ความต้องการบริโภคถั่วลูกไก่ในประเทศสูงขึ้น หนุนราคาพุ่ง

ความต้องการบริโภคถั่วลูกไก่ในประเทศยังพุ่งสูงต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตจากเมืองต่างๆ ในเขตมัณฑะเลย์ เช่น เจาะแซ (Kyaukse) , ปะเตนจี้ (Patheingyi), มะตะยา (Madaya), สิ่นกู้ (Singu) และมาขากเขตซะไกง์ เช่น เมืองมยี่นมู (Myinmu) และเมือง โมนยวา (Monywa) ได้ทะลักเข้าสู่ตลาดมัณฑะเลย์เป็นอย่างมากส่งผลให้ราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างน่าตกใจอยู่ที่ 116,000 จัตต่อถุง (ประมาณสามตะกร้า) เมื่อเทียบกับปีก่อนอยู่ที่เพียง 80,000 จัตต่อถุง ชาวเมียนมาส่วนใหญ่ชอบบริโภคเพราะมีสารอาหารและรสชาติที่อร่อยเข้มข้น ทั้งยังกระตุ้นให้โรงงานผลิตและแปรรูปในมัณฑะเลย์เปิดดำเนินการ สร้างโอกาสในการทำงานให้กับผู้คนในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีพ่อค้าจากอินเดียก็ที่เข้ามารับซื้ออีกด้วย อีกทั้งผลผลิตในปีนี้ค่อนข้างสูงเนื่องจากสภาพอากาศที่ดีและถั่วนั้นปลอดจากศัตรูพืช คาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปี 2564 ถั่วลูกไก่มีการเพาะปลูกหลักในภูมิภาคตอนบนของเมียนมาและพบได้ในภูมิภาคตอนล่างของเขตพะโค ที่นิยมปลูกกันทั่วไป คือ พันธุ์ V2, V7 และ 927

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/high-domestic-consumption-hikes-up-chickpea-prices/

ยอดขายรถจักรยานยนต์ฮอนด้า ‘เวียดนาม’ พุ่ง แต่ยอดขายรถยนต์เดือน ม.ค. ดิ่งลง

ยอดขายรถจักรยานยนต์ของบริษัทฮอนด้า เวียดนาม ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.3% ในเดือนมกราคม ขณะที่ยอดขายรถยนต์ลดลง 12.1% จากเดือนก่อน นับว่าทำยอดขายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น 4 เดือนติดต่อกัน ท่ามกลางรูปแบบการใช้ชีวิตแบบ “New Normal” ทั้งนี้ Honda Wave Alpha เป็นรุ่นขายดีที่สุด ด้วยยอดจำหน่ายอยู่ที่ 43,860 คัน คิดเป็น 16.6% ของยอดขายรถจักรยานยนต์ฮอนด้าเวียดนามรวมทั้งหมด ในขณะที่ Honda Vision เป็นรถสกู๊ตเตอร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเวียดนาม มียอดขาย 63,136 คัน หรือ 23.6% นอกจากนี้ ฮอนด้าซิตี้ ครองอันดับหนึ่งในตลาดรถยนต์แบรนด์ฮอนด้าในตลาดเวียดนาม ด้วยยอดขาย 1,745 คัน คิดเป็น 46.3% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/honda-vietnams-motorcycle-sales-up-auto-sales-down-in-january/222377.vnp

 

‘เวียดนาม’ เผยเดือน ม.ค. ไปลงทุนในต่างประเทศพุ่งทะยาน

ตามรายงานของกระทรวงวางแผนและการลงทุน เปิดเผยว่ากิจการในประเทศก้าวไปลงทุนในต่างประเทศ เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 36.9 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนมกราคม เพิ่มขึ้น 11.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในช่วงเวลาดังกล่าว บริษัทที่ได้รับอนุญาตลงทุนมีจำนวน 15 โครงการ คิดเป็นมูลค่าราว 44.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 14 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ เงินลงทุนส่วนใหญ่เข้าไปยังภาคการเหมืองแร่มากที่สุด ด้วยมูลค่า 35.54 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาภาคการเงินและการธนาคาร 9.19 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ สปป.ลาวเป็นประเทศที่ได้รับเงินลงทุนจากเวียดนามมากที่สุด คิดเป็น 25% ของการลงทุนในต่างประเทศของเวียดนามทั้งหมด รองลงมาสหรัฐฯ จีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวด้านเศรษฐกิจ ระบุว่าถึงแม้จะมีการแพร่ระบาดของโรค COVD-19 แต่การลงทุนในต่างประเทศของเวียดนามมีแนวโน้มสูงขึ้น มีส่วนช่วยยกระดับสถานะของผู้ประกอบการเวียดนามในบริบทที่กว้างขึ้นของการบูรณาการทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-overseas-investment-soars-in-january-post925507.vov

