ควรเลือกใช้ธนาคารไหนในเมียนมาเมื่อจะทำการค้าขายกัน

การทำธุรกรรมทางการค้ากับเมียนมาส่วนใหญ่จะเป็นการค้าชายแดน ภายหลังปี 49 ที่สหรัฐฯ ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรและนโยบายเศรษฐกิจที่เปิดกว้างมากขึ้นทำให้ภาคธนาคารพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้จักกับธนาคารสำคัญในเมียนมาทั้ง 4 แห่งดังต่อไปนี้ 1.Myanma Economic Bank (MEB) เป็นธนาคารใหญ่อันดับ 2 ของประเทศรองจาก KBZ Bank เน้นการปล่อยสินเชื่อให้กับภาครัฐเป็นหลัก 2. Myanma Foreign Trade Bank (MFTB) เน้นบริการทางงานเงินระหว่างประเทศผ่านเครือข่าย Correspondent Bank ใน 54 ประเทศทั่วโลกและเป็นธนาคารที่นิยมในการเปิดบัญชีเงินตราต่างประเทศ 3. Myanma Investment and Commercial Bank (MICB) เน้นให้บริการหรือสนับสนุนผู้ประกอบการเป็นหลัก 4. Myanma Agricultural and Development Bank (MADB) เน้นให้บริการผู้ประกอบการและเกษตรกรในพื้นที่ชนบท ปัจจุบันในด้านการค้าระหว่างประเทศธนาคารของรัฐอย่าง MFTB และ MICB ควรที่จะทำความรู้จักมากที่สุดเพราะมีประสบการณ์ด้านธุรกรรมระหว่างประเทศมายาวนาน มีความน่าเชื่อถือสูง และมีโอกาสที่คู่ค้าชาวเมียนมาจะใช้บริการทางการเงินจากทั้ง 2 ธนาคารนี้

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/49462.pdf

เจาะ Insight ผู้บริโภคเมียนมาปี 2018 เปลี่ยนผ่านสู่ยุค “ช้อปเพื่อไลฟ์สไตล์”

บริษัท เอ็นไวโรเซล ประเทศไทย จำกัด บริษัทวิจัยระดับโลกได้วิเคราะห์เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคเมียนมาในปี 2018 ได้อย่างน่าสนใจคือ ตลาดโมเดิร์นรีเทล (Modern Retail) เติบโตสูง พื้นที่ retail ของ Aeon, Miniso หรือ Daiso จากญี่ปุ่นเติบโตถึง 28% ต่อปี ส่วนเมืองรองจะมี Grab and Go ร้านสะดวกซื้อที่เปิดตัวในปี 2013 ด้วยจำนวน 10 สาขา มองหาสินค้าที่สนองไลฟ์สไตล์มากกว่าแค่ปัจจัยสี่ หันมาซื้อของที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ของยุคสมัยมากขึ้น เครื่องใช้ฟ้าจากจีนและญี่ปุ่นอย่าง เครื่องซักผ้าและตู้เย็นเติบโตขึ้น สินค้าอุปโภคบริโภคจะเป็นของไทย เครื่องสำอางค์จากเกาหลี หันมาเข้าร้านกาแฟที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่มากขึ้นและเติบโตจาก 6% ในปี 2013 เป็น 45% ในปี 2016 โกอินเตอร์ สนใจภาพลักษณ์ใช้ของอิมพอร์ตมากขึ้น เปิดรับสื่ออย่างอินเตอร์เน็ตและนิยมดู VDO Streaming เป็นที่นิยมมากในปี 2017 ซึ่ง 80% ดูผ่านมือถือ ทำให้ Netflix กำลังขยายธุรกิจไปยังเมียนมา นิยมเดินทางออกนอกประเทศมากขึ้น ในปี 2017 พบว่าเดือนทางไปต่างประเทศถึง 3 ล้านคน สูงสุดในกลุ่มอาเซียน ปัจจุบันคนเมียนมาที่มีการเปิดรับไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ผู้ประกอบการควรศึกษาตลาดและผู้บริโภคให้ดี เพื่อเข้าไปขายสินค้าอย่างถูกที่ ถูกเวลา ถูกกลุ่ม และวางกลยุทธ์ได้ถูกทาง

