เมียนมาส่งออกมูลค่า 0.5 ล้านเหรียญสหรัฐไปยังจีนหลังไวรัสโคโรน่าระบาด

ก่อนหน้านี้เมียนมานำเข้าสินค้ามูลค่าประมาณ 20 ดอลลาร์สหรัฐไปยังจีนในทุกวันก่อนการระบาดของไวรัสโคโรน่า (covid-19) แต่ปัจจุบันสามารถส่งออกสินค้าได้เพียงประมาณ 0.5 ล้านชิ้นเท่านั้น แม้ว่าเมียนมาจะไม่สามารถส่งออกสินค้าไปยังจีน ซึ่งเมียนมาต้องหาตลาดใหม่ๆ ทั้งในและต่างประเทศ สินค้าบางรายการไม่สามารถหาตลาดใหม่ในประเทศอื่นในเวลาอันสั้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่เน่าหรือเสียหายได้ง่าย ปัจจุบันเมียนมากำลังติดตามสถานการณ์ไวรัสโคโรน่าอย่างใกล้ชิด ซึ่งไม่รู้ว่าจะต้องใช้เวลาอีกนานเท่าใด ในระหว่างนี้เมียนมาต้องหาตลาดใหม่ๆ ให้ได้ ปัจจุบันเมียนมาส่งออกสินค้าไปไทยอย่างสม่ำเสมอและมีข่าวว่าจีนจะเปิดศูนย์การค้าชายแดนอีกครั้งในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-exports-only-us05-m-worth-of-products-to-china-after-covid-19

Grab ตั้งเป้า 4 ปี ทำรายได้ 100 ล้านดอลลลาร์สหรัฐในเมียนมา

ช่วง 4 ปีที่ผ่านมาบริษัท Grab-sharing ได้ลงทุนมากกว่า 100 ล้านดอลลลาร์สหรัฐ (143.5 พันล้านจัต) เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับตลาดรถแท็กซี่ในท้องถิ่น ซึ่ง Grab จะลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ Grab เปิดตัวบริการในเมียนมาในปี 60 และได้เปิดตัว Grab Call Service, Premium Rentals (Beat) และ Grab Food Grab for Business เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในปี 62 และจุดหมายปลายทางยอดนิยมคือ เมียนมาพลาซ่า, ห้าง Junction City และสนามบินย่างกุ้ง GrabFood จะเปิดตัวให้บริการสำหรับร้านอาหารในท้องถิ่นและพันธมิตรการขนส่งที่มัณฑะเลย์ในปีนี้ Grab For Good จะเปิดตัวในพม่าในไม่ช้า ในปี 61 Grab ได้เปิดตัว Grab Thone Bane (สามล้อ) และ Taxi TaxiPlus ในเมืองพุกามและมัณฑะเลย์ ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการมากกว่า 166 ล้านคนใน 339 เมือง ในเมียนมา, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์, ไทย, กัมพูชา, มาเลเซีย, สิงคโปร์และอินโดนีเซีย ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถดาวน์โหลดแอพ Grab ไว้บนโทรศัพท์มือถือได้ทันที

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/grab-says-it-pumped-100m-myanmar-four-years.html

การส่งออกเพิ่มแม้เงินจัตแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

เงินจัตของเมียนมาแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์และราคาซื้อขายอยู่ที่ 1465 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่เดือนพฤศจิกายน 62 ยังอยู่ที่ 1500 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐ สำหรับช่วงสี่เดือนแรกของปีงบประมาณ 62-63 ซึ่งอยู่ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 62 จนถึงขณะนี้ปริมาณการส่งออกสูงถึง 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นมากกว่า 28% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อน การนำเข้าในช่วงเวลาเดียวกันมีมูลค่าทั้งสิ้น 6.3 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเพิ่มขึ้นเพียง 19% ต่อปี นำไปสู่ขาดดุลการค้าประมาณ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณปัจจุบันเทียบกับ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน การส่งออกที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นผลมาจากความต้องการสินค้า เช่น เสื้อผ้า สินค้าเกษตร และแร่ธาตุ เนื่องจากการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมาถึงและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกทำให้นักลงทุนต่างชาติมีความระมัดระวังมากขึ้น กระทรวงพาณิชย์ (MOC) คาดว่าการส่งออกทั้งหมดในปีนี้จะสูงถึง 15.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้าจะถึง 17.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ 63-68 สิ่งสำคัญลำดับแรก ได้แก่ การแปรรูปเกษตร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มส่วนประกอบไฟฟ้า การประมง ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ เทคโนโลยีสารสนเทศ บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ ข้อมูลการค้า นวัตกรรมและผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/exports-rise-even-kyat-strengthens-against-us-dollar.html

