‘H&M’ เร่งสอบโรงงานในเมียนมา หลังเผชิญแรงกดดัน

เอช แอนด์ เอ็ม (H&M) แบรนด์สินค้าแฟชั่นชั้นนำของสวีเดน และผู้ค้าปลีกสินค้าแฟชั่นรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรายงานว่ากำลังตรวจสอบ 20 รายที่ถูกละเมิดสิทธิแรงงานในโรงงานผลิตเสื้อผ้าในเมียนมา โดยกลุ่มรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชนในอังกฤษ และศูนย์ธุรกิจกับทรัพยากรสิทธิมนุษยชน (BHRRC) ได้ติดตามคดีละเมิดสิทธิแรงงานในโรงงานผลิตเสื้อผ้าในเมียนมา ตั้งแต่เดือน ก.พ. 2565 – ก.พ. 2566 ทั้งหมดอยู่ที่ 156 ราย เพิ่มขึ้นจาก 56 รายในปีที่แล้ว แสดงให้เห็นถึงการลดทอนของสิทธิแรงงานในเมียนมาตั้งแต่มีการรัฐประหารในเดือน ก.พ. 2564 โดยเฉพาะข้อกล่าวหาการลดค่าจ้างและการโกงค่าจ้างที่รายงานมากที่สุด รองลงมาการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมและการถูกบังคับให้ทำงานล่วงเวลา

ที่มา : https://www.todayonline.com/world/hm-probes-alleged-myanmar-factory-abuses-pressure-intensifies-2234581

‘เมียนมา’ ส่งออกข้าวพุ่ง หลังอินเดียห้ามส่งออก

นายเยมินอ่อง ประธานสมาพันธ์ผู้ค้าข้าวเมียนมา เปิดเผยว่าผลผลิตข้าวหรืออุปทานข้าวทั่วโลกที่ตึงตัว มีส่วนช่วยการส่งออกข้าวในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟื้นตัวดีขึ้น และจะผลักดันให้เป้าหมายการส่งออกข้าวของเมียนมาทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เมียนมาส่งออกข้าวในเดือน เม.ย.-ก.ค. อยู่ที่ราว 320,000 ตัน ทำรายได้จากการส่งออกข้าว 138 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากรัฐบาลให้ความสำคัญกับคุณภาพสูงของข้าว แต่เมื่อเดือนที่ผ่านมา อินเดียได้ระงับการส่งออกข้าว เพื่อควบคุมราคาข้าวในประเทศ ก่อนจะถึงการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในต้นปีหน้า ทำให้ราคาข้าวของคู่แข่งในภูมิภาค อาทิเช่น ข้าวไทยและเวียดนามปรับตัวสูงขึ้น และคาดว่าเมียนมาจะส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ที่มา : https://economictimes.indiatimes.com/small-biz/trade/exports/insights/myanmar-eyes-surge-in-rice-exports-after-india-curbs-supply/articleshow/102758953.cms

‘ค้าชายแดนจีน-เมียนมา’ ช่วง 4 เดือน ยอดพุ่งเติบโต 60%

จากข้อมูลสถิติของกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าตัวเลขการค้าชายแดนเมียนมา-จีน ในช่วง 4 เดือนของปีงบประมาณ 2566-2567 มีมูลค่าพุ่งสูงถึง 1.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้น 59.63% หรือราว 517.059 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ เมียนมามีความเชื่อมโยงกับจีนผ่านด่านชายแดนสำคัญ ได้แก่ ด่านเมืองมูเซะ (Muse), ลวยเจ (Lweje), ชีงชเวห่อ (Chin Shwe Haw), กัมปะติ (Kampaiti) และ เชียงตุง (Kengtung) โดยเฉพาะด่านชายแดนมูเซะที่มีมูลค่าการค้าชายแดนที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาชายแดนของเมียนมา-จีน อยู่ที่ 884,997 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ การค้าระหว่างประเทศจีนและเมียนมาในปัจจุบันยังคงทำการค้าด้วยกันอย่างต่อเนื่อง โดยมีรถบรรทุกขนส่งประมาณ 200 คันที่เข้าและออกจากเขตการค้ามูเซะ (Muse Trade Zone)

