ยอดผู้โดยสารลดลงส่งผลกระทบต่อคนขับแท็กซี่อย่างหนัก

แท็กซี่ในเมียนมากำลังประสบปัญหาในการหาผู้โดยสารจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในย่างกุ้ง แม้เจ้าของอู่จะลดค่าเช่าลง (ประมาณ 50%) แต่จำนวนผู้โดยสารก็ลดลงอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นปี สำหรับค่าธรรมเนียมการเช่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันลดลงจาก 10,000 จัต เหลือ 5000 จัตต่อเดือน รถที่ใช้แก๊สจะมีการลดค่าธรรมเนียมจาก 15,000 จัตเหลือ 8,000 จัตต่อคัน คนขับ taxi รายหนึ่งเล่าว่าแต่ก่อนมีรายได้มากกว่า 40,000 จัตต่อวัน แต่ตอนนี้เหลือเพียง 20,000 จัตเท่านั้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/falling-demand-hits-taxi-drivers-hard.html

YBS ใช้ระบบการชำระเงินด้วยบัตรเริ่มมิถุนายนนี้

ย่างกุ้งเปิดตัวระบบชำระเงินย่างกุ้ง (YPS) สำหรับรถประจำทางในปลายเดือนมิถุนายนจากรายงานของ Asia Starmar Transport Intelligent ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้ชนะการประกวดราคา เทคโนโลยีระบบบัตร YPS ได้ติดตั้งบนรถบัสเกือบ 2,000 คัน โดยจะมีจะขายในร้านสะดวกซื้อ รถบัส 2,000 คันได้รับการติดตั้งพร้อมกับอีก 500 เครื่องที่รอส่ง ภายใต้แผนที่จะติดตั้งเครื่องบนรถบัส 4,000 คัน  จะมีการออกบัตรจำนวน 100,000 ใบ โดยแต่ละใบมีราคาเริ่มต้นที่ 1,000 จัต รถโดยสาร YBS มีผู้โดยสารประมาณ 1.8 – 2.5 ล้านคนก่อนเกิดการระบาดใหญ่ แต่ผู้โดยสารลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วเมื่อปลายเดือนมีนาคมเหลือเพียง 100,000 คน ส่วนในเดือนมิถุนายนจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 500,000 คน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/ybs-adopt-card-payment-system-june.html

ฮ่องกงลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูงสุดในเมียนมาในปีงบประมาณนี้

ฮ่องกงกลายเป็นแหล่งที่มาของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่สำคัญ จากช่วงเจ็ดเดือนแรกของปีงบประมาณ 2562-2562 ซมีสัดส่วนประมาณ 32 % ของภาระผูกพันโดยรวม จากเดือนตุลาคม 2562 ถึงเมษายน 2563 มีการลงทุนโดยตรงจากหน่วยงานต่าง ๆ ในฮ่องกงจำนวน 39 แห่งมีมูลค่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากข้อมูลจากคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) คิดเป็น 23% ของเป้าหมายการลงทุน 5.8 พันล้านดอลลาร์ตามเป้าหมายของรัฐบาล ส่วนใหญ่จะลงทุนในธุรกิจไฟฟ้าและพลังงาน การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป และการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ตั้งแต่ปี 2531 มีบริษัทจากฮ่องกงกว่า 200 แห่งได้ทำสัญญา FDI มากกว่า 9.5 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากความต้องการ พลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน และภาคการผลิตของประเทศขยายตัวตามความต้องการที่สูงขึ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/hong-kong-top-fdi-source-myanmar-fiscal-year.html

มัณฑะเลย์ยกเลิกสัญญาโครงการบำบัดน้ำเสีย

เมืองมัณฑะเลย์กำลังยกเลิกโครงการบำบัดน้ำเสียที่ล่าช้ามากเนื่องจากบริษัทจากประเทศไทยที่ไม่สามารถดำเนินการห้เสร็จสิ้นได้ ปัจจุบันค่ากำจัดน้ำเสียตกอยู่ที่เดือนละ 56,000 จัต (40 ดอลลาร์สหรัฐ) สำหรับ 24 โรงงานในเขตอุตสาหกรรม แต่โรงงานขนาดเล็กไม่สามารถจ่ายได้ ท่อน้ำเสียจะปล่อยน้ำเสียลงในแม่น้ำดอกทาวดี (Dokhtawady) ซึ่งถูกสร้างโดยเขตอุตสาหกรรม