CBM อาจลดดอกเบี้ยหากมีความจำเป็น

ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) อาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นหากมีความเป็น อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันคือ 10% ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากขั้นต่ำตั้งไว้ที่ 8% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุดที่ 13% เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียนอื่น ๆ อัตราดอกเบี้ยในเมียนมาจะสูงกว่านี้มาก ขณะที่ สส.บางส่วนเห็นว่าควรลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อให้สินเชื่อในธุรกิจท้องถิ่นมีเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้นซึ่งจะเอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจและสามารถแข่งขันได้ทั้งในและต่างประเทศ ในขณะที่นโยบายอัตราดอกเบี้ยช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาด้านการเงินแล้ว แต่เมียนมายังไม่ถึงขั้นนั้น ก่อนหน้านี้ในช่วงการประชุมสภาผู้แทนราษฎรแห่งเมียนมา (Hluttaw) CBM จะไม่ลดอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันเพราะอยู่ในอัตราที่เหมาะสมแล้ว

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/cbm-set-reduce-interest-rates-if-needed.html

สิ้นปี 62 CPI เมียนมาพุ่งขึ้นเป็น 161.72%

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ 161.72% เพิ่มขึ้น 9.45% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วตามรายงานของสำนักงานสถิติกลางแห่งเมียนมา (CSO) พบว่ากลุ่มอาหารพุ่งขึ้น 174.13% กลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มอาหาร 144.26% ดัชนีราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มัณฑะเลย์เพิ่มสูงสุดถึง 15.38% ส่วนยะไข่เพิ่มต่ำสุดที่ 3.16% โดยอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 8.81% และอัตราเงินเฟ้อปีต่อปีเท่ากับ 9.45%

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/cpi-hits-16172-pc-in-late-december

ความพยายามของรัฐบาลเมียนมาในการจัดการสิ่งแวดล้อม

ธุรกิจจำนวนมากที่รัฐบาลให้ส่งแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMP) เดือนมกราคม 61 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (MONREC) ได้ประกาศให้แก่ธุรกิจในเก้าภาคเพื่อส่งกระทรวง ในเดือนกรกฎาคม 62 กระทรวงออกประกาศอีกครั้งเกี่ยวกับข้อกำหนด แต่ให้ขยายเวลาหกเดือนเพื่อให้ธุรกิจสามารถวางแผน ข้อกำหนดมีไว้สำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผลิตแอลกอฮอล์ ไวน์ และเบียร์ อาหารและเครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์ของสารกำจัดศัตรูพืช ปูนซีเมนต์ สิ่งทอและการย้อมสี การหลอมโลหะและการกลั่นและการผลิตเหล็ก เหล็กดิบและโลหะผสมต่ำ การฟอกและตกแต่งหนัง โรงงานผลิตเยื่อและกระดาษ และการผลิตน้ำตาล กระทรวงประกาศว่าจะดำเนินการกับธุรกิจที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของ EMP ภายใต้กฎหมายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govts-efforts-environmental-management-making-progress-official.html

อนุมัติวงเงิน 50 ล้านยูโรสำหรับโครงการพลังงานจากขยะในย่างกุ้ง

รัฐสภาแห่งเมียนมา ได้อนุมัติเงินกู้ยืมจำนวน 50 ล้านยูโรจากโปแลนด์เพื่อใช้สำหรับโครงการพลังงานขยะในย่างกุ้ง ในระหว่างการประชุมเมื่อวันที่ 31 มกราคมด้วยคะแนนเสียง 534 เสียงต่อ 12 เสียง โครงการจะดำเนินการที่หลุมฝังกลบ Hteinpin ในเมือง Hlaing Tharyar เมืองย่างกุ้งและคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 65 โดยจะถูกผลิตเป็นก๊าซธรรมชาติอัด (CNG), คาร์บอนไดออกไซด์, เชื้อเพลิงที่ได้จากขยะ (RDF) และปุ๋ยหมัก CNG ที่ผลิตได้ 30 ตันต่อวันจะถูกขายให้กับรถยนต์ โดยจะมีการเจรจากับธุรกิจ เช่น โรงงานทำอิฐ และสำหรับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ  ตัวอย่างเช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เหลวประมาณ 40 ตันจะขายให้กับผู้ผลิตน้ำอัดลมและห้องเย็นสำหรับเนื้อสัตว์และผักในทุกๆ วัน มีระยะเวลาชำระหนี้ 62 ปี ระยะเวลาผ่อนผัน 5 ปีอัตราดอกเบี้ย 0.1% ต่อปี รายรับคาดว่าจะมีอย่างน้อย 1,750 ล้านจัต หรือประมาณ 950,000 ยูโร ซึ่งสามารถชำระเงินคืนการกู้ยืมได้แน่นอน ขยะจาก 33 เมืองในย่างกุ้งอยู่ระหว่าง 2,300 ถึง 2,500 ตันต่อวัน ขยะอุตสาหกรรมอีก 150 ตัน และขยะทางการแพทย์ 2.4 ตัน ทั้งหมดถูกส่งไปยัง Hteinpin ทุกวัน ส่วนการเจรจาอื่น ๆ กำลังดำเนินการสำหรับโครงการนำร่องกับกลุ่ม Right Right Group จากประเทศเยอรมนีเพื่อผลิตพลังงานจากขยะ 120 ตัน และการแปรรูปขยะ 380 ตันโดยความร่วมมือกับเกาหลีใต้ จากการศึกษาในสี่ปีข้างหน้าย่างกุ้งจะไม่มีที่ว่างในหลุมฝังกลบขยะอีกต่อไป

