ค้าชายแดนมูเซกลับมาเปิด หลังคลายล๊อคด่านหลุยลี่

การค้าชายแดนที่ด่านมูเซของรัฐฉานกลับมาเปืดอีกครั้งหลังจากสำนักงานศุลกากรในเมืองหลุ่ยลี่ของจีนเริ่มเปิดทำการ ในวันที่ 22 กันยายน 63  การค้าชายแดนระหว่างเมียนมาและจีนถูกระงับหลังจากด่านหลุ่ยลี่ถูกปิดไปเมื่อวันที่ 15 กันยายน 63 ภายหลังตรวจพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในขณะที่การเดินทางออกนอกเมืองหลุ่ยลี่ยังคงถูกจำกัด ซึ่งสินค้าอนุญาตให้ผ่านชายแดนได้แต่คนขับรถบรรทุกของเมียนมาต้องสับเปลี่ยนรถกับคนขับรถของจีนก่อนที่สินค้าจะถูกนำเข้า คาดว่าจะมีการส่งออกข้าวประมาณ 20,000 ถุงจากเมียนมาในวันนี้ มูลค่าการค้าที่ด่านมูเซสูงสุดในบรรดาด่านชายแดนโดยมีการส่งออกรวม 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 62-63 และการนำเข้าจากจีนสูงถึง 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/border-trade-muse-resumes-after-ruili-restrictions-relaxed.html

มูลค่าการค้าเมียนมาสูงขึ้นแม้ COVID-19 ระบาด

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาเผย ณ เดือนสิงหาคม 63 หนึ่งเดือนก่อนปิดปีงบประมาณ 62-63 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศสูงถึง 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้จะมีการระบาดของ COVID-19 การส่งออกแตะที่ 16.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การนำเข้า 17.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลการค้าประมาณ 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การส่งออกส่วนใหญ่ประกอบด้วยสินค้าสำเร็จรูปและสินค้าสำหรับการ ผลิต ตามด้วยผลิตผลทางการเกษตรทรัพยากรและแร่ธาตุที่ขุดได้ การนำเข้าประกอบด้วยสินค้าทุน เช่น อุปกรณ์ ยานพาหนะและเครื่องจักร ตลอดจนวัตถุดิบและสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ ประเทศคู่ค้าอันดับต้น ๆ ได้แก่ จีน ไทย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินเดีย สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย เกาหลี และเวียดนาม เมื่อเร็วๆ นี้ การค้าชายแดนได้รับผลกระทบ เช่น การค้าที่ท่าขี้เหล็กของรัฐฉานชายแดนระหว่างเมียนมาและไทยเพิ่งปิดไปส่วนไทยอนุญาตให้รถจากเมียนมาเพียง 6 คันเข้าอำเภอแม่สายของไทยได้ การค้าระหว่างเมียนมาและจีนยังต้องหยุดชะงักหลังจากชายแดนหลุ่ยลี่ (Ruili) ถูกปิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 63 หลังตรวจพบ COVID-19 หลุ่ยลี่เป็นจุดผ่านแดนสำคัญระหว่างจีนและเมียนมาใกล้กับมูเซของรัฐฉาน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-trade-volumes-rise-despite-covid-19.html

เมียนมามุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง COVID-19

กระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศและประธานคณะกรรมการการลงทุนเมียนมาร์ (MIC) ของเมียนมาให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเศรษฐกิจทั้ง 4 ภาคส่วนเพื่อรับมือกับผลพวงของ COVID-19 และผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ซึ่งเชื่อว่าสามารถตอบสนองต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะส่งเสริมการลงทุนในเขตอุตสาหกรรมใหม่ อุตสาหกรรมเกษตรกรรมซึ่งสนับสนุนทั้งห่วงโซ่อุปทาน การผลิตสินค้าเกี่ยวข้องกับสุขภาพและเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจดิจิทัล และจำเป็นที่จะต้องทบทวนแผนส่งเสริมการลงทุนของเมียนมาร์ (MIPP) ซึ่งเป็นพิมพ์เขียวแห่งชาติระยะยาวในการดึงการลงทุนเข้ามาในประเทศ ADB ชี้การแพร่ระบาดจะส่งผลกระทบต่อแผนการลงทุนในอนาคตและอาจส่งผลกระทบต่อการไหลเข้าของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ การอนุมัติ FDI เพิ่มขึ้นเป็น 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงไตรมาส 3 สิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2563 จาก 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยนักลงทุนให้ความสำคัญกับการผลิตไฟฟ้า การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการผลิต ขณะที่ GDP ของเอเชียในปีนี้คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 0.7 ซึ่งเป็นการถดถอยครั้งแรกในรอบเกือบหกทศวรรษซึ่งอาจทำให้การลงทุนไหลเข้าเมียนมาลดลงในอนาคต โดย ADB คาดว่าการเติบโตเศรษฐกิจของเมียนมาจะเหลือเพียงร้อยละ 1.8 เปอร์เซ็นต์ในปีงบประมาณ 62-63 เทียบกับร้อยละ 4.2 ที่คาดการณ์ไว้ในเดือนเมษายน 63 หากทุกอย่างเป็นไปด้วยดีการเติบโตทางเศรษฐกิจคาดว่าจะฟื้นตัวเป็นร้อยละ 6 ในปีงบประมาณ 63-64

