รัฐบาลสปป.ลาวปรับเป้าหมายการเติบโตของ GDP

รัฐบาลได้ขอให้รัฐสภาอนุมัติการตัดสินใจที่จะลดเป้าหมายจีดีพีในปี 63 ให้เป้าหมายการเติบโตของจีดีพี ลดลงจาก 6.5% เหลือ 3.3-3.6% เนื่องจาก Covid-19  และยังขอลดการจัดเก็บรายได้และเป้าหมายการใช้จ่ายจาก 28,997 พันล้านกีบเป็น 22,725 พันล้านกีบและจาก 35,693 พันล้านกีบเป็น 33,043 พันล้านกีบตามลำดับ ในส่วนของค่าใช้จ่ายเสนอให้ลดงบประมาณลง 30% สำหรับองค์กรระดับกลางและลด 10% สำหรับองค์กรท้องถิ่น ยังแนะนำให้เลื่อนการชำระงบประมาณการลงทุนภาครัฐอย่างน้อย 50% ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด ขออนุมัติการเพิ่มขึ้นของการขาดดุลงบประมาณจาก 3.77% ของ GDP เป็น 5.87% ซึ่งจะเพิ่มจาก 6,696 พันล้านเป็น 10,318 พันล้านกีบ ทั้งนี้ยังได้แนะนำมาตรการที่รัฐบาลวางแผนที่จะดำเนินการในอีก 6 เดือนข้างหน้าเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการตามแผนการจัดเก็บรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสริมการเติบโตของปริมาณเงินและสินเชื่อด้อยคุณภาพ สร้างเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน มาตรการอื่นๆรวมถึงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การส่งเสริมการลงทุนในและต่างประเทศ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้รัฐวิสาหกิจ พัฒนาทักษะของแรงงานและบรรเทาความยากจนในพื้นที่ห่างไกลของประเทศ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt121.php

ชายแดนสปป.ลาว – กัมพูชายังคงปิดทำการต่อไป

สปป.ลาวได้ตัดสินใจปิดด่านชายแดนลาว – ​​กัมพูชา เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ Covid-19 ผู้ว่าราชการจังหวัดสตรึงเตรง Mr.Mom Saroeun อ้างใน Khmer Times “ถึงแม้สถานการณ์ของเราจะเริ่มดีขึ้นแต่ก็ยังมีความเสี่ยงกับมาระบาดอีกครั้งทำให้รัฐบาลของเรายังคงปิดด่านชายแดนต่อไปรวมถึงสปป.ลาวที่สถานการณ์ของการระบาด COVID-19 ดีขึ้นมากแล้วก็ตาม”การปิดด่านชายแดนสร้างความเสียหาย ทั้งด้านการค้าและการท่องเที่ยวแก่ทั้ง 2 ประเทศถึงแม้ด้านการค้าและด้านการท่องเที่ยวกัมพูชาจะไม่ได้เป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของสปป.ลาว แต่หากด่านยังคงปิดต่อไปในสถานการณ์ปัจจุบันที่ประเทศทั่วโลกยังคงได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาด Covid-19 การที่สปป.ลาวจะหันให้ความสนใจกับประเทศเพื่อนอย่างอย่างไทยหรือในกลุ่ม CLMV จึงเป็นสิ่งสำคัญในสถานการณ์ปัจจุบัน

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/06/24/laos-cambodia-border-to-remain-closed/

สปป.ลาวสนับสนุนแผนอาเซียนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ศ.ดร. Kikeo Khaykhamphithoune รัฐมนตรีกระทรวงสารสนเทศวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สนับสนุนการพัฒนาแรงงานของสปป.ลาว ในการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) ครั้งที่ 23 เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา แผนการพัฒนาดังกล่าวว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการเปลี่ยนแปลงตามโลกในปัจจุบันรวมถึงโอกาสที่มากขึ้นสำหรับประเทศอาเซียนในการแบ่งปันผลประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างประเทศสมาชิก นอกจากนี้ในที่ประชุมยังได้มีการหารือถึงแนวทางปฎิบัติในการดำรงชีวิตในแบบวิถีใหม่ (New Normal) รวมถึงการเรียกร้องให้มีการร่วมมือกันในการวิจัยและพัฒนาด้านไวรัสวิทยาควบคู่ไปกับการผลิตยาต้านไวรัสและวัคซีนรวมถึงการเข้าถึงวัคซีนและเวชภัณฑ์ที่เท่าเทียมกันและต้องมีราคาย่อมเยาในที่ประชุมยังเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกอาเซียนทำงานร่วมกันในแผนฟื้นฟูหลังเกิดโรคระบาดเพื่อบรรเทาผลกระทบของ Covid-19 ต่อการดำรงชีวิตของผู้คนและเศรษฐกิจของภูมิภาคอีกด้วย

