รัฐบาลนำระบบ TaxRIS เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ

รัฐบาลจะนำระบบข้อมูลการจัดการรายได้จากภาษี (TaxRIS) เพื่อจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส โดยได้มีการ จัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ภาษีจากทั่วประเทศเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสอบบัญชีของธุรกิจและปัญหาด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับระบบ TaxRIS เพื่อสร้างระบบการจัดเก็บภาษีที่ดีทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น โดยในปีนี้กระทรวงการคลังคาดว่าจะมีรายรับ 28,997 พันล้านกีบหรือ 16.31% ของ GDP เพิ่มขึ้น 9.4% จากแผนปี 2562 ดังนั้นการนำระบบ TaxRIS เข้ามาจะทำให้รัฐบาลได้รับรายได้ตามเป้านั้นเอง TaxRIS มีเป้าหมายที่จะทำให้การจัดการรายได้ทันสมัยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดตามแบบระดับสากล

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/govt-goes-hi-tech-boost-revenue-collection-114923

มูลค่าการส่งออกยางพาราเพิ่มขึ้น

มูลค่าการส่งออกยางพาราของสปป.ลาวเพิ่มขึ้น โดยสร้างรายได้แก่สปป.ลาวถึง 217.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563 จากการที่พื้นที่เพาะปลูกลดลงในระยะ 3 ปีที่ผ่านทำให้ราคายางพาราเพิ่มขึ้นจาก 3,000-4,000 kip ในปี 60 มาเป็น5,000-6,000 kip ในช่วงนี้ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยจากความต้องการยางพาราของจีนมากถึง 10,000 ตัน จากปีที่แล้วและปี63สปป.ลาวได้รับโควต้าในการส่งออกไปยังจีนอีก 20,000 ตัน ปัจจุบันถึงแม้เกิดการแพร่ระบาดของ covid-19 แต่การส่งออกยางาราไปยังจีน จากแขวงน้ำทาก็ยังทำได้ปกติและสร้างมูลค่ามหาศาลแก่สปป.ลาว

ที่มา: http://annx.asianews.network/content/rubber-falls-second-place-export-value-despite-rise-foreign-sales-114828

รัฐบาลสปป.สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเกษตรเพื่อผลผลิตที่มั่นคง

คณะกรรมการป้องกันและควบคุมภัยพิบัติแห่งชาติกำลังช่วยเหลือเกษตรกรทั่วประเทศโดยการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชที่มีความยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศในสปป.ลาวโดยเฉพาะความทดทานในช่วงฤดูแล้ง โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562 ปริมาณน้ำลดลงร้อยละ 41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วทำให้สปป.ลาวจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศแห้งแล้งเร็วขึ้น ทำให้อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตเกษตรจากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีพื้นที่เพาะปลูกในช่วงนี้ 384,300 เฮกตาร์ ซึ่งจากความแห้งแล้งดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมคาดว่าจะนำมาซึ่งความแห้งแล้งและอุทกภัยที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยผลผลิตอาจลดลง 10% ในปี 2563 และ 30% ในปี 2593 ดังนั้นการทำการศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนาการเกษตรจึงเป็นสิ่งที่สปป.ลาวกำลังผลักดันและให้การสนใจอย่างยิ่งตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2559-2563)เพื่อความมั่นคงด้านอาหารภายในประเทศและประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตร

ที่มา  : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Farmers_43.php

แม้มีข้อจำกัดการเพาะปลูก กล้วยยังคงเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของสปป.ลาว

มูลค่าการส่งออกของกล้วยไปยังประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะจีนและไทยในปี 62 เพิ่มขึ้น 198 ล้านเหรียญสหรัฐเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 76 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ถึงแม้รัฐบาลจะมีมาตราการสั่งห้ามไม่ให้มีการเพาะปลูกเพิ่มเละยังมีการปิดโรงงานกว่า 90 บริษัทที่ลงทุนในสวนกล้วยครอบคลุม 26,177 เฮคเตอร์ทั่วประเทศลาวเนื่องจากการเพาะปลูกกล้วยของบริษัทบางส่วนมีการละเมิดกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและไม่เป็นมิตต่อระบบนิเวศโดยมีการใช้สารเคมี Paraquat และ DDTที่อาจส่งผลต่อร่างกายมนุษย์ได้ ทำให้พืชดังกล่าวถูกควบคุมอย่างเคร่งครัดและหากต้องการจะปลูกต้องมีการขออนุญาตจากภาครัฐก่อน อย่างไรก็ตามกล้วยก็ยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของสปป.ลาวเพราะมีมูลค่าเป็นอันดับ 4 ในกลุ่มสินค้าเกษตรที่สร้างรายได้แก่สปป.ลาวนอกจากนี้ยังสร้างงานและรายได้ที่มั่นคงแก่เกษตรกรอีกด้วย จึงเป็นสิ่งที่ทำให้รัฐบาลต้องกลับมาทบทวนถึงข้อจำกัดต่างๆ ที่ทำให้ผลผลิตลดลงและไม่มีนักลงทุนกล้าที่จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ ทั้งทีมีมูลค่าสูง ในท้ายที่สุดหากมีข้อสรุปที่เหมาะสม กล้วยจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของสปป.ลาวต่อไป

