นครโฮจิมินห์กลับมาเปิดประกอบการค้าปลีกใน ‘โซนสีเขียว’

เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการและผู้ค้าปลีกในเมืองโฮจิมินห์ เตรียมเปิดกิจการอีกครั้งในพื้นที่ “โซนสีเขียว” ทันทีหลังจากมาตรการเว้นระยะทางสังคม หลายๆพื้นที่ในจังหวัดภาคใต้ของประเทศสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ เช่น กู๋จี, เกิ่นหย่อ, ฟูญวนและท๋าบิ่ญ เป็นต้น ในเมืองถูดึ๊ก (Thu Duc) ทั้งนี้ คุณเหงวียน ถิ กีม เงิน (Nguyen Thi Kim Ngoc) รองผู้อำนวยการเมืองอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวว่าทางสำนักงานได้ประสานงานกับผู้ประกอบการ ผู้ค้าปลีกและผู้ผลิต เพื่อให้แน่ใจว่าจัดสรรสินค้าจำเป็นพร้อมแล้วและยังส่งเสริมการขายแก่ผลผลิตทางการเกษตร อีกทั้งได้ร้องขอให้เขตต่างๆ และเมืองถูดึ๊ก วางแผนที่จะเปิดตลาดอีกครั้ง ในขณะที่ยังควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/hcm-city-resumes-retail-activities-in-green-zones/208885.vnp

 

‘เวียดนาม’ เผยการเติบโตทางเศรษฐกิจดิ่งลง เหตุโควิด-19 ระบาดหนัก

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)  ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัว 1.42% เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบไปยังทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ รวมถึงมาตรการเว้นระยะทางสังคม โดยเฉพาะอัตราการขยายตัวของจีดีพีในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ คาดว่าจะลดลง 6.17% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งถือว่าลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรก การผลิตของภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 4.45% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่เงินลงทุนไหลเข้ารวมจากต่างประเทศ มีมูลค่าราว 22.15 พันล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ เวียดนามมีมูลค่าการส่งออก-นำเข้า ประมาณ 53.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยสหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 69.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-gdp-growth-sees-sharp-decrease-in-first-nine-months-of-2021-due-to-pandemic-36326.html

 

จีดีพีเวียดนาม Q3 ติดลบ 6.17%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าเศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาส 3/64 หดตัว 6.17% เนื่องจากมาตรการเว้นระยะทางสังคมและข้อจำกัดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ในขณะที่ จีดีพีในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัว 1.42% เมื่อเทียบกับ 2.12% ช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ย. ภาคบริการหดตัว 0.69% เมื่อเทียบต่อปี ในขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมการผลิตและการก่อสร้าง ขยายตัว 3.57% และภาคเกษตร ป่าไม้และประมง 2.74% อย่างไรก็ตาม ยอดจดทะเบียนธุรกิจจัดตั้งใหม่ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น มีจำนวน 85,500 ราย ลดลง 13.6% เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งจากการสำรวจพบว่าธุรกิจที่อยู่ในภาคการผลิตส่วนใหญ่ 43.4% มองว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในไตรมาสสุดท้าย นอกจากนี้ ธนาคารโลก คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโตที่ 4.8% ในปีนี้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1049629/hcm-city-wants-tax-reduction-for-covid-affected-businesses.html

‘เวียดนาม’ เผย GDP ช่วง 9 เดือนแรกของปี 64 โต 1.42%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัว 1.42% โดยเป็นผลมาจากการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบไปยังทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ และหลายพื้นที่ของประเทศยังคงดำเนินมาตรการเว้นระยะทางสังคม โดยเฉพาะอัตราการขยายตัวของ GDP ไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ คาดว่าจะลดลง 6.17% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถือว่าลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่รายงานตัวเลขเศรษฐกิจรายไตรมาส ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป ยังคงเป็นแรงผลักดันของเศรษฐกิจ ด้วยอัตราการขยายตัว 6.05% ในขณะที่ภาคการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 5.24% นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาโครงสร้างเศรษฐกิจ พบว่าภาคเกษตร ป่าไม้และประมง มีสัดส่วน 12.79% ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ก่อสร้าง และภาคบริการ คิดเป็น 38.03% และ 40.19% ตามลำดับ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/gdp-grows-by-only-142-during-nine-month-period-894286.vov