ที่มา: https://www.smethailandclub.com/aec-2840-id.html

27 กุมภาพันธ์ 2561

สปป.ลาว ท็อปค่าใช้จ่าย “แพงสุด” ในลุ่มน้ำโขง ชู 2018 ปีแห่งการท่องเที่ยว

บรรดากลุ่มประเทศ CLMV สปป.ลาวจัดเป็นประเทศที่ยากจนที่สุด แต่กลับเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดด้วยเช่นกัน ด้วยความที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล “Land Locked Country” จำเป็นต้องนำเข้าสินค้าทุกประเทศไม่เว้นแม้กระทั่งข้าวเหนียว แม้การเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย ที่ต้องอาศัยการสร้างเขื่อนพลังงานฟ้า 100 แห่งภายในปี 2020 แต่ถูกต่อต้านจากนักเคลื่อนไหวและกัมพูชา ดังนั้นการท่องเที่ยวจึงเป็นทางออกแต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ปัจจุบันนักท่องเที่ยวต่างชาติมีจำนวนลดลง 12% ของครึ่งปีแรกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน โดยเฉพาะจากชาติอาเซียนลดลงมากที่สุด เหตุจากค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว การเดินทาง อาหาร ที่พักและค่าธรรมเนียมที่สูงเกินไปและยังสูงกว่าเวียดนามด้วยซ้ำ แม้ปี 2561 จะเว้นวีซ่าตลอดทั้งปีให้กับประเทศอย่าง เดนมาร์ก นอร์เวย์ ฟินแลนด์ และสวีเดน ด้านจีนที่พยายามเชื่อม Land Links ต้องจับตาว่าจะสามารถช่วย สปป.ลาวในด้านการท่องเที่ยวและการค้าได้มากน้อยเพียงใด

ที่มา: https://www.matichonweekly.com/intrend/article_77224

24 มกราคม 2561

นักลงทุนไทยต้องรู้ ผลวิจัยใหม่ชาวเมียนมา ไม่สนแบรนด์ เน้นคุ้มค่า เฟสบุ๊กมีอิทธิพล

จากรายงานการวิจัยเรื่อง Who Are Myanmar Millennials? (WAMM?) ซึ่งจัดทำโดยบริษัท อินโดไชน่า รีเสิร์ช พบว่าประชากรเมียนมากลุ่มที่เรียกว่ามิลเลนเนียล ที่เกิดช่วงปี 2525 – 2543 มีจำนวน 16.6 ล้านคน คิดเป็น 33% ของประชากรทั้งหมด 55 ล้านคน นิยมใช้สื่อโซเชียลในการหาข้อมูลติดต่อและกระจายข่าวมากกว่าญาติหรือผู้ใหญ่ กลุ่มนี้เวลาบริโภคสินค้าจะไม่ค่อยสนใจแบรนด์แต่จะคำนึงถึงลักษณะการใช้งานของสินค้าหรือบริการ ประเทศผู้ผลิต เทคโนโลยีและรางวัลที่ได้ ร้อยละ 66 ใช้สื่อโซเชียลในการตัดสินใจซื้อและเป็นแพลตฟอร์มที่มีอิทธิพลมากถึง 99% ตามด้วยสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและทีวี ดังนั้นผู้ประกอบต้องมีกลยุทธ์ทางโซเชียลมีเดียที่โดดเด่นในการเจาะตลาดผู้บริโภคกลุ่มนี้

