เวียดนามส่งออกข้าวไปยังแอฟริกา ‘เป็นที่น่าพอใจ’

การส่งออกข้าวของเวียดนามไปยังตลาดแอฟริกา มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้ โดยเฉพาะประเทศแอลจีเรียและเซเนกัลที่คาดว่าจะบริโภคข้าวเวียดนามเพิ่มสูงขึ้นอีก ส่วนใหญ่นิยมบริโภคข้าวหัก ทั้งนี้ จากรายงานของสำนักงานการค้าในแอลจีเรีย ระบุว่าตลาดแอฟริกามีความต้องการบริโภคข้าวอยู่ในระดับสูง เป็นผลมาจากแรงงานชาวเอเชียที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ว่าอุปสรรคจากการนำเข้าข้าวของแอฟริกาส่วนใหญ่เป็นปัญหาทางด้านการผลิตในท้องถิ่น รวมถึงผลผลิตที่ไม่เพียงพอ, ภัยธรรมชาติ, ความล้มเหลวทางการเมืองและโรคระบาด เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันข้าวเวียดนามเผชิญกับการแข่งขันจากคู่แข่งในตลาดแอฟริกา ได้แก่ อินเดีย, ไทย, ปากีสถาน, ทาจิกิสถาน, อุรุกวัยและจีน นอกจากนี้ ในปี 2562 เวียดนามส่งออกข้าวไปยังเซเนกัล อยู่ที่ 96,000 ตัน ติดเป็นมูลค่า 32.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ในง่ของปริมาณ และเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าในแง่ของมูลค่า

ที่มา : https://vnexplorer.net/vietnam-enjoys-boost-in-rice-exports-to-africa-a202091956.html

กัมพูชามีแผนเปิดประตูชายแดนกับเวียดนามอีกแห่ง

กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง (MPWT) ระบุว่ากำลังดำเนินเปิดประตูชายแดนอีกแห่งกับเวียดนาม เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งตู้สินค้าข้ามพรมแดนระหว่างสองประเทศ ทั้งนี้ เมื่อเร็วๆนี้ จากการประชุมระหว่างภาครัฐกับเอกชน กัมพูชาและญี่ปุ่น คุณ Nou Savath เลขาธิการกระทรวง กล่าวว่ากระทรวงโยธาธิการและขนส่ง มีแผนที่จะนำคณะทำงานรัฐมนตรี ทำการตรวจสอบประตูชายแดนอีกแห่งกับเวียดนาม สำหรับการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ เนื่องจากประตูชายแดน ‘Bavet-Moc Bai’ คับคั่งอย่างมาก อีกทั้ง กัมพูชากำลังพิจารณาที่จะเปิดประตูชายแดนอีกแห่ง ‘Prey Vor-Binh Hiep’ เพื่อลดขั้นตอนการดำเนินงานของศุลกากรและสถาบันที่เกี่ยวข้อง และลดความแออัดของชายแดน Bavet

ที่มา : https://english.cambodiadaily.com/business/cambodia-plans-another-intl-border-gate-with-vietnam-168978/

บั๊กนิญดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ 119 โครงการ ในช่วงเดือนม.ค.-สิ.ค.

สำนักงานสถิติประจำจังหวัด ระบุว่าจังหวัดบั๊กนิญ (ภาคเหนือ) มีโครงการลงทุนใหม่จากต่างชาติ 119 โครงการ ด้วยทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 334.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติและในประเทศ ทางจ.บั๊กนิญ ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ ที่ประกอบไปด้วยการใช้ที่ดินน้อย, แรงงานจำนวนน้อย, อัตราการลงทุนที่อยู่ในระดับสูง, งบประมาณและเทคโนโลยีขั้นสูง ทั้งนี้ ในจำนวน 1,331 โครงการ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมและแปรรูป คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 83 ของยอดลงทุนทั้งหมด มาจากเกาหลีใต้ 1,205 โครงการ ตามมาด้วยจีน 112 โครงการและญี่ปุ่น 86 โครงการ นอกจากนั้น กลไกการให้สิทธิพิเศษและนโยบายของรัฐ ทำให้ทางจังหวัดดังกล่าวเสนอความคิดริเริ่ม เพื่อส่งเสริมการลงทุนในเขตอุตสาหกรรมและการลงทุน ณ ที่เดียว ผ่านการทำธุรกิจขนาดใหญ่ ได้แก่ ซัมซุง แคนนอนและฟ็อกซ์คอนน์