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/approval-given-eu50-million-loan-waste-energy-project-yangon.html

ผลผู้ชนะการประมูลโครงการทางหลวงย่างกุ้งจะรู้ผลเร็วๆ นี้

กระทรวงการก่อสร้างจะประกาศผลผู้ชนะการประมูลในช่วงแรกของโครงการทางด่วนยกระดับย่างกุ้ง (YEX) ในเดือนพฤษภาคมนี้ กระทรวงได้กำหนดให้ข้อเสนอ (RFP) ขั้นที่ 1 ของ YEX ในฐานะหุ้นส่วนภาครัฐ (PPP) ถึง 10 ราย โดยกำหนดเวลาส่งการเสนอราคาภายในวันที่ 31 มีนาคม 63 ระยะที่หนึ่งของโครงการ YEX ซึ่งเป็นโครงการขนส่งแรกที่ได้รับการพัฒนาภายใต้โครงการ PPP ซึ่งมีความสำคัญสำหรับรัฐบาล การก่อสร้างคาดว่าจะใช้เวลาประมาณสามปีครึ่ง โดยจะสร้างถนนยกระดับสี่เลนระยะทาง 47.5 กิโลเมตรซึ่งเชื่อมโยงตอนใต้ของย่างกุ้งรวมถึงท่าเรือย่างกุ้งและเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาล่า ทางทิศเหนือเป็นสนามบินนานาชาติย่างกุ้ง นิคมอุตสาหกรรมมิงกะลาดอน สวนสาธารณะและทางด่วนย่างกุ้ง – มันดาเลย์ การประมูลระยะที่สองคาดจะเริ่มปลายปีนี้ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรในกรุงย่างกุ้งและปรับปรุงการเชื่อมต่อสำหรับธุรกิจและชุมชนในศูนย์กลางการค้าของประเทศ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/winning-bidder-yangon-highway-project-be-announced-soon-ministry.html

ข้อเสนอการนำเข้าตาลของกรีกเป็นผลดีสำหรับเมียนมา

สมาคมอ้อยน้ำตาลของเมียนมาเผย กรีซเสนอซื้อน้ำตาลจากเมียนมาที่ราคา fob อยู่ที่ 400 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน/เดือน  ปัจจุบันราคาน้ำตาลปรับตัวลดลงเนื่องจากอุทานส่วนเกินล้นตลาด คลังสินค้าได้รับความเสียหายจากปีก่อนจึงทำให้คุณภาพลดลง นี่เป็นครั้งแรกที่กรีซนำเข้าน้ำตาลเนื่องจากอนุญาตให้นำเข้าและส่งออกและกลับมาเพิ่มปริมาณการค้าในปี 2558 ในอดีตส่วนใหญ่ส่งออกไปจีนเป็นหลัก อย่างไรก็ตามเพื่อควบคุมการส่งออกที่ผิดกฎหมาย จึงจำกัดการนำเข้าน้ำตาลจากเมียนมาและห้ามนำเข้าทั้งหมดในเดือนกันยายน 60 ปัจจุบันมีชาวไร่อ้อยเกือบ 500,000 คน ซึ่งป้อนให้กับโรงงานน้ำตาล 23 แห่งในประเทศ เกษตรกรยังขอให้รัฐบาลจำกัด การนำเข้าน้ำตาลที่ล้นตลาด ปกติแล้วอ้อยจะผลิตและแปรรูปในเดือนพฤศจิกายน แต่โรงงานน้ำตาลในพื้นที่ก็เริ่มหีบอ้อยในเดือนธันวาคมของปีนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/greek-offer-myanmar-sugar-draws-interest.html

ฝรั่งเศสมีแผนเพิ่มการลงทุนในเมียนมา

จากรายงานของสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมของเมียนมา (UMFCCI) ภายหลังจากหยุดการลงทุนไปแปดปี ฝรั่งเศสเตรียมขยายการลงทุนที่มีอยู่และกำลังเริ่มลงทุนในเมียนมาด้านต่าง ๆ เช่น พลังงาน ทางรถไฟ ท่าเรือและอื่น ๆ ทั้งนี้กำลังพูดคุยเกี่ยวกับการจับคู่ธุรกิจฝรั่งเศส – เมียนมา นำโดยสภาธุรกิจฝรั่งเศส – เมียนมา ในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ซึ่งจัดขึ้นโดย UMFCCI ธุรกิจของฝรั่งเศสมีความกระตือรือร้นที่จะหาพันธมิตรเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศ แม้เมียนมากำลังเผชิญปัญหาภายในแต่ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่น ๆ ยังคงต้องพัฒนาต่อไป โดยนักธุรกิจฝรั่งเศสมีความสนใจลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาล่า จากข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) ฝรั่งเศสเป็นคู่ค้าอันดับที่เก้าจากคู่ค้า 50 อันดับแรกของเมียนมาและในปีที่แล้วมีปริมาณการค้าระหว่างประเทศ 551 ล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่ปี 1988 ถึง 2011 ฝรั่งเศสลงทุนในเมียนมาไปแล้ว 469 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/france-keen-invest-more-myanmar-says-official.html