 

กัมพูชา-ญี่ปุ่น จัดการเจรจาค้นหาโอกาสด้านการลงทุน

คณะผู้แทนระดับรัฐมนตรีและนักธุรกิจระดับทวิภาคีจากทั้งญี่ปุ่นและกัมพูชาได้จัดประชุมเมื่อต้นเดือน ก.พ. ณ สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) เพื่อเปิดมุมมองใหม่สำหรับนักลงทุนชาวญี่ปุ่นในการลงทุน ในกัมพูชา ถือเป็นแรงผลักดันสำคัญในการขยายการลงทุนและเป็นส่วนในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางด้านธุรกิจในกัมพูชา โดยในการประชุมได้พูดถึงภายใต้กรอบความตกลงระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่น ว่าด้วยการเปิดเสรี การส่งเสริม และการคุ้มครองการลงทุน ซึ่งลงนามโดยนายกรัฐมนตรีฮุน เซน และอดีตนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น เมื่อ 14 ม.ย. 2007 ที่ผ่านมา โดยได้ยกหัวข้อขึ้นมาอภิปราย ได้แก่ ผลประโยชน์ทางภาษี การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ระบบการขนส่งโลจิสติกส์ ลดอัตราค่าไฟฟ้า และการนำเข้ารถยนต์โดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมด้านการลงทุนในกัมพูชา ซึ่งในเดือน ม.ค. เพียงเดือนเดียว สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ได้อนุมัติและจดทะเบียนโครงการลงทุน 147 โครงการ ของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ด้วยเงินลงทุนรวมประมาณ 2.9 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501028593/cambodia-and-japan-hold-high-level-talks-to-explore-investment-opportunities/

เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำกัมพูชา ให้คำมั่นส่งเสริมการลงทุนในกัมพูชา

Sok Chenda Sophea รัฐมนตรีผู้แทนนายกรัฐมนตรี เลขาธิการสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) และ Masahiro MIKAMI เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำกัมพูชา เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมกัมพูชา ครั้งที่ 23 เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ณ สภาพัฒนากัมพูชา โดยการประชุมในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลไกในการรักษาระดับการลงทุน ซึ่งรัฐมนตรีผู้แทนนายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำถึงกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา โดยเพิ่งได้รับการอนุมัติและประกาศใช้เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2021 ซึ่งได้กลายเป็นพื้นฐานทางกฎหมายด้านการลงทุนสำหรับกัมพูชา ในการดึงดูดการลงทุนและช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501028646/the-japanese-ambassador-to-cambodia-committed-to-continue-efforts-to-promote-japanese-fdi-inflow-into-cambodia/

จับตาคลังชงครม.ปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ทั้งระบบ เช็กวาระด้านเศรษฐกิจที่นี่!

วันที่ 22 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (22 ก.พ.) โดยมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม โดยกระทรวงพาณิชย์ จะเสนอ ครม.พิจารณาเห็นชอบการดำเนินการตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2564-2565 โดยกำหนดราคาเป้าหมายเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา น้ำมัน 18% กิโลกรัมละ 4 บาท ณ หน้าโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ระยะดำเนินการ ก.ย. 2564-ส.ค. 2565 ขณะเดียวกันยังต้องจับตาการพิจารณาเรื่องอื่นๆ หลังจากมีกระแสข่าวกระทรวงการคลังจะเสนอ ครม.พิจารณาเรื่องการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ทั้งระบบ ทั้งนี้ ตามหลักการของการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ครั้งนี้จะเน้นไปที่ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หากปล่อยจำนวนมากก็ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น.

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/787211/

การรถไฟลาว-จีน เปิดให้บริการรถไฟเพิ่มเติม

บริษัทรถไฟสปป.ลาว-จีน ได้ประกาศว่าจะดำเนินการรถไฟความเร็วที่ช้ากว่านอกเหนือจากรถไฟ EMU ความเร็วสูงสองขบวนที่มีอยู่แล้ว เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้โดยสาร รถไฟเพิ่มเติมซึ่งจะวิ่งด้วยความเร็ว 120 กม. ต่อชั่วโมง และจุผู้โดยสารได้กว่า 1,000 คน ขนส่งสินค้าได้กว่า 157,568 ตัน โดยมีกำหนดจะเริ่มให้บริการในเดือนหน้า การ ณ วันที่ 13 เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้บริษัทวางแผนที่จะเพิ่มบริการในวันหยุดสุดสัปดาห์ เนื่องจากมักจะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นในวันเสาร์และวันอาทิตย์ อีกทั้งหากยังไม่เพียงพอ จะมีการเชื่อมต่อรถไฟ EMU สองขบวนที่มีอยู่ให้เป็นหนึ่งเดียว และเพิ่มความจุผู้โดยสารเป็นสองเท่าเป็น 1,400 ผู้โดยสารต่อเที่ยว