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos120.php

สมัชชาแห่งชาติปรับลดเป้าหมายการเติบโตเศรษฐกิจหลังการระบาด Covid-19

รัฐบาลสปป.ลาวคาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อีกครั้งหลังจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเนื่องจากการระบาดใหญ่ของ Covid-19 คณะรัฐมนตรีกำลังสรุปรายงานและคาดว่าจะลดเป้าหมายการเติบโตของ GDP ของประเทศจากร้อยละ 6.4 เหลือร้อยละ 3.3 ในปี 2563 ตามสรุปรายงานของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติได้ส่งรายงานของเดือนเมษายนที่ระบุว่าจากการระบาดใหญ่ของ Covid-19 ส่งผลในทุกภาคส่วนของประเทศทั้ง แรงงานที่ตกงานจนอัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 23 ภาคธุรกิจประสบปัญหาจนต้องปิดตัวรวมถึงภาคการท่องเที่ยวสูญเสียเงินมากกว่า 450,000 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงสองเดือนแรกของปี 2563 ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ GDP ของสปป.ลาวคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.3 ในปี 2563 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 30 ปี

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/06/23/national-assembly-to-address-gdp-target-amid-economic-downturn/

สปป.ลาว เล็งเห็นรายได้จากกาแฟเพิ่มมากขึ้น

จำนวนสวนกาแฟภายใต้ the Lao Coffee Association ได้ลดลงประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้เนื่องจากผู้ปลูกเปลี่ยนไปปลูกมันสำปะหลังเพื่อรายได้ที่ดีขึ้น จากการที่ราคากาแฟสปป.ลาวลดลงและเผชิญกับความท้าทายที่เกิดจากแมลงศัตรูกาแฟ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาทำให้เกษตรกรบางส่วนเปลี่ยนจากกาแฟไปปลูกพืชเชิงพาณิชย์อื่น แต่มูลค่าของกาแฟส่งออกจากสปป.ลาวเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาเมล็ดกาแฟในท้องถิ่นดีขึ้น ในช่วง 5 เดือนแรกของปีที่แล้วสปป.ลาวส่งออกกาแฟเกือบ 12,000 ตันมูลค่าประมาณ 24.9 ล้านดอลลาร์ ปีนี้เพิ่มขึ้นเกือบ 20,000 ตันมูลค่า 37 ล้านดอลลาร์ ในกรณีของกาแฟ Arabica โดยเฉพาะเมล็ดแดง บริษัทในสปป.ลาวซื้อจากเกษตรกรราคาสูงสุดคือ 3,200 kip ($ 0.35) และราคาต่ำสุดคือ 2,800 kip ในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ในเวลาเดียวกันราคาสูงสุดและต่ำสุดของเมล็ดกาแฟขาวคือ 16,500 kip และ 15,000 kip  ในขณะที่ราคาของ Robusta อยู่ที่ 12,500 kip และ 11,000 kip เนื่องจากการระบาดของโรค Covid-19 ผู้ผลิตกาแฟลาวส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนคนงานและการสั่งซื้อผู้นำเข้าบางรายได้สั่งระงับและยกเลิกจนกว่าสถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติ กาแฟเป็นหนึ่งในรายได้สูงสุดของสินค้าเกษตรส่งออกจากสปป.ลาว คุณภาพของผลิตภัณฑ์กาแฟสปป.ลาวปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากความร่วมมือและการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม อย่างไรก็ตามเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงผลิตพืชโดยใช้เทคนิคท้องถิ่นซึ่งส่งผลให้ผลผลิตลดลง

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/business/laos-sees-more-revenue-coffee?

สหรัฐอเมริกามอบเงินเพิ่มเติมให้กับสปป.ลาวในการป้องกัน Covid-19

สหรัฐอเมริกาสนับสนุนเงินเพิ่มเติมอีก 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐผ่านทาง US Agency เพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (USAID) เพื่อสนับสนุนการตอบสนองของ Covid-19 ในสปป.ลาว ดร. ปีเตอร์เฮย์มอนด์เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยกล่าวว่า “การระดมทุนเพิ่มเติมจากสหรัฐอเมริกาเป็นการยืนยันความมุ่งมั่นของเราภายใต้ความร่วมมือที่ครอบคลุมระหว่างสหรัฐฯ – ลาว ความช่วยเหลือด้วยการระดมทุนล่าสุดนี้ USAID จะให้การสนับสนุนห้องปฏิบัติการสปป.ลาวโดยช่วยให้พวกเขาวินิจฉัยและตรวจพบผู้ป่วย Covid-19 และช่วยในการเฝ้าระวัง Covid-19 เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อต่อไปยังผู้อื่น” ก่อนหน้านี้ในเดือนกุมภาพันธ์ USAID ได้จัดหาเครื่องมือทางการแพทย์วงเงินกว่า 92 ล้านเหรียญสหรัฐนฯ การสนับสนุนของ USAID นอกจากจะควบคุมความเสี่ยงของ COVID-19 แล้วยังมีประโยชน์แต่การระบบสาธารณสุขในอนาคตของสปป.ลาวที่อาจเผชิญกับการระบาดเชื้อไวรัสอื่นๆ นอกเหนือจาก COVID-19 ได้