ที่มา: https://www.smethailandclub.com/aec-2474-id.html

17 พฤษจิกายน 2560

ชี้ขุมทรัพย์ของนักธุรกิจไทยในสปป.ลาวโดย SME แห่งสปป ลาว

นิตยา เพชดาวัน กรรมการสมาคม SME สปป.ลาว ได้ชี้ถึงโอกาสของนักลงทุนไทยในสปป.ลาว โดยเฉพาะในจุดที่แตกต่างระหว่างไทยกับสปป.ลาว ที่ถือเป็นความลงตัว สปป.ลาวยังมีทรัพยากรจำนวนมาก แต่ยังไม่สามารถแปรรูป แต่คนไทยทำได้หมด จึงอยากให้นักธุรกิจไทยให้ไปลงทุน ซึ่งโอกาสมีทั้งเรื่องธุรกิจอาหาร เครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์เสริมความงาม คนสปป.ลาวมีความมั่นใจในสินค้าไทยมาก มีความเชื่อว่าเป็นของดี สินค้าจากสองประเทศวางคู่กัน สินค้าแบรนด์ที่ Made in Thailand จะถูกเลือกซื้อไปก่อน เพราะมีราคาไม่สูงและเป็นสินค้ามีคุณภาพ และที่น่าสนใจคือการค้าชายแดนที่รัฐบาลสปป.ลาว ยึด 4 ข้อหลัก คือ การสร้างเขื่อนไฟฟ้า พัฒนาโครงการพื้นฐาน การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และผลักดันการลงทุนทั้งด้านเกษตรแปรรูป การศึกษา และโรงพยาบาล ด้านผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย มีศักยภาพมากพอที่จะเข้าไปลงทุนในด้านเกษตรแปรรูป (ที่ในปัจจุบันรัฐบาลเน้นเกษตรออร์แกนิค พืชผักปลอดสารพิษ) การศึกษา และโรงพยาบาล เช่นเดียวกัน ที่ผ่านมานักธุรกิจมักคิดว่าสปป.ลาวเป็นเมืองปราบเซียน ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องความไม่เข้าใจระหว่าง ที่ถูกต้องคือต้องไปกับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ถ้าจดทะเบียนตามระบบขั้นตอนที่ถูกต้องนั้น การันตีเลยว่าจะไม่โดนโกงอย่างแน่นอน นักธุรกิจที่ไม่ประสบความสำเร็จนั้นมีเป็นส่วนน้อย เพราะไทยกับ สปป.ลาวนั้นเชื่อมโยงใกล้ชิดกันอยู่แล้ว

ที่มา: https://news.mbamagazine.net/index.php/entrepreneurship/smes/item/1020-2018-08-13-02-49-26

The OPPORTUNITY : ธุรกิจค้าปลีก/ค้าส่งในเมียนมา

http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/49875.pdf

ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

กรกฎาคม 2561

กัมพูชา: สวรรค์ของผู้สูงอายุชาวต่างชาติกับโอกาสทางธุรกิจ

ปัจจุบันการท่องเที่ยวคิดเป็น 15% ของจีดีพีประเทศ นักท่องเที่ยวเพิ่ม 15% ต่อปี และสังเกตได้ว่าชาวต่างชาติผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนนิตยสาร International Living จัดให้อยู่ในอันดับที่ 17 จาก 24 ประเทศที่ติดอันดับประเทศที่น่าไปใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุมากที่สุดในโลก จากปัจจัยอย่างค่าครองชีพที่ถูก การเป็นมิตรกับชาวต่างชาติ เช่น สามารถเป็นเจ้าของห้องพักได้ ขอวีซ่าโดยไม่ต้องขอหนังสือรับรองการทำงานแต่ต้องต่อทุกๆ ปี และการก่อการร้ายค่อนข้างต่ำ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการลงทุนอย่างสินค้าอุปโภคบริโภคที่ได้คุณภาพตรงตามความต้องการของกลุ่มผู้ซื้อที่มีความเชื่อมั่นมากกว่าสินค้าท้องถิ่น สถานพยาบาลที่ได้มาตรฐานสากลสำหรับผู้สูงอายุหรือธุรกิจดูแลผู้สูงอายุที่กัมพูชายังไม่มี และธุรกิจเกี่ยวเนื่องอย่างอุปกรณ์สำหรับใช้ภายในที่พักอาศัย ออกแบบและตกแต่งภายใน