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mandalay-city-moves-cancel-wastewater-treatment-contract.html

ต่างชาติยังสนใจลงทุนในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเมียนมาเชื่อยังแข็งแกร่งแม้ส่งออกลดลง

ความสนใจของนักลงทุนต่างชาติในภาคการผลิตเสื้อผ้ายังคงแข็งแกร่งแม้จะมีปริมาณการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลงในปีงบประมาณ 2562-2563 จากข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) มีบริษัทต่างชาติ 178 แห่งที่ได้รับอนุญาตให้ลงทุนในเมียนมาระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 31 พฤษภาคม 2563 แม้การส่งออกจะลดลงเหลือเพียง 2.7 พันล้านดอลลาร์ โดยลดลงมากกว่า 24 ล้านดอลลาร์จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากการยกเลิกคำสั่งซื้อของสหภาพยุโรปจากปัญหา COVID-19 ทั้งโรงงานยังเลิกจ้างหรือปิดกิจการซึ่งส่งผลกระทบถึงแรงงานกว่า 700,000 คนโดยเฉพาะแรงงานหญิงในโรงงาน 600 แห่ง และการหยุดชะงักของการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศจีนนื่องจากการล็อกดาวน์ประเทศ โดยร้อยละ 70 ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป เช่นเดียวกับญี่ปุ่น เกาหลี แคนาดา และสหรัฐอเมริกา จากการช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลและสหภาพยุโรปทำให้อุตสาหกรรมกำลังฟื้นตัว นอกจากนี้ยังมีรายได้จากการส่งออกจากชายแดนเมียนมา – ไทย ในเมียวดีโดยมีการส่งออกมูลค่า 71 ล้านดอลลาร์ไปยังประเทศไทย ทั้งนี้รัฐบาลมีแผนรับมือทางเศรษฐกิจโดยได้จัดสรรเงินกู้ยืมให้กับอุตสาหกรรมที่มีปัญหารวมถึงอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าด้วย ภาคการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเมียนมามีรายรับจากการส่งออก 5 พันล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2561-2562

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/investor-interest-myanmar-garment-sector-still-strong-despite-lower-exports.html

DUHD ขายห้องชุด 1,757 ยูนิทในย่างกุ้ง

กระทรวงการพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัย (DUHD) เสนอราคาห้องชุดต่อหน่วยในราคาต่ำจำนวน 1,757 หน่วย ให้กับผู้ซื้อในเขตย่างกุ้งในช่วงการระบาดของ COVID-19 โดยธนาคารเพื่อการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและโครงสร้างพื้นฐาน (CHID Bank) จะขายห้องชุดแก่ผู้ที่มีบัญชีเงินฝากอย่างน้อย 3 ล้านจัตในบัญชี ขณะนี้มี 4,854 คนที่มีคุณสมบัติ สำหรับผู้สมัครในช่วงหลังหน่วยจะต้องทำการจับสลาก รายชื่อผู้สมัครที่จะได้รับสิทธิ์จะประกาศใน Facebook ผู้ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนกรอกรายละเอียดการลงทะเบียนผ่านหน้า DUHD พวกระหว่าง 8 ถึง 26 มิถุนายน 2563

ที่มา: Fahttps://www.mmtimes.com/news/duhd-sell-1757-units-yangon.htmlcebook

ธนาคารโลกชี้ปี 63 เศรษฐกิจเมียนจะชะลอ แต่จะเริ่มฟื้นในปีหน้า

รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกของธนาคารโลก แม้การเติบโตทางเศรษฐกิจเมียนมาคาดชะลอตัวลงถึง 1.5% ในปี 2563 เนื่องจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 แต่สามารถฟื้นตัวได้ถึง 6% ในปี 2564 หากการระบาดถูกควบคุมและการค้าโลกมาเป็นปกติ ปัจจุบันเมียนมาให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการค้าและการลงทุนด้วยนโยบายที่ยืดหยุ่นในการกระตุ้นการเงินแก่ธุรกิจและส่งเสริมแพลตฟอร์มดิจิทัลภายใต้แผนบรรเทาเศรษฐกิจของ COVID – 19 (CERP) นอกจากนี้ยังสร้างความมั่นใจในการไหลเวียนของสินค้าสำคัญ เช่น อาหาร สินค้ายาและเวชภัณฑ์ในระยะสั้น ส่งเสริมการลงทุนและร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อการพัฒนาเพื่อความมั่นคงในระยะยาว การลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-growth-slow-2020-rebound-next-year-world-bank-says.html