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/772036/bac-ninh-attracts-119-foreign-invested-projects-in-january-august.html

ราคาส่งออกข้าวของเวียดนาม แตะระดับสูงสุดในรอบ 9 ปี

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการส่งออกข้าวแตะ 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทางฝั่งปริมาณส่งออกข้าวรวมอยู่ที่ 4.5 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ ราคาข้าวหักของเวียดนามสูงถึง 480-490 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน นับว่าสูงสุดตั้งแต่ปลายปี 2554 ขณะที่ ราคาข้าวจากอินเดียและไทย อยู่ที่ 383-389 และ 480-500 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ตามลำดับ นอกจากนี้ สำนักข่าวเวียดนามอ้างอิงจากคุณเหงียน วัน ด่อง ผู้อำนวยการ บริษัท Viet Hung rice milling, Processing and Trading Company กล่าวว่าสาเหตุที่ราคาส่งออกข้าวเวียดนามอยู่ในระดับสูงขึ้น เนื่องจากค่าเงินบาทไทยแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ไทยเสียเปรียบการส่งออก อีกปัจจัยหนึ่ง คือ คุณภาพข้าวของเวียดนามที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ที่มา : http://dtinews.vn/en/news/018/69811/vietnam-s-rice-export-prices-hit-nine-year-high.html

เวียดนามเผยยอดค้าปลีกและบริการลดลง ในเดือน สิ.ค.

เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เพิ่งประกาศสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในเดือนสิงหาคม พบว่ายอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการรวม อยู่ที่ 442,900 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน เนื่องจากพบการระบาดใหม่ที่ดานัง อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับปีที่แล้ว ยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 หากจำแนกพบว่ารายได้จากการท่องเที่ยวลดลงมากที่สุด ร้อยละ 62 ด้วยมูลค่า 974 พันล้านด่อง รองลงมารายได้จากที่พักอาศัย ลดลงร้อยละ 15 ในขณะที่ รายได้จากค้าปลีกลดลงเพียงร้อยละ 0.2 ยิ่งไปกว่านั้น รายได้จากบริการอื่นๆ ลดลงร้อยละ 4.5 ด้วยมูลค่ามากกว่า 46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ อยู่ที่ 3.22 ล้านด่อง ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เมืองไฮฟอง (Hai Phong) เป็นเมืองที่มียอดค้าปลีกสูงที่สุดเมื่อเทียบกับปี 2562 รองลงมาฮานอย ด่งนายและโฮจิมินห์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8, 9.4 และ 8.3 ตามลำดับ ขณะที่ ดานังและคั้ญฮหว่า มียอดค้าปลีกลดลงร้อยละ 5-6 นอกจากนี้ รายได้จากการท่องเที่ยวในช่วง 8 เดือน อยู่ที่ประมาณ 13,100 พันล้านด่อง ลดลงร้อยละ 54.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุมาจากเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้นโยบายการท่องเที่ยวในประเทศไม่ได้ดำเนินมาใช้ รวมถึงนักท่องเที่ยวยกเลิกทริปทัวร์และงานเทศกาลอีกหลายแห่ง

ที่มา : https://vnexplorer.net/retail-sales-of-consumer-goods-and-services-decreased-in-august-a202088640.html

‘PetroVietnam’ ผลิตน้ำมันได้กว่า 7.76 ล้านตัน ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้

กลุ่มบริษัทน้ำมันและก๊าซเวียดนาม หรือ ปิโตรเวียดนาม (PetroVietnam) ระบุว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ปริมาณการผลิตน้ำมันอยู่ที่ 7.76 ล้านตัน สูงกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 8.2 โดยทางบริษัทสามารถผลิตกระแสไฟฟ้ามากกว่า 14 พันกิโลวัตต์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 96.9 ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ และผลิตปุ๋ยไนโตรเจนได้ราว 1.2 ล้านตัน สูงกว่าที่ตั้งเปาไว้ร้อยละ 4.8 อีกทั้ง ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบและเบนซิน มากกว่า 8.2 ล้านตัน ส่วนใหญ่มาจากโรงกลั่นน้ำมัน Dung Quat ทั้งนี้ ในเดือนสิงหาคม บริษัทขายน้ำมันดิบอยู่ที่ 47.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล สูงกว่าราคาในเดือนก่อนประมาณ 2.3 ดอลลลาร์สหรัฐ แต่ราคาดังกล่าวยังคงต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ทั้งปีที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ รายได้รวมของบริษัทสูงถึง 372 ล้านล้านด่อง (16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) นอกจากนี้ บริษัทจะดำเนินการแก้ไขปัญหาให้รอบด้าน เพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในช่วงการดำเนินงานในหลายๆเดือนที่เหลืออยู่ของปีนี้ โดยมุ่งเน่นในการบริหารต้นทุนการผลิตและการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/petrovietnam-exploits-776-million-tonnes-of-oil-equivalent-in-eight-months-418106.vov