ธ.โลกหั่นคาดการณ์ศก.เอเชียตะวันออกเหตุโควิดสายพันธุ์เดลตาฉุดการเติบโต

ธนาคารโลกเปิดเผยรายงาน “East Asia and Pacific Fall 2021 Economic Update” โดยระบุว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา และคาดว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจอ่อนแรงลง และเพิ่มความไม่เท่าเทียมกันในภูมิภาคเหล่านี้ ทั้งนี้ ‘มานูเอลา เฟอร์โร’ ประธานธนาคารโลกฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกล่าวว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกำลังเผชิญกับความพลิกผันในอนาคต ในปี 2563 นั้น ภูมิภาคแห่งนี้สามารถควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ในขณะที่ภูมิภาคอื่น ๆ ยังไม่สามารถควบคุมได้ แต่ในปี 2564 นี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกำลังเผชิญกับยอดผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้น ซึ่งส่งให้การเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคอ่อนแอลง

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/962527

‘นครโฮจิมินห์’ เรียกร้องให้ปรับลดภาษีแก่ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

คณะกรรมการประชาชนของเมืองโฮจิมินห์ ให้คำแนะนำหลายประการสำหรับพระราชกฤษฎีกาของกระทรวงการคลัง เพื่อช่วยเหลือธุรกิจและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รวมถึงกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เกิน 2% โดยในเอกสารที่ส่งไปยังรัฐบาลนั้น ยังเสนอเพิ่มเติมให้ทำการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าเช่าที่ดิน ตลอดจนขยายเวลาชำระภาษีและเงินอุดหนุนดอกเบี้ย อีกทั้ง เรียกร้องให้ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลง 50% แก่ธุรกิจที่มีรายได้ต่อปีน้อยกว่า 2 แสนล้านล้านดอง (8.8 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีนี้ นอกจากนี้ สำหรับประเด็นการยื่นภาษี ควรขยายออกไปจนถึงไตรมาสที่ 2 ของปีหน้า โดยไม่มีการปรับการชำระเงินที่ล่าช้า

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1049629/hcm-city-wants-tax-reduction-for-covid-affected-businesses.html

‘เวียดนาม’ ตั้งเป้าอีก 5 ปีข้างหน้า ยอดจดทะเบียนธุรกิจใหม่ 710,000 ราย

กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) ได้ประสานงานกับกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และยังร่างประกาศการสนับสนุนและพัฒนาธุรกิจปี 2564-2568 ตั้งเป้าการจดทะเบียนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีจำนวนทั้งสิ้น 710,000 ราย ซึ่งภายใต้เอกสารดังกล่าว วัตถุประสงค์ของนโยบายเพื่อช่วยเหลือธุรกิจในการฟื้นฟู ขยายธุรกิจและพัฒนาความสามารถทางการแข่งขัน และในปี 2568 เวียดนามคาดว่าจะมีบริษัทกว่า 2.1 ล้านราย ทั้งนี้ กระทรวงฯ จะผลักดันโซลูชั่น 8 กลุ่ม มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงการลงทุนและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ตลอดจนขยายตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังได้เสนอให้มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างองค์กรต่างๆ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-expects-710000-newlyestablished-enterprises-in-next-five-years/208759.vnp