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/border-trade-hold-myanmar-thailand-add-restrictions.html

เมียนมาจ่อเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายถึงธันวาคม 63

คณะกรรมการกลางเพื่อการป้องกัน ควบคุม และรักษาโควิด-19 ของเมียนมาขยายการยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย 2% สำหรับสินค้าส่งออกและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนำเข้าและส่งออกจนถึงเดือนธันวาคม 63 ตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ในวันที่ 15 กันยายน 63 ที่ผ่านมา-เพื่อให้บริษัทต่างๆ สามารถบริหารกระแสเงินสดได้ อีกทั้งกระทรวงการวางแผนและการเงินยังได้ขยายเวลาในการจ่ายรายได้และภาษีการค้า ซึ่งสามารถยื่นได้ทางออนไลน์ โดยแอปพลิเคชั่นการขยายใบอนุญาตจะมอายุห้าปีแม้ว่าค่าธรรมเนียมการขยายใบอนุญาตยังคงเท่าเดิม ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนำเข้าจะถูกจำกัด ไว้ที่ 30,000 จัตถึงสิ้นเดือนธันวาคมเช่นกัน ซึ่งค่าธรรมเนียมจะอยู่ระหว่าง 30,000 ถึง 90,000 จัต

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/withholding-tax-exemption-extended-until-december-myanmar.html

การปิดเมืองชายแดนอาจส่งผลต่อการค้าเมียนมากับจีน

การค้าระหว่างเมียนมาและจีนอาจหยุดชะงักหลังจากชายแดนหลุ่ยลี่ (RUILI) ซึ่งเป็นจุดผ่านแดนสำคัญใกล้กับมูเซในรัฐฉานถูกปิดไปเมื่อวันที่ 15 กันยายน 63 หลังตรวจพบเชื้อ COVID-19  คาดว่าจะปิดเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์และห้ามเดินทางออกนอกเมือง ซึ่งการซื้อขายผ่านชายแดนผ่านกำลังดำเนินการในเมือง Wan Ting ทางฝั่งจีน อย่างไรก็ตามสำนักงานศุลกากรของจีนส่วนใหญ่ปิดตัวการซื้อขายลง แต่ยังสามารถซื้อขายผลไม้ได้ ในขณะที่ทางหลวงของจีนถูกปิดกั้นการขนส่งจึงจำเป็นต้องใช้ถนนเส้นเก่าในการค้าขาย และหากยืดเยื้อต่อไปการค้าชายแดนอาจส่งผลเสียหายสำหรับผู้ค้าในพื้นที่ ผู้ค้าในมูเซให้ข้อมูลว่าการปิดชายแดนเกิดขึ้นหลังจากที่รัฐได้ทำการตรวจสอบประชากรราว 400,000 คน ในเมืองซ่วยหลี่ (Shweli )เพื่อให้แน่ใจว่าปลอดจากการติดไวรัสหากพบผู้ติดเชื้อเพิ่มอาจขยายระยะเวลาการปิดชายแดนออกไป

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/border-town-lockdown-might-affect-myanmar-china-trade.html

