อุตสาหกรรมบริการ สปป.ลาวกับความท้าทายในการทำธุรกิจ

ในการเตรียมการสำหรับthe 13th Lao Business Forum (LBF)สำนักเลขาธิการ LBF ได้จัดประชุมคณะทำงานภาคเอกชนครั้งแรกของปีนี้เพื่อหารือเกี่ยวกับความท้าทายที่ภาคเอกชนต้องเผชิญในการดำเนินธุรกิจ ปัญหาที่ภาคธุรกิจบริการระบุว่าเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน ขั้นตอนการจดทะเบียนองค์กร การอนุมัติใบอนุญาตประกอบธุรกิจและการคืนภาษี การประชุมคณะทำงานของภาคเอกชนเริ่มต้นกระบวนการเจรจาระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนภายใต้กลไก LBF ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่ากฎหมายจะถูกต้องตามกฎหมายมากขึ้น ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความสะดวกในการทำธุรกิจ จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาภาคเอกชนผ่านการปรับปรุงภาพรวมธุรกิจในสปป.ลาว ในท้ายที่สุดมันจะช่วยรัฐบาลในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมโดยหนึ่งในนั้นคือสปป.ลาวหลุดพ้นออกจากสถานะประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/service-industry-discusses-challenges-doing-business-113783

ผู้ประกอบการเนื้อหมูขายราคาหมูเกินราคาที่กำหนด

ผู้ขายเนื้อหมูหลายรายในเมืองหลวงกำลังขายเนื้อหมูให้กับผู้บริโภคโดยไม่มีป้ายราคาเพื่อหวังจะขายราคาที่เกินกว่ารัฐบาลตั้งไว้ ซึ่งหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้ได้ประกาศเมื่อวันที่ 30 มกราคมว่าหมูเกรด A ในตลาดควรจำหน่ายปลีกที่ 40,000 kip ต่อกิโลกรัมและ 38,000 kip ต่อกิโลกรัมสำหรับเกรด B แต่ด้วยผลผลิตหมูที่ขาดแคลนหนักจากเชื้อไวรัสสุกรจึงส่งผลให้ราคาของหมูสูงขึ้นต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 2-3เดือนที่ผ่านมา ปัญหาดังกล่าวต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะเนื้อหทมูถือเป็นเนื้อสัตว์ที่ คนสปป.ลาวนิยมบริโภคมากที่สุด ดังนั้นหากราคาเนื้อหมูปรับตัวสูงก็จะส่งผลต่อการบริโภคของประชาชนและในระยะยาวอาจทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อเนื่องจากสินค้าหรืออาหารที่มีการนำหมูไปประกอบวัตถุดิบจะต้องมีการปรับราคาสูงตามราคาหมูที่ปรับขึ้นจึงเป็นปัญหาที่รัฐบาลควรแก้ไขและตรวจสอบผู้ที่ขายราคาเกินจริงอย่างจริงจัง  

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/pork-vendors-flout-price-ceiling-bring-home-bacon-113703

คาดว่าเศรษฐกิจสปป.ลาวจะเติบโตที่ร้อยละ 6.3 ในปี 2020

ศูนย์วิจัยนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภายใต้สถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ คาดการณ์เศรษฐกิจสปป.ลาวจะขยายตัวร้อยละ6.3-6.4 ในปีนี้โดยปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญหลายประการ ทั้งการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยโรงไฟฟ้าพลังน้ำ Xayaboury ซึ่งเริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม การพัฒนาของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและเกษตรกรรมรวมถึงภาคการท่องเที่ยวมีอัตราการเติบโต 14% ในปี 2562 โดยมีผู้มาเที่ยวลาวประมาณ 4.7 ล้านคน โดยปี 63 ต้องดูสถานการณ์ของไวรัสโคโรน่าว่ามีท่าทีจะส่งผลต่อการท่องเที่ยวสปป.ลาวหรือไม่   