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sino-myanmar-border-trade-surges-by-60-in-last-4-months/#article-title

‘เมียนมา-เวียดนาม’ ตั้งเป้าขยายความร่วมมือทางการค้าและการลงทุน

นาย U Kyaw Soe Win เอกอัครราชทูตเมียนมาประจำประเทศเวียดนาม หารือกับนาย Chu Cong Phung ประธานสมาคมมิตรภาพเวียดนาม-เมียนมา ร่วมกันหารือในประเด็นของการเพิ่มมูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศ และภาคส่วนต่างๆ เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ในช่วงการประชุม ประธานสมาคมฯ ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการขยายการลงทุนและการค้าในเมียนมา รวมถึงยังหารือในด้านความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ และเล่าถึงความยากลำบากของธุรกิจเวียดนามในปัจจุบัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-viet-nam-aim-to-increase-collaborations-in-trade-and-investment-sectors/#article-title

‘เมียนมา’ เผยราคาข้าวในประเทศพุ่ง

ศูนย์ค้าส่งข้าวเมียนมา (วาดัน) รายงานว่าราคาพันธุ์ข้าว ปอว์ ซาน (Pawsan) เกรดพรีเมี่ยม ปรับตัวเพิ่มขึ้น 135,000 จ๊าตต่อกระสอบ เนื่องจากความตื่นตระหนกของชาวเมียนมาที่แห่ซื้อข้าว ภายหลังจากที่ธนาคารกลางเมียนมาออกธนบัตรใหม่ที่มีมูลค่า 20,000 จ๊าต ในวันที่ 31 ก.ค. 2566 ส่งผลให้ราคาข้าวพุ่งสูงขึ้น ไม่เพียงแต่ราคาพันธุ์ข้าว ปอว์ ซาน ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ข้าวพันธุ์อื่นๆ ในตลาดก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาข้าว ทางสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) ร่วมมือกับบริษัทส่งออกและโครงการอื่นๆ เมื่อวันที่ 7 ส.ค. ในการกำหนดการขายข้าวและราคาข้าว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/surge-in-prices-detected-in-domestic-rice-market/#article-title

‘MAEX’ ทำสถิติการซื้อขายสูงสุดในตลาดหุ้นเมียนมา

บริษัทเกษตรเมียนมา (Myanmar Agro Exchange Public Limited : MAEX) จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2566 และมีมูลค่าการซื้อขายสูงสุดในบรรดาบริษัทจดทะเบียน 8 แห่งในตลาดหลักทรัพย์ย่างกุ้ง (YSX) ในเดือนก.ค. โดยราคาพื้นฐานของบริษัท MAEX อยู่ที่ 1,800 จ๊าตต่อหน่วย ราคาเคลื่อนไหวอยู่ที่ระหว่าง 1,550-2,050 จ๊าตต่อหน่วย และจากรายงานประจำเดือนของตลาดหลักทรัพย์ พบว่าตลาดหุ้นมีแนวโน้มที่จะเป็นขาขึ้น ด้วยมูลค่าการซื้อขายรวม 2,068 พันล้านจ๊าตในเดือน ก.ค. นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งเมียนมา (SECM) ได้อนุญาตให้ชาวต่างชาติสามารถลงทุนในตลาดหุ้นในประเทศได้ ตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค. 2563 เป็นต้นไป โดยการมีส่วนร่วมของนักลงทุนต่างชาติจะทำให้ปริมาณเงินไหลเข้ามากขึ้น และเป็นการลงทุนระยะยาวและมีความยั่งยืน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mrf-to-sell-off-170000-rice-sacks-under-subsidy-scheme/#article-title