เมียนมาเตรียมส่งออกหัวหอมไปบังกลาเทศ

เมียนมากำลังส่งออกหัวหอมไปยังบังกลาเทศเนื่องจากมีผลผลิตในท้องถิ่นจำนวนมากเพราะพรมแดนของจีนถูกปิดลง นาย U Khin Han ประธานศูนย์ค้าส่งบะยินเนาว์ ( Bayinnaung) กล่าวขณะหารือกับสถานทูตซึ่งการส่งออกจะต้องผ่านการเดินเรือและความจุแต่ละลำจะมีมากกว่า 150 ตู้คอนเทนเนอร์แต่ละคอนเทนเนอร์สามารถบรรจุหัวหอมได้ประมาณ 14 ตัน เนื่องจากชายแดนหลุ่ยลี่ (RUILI) กับจีนถูกปิดลงทำให้ไม่สามารถขนส่งสินค้าและเกิดปัญหาสต็อกหัวในประเทศเป็นจำนวนมาก ปีนี้การส่งออกหัวหอมจะอยู่ระหว่าง 15,000 ถึง 20,000 ตัน ปัจจุบันมีผลผลิตมากกว่า 15 ล้านไร่ที่ยังตกค้างอยู่ที่เกษตรกรและผู้ค้า และรถบรรทุกสามารถขนส่งหัวหอมไปศูนย์ค้าส่งได้ประมาณ 15 คันต่อวัน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-may-export-onions-bangladesh.html

เมียนมาเตรียมตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งที่สองสำหรับบริษัทมหาชน

การกระทรวงการวางแผน เมียนมา เผยการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งที่สองเพื่อวัตซื้อขายหุ้นใน บริษัท มหาชนที่ยังไม่ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ย่างกุ้ง (YSX) จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งเมียนมา (SECM) สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มการลงทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ปัจจุบันมีบริษัท มหาชนมากกว่า 260 แห่งที่จดทะเบียนภายใต้กฎหมายบริษัทของเมียนมาร์ มีบริษัทมหาชนเพียง 6 แห่งเท่านั้นที่จดทะเบียนใน YSX ดังนั้นจึงมีการจัดตั้งคณะกรรมเพื่อเตรียมรายชื่อบริษัทที่พร้อมเข้าจดทะเบียน YSX ในอนาคต โดยคณะกรรมการชุดใหม่นี้จัดตั้งขึ้นโดยความเห็นชอบจากกระทรวงการวางแผนการเงินและอุตสาหกรรมและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ SECM บริษัท มหาชนตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ เพื่อระดมทุนจากประชาชนและแข่งขันกันเพื่อร่วมประมูลงานของรัฐบาล นอกจากนี้ยังต้องได้รับอนุญาตจาก SECM และหน่วยงานอื่น ๆ และมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ก่อนที่จะได้รับอนุญาตในการขายหุ้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-set-second-stock-exchange-public-companies.html

ผู้ค้าหน้ากากอนามัยขอให้แก้ไขการขนส่งเพื่อคุมราคาไม่ให้สูงจนเกินไป

กระทรวงพาณิชย์ตรวจสอบการขายอาหารหลัก ยา และเวชภัณฑ์ในราคาที่สูงเกินจริง เมื่อวันที่ 13 กันยายน 63 ออกเตือนให้ผู้ค้าไม่ให้ขึ้นราคาโดยไม่จำเป็นในช่วง COVID-19 ในเดือนมีนาคม 63 ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ห้ามขึ้นราคาสินค้าพื้นฐาน ยา และเวชภัณฑ์ ทั้งนี้กรมกิจการผู้บริโภคยังเรียกร้องให้ธุรกิจต่างๆ ไม่เพิ่มราคาหน้ากากอนามัยที่นำเข้าจากจีนและให้จำหน่ายในราคาที่เหมาะสม ความต้องการพุ่งสูงขึ้นตั้งแต่การพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเมื่อปลายเดือนสิงหาคม 63 แต่ผู้ค้ากล่าวว่าควรผ่อนปรนข้อจำกัดบางประการในการขนส่งที่ชายแดนเมียนมา – จีนเพื่อให้ราคามีเสถียรภาพมากขึ้นเนื่องจากหน้ากากอนามัยที่ผลิตจากจีนส่วนใหญ่จะนำเข้าจากชายแดน ปัจจุบันราคามีความผันผวนเนื่องจากความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจากข้อจำกัดและความล่าช้าที่ชายแดน เช่น จากชายแดนมูเซเพื่อเข้ามาย่างกุ้งและมัณฑะเลย์มีความลำบากและทำให้ราคาพุ่งสูงขึ้น ขณะเดียวกันสหพันธ์ข้าวเมียนมาได้เรียกร้องให้ธุรกิจปฏิบัติตามคำเตือนของกระทรวงที่ไม่ขึ้นราคาข้าวเนื่องจากเป็นสินค้าอาหารพื้นฐานในประเทศ ด้านสมาคมผู้ค้าน้ำมันเพื่อการบริโภคแห่งเมียนมายังได้เรียกร้องให้ตัวแทนจำหน่ายขายในราคาที่เหมาะสม โดยทั่วไปราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเนื่องจากข้อจำกัดด้านโลจิสติกส์และการขนส่งซึ่งกรมกิจการผู้บริโภคจะทำตรวจสอบสินค้าที่ขายเกินราคาบ่อยขึ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/traders-face-masks-ask-smoother-logistics-flow-avoid-price-hikes.html