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/bananas-remain-large-slice-laos%E2%80%99-export-pie-114628

ดุลการค้าสปป.ลาวขาดดุลลดลง

มูลค่าการนำเข้าสินค้าของลาวลดลงเล็กน้อยจาก 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2018 เป็น 5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 62 โดยสินค้านำเข้าห้าอันดับแรก ได้แก่ อุปกรณ์ก่อสร้างน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊สที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ชิ้นส่วนยานยนต์และอาหาร มีมูลค่าลดลงในขนาดที่สินค้าส่งออกสำคัญมีการเพิ่มขึ้นทำให้ดุลการค้าขาดดุลลดลงต่อในตลอด 3 ปี ที่ผ่านจากการส่งเสริมการส่งออกและการผลิตเพื่อบริโภคในประเทศ เมื่อมีการขาดดุลน้อยลงก็เปรียบได้ว่าสปป.ลาวมีทุนสำรองมากขึ้นเป็นตัวบ่งชี้เสถียรภาพของภาคต่างประเทศที่ดี นอกจากการเพิ่มการส่งออกและผลผลิตจะทำให้สปป.ลาวแก่ปัญหาเรื่องการขาดอาหารและยังทำให้เศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่องไปได้อีกด้วย

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/value-imports-dips-trade-deficit-plummets-laos-114627

รายได้ของลาวจากการขายข้าวไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้น

ข้าวที่ส่งออกไปยังจีนสร้างรายได้แก่สสป.ลาวในปี 62 มากถึง 14.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจากการลงนามการค้า ACFTA ทำให้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสปป.ลาวส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีนได้มากขึ้นโดยข้อตกลงนี้จะลดหรือยกเว้นภาษีแก่สินค้าที่สปป.ลาวส่งไปยังจีนและนโยบายการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศทำให้การค้าจีนกับสปป.ลาวขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยจีนถือเป็นตลาดส่งออกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของสปป.ลาว ในแต่ละปีสปป.ลาวมีโควตาส่งออกข้าวให้แก่จีนถึง 50,000 ตันและมีแนวโน้มที่จะส่งออกได้มากกว่าเดิมจากการเติบโตของเศรษฐกิจจีนทั้งในแง่ของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น รายได้ต่อหัวที่สูงขึ้น กำลังซื้อคนในประเทศเพิ่มขึ้นปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้มีการนำเข้าข้าวจากสปป.ลาวมากขึ้นและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ 

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos%E2%80%99-earnings-rice-sales-china-rise-114545

อุปสรรคการเติบโตของเศรษฐกิจสปป.ลาวในสถานการณ์ปัจจุบัน

ในปีนี้เศรษฐกิจสปป.ลาวจะมีอุปสรรคในการเติบโตจากผลกระทบในเรื่อง ภัยแล้งอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตทางการเกษตรและระดับอ่างเก็บน้ำต่ำอาจทำให้เกิดการลดการผลิตไฟฟ้า การระบาดของ covid-19ทำให้สูญเสียนักท่องเที่ยวหรือคิดเป็นมูลค่ากว่า20-25 ล้านเหรียญสหรัฐและจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากสงครามการค้าและความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและอิหร่านจะส่งผลให้การส่งออกสินค้าสปป.ลาวลดลง ปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะทำให้การเติบโตไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ อย่างไรก็ตามแม้จะมีอุปสรรคในการเติบโตเศรษฐกิจ สปป.ลาวก็น่าจะยังสามารถเติบโตในระดับร้อยละ 6.3-6.4 จากการผลิตไฟฟ้าโดยเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังน้ำ Xayaboury ซึ่งเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว รวมถึงการลงทุนจากสินเชื่อภายในประเทศคาดว่าจะเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ สิ่งสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจยังคงเติบโตได้ในสถานณ์การณ์นี้แบบคือการปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาเพื่อให้แรงงานมีทักษะสูงมีความรู้และความสามารถมากขึ้นรวมถึงการเพิ่มมูลค่าห่วงโซ่โดยการยกระดับโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/growth-laos-remain-resilient-despite-economic-headwinds-114398

