เวียดนามเผยส่งออกเหล็กฉุดรุนแรง รับพิษโควิด-19

สมาคมเหล็กเวียดนาม (VSA) คาดว่าอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศจะยังได้รับผลกระทบหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สิ้นสุดลงไป เนื่องจากยอดส่งออกเหล็กไปยังตลาดต่างประเทศลดลงอย่างรุนแรง ซึ่งการลดลงข้างต้น ส่วนใหญ่มาจากการผลิตอุตสาหกรรมที่หลากหลายขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์เหล็ก ได้แก่ กิจกรรมการก่อสร้าง รถยนต์ รถจักรยานยนต์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ยังไม่ฟื้นตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการผลิตเหล็กสำเร็จรูปที่มีทุกประเภท ในช่วง 4 เดือนของปีนี้ มีปริมาณการผลิต 7.5 ล้านตัน ในขณะที่ การบริโภคเหล็ก 6.75 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 8.4 และ 13.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ ส่งผลให้ยอดส่งออกเหล็กดิ่งลงร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับปีก่อน คิดเป็นปริมาณ 1.28 ล้านตัน  ทั้งนี้ ทางสมาคมฯ คาดการณ์ส่งออกกลับมาเป็นบวกในไตรมาสสอง เมื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของตลาดในประเทศได้ นอกจากนี้ ยังมีการนำมาตรการ/นโยบายของภาครัฐ เพื่อส่งเสริมตลาดให้กลับมาฟื้นตัวเร็วที่สุด

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/steel-exports-suffer-severe-drops-due-to-covid19-413868.vov

ส่องภาคเกษตรในฮานอย ส่งสัญญาฟื้นตัวหลังโควิด-19

ภาคเกษตรกรรมในเมืองฮานอย เผชิญกับความยากลำบากจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ต้องปรับโครงสร้างใหม่และหันไปเพาะปลูกพันธุ์พืชใหม่ ผู้อำนวยการสำนักเกษตรและพัฒนาชนบท กล่าวว่าในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ การเติบโตของภาคเกษตรลดลงร้อยละ 1.17 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกา สำหรับปริมาณสุกรมีเพียง 1.1 ล้านตัว ลดลงร้อยละ 31.25 เมื่อเทียบกับปีก่อน พืชฤดูหนาวลดลงร้อยละ 10 อย่างไรก็ตาม ผลผลิตประมงอยู่ที่ 27,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.25 ในขณะเดียวกัน จำนวนสัตว์ปีกรวมอยู่ที่ 33.5 ล้านตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.54 ทั้งนี้ เลขาธิการคณะกรรมการพรรคฯ เรียกร้องให้จำนวนฝูงผสมพันธุ์สุกร เพิ่มขึ้นแตะอยู่ที่ 1.8 ล้านตัว เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของดัชนี CPI และยังได้เสนอแนวทางในการผลิตอุตสาหกรรมและไม่ใช้ที่ดินเพาะปลูก เพื่อดึงดูดความต้องการอาหาร อีกทั้ง ประเด็นการใช้กลไกเครื่องจักรในการผลิตและการออกนโยบาย เพื่อปรับปรุงการใช้ที่ดินทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/hanois-agriculture-sector-looks-to-grow-postcovid19/173482.vnp

เวียดนามเผยมูลค่านำเข้ากว่า 78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ช่วง 4 เดือนแรกปีนี้

สำนักงานศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามมีมูลค่าการนำเข้ารวมอยู่ที่ 78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.3 โดยจีนยังคงเป็นตลาดนำเข้าสำคัญ ขณะที่ ปริมาณการค้าระหว่างประเทศ ชี้ให้เห็นว่าเอเชียเป็นตลาดเศรษฐกิจและการค้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่าการค้าสูงถึง 103.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าจะลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65.2 ของการส่งออกและนำเข้ารวม ทั้งนี้ สินค้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ ซึ่งในปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าของกลุ่มสินค้าดังกล่าว ประมาณ 17.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะเดียวกัน สินค้าโภคภัณฑ์ที่เผชิญกับความยากลำบาก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ดิ่งลงร้อยละ 41.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ดี เกาหลีใต้ยังคงเป็นผู้นำเข้าคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม รองลงมา จีน ไต้หวันและสหรัฐฯ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/hanoi-retail-space-rentals-down-30-due-to-covid19-413778.vov

เวียดนามนำเข้าตุ๊กตาล้มลุกจากรัสเซีย มูลค่ากว่า 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