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/48800_0.pdf

25 มิถุนายน 2560

ไลฟ์ สไตล์สุดฮิตของชาวเมียนมาในยุคสังคมเมือง

ปัจจุบันคาดว่ากลุ่มประชากรที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป ที่มีรายได้ต่อเดือนสูงกว่า 120 ดอลลาร์สหรัฐ จะเพิ่มเป็น 10.3 ล้านคน ในปี 2563 คิดเป็น 15% ของประชากร ซึ่งทำไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตเหมือนกับเมืองใหญ่ สังเกตได้จาก การกลับมาบูมของโรงภาพยนตร์แบบ Multiplex ซึ่งจะเพิ่มจำนวนมากกว่า 100 แห่งในปีนี้ Fast Food และ Modern Cafe เทรนด์ใหม่ ด้วยชีวิตประจำวันที่คล้ายคลึงกับเมืองใหญ่ๆ ที่เร่งรีบมากขึ้น เช่น pizza hut, KFC หรือจากไทยอย่าง True Coffee และ Chao Doi Facebook…ช่องทางทําความรู้จักชาวเมียนมายุคใหม ล่าสุดพบว่า การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมีถึง 97% ของประชากร โซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมคือ Facebook และ Google ธุรกิจที่น่าสนใจ เช่น ร้านอาหาร สถานบันเทิง โรงภาพยนตร์ ฟิตเนส สถานเสริมความงาม และโดยเฉพาะ Smart Phone พบว่ามีผู้ใช้ถึง 62% จากจำนวนประชากร สูงกว่าเวียดนามและอินโดนีเซีย ซึ่งธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่น่าสนใจคือ คอนเท้นท์โฆษณาออนไลน์และแอพพลิเคชั่นต่างๆ

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/48727_0.pdf

28 พฤษภาคม 2560

เมียนมาโฉมใหม่ โอกาสที่เปิดกว้าง พร้อมการแข่งขันที่ท้าทาย

ในปี 2559 เมียนมามีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในประเทศไม่ว่าจะเป็น การยุบรวมในหลายกระทรวงเพื่อลดความซ้ำซ้อนและค่าใช้จ่าย การปรับปรุงกฎหมายการลงทุนใหม่เป็น “Myanmar Investment Law 2016” มีผลต่อมูลค่า FDI ลดลงในระยะสั้นๆ จากที่เคยสูงแตะ 80% ต่อปี (สูงสุดในอาเซียน) เหตุเพราะต่างชาติรอดูความแน่นอนของรัฐบาลชุดนี้ แต่คาดว่าเม็ดเงินลงทุนจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น จากการที่หลายประเทศเริ่มเข้ามาลงทุน อาทิ aeon และ Suzuki จากญี่ปุ่น การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เมียนมาจะเป็นที่จับจ้องของนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ สิ่งที่ตามมาคือการแข่งขันอย่างเข้มข้น ไทยในฐานะที่เป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิดควรที่จะร่วมกันพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/48633_0.pdf

3 เมษายน 2560

การปฏิรูประบบสาธารณสุขในเมียนมา โอกาสทองของผู้ประกอบการไทย

จากงบประมานด้านสาธาณสุขปี 2559/2560 รัฐบาลตั้งเป้าว่าจะเป็น Universal Health Coverage (UHC) ปัจจุบันโรงพยาบาลขนาดใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่อย่างย่างกุ้งและเมืองมัณฑะเลย์ เมียนมาจึงพยายามขยายการบริการสุขภาพไปยังพื้นที่ชนบท 280 เมืองที่มีประชากรมากกว่า 70% ดังนั้นธุรกิจที่นักลงทุนไทยน่าลงทุน คือ การส่งออกเภสัชภัณฑ์และอุปกรณ์การแพทย์ พบว่าไทยส่งออก 12% ในปี 59 เป็นรองเพียงเวียดนาม ร่วมลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนและคลินิกเพื่อรองรับการขยายตัวของชาวเมียนมาที่มีกำลังซื้อสูง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง ซึ่งปัจจุบันผู้ที่มีกำลังซื้อสูงมักเดินทางออกไปใช้บริการต่างประเทศ โดยเฉพาะสิงคโปร์และไทย และตอนนี้ได้ให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นได้ 80% โดยปัจจุบันมีเครือโรงพยาบาลกรุงเทพและเครือโรงพยาบาลธนบุรีที่เข้าไปร่วมทุนกับเอกชน จึงเป็นโอกาสที่จะเข้าไปเป็นคู่ค้าและเป็นส่วนหนึ่งของโซ่อุปทานของตลาดบริการสุขภาพในเมียนมา

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/48726_0.pdf

29 พฤษภาคม 2560