ปัญหาการขนส่งสินค้าในกลุ่ม CLMV มองผ่านเจ้าหน้าที่ GIZ คุณวิลาสินี ภูนุชอภัย

โครงการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ที่ยังยืนในลุ่มแม่น้ำโขงภายใต้การสนับสนุนของององค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมนี (GIZ) วิลาสินี ภูนุชอภัย ชี้ระบบโลจิสติกส์ การคมนาคมขนส่ง เป็นพื้นฐานหลัก เพราะเชื่อมต่อระหว่างการส่งสินค้าไปขายที่ประเทศเมียนมาร์ กัมพูชาหรือ สปป.ลาว และมองว่าการคมนาคมเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อน ได้ระบุปัญหาสำคัญคือ การขนส่งด้วยรถบรรทุกของประเทศปลายทางที่มีสภาพเก่า เป็นรถมือสอง อายุ 10-15 ปี การทักษะในการขับรถบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ ทำให้เกิดอันตราย การสิ้นเปลืองของเชื้อเพลิง เส้นทางที่ไม่ได้มาตรฐาน กฎหมายคมนาคมในประเทศที่ไม่อำนวย ทางโครงการจึงเข้าไปช่วยเหลือ เช่น ร่วมปรับปรุงกฎหมายโดยใช้ต้นแบบเป็นมาตรฐานของยุโรป ร่วมมือกับภาคเอกชนอย่าง SCG ในการให้ความรู้และฝึกอบรมการขับรถอย่างถูกต้อง ประหยัดพลังงาน และปลอดภัย ผลลัพธ์ที่ผ่านมาพบว่า เมียนมาเป็นประเทศที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุดเพราะความมีวินัยของคนในชาติ ดังนั้นไทยควรสนับสนุนเพราะสินค้าไทยในกัมพูชา เมียนมา หรือ สปป.ลาว แม้กระทั่งเวียดนาม มีมูลค่าการค้าหลายหมื่นล้านและกลุ่มประเทศดังกล่าวยังให้ความนิยมและเชื่อมั่นในคุณภาพอีกด้วย

ที่มา: http://www.komchadluek.net/news/economic/361772

7/02/2562

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการในอุตสาหกรรมธุรกิจเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ: กรณีศึกษากรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา

ราคาเป็นปัจจัยหลักที่จูงใจให้ลูกค้าเลือกใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ รองลงมาคือคุณภาพการบริการ ภาพลักษณ์ตราสินค้า ส่วนความพึงพอใจของลูกค้าเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้า ปัจจัยรองลงมาคือความน่าสนใจต่อทางเลือกของลูกค้า ในขณะที่ต้นทุนในการเปลี่ยนเครือข่ายไม่มีผลต่อความภักดีของลูกค้า

ที่มา: https://tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/108124

การวิเคราะห์เส้นทางการขนส่งผลไม้จากจังหวัดจันทบุรีสู่การค้าชายแดนกัมพูชา

เส้นทางที่มีความเหมาะสมที่จะขนส่งผลไม้ไปสู่ชายแดนกัมพูชามากที่สุดคือ เส้นทางไปยังจุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม โดยเส้นทางนี้มีศักยภาพร้อยละ 80 รองลงมา คือ เส้นทางไปยังจุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาดมีศักยภาพร้อยละ 71.11 และจะเห็นได้ว่า เส้นทางไปยังจุดผ่อนปรนบ้านซับตารีมีศักยภาพใกล้เคียงกับเส้นทางไปยังจุดผ่านแดนถาวรโดยมีศักยภาพร้อยละ 66.67 ซึ่งจุดผ่อนปรนนี้สามารถพัฒนาให้เป็นจุดผ่านแดนถาวรได้ในอนาคต

ที่มา: https://tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/143214/105995

ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชาบริเวณจังหวัดศรีสะเกษ ภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง

ควรสนับสนุนความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานทางความมั่นคง กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตลอดจนการส่งเสริมกระบวนการวางแผนการท่องเที่ยวชายแดนจากชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาครัฐและภาคเอกชน โดยจัดตั้งคณะกรรมการกลางด้านการท่องเที่ยวชายแดนทำหน้าที่ในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่ สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการประชาสัมพันธ์การกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวจะมีส่วนช่วยส่งเสริม สนับสนุนทุกภาคส่วนให้เป็นพันธมิตรด้านการท่องเที่ยวชายแดน เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาให้จังหวัดศรีสะเกษเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในอารยธรรมขอมโบราณชายแดนสองแผ่นดิน