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Macroeconomic.php

“บีซีพีจี”สยายปีกลงทุนโรงไฟฟ้าพลังน้ำในลาว-ผนึกพันธมิตรสายส่งไปเวียดนาม

“บีซีพีจี”เดินหน้าขยายธุรกิจพลังน้ำในลาว ด้วยการเข้าลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำในเมืองเชียงขวาง สปป.ลาวเป็นแห่งที่ 2 ขนาดกำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์ ส่งผลให้บริษัทมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำในลาวเพิ่มเป็น 114 เมกะวัตต์ พร้อมเข้าลงทุนร่วมกับพันธมิตรก่อสร้างและดำเนินกิจการระบบสายส่งกระแสไฟฟ้าไปยังเวียดนาม ส่งผลให้แผนการลงทุนในกลุ่มประเทศ CLMV มีรายได้เติบโต มั่นคงระยะยาว ทั้งนี้ ข้อมูลของบริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าในวันที่ 10 ก.พ.63 ได้มีการลงนามสัญญาซื้อขายหุ้นของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ Nam San 3B Power Sole Co.,Ltd.ระหว่างบริษัท บีซีพีจี อินโดไชน่า จำกัด (BIC) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบีซีพีจี ดำเนินกิจการลงทุนโรงไฟฟ้าในกลุ่มประเทศ CLMV กับบริษัท Phongsubthavy Roads and Bridges Construction and Irrigation(PSG) นอกจากนี้ โครงการ Nam San 3B ยังได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (EVN) เพื่อขายไฟฟ้าให้กับ EVN แทนการขายไฟฟ้าให้กับ EDL เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 25 ปี คาดว่าจะเริ่มจำหน่ายตั้งแต่ปี 2565 สำหรับการลงทุนของบริษัทในครั้งนี้ เป็นเพียงก้าวแรกของบริษัทในการขยายธุรกิจสู่กลุ่มประเทศ CLMV โดยลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าในประเทศที่มีศักยภาพในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำอาทิ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และขายไฟฟ้าให้กับประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจเช่น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

ที่มา : https://siamrath.co.th/n/131991

การส่งออกปศุสัตว์สร้างรายได้สูงสุดในสินค้าเกษตร

การส่งออกปศุสัตว์สร้างรายได้สูงสุดในกลุ่มสินค้าเกษตร มีมูลค่ามากถึง 217.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งมากกว่า กล้วยไม้และยางที่เคยเป็นสินค้าที่สร้างรายได้สูงสุดแก่สปป.ลาว โดยประเทศคู่ค้าที่สำคัญในการส่งออกปศุสัตว์ของสปป.ลาวคือ เวียดนาม ซึ่งปศุสัตว์เป็น 1 ใน 2 ผลิตภัณฑ์ยอดนิยมที่สปป.ลาวขายให้กับเวียดนามโดยมีมูลค่าการส่งออกเกือบ 220 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งใน 20 อันดับแรกของผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกไปยังประเทศจีนด้วยยอดขายมูลค่า 7.5 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้จีนถือเป็นประเทศที่มีความต้องการในปศุสัตว์สปป.ลาวสูง โดยตลาดในยูนนานของจีนต้องการปศุสัตว์ 500,000 ตัวจากสปป.ลาวเป็นประจำทุกปี สินค้ากลุ่มนี้จึงเป็นสินค้าที่น่าสนใจเพราะอนาคตจะเติบโตได้อีกและสปป.ลาว ยังมีศักยภาพในการแข่งขันด้วยปัจจัยที่สปป.ลาวมีที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงโคเพื่อการค้านั้นเอง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/livestock-top-earner-among-laos%E2%80%99-agricultural-exports-113626

สปป.ลาว, ญี่ปุ่นลงนามข้อตกลงเรื่องพัฒนาการท่องเที่ยวในหลวงน้ำทา

Luangpaseuth Corporation ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับกลุ่ม Chodai จากประเทศญี่ปุ่นเพื่อโครงการการท่องเที่ยวและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน โดยแขวงหลวงน้ำทามีชายแดนการค้าสำคัญกับจีนซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย คุณสมบัติเหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาภาคส่วนที่สำคัญของการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นภาคที่สำคัญของสปป.ลาวในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การลงนามดังกล่าวจะทำให้มีการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนแก่สปป.ลาวต่อไป

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-japan-ink-deal-tourism-development-luang-namtha-113704

การค้าขาดดุล 137 ล้านดอลลาร์สหรัฐแม้ว่ายอดส่งออกจะสูงกว่าเป้าหมาย

กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ระบุว่าสปป.ลาวมีการขาดดุลการค้า 137 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 61แม้ว่าจะส่งออกได้มากถึง 5,603 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเกินเป้าหมายที่เคยคาดว่าจะอยู่ที่ 5,516 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญยังคงเป็นพลังงานไฟฟ้าที่มีมูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ถึงแม้การส่งออกภาครวมจะมีการเติบโตแต่สปป.ลาวยังเป็นประเทศที่มีการนำเข้าสินค้ามาในจำนวนมากโดยสินค้าที่นำเข้าหลักๆของสปป.ลาวได้แก่ เชื้อเพลิงยานพาหนะ รถแทรกเตอร์และรถจักรยานยนต์ ซึ่งปัจจุบันสปป.ลาวกำลังอยู่ในช่วงที่เศรษฐกิจมีการเติบโต รายต่อหัวของประชาเพิ่มสูงขึ้นทำให้มีความต้องการในสินค้าดังกล่าวมากขึ้นตาม ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าในสินค้าดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นด้วย จึงเป็นสาเหตุที่ถึงแม้การส่งออกจะเพิ่มสูงขึ้นแต่ยังขาดดุลนั้นเอง อย่างไรก็ตามการขาดดุลของสปป.ลาวมีแนวโน้มที่จะน้อยลงจากนโยบายภาครัฐในปัจจุบันที่สนับสนุนการผลิตในประเทศมากขึ้นรวมถึงมาตราการส่งเสริมการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งจะเป็นผลดีในอนาคตที่จะช่วยทำให้สปป.ลาวขาดดุลน้อยลง จนไปถึงเกินดุลในที่สุด 