‘เมียนมา’ เตรียมขายข้าว 170,000 กระสอบ ภายใต้โครงการเงินอุดหนุน

สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) แจ้งเมื่อวันที่ 7 ส.ค. ว่าจะขายข้าว 170,000 กระสอบในเดือน ส.ค. รวมถึงข้าวพันธุ์ ปอว์ซาน (Paw San) 20,000 กระสอบ และข้าวพันธุ์ Aemahta 50,000 กระสอบ และข้าวสุกเมล็ดสั้นพันธุ์ Aemahta (90 วัน) 100,000 กระสอบ และสหพันธ์ฯ จะเพิ่มโควตาการขาย หากมีความจำเป็น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mrf-to-sell-off-170000-rice-sacks-under-subsidy-scheme/#article-title

‘เมียนมา’ เผยราคาหัวหอมในตลาดย่างกุ้ง พุ่ง 2,400 จ๊าตต่อวิสส์

The Global New Light of Myanmar สำนักข่าวท้องถิ่นเมียนมา รายงานว่าเมื่อวันที่ 5 ส.ค. ราคาหัวหอมพุ่งแตะ 2,400 จ๊าตต่อวิสส์ นับเป็นครั้งแรกในปีนี้ของตลาดย่างกุ้ง ด้วยจำนวนหัวหอม 90,000 หัวต่อวิสส์ ราคาหัวหอมจะอยู่ที่ราว 1,800-2,400 จ๊าตต่อวิสส์ ทั้งนี้ เมียนมาได้ตั้งเป้าที่จะส่งออกหัวหอม 1 แสนตันในปีงบประมาณ 2566-2567 รวมไปถึงมีแผนที่จะส่งออกหัวหอมกว่า 20,000 ตัน และ 35,000 ตันในไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/onion-price-rises-to-k2400-per-viss-in-yangon-market/

‘เมียนมา’ เผยส่งออกถั่วพัลส์ 4 เดือน พุ่ง 430 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่าเมียนมาส่งออกถั่วพัลส์ไปยังต่างประเทศมากกว่า 550,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าราว 430 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 4 เดือนของปีงบประมาณ 2566-2567 โดยการส่งออกของเมียนมาส่วนใหญ่ผ่านทางทะเล มูลค่า 362.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือปริมาณ 462,894 ตัน ในขณะที่ส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านผ่านพรมแดน อยู่ที่ 77.07 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือปริมาณ 88,907 ตัน ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา ได้แก่ ถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวและถั่วแระ ส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะตลาดอินเดีย จีนและยุโรป นอกจากนี้ จากข้อมูลทางสถิติของกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่าการส่งออกถั่วพัลส์ของเมียนมาทะลุเกินกว่า 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2565-2566

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-pulses-exports-surge-garnering-us430-mln-over-four-months/#article-title

‘เมียนมา’ เผยราคาน้ำตาลพุ่ง 3,400 จ๊าตต่อวิสส์

ธนาคารกลางเมียนมา (CBM) เปิดเผยว่าหลังจากการออกธนบัตรใหม่ 20,000 จ๊าต ที่มีผลต่อความเชื่อเรื่องความเสี่ยงของภาวะเงินเฟ้อ และสต็อกน้ำตาลที่อยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ราคาน้ำตาลพุ่ง 3,400 จ๊าตต่อวิสส์ ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ที่ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น พบว่ามีบริษัทหลายแห่งวางแผนการเพาะปลูก 200,000 จ๊าตต่อเอเคอร์ สำหรับการเพาะปลูกอ้อยใหม่ในปี 2566-2567 นอกจากนี้ อูวินเท (U Win Htay) รองประธานสมาคมผลิตภัณฑ์น้ำตาลและอ้อยของเมียนมา กล่าวว่าการผลิตน้ำตาลของเมียนมา อยู่ที่ประมาณ 450,000 ตันต่อปี และส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีนและเวียดนาม แต่ว่าในปัจจุบันส่งออกไปยังเวียดนามเท่านั้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/local-sugar-price-surges-to-k3400-per-viss/#article-title