เมื่อปีที่ผ่านมา FDI เมียนมาได้รับอนุมัติกว่า 2,766 ล้านดอลลาร์

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2562 เมียนมาอนุมัติการลงทุนจากต่างประเทศรวมกว่า 4,520 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน แต่มีการลงทุนที่เกิดขึ้นจริงจาก 28 ประเทศเพียง 2,766 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาได้อนุมัติธุรกิจ 16 แห่งด้วยเงินลงทุน 362.280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมดที่ได้รับอนุมัติในปีงบการเงินก่อนหน้าเป็นจำนวน 4,520.754 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การลงทุนจากต่างประเทศมักจะได้รับอนุญาตใน 12 ภาคเศรษฐกิจ เช่น น้ำมันและก๊าซ ไฟฟ้า การผลิต การขนส่ง การสื่อสาร อสังหาริมทรัพย์ โรงแรมและการท่องเที่ยว เหมืองแร่ ปศุสัตว์และการประมง การเกษตร อุตสาหกรรม การก่อสร้าง และบริการอื่น ๆ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/over-2766-m-of-approved-s4520-m-in-foreign-investment-flowed-to-myanmar-last-year

สายการบินภายในประเทศจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อความอยู่รอดหลังวิกฤติ COVID-19

กระทรวงคมนาคมและสื่อสารเผย สายการบินภายในประเทศของเมียนมาจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อความอยู่รอดในช่วงหลังวิกฤติ COVID-19 ซึ่งก่อนที่จะมีวัคซีนต้องปฏิบัติตามแนวทางขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารมาตร การรักษาความปลอดภัยที่จำเป็นสำหรับสนามบินเครื่องบินและพนักงานต้องดำเนินการ เป็นผลให้สายการบินจะต้องร่วมมือกันเพื่อลดต้นทุนหรือพิจารณาเพิ่มค่าตั๋วเครื่องบินเนื่องจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น สายการบินขนาดเล็กจะไม่สามารถอยู่รอดได้หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ให้บริการรายใหญ่หรือการควบรวมกิจการ สายการบินในประเทศมีค่าใช้จ่ายสูงและส่วนใหญ่พึ่งพาผู้โดยสารชาวต่างชาติ ตอนนี้มีการเรียกร้องให้รัฐบาลขยายสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำไปยังภาคธุรกิจเพื่อช่วยให้สายการบินในประเทศ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วรัฐบาลกำลังพิจารณาแผนให้เงินจำนวน 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อช่วยสายการบินแห่งชาติเมียนมาโดยจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ในขณะเดียวกันสายการบินบางแห่งได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้สนามบินและค่าธรรมเนียมการจอดเป็นเวลาหนึ่งปี

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/domestic-airlines-need-join-hands-survival-post-covid.html

เมียนมาพร้อมอำนวยความสะดวกด้านการค้าภายในอาเซียน

อาเซียนรวมถึงรวมถึงเมียนมาจะร่วมกันเพื่อฟื้นฟูการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยการเสริมสร้างการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รวมถึงความพยายามจัดการกับอุปสรรคทางการค้าส่งเสริมการค้าและการลงทุนและขยายสาขาของความร่วมมือเพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจของ COVID-19 โดยมีผู้นำอาเซียน ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีตกลงที่ประสานงานเพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจของการระบาดไปยังประเทศของตนและภูมิภาค ซึ่งเมียนมาจะร่วมมือกันเพื่อลดขั้นตอนการนำเข้าและส่งออกภายในภูมิภาค การอำนวยความสะดวกในการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์สำหรับการป้องกัน COVID-19 และการยกเว้นอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ในการนำเข้าและข้อกำหนดของ FDA (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคเพื่อรักษาการหมุนเวียนของสินค้าและบริการ ยกเว้นจากการใช้มาตรการที่ไม่จำเป็นที่ส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของสินค้าจำเป็น เช่น อาหาร สินค้ายา และเวชภัณฑ์ในภูมิภาค

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-commits-facilitating-trade-within-asean.html