 

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laochina_35_22.php

สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ชี้‘ศก.เวียดนาม’ สดใส ปี 65 ขยายตัว 6.7%

สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (SCB) ระบุว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโต 6.7% ในปีนี้ และ 7.0% ในปี 2565 นายเอ็ดเวิร์ด ลี หัวหน้าฝ่ายวิจัยอาเซียน ของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด คาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ จะขยายตัว 4.4% ซึ่งถือเป็นการเติบโตที่ชะลอตัวจากในปี 2564 ที่เศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ 5.8% สาเหตุสำคัญมาจากนโยบายการเงินและการคลังที่เข็มงวด ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกหยุดชะงักและเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นาย Ben Hung ประธานกรรมการบริหารธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ประจำเอเชีย กล่าวว่าเวียดนามเป็นตลาดสำคัญขององค์กรในภูมิภาคเอเชียและมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนทางการเงินให้เวียดนาม ตลอดจนการให้ความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวของรัฐบาลจะช่วยให้นักธุรกิจมีความมั่นใจเข้าไปการลงทุนในระยะยาว

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1156427/vns-economy-to-grow-at-67-per-cent-in-2022-standard-chartered.html

 

‘เวียดนาม’ เผยสินค้าส่งออกคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แตะ 60 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ตามรายงานทางสถิติของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในปี 2564 การส่งออกคอมพิวเตอร์ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ มีมูลค่า 50.82 พันล้านเหรียญสหรัฐ อยู่ในอันดับที่ 2 ของกลุ่มสินค้าส่งออกสำคัญ หรือคิดเป็น 15% ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งประเทศ ผลของการส่งออกข้างต้นเกินกว่าที่กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าคาดการณ์ไว้เมื่อช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้ว เนื่องจากปัญหาการขนส่งสินค้าไปยังตลาดสำคัญ โดยตลาดสหรัฐฯ ยังเป็นผู้นำเข้าสินค้ากลุ่มนี้รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วน 25% ของการส่งออกรวม รองลงมาจีน ฮ่องกง สหภาพยุโรปและเกาหลีใต้ ตามลำดับ อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยังคงเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง สาเหตุมาจากความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อการติดต่อสื่อสาร รวมถึงวิธีการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปจากผลกระทบของมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของเวียดนามที่มีการเติบโตของการส่งออกอยู่ในระดับสูง ส่วนใหญ่แล้วมาจากบริษัทเทคโนโลยีข้ามชาติที่เป็นผู้นำในกลุ่มห่วงโซ่มูลค่าโลกและการย้ายฐานการผลิตออกจากจีน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/computer-electronic-product-exports-could-soon-reach-60-billion-usd/222319.vnp

 

เมียนมาส่งออกข้าวโพดหมัก 51 ตันไปยังจีน

เมื่อวันที่ 18 ก.พ.2565 สถานเอกอัครราชทูตจีนในย่างกุ้งเปิดเผบว่า เมียนมาส่งออกข้าวโพดหมักสำหรับเป็นอาหารเลี้ยงวัวจำนวน 51 ตันไปยังจีน ผ่านด่านชายแดนชินฉ่วยฮ่อ (Chinshwehaw)  นอกจากนี้ กระทรวงเกษตร ปศุสัตว์และการชลประทานของเมียนมา และสำนักงานบริหารทั่วไปของการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบ และการกักกันของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ลงนามร่วมกับข้อตกลงมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) เมื่อวันที่ 31 ม.ค.2565 เพื่อส่งออกอย่างถูกกฎหมาย นาย U Min Khaing ประธานสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมา (MCIA) เปิดเผยว่า เมียนมาตั้งเป้าส่งออกข้าวโพดราว 2 ล้านตันในปีงบประมาณ 2564-2565 โดยส่งออกไปยังไทยผ่านชายแดนเมียวดี ในขณะที่การส่งออกทางทะเลจะส่งออกไปยังไปยังฟิลิปปินส์ อินเดีย เวียดนาม ลาว และสิงคโปร์ นอกจากนี้ ราคาข้าวโพดในปีนี้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาร์ส่งออกข้าวโพดประมาณ 2.3 ล้านตัน ไทยเป็นประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุด รองลงมาคือ จีน อินเดีย และเวียดนาม

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-51-tonnes-of-silage-corn-to-china/#article-title