสดุในการใช้สำหรับอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานเป็นหลัก

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20190911/vietnam-august-trade-surplus-jumps-on-samsung-phone-shipments/51241.html

ราคาน้ำมันถั่วลิสงในประเทศคาดทรงตัว

องค์กรอุตสาหกรรมเผยราคาน้ำมันถั่วลิสงในประเทศและถั่วลิสงซึ่งปรับตัวสูงขึ้นในเดือน ส.ค. คาดว่าจะทรงตัวในเดือนนี้ ราคาถั่วลิสงเมื่อเดือนที่แล้วเพิ่มขึ้นเป็น 4,200 จัตต่อ viss (1.6 กิโลกรัม) ทำให้มีผลกระทบกับบริโภคได้ในท้องถิ่น อย่างไรก็ตามผลผลิตจะเข้าสู่ตลาดในเดือนนี้และราคาจะมีเสถียรภาพมากขึ้น แม้แต่จีนที่ซื้อถั่วคุณภาพต่ำในเดือนที่ผ่านมาและราคาถั่วลิสงในท้องถิ่นพุ่งสูงถึง 3,900 จัต และ 4,200 จัต สต๊อกจึงในระดับต่ำในตลาดและไม่สามารถตอบสนองความต้องการในท้องถิ่นได้ แต่ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วราคาอยู่ภายใต้ 3,500 จัต คาดราคาเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นถึงระหว่าง 8,000 จัตและ 10,000 จัตต่อ viss ราคาน้ำมันถั่วลิสงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นจากประมาณ 22,227 บาทต่อปีในปี 61 เป็น 10,000 เยน แต่ราคาน้ำมันปาล์มยังคงไม่เปลี่ยนแปลงที่ประมาณ 2,000 จัต ทำให้โรงงานประมาณ 300 แห่งในเขตมัณฑะเลย์ มีเพียง 25% ที่หยุดการผลิต ปัจจุบันน้ำมันถั่วลิสงราคาขายที่ 10,000 ต่อ viss

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/local-peanut-oil-prices-expected-stabilise.html

รายได้จากการผลิตไฟฟ้าย่างกุ้งเพิ่ม 65%

ข้อมูลจากย่างกุ้งอีเล็คทริคคอร์ปอเรชั่น (YESC) นครย่างกุ้งมีรายได้ 36 พันล้านจัต จากการจ่ายกระแสไฟฟ้าในเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้น 65% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้านี้ รายได้ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากกระทรวงไฟฟ้าและค่าไฟฟ้าขอขึ้นค่าไฟฟ้าไปเมื่อวันที่ 1 ก.ค.เพื่อลดภาระของรัฐบาลในการอุดหนุนภาษี ย่างกุ้งซึ่งใช้ไฟฟ้ามากกว่าครึ่งของประเทศมีปริมาณการใช้กว่า 91 พันล้านจัตในเดือน ก.ค.เทียบกับ 55 พันล้านจัตในเดือนมิ.ย. ตามข้อมูลจากกระทรวงไฟฟ้าและพลังงานรัฐบาลแยกใช้เงินมากกว่า 400 พันล้านจัตในการอุดหนุนภาษีของปีงบประมาณ 59-60 และมากกว่า 600 พันล้านจัตในปีงบประมาณ 60-61 คาดว่าจะเกิน 500 ล้านจัตในปีงบประมาณ 61-62 เพื่อบรรลุเป้าหมายในการจัดหาไฟฟ้าทั้งหมดภายใน ธ.ค. 63 รัฐบาลย่างกุ้งวางแผนที่จะใช้จ่ายมากกว่า 100 ล้านจัตระหว่างปีงบประมาณ 61-62และ 63-64 เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/yangon-electricity-revenues-65pc.html