การลงนามความร่วมมือระหว่างสปป.ลาว-สาธารณรัฐเช็กส่งเสริมการค้าและการลงทุนทั้ง 2 ประเทศ

หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว (LNCCI) และหอการค้าเช็กได้ตกลงที่จะร่วมมือเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างทั้ง 2 ประเทศ การลงนามเกิดขึ้นระหว่างผู้นำ LNCCI และผู้ประกอบการธุรกิจสปป.ลาวกับคณะผู้แทนสาธารณรัฐเช็ก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างนักธุรกิจของทั้งสองประเทศและเพื่อค้นหาโอกาสใหม่ ๆ สำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของ 2 ประเทศโดยแนวโน้มการค้าระหว่าง 2 ประเทศมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นโดยในปี 62มีมูลค่ามากถึง 1.04 ล้านเหรียญสหรัฐและคาดว่าในปีนี้ยังคงมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้นการลงนามดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมความแข็งแกร่งของธุรกิจให้วสามารถเติบโตไปได้และมีคู่ค้าที่แข็งแกร่งอย่างสาธารณรัฐเช็กนอกจากนี้พัฒนาการในอุตสาหกรรมของสปป.ลาวก็ได้รับการพัฒนาและเติบโตควบคู่ไปอีกด้วย

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-czech-chambers-boost-trade-investment-114396

ภาคการขนส่งสปป.ลาวกำลังเติบโตอย่างมาก

การขนส่งสินค้าและพัสดุในสปป.ลาวกำลังเติบโตจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของ e-commerce ในประเทศ โดยหนึ่งในผู้ให้บริการจัดส่ง ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆนี้อย่าง HAL Logistics Co Ltd ซึ่งเป็น บริษัทขนส่งสินค้าในเวียงจันทน์เป็นหลักและยังมีบริการขนส่งทั่วสปป.ลาวอีกด้วย โดยในปีที่ผ่านมาถือเป็นปีที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ซึ่ง Mr Sisavath Mayongseun ผู้จัดการของบริษัทกล่าวว่า “ สิ่งที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องให้บริการที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้องและสามารถตรวจสอบได้” โดยในอนาคตภาคการขนส่งทางบกจะเป็นภาคการขนส่งที่สำคัญเพราะด้วยปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ที่สปป.ลาวไม่มีทางออกสู่ทะเลทำให้การขนส่งหลักๆจะมาจากทางบกไม่ว่าจะเป็นทางถนนที่มีการเชื่อมต่อทั่วสปป.ลาวและไปสู่ประเทศรอบๆ นอกจากนี้การขนส่งทางรถไฟในอาคตเมื่อโครงการรถไฟลาว – ​​จีนแล้วเสร็จจะทำให้การขนส่งทางรางมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นช่องทางการค้าและการลงทุนที่สำคัญแก่สปป.ลาวต่อไป

ที่มา: http://annx.asianews.network/content/freight-company-keen-cash-e-commerce-boom-laos-114397

โครงการความร่วมมือแม่น้ำโขง – ล้านช้าง พัฒนาสปป.ลาวอย่างก้าวกระโดด

เมื่อวันอังคารที่ 19 ม.ค. 63 มีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศแม่น้ำโขง – ล้านช้าง (MLC) โดยเป็นการร่วมมือกันของทั้ง 6 ประเทศได้แก่กลุ่มประเทศ CLMV ไทยและจีน ในการประชุมมีการรายงานถึงผลของโครงการที่นำเงินของกองทุนความร่วมมือไปใช้ซึ่งพบว่าสปป.ลาวได้รับประโยชน์จากโครงการความร่วมมือนี้ มูลค่าหลายล้านดอลลาร์ที่ดำเนินการภายใต้กรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง – ล้านช้าง (MLC) โดยโครงการต่างๆมีส่วนสำคัญในการบรรเทาความยากจนลดช่องว่างในสังคมและเพิ่มขีดความสามารถของลาวในด้านต่างๆตามวัตถุประสงค์เดียวกับอาเซียน(AEC) โดยโครงการที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนเงินจากจีนเป็นหลักผ่านกองทุน MLC Special Fund ซึ่งจีนสนับสนุนมากกว่า 2.67 ล้านล้านคิป (300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เป็นส่วนสำคัญในการทำให้สปป.ลาวเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งในปี 63 จะมีโครงการอีกกว่า 100 โครงการที่รอการอนุมัติและเริ่มดำเนินการและคาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจสปป.ลาวเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-granted-multimillion-dollar-projects-mekong-lancang-cooperation-114201