ที่มา: https://www.tci-thaijo.org/index.php/npuj/article/view/78794/67546

ความสามารถในการแข่งขันของธนาคารไทยพาณิชย์ไทยในประเทศกัมพูชา: กรณีศึกษาธนาคารไทยพาณิชย์

ธนาคารเอซีลีดาของกัมพูชาได้เปรียบในด้านการบริหารสินทรัพย์ เพราะมีขนาดใหญ่กว่าและเงินทุนสำหรับการปล่อยสินเชื่อ การบริหารจัดการทุนทำให้สามารถขยายสาขาไปทั่วประเทศ แต่ ธ.ไทยพาณิชย์ มีประสิทธิภาพในการบริหารมากกว่า เนื่องจากมีการบริหารฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเมื่อเทียบจำนวนพนักงาน (Economies of scale) ด้านความสามารถในการแข่งขันธุรกิจ ธ.พาณิชย์ในประเทศกัมพูชา พบว่า ตัวแปรต่างๆ ยังเอื้อต่อการต่อการแข่งขัน แต่จะต้องมีการพัฒนา E-Banking เพื่อรองรับการทำธุรกรรมออนไลน์ และเครื่องบริการฝากถอนเงินตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ เพื่อรองรับความต้องการที่จะเพิ่มมากขึ้น ปัญหาสำคัญที่ธนาคารไทยพาณิชย์พบคือ ความพร้อมของระบบ Electronic Banking ผลิตภัณฑ์ที่ไม่หลากหลายและดอกเบี้ยที่ไม่จูงใจ

ที่มา: https://www.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu/article/view/75229

เครือข่ายชนชั้นนำทางเศรษฐกิจการเมืองและผลกระทบของบ่อนคาสิโนตามชายแดนไทย-กัมพูชา ในเขตจังหวัดภาคตะวันออก

ชนชั้นนำไทย กัมพูชา และข้ามชาติมีการสัมพันธ์ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการโดยมีการผูกขาดน้อยราย (Oligopoly) ในการลงทุนธุรกิจคาสิโน การบริหารคาสิโนมีลักษณะเป็นการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศที่เป็นระบบ ด้านบุคคล การจัดการความเสี่ยง การประสานงานกับฝ่ายมั่นคง การส่งเสริมการตลาด และหน่วยงานภายในองค์กร ส่วนผลประโยชน์จากบ่อนคาสิโนนั้นพบว่า แนวโน้มผลประโยชน์จะตกเป็นของนักธุรกิจเจ้าของบ่อนและเจ้ามือ ในขณะที่ผู้เล่นการพนันจะเป็นผู้เสียประโยชน์

ที่มา: https://tci-thaijo.org/index.php/romphruekj/article/view/72639/58430

การพัฒนาตลาดการค้าชายแดนไทย-กัมพูชากรณีศึกษาตลาดการค้าชายแดนช่องจอมจังหวัดสุรินทร์

จากการวิเคราะห์ SWOT พบว่า จุดแข็ง คือ ที่ตั้งตลาด จุดอ่อน คือ จำนวนขอทานมีมากและไม่ความปลอดภัย โอกาส คือ ใกล้กับชายแดน การติดต่อค้าขายกันสะดวก รัฐฯ มีนโยบายหนุนการค้าขายกับต่างชาติ เปิดเสรีการค้า สนับสนุนการพัฒนาจังหวัด ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของกลุ่ม ASEAN และอุปสรรค คือ เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ เงินต่างสกุลกัน ความไม่แน่นอนทางการเมืองซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจ ซึ่ง แนวทางการพัฒนาตลาดการค้าชายแดนเป็นสารสนเทศที่ อบจ.จังหวัดสุรินทร์และ อบต.ด่านพัฒนา อําเภอกาบเชิง  สามารถใช้เป็นแนวทางการจัดการ เช่น การจัดทําแผนผังในตลาด การจัดทําคู่มือท่องเที่ยวตลาดช่องจอม