ที่มา :  http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_US119.php

EDL จะลดค่าไฟฟ้าหลายพันครัวเรือน

Electricity du Laos (EDL) จะลดราคาค่าไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนที่ใช้น้อยกว่า 461kwh ต่อเดือนของเดือนเม.ย, พ.คและมิ.ย. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการชดเชยผลกระทบทางการเงินของ COVID-19 ในประเทศ แผนดังกล่าวถูกเปิดเผยในการแถลงข่าวร่วมโดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ และรักษาการผู้อำนวยการของ Electricite du Laos EDL เริ่มดำเนินการตามโครงสร้างราคาไฟฟ้าใหม่เมื่อเดือนที่แล้ว สำหรับลูกค้าที่ใช้ 0 ถึง 150 kWh ซัพพลายเออร์จะคิดค่าบริการ 355 kip ต่อหน่วย (kWh) และครัวเรือน 710 kip ต่อหน่วยสำหรับครัวเรือนที่ใช้มากกว่า 150 kWh ต่อเดือน รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ได้ทำการศึกษาเพื่อสร้างโครงสร้างราคาไฟฟ้าในปี 61 ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปี 68 โครงสร้างใหม่ซึ่งได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลนั้นแบ่งออกเป็น 6 ช่วง (0-25 kWh, 26-150 kWh, 151-300 kWh, 301-400 kWh, 401- 500 kWh และสูงกว่า 500 kWh) และตอนนี้ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะจ่ายน้อยลง อย่างไรก็ตามโครงสร้างใหม่ส่งผลให้ผู้ใช้มากกว่า 150 kWh ถึง 461 kWh ต่อเดือนมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_EDL_118.php

ออสเตรเลียมอบเงินช่วยเหลือ 4.8 ล้านดอลล่าร์ออสเตรเลียฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง COVID-19

รัฐบาลออสเตรเลียได้เพิ่มความช่วยเหลือด้านการพัฒนาทวิภาคีไปยังสปป.ลาว จำนวน 4.8 ล้าสนดอลล่าร์ออสเตรเลียเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคมและสุขภาพจากการระบาดใหญ่ของโควิด -19ความช่วยเหลือนี้จะเสริมสร้างระบบสุขภาพเสริมสร้างรากฐานสำหรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสปป.ลาว  เอกอัครราชทูตฌอง – เบอร์นาร์ดคาร์ราสโกกล่าวว่า “ ออสเตรเลียมุ่งมั่นให้ความช่วยเหลือสปป.ลาว ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ตามมีความท้าทายที่สำคัญในการเอาชนะรวมถึงการทำให้แน่ใจว่ากลุ่มผู้ด้อยโอกาสโดยเฉพาะผู้หญิงและเด็กไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” นอกจากนี้ออสเตรเลียยังสนับสนุนเงินมูลค่า 1 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียเพื่อขยายความร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์เพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการฟื้นตัวของสปป.ลาวในช่วงหลังCOVID -19

ที่มา  : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Australia_increases_118.php

รัฐบาลสปป.ลาวลงทุน 6 แสนเหรียญสหรัฐฯ ในระบบปะปา

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2563 ที่กรมโยธาธิการและการขนส่ง (MPWT) กรม (MPWT) ลงนามสัญญากับ บริษัท standpipes ในการสร้างระบบน้ำประปา คาดว่าจะแล้วเสร็จ 16 เมษายน 2564 โดยมีมูลค่าสัญญาของโครงการประปาเทศบาลหลวงพระบางอยู่ที่ 392,988 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการลงทุนดังกล่าวช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจระดับภูมิภาคทั้งการลงทุน การจ้างงานรวมถึงระบบปะปาที่ได้มาตราฐานที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยให้การดำรงชีวิตของคนในภูมิภาคดังกล่าวให้ดีขึ้น รวมถึงภาคธุรกิจที่จะได้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่ดีจะทำให้ ภาคธุรกิจดำเนินธุรกิจได้สะดวกสบายมากขึ้นและจะเป็นโครงที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจและดึงดูดนักลงทุนต่อไปในอนาคต

ที่มา : https://laoedaily.com.la/2020/06/18/79135/

รัฐบาลลดค่าไฟฟ้าเพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจและประชาชนสปป.ลาว

วันที่ 17 มิถุนายนได้มีการประชุมประจำเดือนของคณะรัฐมนตรีในวาระการออกนโยบายในการลดผลกระทบทางเศรษฐกิจหลังการระบาดของ Covid-19 คณะมนตรีได้มีการหารือถึงแนวทางในเรื่องการลดค่าไฟฟ้า เพื่อช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจที่ต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายที่ยังคงมีถึงแม้ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติ ในที่ประชุมยังมีการกล่าวถึงการสร้างงานและการจ้างงานสำหรับแรงงานในประเทศรวมถึงแรงงานที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ ในภาคธุรกิจและการลงทุนรัฐบาลจะออกโครงการส่งเสริมการลงทุนและการจัดการหนี้สินเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานต่อไปได้ มาตราการทั้งหมดจะช่วยบรรเทาเศรษฐกิจของสปป.ลาวที่กำลังตกต่ำในปัจจุบันจากการระบาดของ Covid-19 จนนำซึ่งกาตกงานและปิดตัวของธุรกิจจำนวนมาก

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Covid116.php