บริษัท Au Viet My Import-Export Trading Company เปิดเผยว่ายอดนำเข้าตุ๊กตาล้มลุกจากรัสเซีย ด้วยมูลค่าอยู่ที่ 100 ล้านรูเบิลรัสเซีย (ประมาณ 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยตกลงสัญญากับบริษัทสัญชาติรัสเซีย Kotovsky Tumblers นับว่าเป็นการทำสัญญาส่งออกครั้งแรกที่เกี่ยวกับสินค้าอย่างตุ๊กตารัสเซียแบบดั้งเดิมไปยังตลาดเวียดนาม ทั้งนี้ สำนักข่าวรัสเซีย ‘Interfax’ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าว คุณ Dmitry Fedorov ผู้อำนวยการทั่วไปบริษัทฯ กล่าวว่าข้อตกลงดังกล่าวจะดำเนินการออกเป็นช่วงๆ และทำจนเสร็จในเดือนมิ.ย.2564 ซึ่งเฟสแรกจะส่งตุ๊กตาล้มลุก 308 ตัว ไปยังเวียดนามในเดือนหน้า นอกจากนี้ ความร่วมมือทางการค้าระหว่างรัสเซียและเวียดนาม ยังคงดำเนินต่อไป แม้ว่าอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยธุรกิจเวียดนามส่วนใหญ่กำลังมองหาซัพพลายเออร์ชาวรัสเซียในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงอาหาร กระดาษ โลหะและปิโตรเคมี

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/russia-to-ship-tumblers-worth-over-13-million-usd-to-vietnam-413785.vov

‘กรุงฮานอย’ ค่าเช่าพื้นที่ค้าปลีกลดลง 30% เหตุโควิด-19

เวียดนามดูเหมือนว่าสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แล้ว และธุรกิจเริ่มหันมาดำเนินต่อไป แต่ว่าสถานการณ์ของตลาดค้าปลีกในกรุงฮานอยกลับดิ่งลงฮวบ โดยค่าเช่าพื้นที่ปรับลดร้อยละ 20-30 สำหรับธุรกิจที่ลำบากในช่วงการแพร่ระบาดไวรัส ส่งผลให้ร้านค้าส่วนใหญ่ต้องปิดตัวลงและหาทางโอนหรือคืนร้านค้าที่เช่ามา ทั้งนี้ คุณ Pham Danh Tung เจ้าของร้านค้าแฟชั่นแห่งหนึ่ง กล่าวว่าจำนวนลูกค้าและรายได้ลดลงหนักมาก ประกอบกับอัตราค่าเช่าอยู่ในระดับสูง ทำให้ธุรกิจต้องหยุดชั่วคราวและหันไปเป็นเจ้าของบ้านเช่า ในขณะเดียวกัน จากผลการสำรวจของบริษัทที่ให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ ‘CBRE’ ระบุว่าผู้เช่าพื้นที่ค้าปลีกส่วนใหญ่ร้อยละ 43 คาดรายได้ลดลงร้อยละ 10-30 ในปีนี้ และร้อยละ 27 หวังว่าจะได้รับการส่งเสริมจากผู้ปล่อยเช่าพื้นที่ค้าปลีก เนื่องจากได้รับผลกระทบทางลบจากไวรัสดังกล่าว นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ ระบุว่าเทรนด์การช็อปปิ้งออนไลน์เพิ่มขึ้น เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การธุรกิจค้าปลีกได้รับความนิยมน้อยลง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/hanoi-retail-space-rentals-down-30-due-to-covid19-413778.vov

INFOGRAPHIC : เวียดนามเผย 4 เดือนแรกปี 2563 เกินดุลการค้า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) รายงานว่า มูลค่าการส่งออกของเวียดนามแตะระดับ 82.94 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 79.89 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทำให้คาดว่าเวียดนามมียอดเกินดุลการค้าสูงถึง 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2563 ทั้งนี้ สินค้าสำคัญของเวียดนาม ได้แก่

  • โทรศัพท์และชิ้นส่วน
  • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ
  • เครื่องนุ่งห่ม
  • เครื่องจักรและชิ้นส่วนประกอบ
  • รองเท้า

ที่มา : General Statistics Office (GSO)

เวียดนามเล็งส่งออกผักผลไม้สดไปยัง ‘ไทย’

สมาคมพืชผักและผลไม้เวียดนาม (VinaFruit) เปิดเผยว่าดำเนินการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ไทยและแอฟริกา โดยได้รับสัญญาเชิงบวกเมื่อปีที่แล้ว มูลค่าส่งออกผักและผลไม้ของเวียดนามไปยังไทย อยู่ที่ 74.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ นาย Dang Phuc Nguyen เลขาธิการของสมาคมฯ เสนอให้กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเจรจากับกระทรวงเกษตรของไทย เพื่อสร้างความสมดุลทางการค้าแก่ผักผลไม้ เนื่องจากเวียดนามขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง และให้คำแนะนำว่าธุรกิจเวียดนามควรศึกษาตลาดเจาะลึกมากขึ้น ในขณะที่ มองหากลุ่มลูกค้าและขยายเครือข่ายทางการค้า ทั้งนี้ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ชี้ให้เห็นว่าไทยเป็นผู้นำเข้าสินค้าเกษตรรายใหญ่ที่สุด โดยเฉพาะผักผลไม้สดจากเวียดนาม นอกจากนี้ การจัดแสดงสินค้าในไทยประจำปี จะช่วยให้ธุรกิจเวียดนามสามารถศึกษาความต้องการของตลาดและลูกค้าในท้องถิ่นได้