น้ำตาลเมียนมาล้นตลาดทำราคาตกต่ำในรอบ 10 ปี

สมาคมผู้ประกอบการน้ำตาลและอ้อยของเมียนมาเผยปริมาณน้ำตาลที่มากเกินไปทำให้ราคาตกต่ำในรอบ 10 ปี เนื่องจากขณะนี้น้ำตาลสำหรับการส่งออกยังคงค้างอยู่ในประเทศเป็นจำนวนมาก ตามการคาดการณ์อาจมีสินค้าคงเหลือในประเทศ 150,000 ถึง 200,000 ตันและราคาอยู่ระหว่าง 840-860 จัตต่อ viss ซึ่งต่ำที่สุดในรอบทศวรรษ การบริโภคลดลงอย่างมากเพราะไม่มีงานเทศกาลหรืองานอีเว้นท์ในช่วง COVID-19 เนื่องจากผู้คนจับจ่ายน้อยลงจึงส่งผลกระทบต่อตลาดขนมและเครื่องดื่มที่ทำจากน้ำตาลซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดน้ำตาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะนี้เมียนมากำลังพยายามจะทำทุกทางเพื่อการส่งออกไปยังจีน แม้พื้นที่เพาะปลูกอ้อยจะลดลงแต่ผู้ค้าคาดว่าราคาจะยังคงลดลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเป็นผลมาจากปริมาณที่มากเกินไปและการบริโภคที่ลดลง ขณะนี้มีไร่อ้อยในเมียนมาไม่ถึง 50,000 เอเคอร์และลดลงจากหน้านี้ที่มีประมาณ 460,000 เอเคอร์ ซึ่งถูกทดแทนโดยถั่วชนิดต่าง ๆ  เนื่องจากสินค้าคงเหลือมีจำนวนมากเกษตรกรจึงขอจำกัดการนำเข้าน้ำตาลจากต่างประเทศ ทั้งนี้ความต้องการและพื้นที่ปลูกอ้อยที่ลดลงยังส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลต่อไปตามห่วงโซ่คุณค่า

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/sugar-glut-myanmar-leads-prices-10-year-low.html

เมียนมาหนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์และดนตรีท่ามกลางวิกฤติ COVID-19

กระทรวงวางแผนและการเงินประจำย่างกุ้งเผยรัฐบาลเมียนมาจัดสรรเงินสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เพลง การแสดงและการสื่อมวลชนหลังจากวิกฤติ COVID-19 ในระหว่างการประชุมวันที่ 9 กันยายน 63 ที่ประชุมโดยคณะทำงานเพื่อแก้ไขผลกระทบของ COVID-19 ต่อเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเงินกู้ครั้งที่ 3 เพื่อสนับสนุนธุรกิจที่ได้ผลกระทบ แผนในครั้งแรกและครั้งที่สองมุ่งเน้นไปที่ภาคการผลิตการท่องเที่ยวและเกษตรกรรมเป็นหลัก และกำลังพิจารณาจัดหาเงินจำนวน 1.5 หมื่นล้านจัตโดยร่วมมือกับธนาคารในการจัดหาเงินกู้ยืม จนถึงขณะนี้มีการจัดสรรเงินจำนวน 1.9 ล้านล้านจัตเพื่อจัดการกับผลกระทบด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังมีการแจกเงินสดให้ครัวเรือนผู้สูงอายุและค่ายผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (IDP) เกษตรกรผู้เกษตรกร ชาวประมง ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์ตลอดจนนักเดินเรือ ทั้งนี้รัฐบาลยังอุดหนุนค่าไฟฟ้ามากกว่า 10,000 ล้านจัตตั้งแต่เดือนเมษายน 63  ในขณะเดียวกันกระทรวงสาธารณสุขและการกีฬาได้จัดสรรงบ 268 พันล้านจัต เพื่อจัดซื้อยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ และปรับปรุงโรงพยาบาล

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-support-film-music-industry-amid-covid-19.html