ที่มา: https://tci-thaijo.org/index.php/npuj/article/view/43939/36326

แนวทางการพัฒนาตลาดการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีศึกษาตลาดการค้าชายแดนจังหวัดจันทบุรี

ควรปรับปรุงพัฒนาด่านและตลาดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก เพิ่มความรู้และศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการ การปรับปรุงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่างๆ เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ และระบบคมนาคมโลจิสติกส์ ปรับปรุงระบบภาษี พิธีการทางศุลกากรให้เหมาะสม เป็นต้น จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาและประสานงานการค้าชายแดนไทย -กัมพูชาประจำจังหวัดจันทบุรี เพื่อให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษา และประสานงานการค้าชายแดนแก่นักธุรกิจที่สนใจ

ที่มา: https://drive.google.com/open?id=1k6Nz_-ZeiuRHcTvpZ8M_CMSVrU1qPivI

สถานการณ์ปัจจุบัน และแนวทางการประกอบธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหารไทยประเทศกัมพูชา

ต้องสำรวจตลาดและร้านอาหารที่มีระดับราคาต่ำสุดจนถึงราคาสูง ในทำเลที่ต่างกันทั้งร้านที่ตั้งในโรงแรม ร้าน stand alone จะได้มองเห็นความต่างของการบริหารจัดการ รายการอาหาร การออกแบบตกแต่งและบรรยากาศ เพื่อการสร้างความต่างตามกลุ่มเป้าหมาย ควรศึกษาข้อบังคับกฎระเบียบต่างๆ ด้านกลยุทธ์การตลาดไม่ควรเน้นลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากเกินไป เช่น นักท่องเที่ยวต่างชาติ เพราะหมดฤดูท่องเที่ยวจะเจอปัญหาเรื่องการเงินควรมีการวางแผนรองรับ ควบคุมมาตรฐาน ความสะอาด ความปลอดภัยของวัตถุดิบ และสถานที่คุณภาพและรสชาติของอาหาร การบริการที่ดีและรวดเร็ว งานบุคคลต้องสร้างแรงจูงใจทั้งพนักงานครัว งานบริการ สร้างแรงจูงใจทั้งฝึกอบรม ทักษะให้ได้มาตรฐานสากล อาหารและรสชาติต้องปรับตามพฤติกรรมของผู้บริโภคท้องถิ่นการส่งเสริมการตลาดควรเน้นระบบออนไลน์มากขึ้นและโปรโมชั่นที่คู่กับที่พักหรือธุรกิจทัวร์

ที่มา: https://journal.pim.ac.th/uploads/content/2017/07/o_1bm0vefqlcee6gv1qpgmg1u5na.pdf

เค้าชอบเรา! 5 เหตุผลที่เวียดนามนิยมไทย

จากรายงานของสถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอจิมินห์ เปิดเผยว่าสินค้าของประเทศไทยนับได้ว่าเป็นหนึ่งในสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากชาวเวียดนามไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องแต่งกาย รองเท้า อุปกรณ์ในครัวเรือน อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น ถึงแม้ว่าราคาจะสูงกว่าคู่แข่งในตลาด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ชาวเวียดนามพิจารณาว่าสินค้าของไทยมีคุณภาพและราคาที่สมเหตุสมผลกว่าสินค้าจากประเทศอื่นๆ โดยเหตุผลที่ชาวเวียดนามชื่นชอบสินค้าไทย ประกอบไปด้วย 5 ปัจจัย ได้แก่ การลงทุนของกลุ่มผู้ประกอบการไทย,ราคาสมเหตุสมผล,ภาพลักษณ์สินค้าไทยที่มีคุณภาพสูง,บรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม และกระแสนิยมไทย นอกจากนี้เหตุผลข้างต้น ยังมีเหตุผลที่เกื้อหนุนที่ทำให้ชาวเวียดนามนิยมสินค้าไทย เช่น เศรษฐกิจยังพุ่งทะยานสูงขึ้น สังคมเมืองยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ รัฐบาลเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยเหตุนี้ จากปัจจัยดังกล่าว เชื่อว่าคงเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการที่ต้องการขายสินค้าในเวียดนาม ได้กำหนดกลยุทธ์ในการบุกตลาดที่ถูกต้อง

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/vietnam-thai-products