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-seeks-to-export-fresh-fruits-vegetables-to-thailand/173292.vnp

จ.บั๊กซาง ติดอันดับที่ 9 เป็นแหล่งดึงดูดเงินทุน FDI

จังหวัดทางตอนเหนือ ‘บั๊กซาง’ อยู่ในอันดับที่ 9 ของจังหวัดที่เป็นแหล่งดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ คุณ Nguyen Cuong รองผู้อำนวยการสำนักวางแผนและการลงทุน กล่าวว่าจังหวัดบั๊กซาง มีโครงการลงทุน FDI ที่ได้รับการอนุมัติใหม่ 13 โครงการ ด้วยมูลค่าทุนจดทะเบียนรวมกว่า 229 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ยังมีโครงการลงทุน FDI ที่มีอยู่ 12 โครงการ ได้ปรับเพิ่มเงินทุนรวมกันมากกว่า 209 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 แต่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IIP) จ.บั๊กซาง ในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 อย่างไรก็ตาม นับว่าเป็นอัตราการเติบโตต่ำที่สุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ การบริหารราชการส่วนภูมิภาคจะดำเนินแก้ปัญหากับความยากลำบากของภาคธุรกิจ อาทิ การผลิตและการดำเนินทางธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเข้าถึงสินเชื่อและปัญหาทางด้านภาษี การค้า รวมถึงการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/bac-giang-ranks-ninth-in-fdi-attraction/173320.vnp

ธุรกิจฮานอยกว่า 4,000 ราย ระงับการดำเนินงานชั่วคราว เหตุโควิด-19

ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ผู้ประกอบการลงทะเบียนเพื่อหยุดการดำเนินงานจำนวน 4,240 ราย เนื่องจากผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 พุ่งสูงขึ้นร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขผู้ว่างงานที่ยื่นขอประกันจำนวนมากกว่า 13,200 ราย ถึงอย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์มวลรวมในภูมิภาค (GRDP) ขยายตัวร้อยละ 3.72 ซึ่งเป็นการเติบโตในอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้หลายธุรกิจต้องชะลอการผลิตหรือหยุดการดำเนินงานชั่วคราว ทั้งนี้ เพื่อขจัดอุปสรรคในการทำธุรกิจ ต้องร่วมกันส่งเสริมการผลิตและกิจกรรมทางธุรกิจ ประกอบกับเมืองหลวงต้องหาแนวทางในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย เพื่อจะบรรเทาจากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/over-4000-hanoi-businesses-suspend-operations-due-to-covid19-413664.vov

ยอดขายรถยนต์เวียดนาม เม.ย. ดิ่งลง 40%

จากรายงานของสมาคมผู้ผลิตรถยนต์เวียดนาม (VAMA) เปิดเผยว่าในเดือนเมษายน มียอดขายรถยนต์รวม 11,700 คัน ลดลงร้อยละ 39 เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค. หากจำแนกประเภทรถยนต์ พบว่ายอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจำนวนมากกว่า 7,700 คัน ลดลงร้อยละ 40 ในขณะเดียวกัน ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์จำนวน 3,600 คัน และยอดขายยานพาหนะวัตถุประสงค์พิเศษจำนวน 313 คัน ลดลงร้อยละ 36, 16 ตามลำดับ ในช่วงเวลาเดียวกัน ยอดขายรถยนต์ที่ประกอบในประเทศจำนวน 7,400 คัน ลดลงร้อยละ 38 ในขณะเดียวกัน ปริมาณนำเข้ารถยนต์จำนวน 4,361 คัน ลดลงร้อยละ 40 ทั้งนี้ ข้อมูลจากสมาคมฯ และ TC Motor – ตัวแทนของบริษัท Hyundai Thanh Cong ซึ่งไม่ใช่สมาคมของ VAMA กล่าวว่าโตโยต้า (Toyota) ยังคงเป็นแบรนด์รถยนต์ที่ขายดีที่สุดในเวียดนาม รองลงมา TC Motor, Mazda, Kia, Mitsubishi, Honda และ Ford ตามลำดับ นอกจากนี้ ตลาดรถยนต์ในประเทศ คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวในเดือนพ.ค. หากสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/april-auto-sales-down-nearly-40-vs-march-413642.vov