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/trade-deficit-hits-us137-million-despite-exports-exceeding-target-113541

มาตรการขึ้นทะเบียนหมูเพื่อกระตุ้นอุปทานเนื้อหมูในประเทศ

กรมวิชาการเกษตรและป่าไม้เวียงจันทน์จะสนับสนุนให้เกษตรกรหมูลงทะเบียนขอใบอนุญาตฟาร์มเพื่อวางแผนจัดการกับปัญหาการขาดแคลนหมูในปัจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปีนี้คาดหวังว่าจะมีการเลี้ยงลูกสุกร 190,000-200,000 ตัว เพื่อตอบสนองความต้องการของคนในประเทศให้เพียงพอ นอกจาจะมีข้อมูลที่สามารถนำมาหาแนวทางแก้ปัญหาแล้ว การขึ้นทะเบียนจะทำให้การเลี้ยงหมูมีประสิทธิภาพมากขึ้นรวมถึงปริมาณหมูที่จะเพิ่มขึ้นด้วย เมื่อผลผลิตเพิ่มขึ้นจะทำให้ราคาหมูลดลงมาช่วยควบคุมราคาหมูไม่ให้สูง ซึ่งการที่ราคาหมูสูงก็เป็นผลทำให้เงินเฟ้อในประเทศปรับตัวขึ้นและเป็นปัญหาที่สปป.ลาวเผชิญในปัจจุบันดังนั้นมาตราการดังกล่าวจะสามารถช่วยแก้ปัญหาทั้ง2ของสปป.ลาวได้

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/vientiane-eyes-measures-boost-pork-supply-amid-chronic-shortage-113324

เขตเศรษฐกิจพิเศษดึงดูดเงินมากถึง 5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ

เขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZs) ที่จัดตั้งขึ้นทั่วประเทศดึงดูดการลงทุนเกือบ 5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐโดยมีบริษัท 806 แห่งได้ลงทุนในโซนซึ่งประกอบด้วย 26.34% ในภาคอุตสาหกรรม 25.26%ในการค้าและ 48.4% ในภาคบริการนอกจากนี้การเข้ามาลงทุนในเขตพิเศษยังทำให้เกิดการจ้างงานซึ่งได้สร้างงานถึง 12,596 ตำแหน่งสำหรับแรงงานลาว ปัจจุบันสปป.ลาวกำลังศึกษาถึงโอกาสในการจะจัดตั้งโซนเศรษฐกิจใหม่เพิ่มเติมอีกแห่งหนึ่งซึ่งเรียกว่า “สมาร์ทแอนด์อีโคซิตี้” ระหว่างเขตหลวงน้ำทาและจังหวัดอุดมไชยและมีการคาดการณ์จะสร้างเม็ดเงินและสร้างงานให้กับสปป.ลาวได้อีกมากและจะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/special-economic-zones-attract-us57-b-113321

ระบบชำระภาษีอิเล็กทรอนิกส์ถูกติดตั้งบริเวณพรหมแดนสปป.ลาว

การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ทั้งในด้านการจัดการสำหรับยานพาหนะการท่องเที่ยวและรถบรรทุกขนสินค้าระหว่างพรหมแดน  โดยมีการติดตั้งระบบชำระเงิน QR Code ที่สะพานมิตรภาพลาว – ​​ไทยทั้ง 4 แห่ง โดยวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและยังเป็นการช่วยป้องกันการรั่วไหลของการเงินอีกด้วย นอกจากนี้ด้านการค้าและการท่องเที่ยวแพลตฟอร์มดังกล่าวจะช่วยลดความซับซ้อนของขั้นตอนให้น้อยลงเพื่อความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นปัจจัยบวกที่จะช่วยส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยวของสปป.ในบริเวรพรหมแดนต่างๆ

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/electronic-tax-payment-system-installed-bokeo-friendship-bridge-113258