ลักเซมเบิร์กเพิ่มการสนับสนุนสำหรับโครงการพัฒนาใน สปป.ลาว

รัฐบาลลักเซมเบิร์กตกลงที่จะสนับสนุนทุนกว่า 11.7 ล้านยูโรเพื่อดำเนินโครงการพัฒนา จากการลงนามในข้อตกลงสามฉบับเพื่อสนับสนุนสปป.ลาวในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม พิธีลงนามข้อตกลงการระดมทุนได้ดำเนินการภายใต้การประชุมคณะกรรมการความร่วมมือทวิภาคีครั้งที่ 12 ระหว่างสปป.ลาวและรัฐบาลลักเซมเบิร์กในเวียงจันทน์ โดยความช่วยเหลือ 1.3 ล้านยูโรสำหรับโครงการเพื่อการพัฒนาในช่วงปี พ.ศ. 62-65 เงิน 6.99 ล้านยูโรสำหรับการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบทและการลดความยากจน และ 3.5 ล้านยูโรสำหรับโครงการสนับสนุนภาคสุขภาพ อีกทั้งมีการทบทวนการดำเนินการตามโครงการความร่วมมือในปี พ.ศ. 61-62 รวมทั้งแผนล่วงหน้าสำหรับโครงการความร่วมมือระดับที่ 4 (ICP) ปี 59-63 ที่ผ่านมาลักเซมเบิร์กได้ให้ความช่วยเหลือ เช่น การศึกษา สุขภาพ การท่องเที่ยว การกู้ระเบิดที่ยังหลงเหลืออยู่ การเงินการธนาคาร การพัฒนาชนบทและโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ICP โดยรวมที่ดำเนินการ 4 ขั้นตอนโดยมีมูลค่ารวม 178 ล้านยูโร ขั้นที่ 1 เริ่มปี 46-49 มูลค่า 18 ล้านยูโร ครั้งที่ 2 จากปี 50-53 ที่ 35 ล้านยูโร ขั้นที่ 3 ปี 54-58 ที่ 50 ล้านยูโรและขั้นที่ 4 เริ่มในปี 59 และจะเสร็จสิ้นในปีหน้า มูลค่า 75 ล้านยูโร

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Luxembourg.php

น้ำท่วมพิษพายุโพดุลส่งผลราคาข้าวและเนื้อหมูในภาคใต้ของ สปป.ลาว เพิ่มขึ้น

ราคาเนื้อหมูและข้าวเพิ่มขึ้นในจังหวัดทางภาคใต้ของ สปป.ลาวลาวที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม แต่อยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้เนื่องจากการควบคุมของรัฐบาล ราคาข้าวเพิ่มขึ้นประมาณ 500 กีบ เป็น 1,000 กีบต่อกิโลกรัม ส่วนเนื้อหมูเพิ่มขึ้นประมาณ 5,000 กีบต่อกิโลกรัม เนื่องจากผู้ค้าประสบปัญหาในการขนส่งสินค้า ถนนถูกน้ำท่วมท่วมและเสียหาย อย่างไรก็ตาม ราคาเนื้อหมูในปัจจุบันอยู่ในระดับปกติ เนื่องจากหน่วยงานในจังหวัดได้เข้ามาควบคุมราคา ผลกระทบพายุโซนร้อน”โพดุล” ทำให้ฝนตกหนักและน้ำท่วมไปยังหกจังหวัดของแขวงคำม่วน สะหวันเขต อัตตะปือ สาละวัน จำปาสัก และเซกอง ฟาร์มปศุสัตว์ ระบบชลประทาน และบ่อปลาก็ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเช่นกัน ปีที่แล้วมีข้าวนาปรัง 101,000 เฮกตาร์ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 12% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 817,800 เฮกตาร์ ประมาณการมีข้าว 66,000 เฮคตาร์ที่ได้รับความเสียหาย น้ำท่วมในปีที่แล้วส่งผลให้ราคาข้าวเพิ่มขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้จาก 1,000 กีบเป็น 2,000 กีบต่อกิโลกรัม ปัจจุบันผู้ประสบอุทกภัยยังต้องการอาหาร น้ำดื่ม อุปกรณ์ครัว ผ้าปูที่นอน และของใช้จำเป็นอื่น ๆ

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/floods-lead-increase-prices-rice-and-pork-southern-provinces-103889