พาณิชย์จับมือผู้ส่งออกข้าวถก BERNAS ดันข้าว กข79 บุกตลาดมาเลเซีย

กรมการค้าต่างประเทศ ร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยหารือหน่วยงานกำกับดูแลการนำเข้าข้าวของรัฐบาลมาเลเซีย (BERNAS) กระชับความสัมพันธ์ทางการค้า เปิดตัวข้าวขาวพื้นนุ่ม กข 79 หวังเรียกคืนส่วนแบ่งตลาดข้าวไทยในมาเลเซีย นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 กรมการค้าต่างประเทศได้ประชุมผ่านระบบ Video Conference ร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และหน่วยงานกำกับดูแลการนำเข้าข้าวของมาเลเซีย (Padiberas Nasional Berhad : BERNAS) เพื่อกระชับความสัมพันธ์และหารือเกี่ยวกับสถานการณ์การผลิตและการค้าข้าวในปี 2563 การประชุมในครั้งนี้ BERNAS แจ้งว่าภายในปี 2563 คาดการณ์ว่าอาจนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นถึง 1 ล้านตัน จากปกตินำเข้าประมาณ 8 แสนตัน เนื่องจากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มาเลเซียหันไปนำเข้าข้าวจากประเทศคู่แข่งของไทยมากขึ้น แม้ว่าคุณภาพจะด้อยกว่าข้าวไทย แต่ด้วยราคาข้าวไทยปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง โดยปัจจุบันมาเลเซียนำเข้าข้าวจากจากเวียดนาม ปากีสถาน เมียนมา ไทย และอินเดีย ตามลำดับ นอกจากนี้ กรมฯ ได้แจ้งให้ BERNAS ทราบว่าไทยอยู่ระหว่างการจัดทำยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563 – 2567 โดยไทยจะเน้นหลักการ “การตลาดนำการผลิต” เพื่อให้ไทยมีสินค้าข้าวที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศได้มากขึ้น ทั้งนี้ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยได้นำเสนอข้าว กข 79 ซึ่งเป็นข้าวขาวสายพันธุ์ใหม่ของไทย ทั้งสองฝ่ายยังได้แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์การค้าข้าวในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยฝ่ายมาเลเซียแจ้งว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ที่มีการแพร่ระบาดของโรคฯ ผู้บริโภคในมาเลเซียมีการซื้อข้าวเพิ่มขึ้นแต่เป็นข้าวที่มีราคาต่ำ สะท้อนให้เห็นถึงภาวะ Panic Buying ของผู้บริโภคภายในประเทศ อย่างไรก็ดี ภาวการณ์ดังกล่าวได้กลับเป็นปกติแล้วตั้งแต่ช่วงมิถุนายนที่ผ่านมา โดยในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ได้มีการหารือผ่านระบบ Video Conference กับสมาคมผู้นำเข้าข้าวของฮ่องกง ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี สำหรับการส่งออกข้าวไทยตั้งแต่เดือนมกราคม – กรกฎาคม 2563 ส่งออกข้าวไปแล้ว ปริมาณ 3.30 ล้านตัน มูลค่า 69,469 ล้านบาท ทั้งนี้ ส่งออกไปมาเลเซีย ปริมาณ 66,007 ตัน มูลค่า 990 ล้านบาท