ในช่วง 8 เดือน เวียดนามส่งออกไปกัมพูชาเพิ่มขึ้น

เวียดนามส่งออกสินค้าไปยังกัมพูชามูลค่ารวม 3.15 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2021 คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่อย่างไรก็ตาม เวียดนามได้รายงานถึงการขาดดุลการค้ากับกัมพูชาอยู่ราว 354.4 ล้านดอลลาร์ ในช่วงดังกล่าว มีสาเหตุหลักจากการนำเข้าผลิตภัณฑ์หลัก 6 รายการ จากกัมพูชาเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยการนำเข้า เม็ดมะม่วงหิมพานต์และยางพาราเพิ่มขึ้นสูงสุด ซึ่งเวียดนามนำเข้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์จากกัมพูชาในช่วง 8 เดือนแรก เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เท่าเมื่อเทียบปีต่อปีคิดเป็นมูลค่า 1.83 พันล้านดอลลาร์ ในขณะเดียวกัน การนำเข้ายางของเวียดนามจากประเทศเพื่อนบ้านนั้นสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 5.3 เท่า ซึ่งอยู่ที่มูลค่า 821.8 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50942886/vietnams-exports-to-cambodia-up-16-7-percent-in-eight-months/

รัฐบาลสปป.ลาวและเวียดนามพิจารณาความเป็นไปได้ในการสร้างทางด่วนเวียงจันทน์-ฮานอย

รัฐบาลสปป.ลาวและเวียดนามกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการสร้างทางด่วนเชื่อมเวียงจันทน์กับฮานอย ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา 2 เส้นทาง โดยเส้นทางแรกจะวิ่งผ่านเวียงจันทน์-ปากซาน-เวียงทอง-Thanh Thuy-Hanoi เป็นระยะทาง 725 กิโลเมตร                    เป็นเส้นทางในประเทศลาว 355 กิโลเมตร ค่าใช้จ่ายโดยประมาณจะอยู่ที่ 5.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเส้นทางที่ 2 เป็นเส้นทางผ่านเวียงจันทน์-นาแพง-ไซสมบูรณ์-เชียงขวาง-ท่าลาว (จังหวัดหัวพัน)-ฮานอยระยะทาง 730 กม. เป็นเส้นทางในประเทศลาว 485 กม. ค่าใช้จ่ายโดยประมาณของเส้นทางนี้จะอยู่ที่ประมาณ 9.27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อสร้างทางด่วนแล้วเสร็จจะเป็นอีกก้าวหนึ่งในการเปลี่ยนประเทศสปป.ลาวจากการไม่มีทางออกสู่ทะเลเป็นทางเชื่อมทางบกภายในภูมิภาค

 ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Vientiane_Hanoi_189.php

นักลงทุนต่างชาติ เชื่อมั่นเศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัว

หนังสือพิมพ์ Dau Tu (Viet Nam Investment Review) รายงานว่านักลงทุนต่างชาติเข้ามาขยายการลงทุนเพิ่มเติม เพื่อขยายการผลิตในเวียดนาม สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของเวียดนาม อีกทั้ง ทางฝั่งของบริษัทยักษ์ใหญ่สัญชาติสวิส “เนสท์เล่ (Nestle)” ชี้ว่ากำลังทุ่มเงินเพิ่มอีกกว่า 130 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้มูลค่าการลงทุนในเวียดนามเพิ่มขึ้นเป็น 730 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากบริษัทอย่างเนสท์เล่แล้ว ยังมีบริษัทต่างชาติอื่นๆ ที่คงรักษาการดำเนินงานในเวียดนามต่อไป แม้จะเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) มองว่าถึงแม้เวียดนามจะเผชิญกับความท้าทายหลายอย่างในปัจจุบันที่เกิดจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส แต่ธุรกิจญี่ปุ่นในเวียดนามจะพยายามปรับตัวและพัฒนาระบบการผลิตในสถานการณ์ใหม่ นอกจากนี้ หอการค้ายุโรปในเวียดนาม ชี้ว่านักธุรกิจยุโรปยังคงเชื่อมั่นต่อรัฐบาลเวียดนามว่าจะประสบความสำเร็จในการควบคุมไวรัสโควิด-19 และตั้งใจที่จะรักษาการดำเนินงานในเวียดนามอีกต่อไป

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/foreign-investors-keep-trust-in-vietnams-recovery/208690.vnp