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-515295

“VT แหนมเนือง คอมมิวนิตี้” อุดร รุกตั้ง “ศูนย์แสดงสินค้าเวียดนาม” แห่งแรก

กว่า 1 ปีที่ “บริษัท วีที แหนมเนือง จํากัด” ผู้ประกอบการธุรกิจแหนมเนืองรายใหญ่ จังหวัดอุดรธานี ได้ทุ่มทุน 600 ล้านบาท ผุด “วีที คอมมิวนิตี้” ขึ้นบนพื้นที่ 19 ไร่ ริมถนนมิตรภาพอุดรธานี-ขอนแก่น โดยหวังให้เป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของภาคอีสาน เพื่อรองรับบริการกรุ๊ปทัวร์ พร้อมห้องประชุม สัมมนา และรองรับการจัดอีเวนต์ทุกรูปแบบ แต่หลังการเปิดได้เพียง 1 ปีเศษ ต้องเผชิญกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้แผนงานต่าง ๆ ที่วางไว้ต้องชะลอไปชั่วคราว ทั้งนี้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ หลังโควิด-19 ในประเทศไทยคลี่คลาย “ทอง กุลธัญวัฒน์” ผู้บริหารวีที แหนมเนือง คอมมิวนิตี้มอลล์ ได้รุกขึ้นมา “เปิดศูนย์การแสดงสินค้าเวียดนาม” แห่งแรกในประเทศไทย นอกจากนี้ “ทางนายกรัฐมนตรี ประเทศเวียดนาม ได้ร่วมกับสมาพันธ์นักธุรกิจเวียดนามต่างประเทศ ดำเนินโครงการเชิญชวนชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ต่างประเทศร่วมกันแนะนำบริโภคสินค้า และพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าเวียดนามที่ต่างประเทศ ในช่วงระยะเวลาปี 2020-2024 จึงได้จัดตั้งศูนย์แสดงสินค้าเวียดนามในประเทศไทย ด้วยความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกจากกงสุลใหญ่เวียดนามประจำจังหวัดขอนแก่น

ที่มา : https://www.prachachat.net/local-economy/news-514302

‘ไทย อินโดนีเซีย’ เป็นผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ของเวียดนาม ในเดือน ก.ค.

กรมศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าไทยและอินโดนีเซีย ยังคงเป็นผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ในตลาดเวียดนาม ด้วยสัดส่วนรวมกันร้อยละ 76 ของยอดนำเข้ารวม โดยในเดือน มิ.ย. เวียดนามนำเข้ารถยนต์จากไทยและอินโดนีเซีย อยู่ที่ 3,552 คัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 67 ของยอดนำเข้ารวมของเวียดนาม (97.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทั้งนี้ ในเดือน ก.ค. เวียดนามนำเข้ารถยนต์ 4,761 คัน เป็นมูลค่าราว 108 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในแง่ของปริมาณ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว และในแง่ของมูลค่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว ซึ่งจากตัวเลขทั้งหมดนั้น จำนวนรถยนต์ที่นำเข้าจากไทยอยู่ที่ 2,324 คัน (48.8% ของยอดนำเข้ารวม) อีกทั้ง ราคารถยนต์เฉลี่ยจากไทยอยู่ที่ 16,308 ดอลลาร์สหรัฐต่อคัน ในขณะที่ รถยนต์ที่นำเข้าจากอินโดนีเซีย มีราคาเฉลี่ยต่ำกว่า 10,900 ดอลลาร์สหรัฐต่อคัน ในเดือน ก.ค. นอกจากนี้ เวียดนามนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่อยู่ที่ 347 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่มาจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไทยและจีน

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20200901/thailand-indonesia-stand-as-vietnams-major-auto-exporters-in-july/56499.html

การส่งออกกุ้งของเวียดนามไปเกาหลีใต้ ยังคงเติบโตได้ดี

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) ระบุว่าเวียดนามได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้ากุ้งในตลาดเกาหลีใต้ (เกาหลีใต้ ไม่เกิน 15,000 ตันต่อปี) เนื่องจากข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สาธารณรัฐเกาหลี (VKFTA) ขณะที่ เวียดนามมีปริมาณขนส่งได้เพียง 2,500 ตัน ด้วยเหตุนี้ จึงใช้ประโยชน์ดังกล่าว เพื่อให้ผู้ส่งออกกุ้งได้ปรับปรุง/พัฒนาคุณภาพและปฏิบัติตามขั้นตอนของเกาหลีใต้ ที่จะผ่านมาตรการทางเทคนิคต่อการค้า ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ การส่งออกกุ้งของเวียดนามไปเกาหลีใต้ มีการเติบโตในทิศทางที่เป็นบวก และคาดว่าจะเติบโตถึงร้อยละ 5 ในปี 2563 ในขณะที่ ไม่กี่ปีที่ผ่านมา เวียดนามเป็นผู้จัดหากุ้งรายใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 52 ของยอดนำเข้ารวมของประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-shrimp-export-to-rok-sees-positive-growth/182210.vnp