4 เดือนของปีงบประมาณย่อย เมียนมามีรายได้จากการส่งออกถั่วพัลส์ 390.895 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปริมาณส่งออก 486,413 ล้านตัน

กระทรวงพาณิชย์ เมียนมามีรายได้ 390.895 ล้านดอลลาร์จากการส่งออกถั่วต่างๆ กว่า 486,413 ล้านตันผ่านเส้นทางทางทะเลและชายแดน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. ถึง 28 ม.ค. ในช่วงปีงบประมาณย่อย 2564-2565 แบ่งเป็นการส่งออกทางทะเล 453,684.109 ตัน มีมูลค่า 361.919 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ผ่านชายแดน 32,729.362 ตัน มีมูลค่า 28.976 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2562-2563 เมียนมามีรายได้กว่า 1.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกถั่ว ซึ่งการส่งออกมูลค่ากว่า 374 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกถั่วและเมล็ดพืชทั้งทางทะเลและชายแดน เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.64 เมียนมาและอินเดียจับมือทำข้อตกลงบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) ในการส่งออกถั่วพัลส์ของเมียนมารวม 350,000 ตัน แบ่งเป็นถั่วดำ 250,000 ตันและถั่วแระ 100,000 ตันไปอินเดีย เป็นระยะเวลา 5 ปี (ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564-2565 ถึงปี 2568-2569) .ซึ่งส่วนใหญ่แล้วถั่วเขียวและถั่วแระจะส่งออกไปยังอินเดียเป็นหลัก ส่วนถั่วเขียวผิวมันจะส่งออกไปยังจีนและบางประเทศในสหภาพยุโรป

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-390-895-mln-from-over-486413-mln-tonne-pulses-export-in-nearly-4-months-of-mini-budget-year/

ชายแดน Kyinsankyawt รถขนส่งแตงโมไปจีน ประมาณ 100 คันต่อวัน

จากข้อมูลของคลังเก็บสินค้าข้าวด่านมูเซ ระบุ เมียนมาส่งรถบรรทุกแตงโมจำนวน 100 คันไปยังจีนในทุกๆ วันปัจจุบัน เมียนมาส่งสินค้าจำนวน 140 คันไปยังจีนทุกวันผ่านด่านชายแดน Kyinsankyawt รวมถึงรถบรรทุก 100 คันที่บรรทุกแตงโมและรถบรรทุก 40 คันบรรทุกข้าว ข้าวหัก เมล็ดพืช ยางพารา พลัมแห้ง และสินค้าอาหารอื่นๆ ส่วนการส่งออกแตงโมนั้นผู้ค้าต้องจ่ายค่าขนส่งประมาณ 30,000 หยวนซึ่งค่าขนส่งที่สูงเนื่องจากแตงโมเป็นผลไม้ที่เน่าเสียง่าย ส่งผลให้จำนวนคนขับรถบรรทุกลดลงเพราะแบกรับต้นทุนไม่ไหว เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ COVID-19 ส่วนการผ่านชายแดน Kyinsankyawt จะอนุญาติให้ขนส่งสินค้าช่วงระยะทางสั้นๆ เท่านั้น จึงทำให้ราคาบริการขนส่งสินค้าระยะใกล้พุ่งสูงเกินจริง อยู่ที่ 10 ล้านจัตต่อราคาขนส่งรถบรรทุกหนึ่งคัน ในขณะที่ก่อนหน้านี้ราคาอยู่ที่เพียง 700,000-800,000 จัต ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกข้าวและข้าวหักจึงลดลงจาก 60,000 ถุงเหลือ 10,000 ถุงต่อวัน ทั้งนี้จีนปิดจุดผ่านแดนที่เชื่อมกับชายแดนมูเซในช่วงที่ COVID-19 ระบาด ส่วนด่าน Kyinsankyawt ได้กลับมาซื้อขายอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย.64 โดยเริ่มส่งออกยาง ถั่วและพัลส์ต่างๆ พลัมแห้ง แตงโม แตงไทย และสินค้าอาหารอื่นๆ ไปยังจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/approximately-100-watermelon-truckloads-daily-delivered-to-china/

บริษัท รถไฟลาว-จีน จำกัด (LCRC) ขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา

บริษัท รถไฟลาว-จีน จำกัด (LCRC) ได้สรุปปัญหาต่างๆ ที่รัฐบาลจำเป็นต้องแก้ไขเกี่ยวกับการดำเนินงานรถไฟ โดยประเด็นดังกล่าวกำลังถูกหยิบยกขึ้นมาในระหว่างการเยือนของรองนายกรัฐมนตรี ดร.โซนเซย์ สิปันโดน หนึ่งในปัญหาที่สำคัญคือความจำเป็นในการเร่งการอนุมัติการนำเข้าสินค้าปลอดภาษีที่ LCRC ต้องการ นอกจากนี้ บริษัทยังได้ขอให้ธนาคารแห่ง สปป. ลาวจัดให้มีการขายตั๋วรถไฟ ค่าขนส่ง และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่ชำระเป็นสกุลเงินต่างประเทศให้เป็นไปตามอัตราแลกเปลี่ยนของตลาด นับตั้งแต่รถไฟเปิดให้บริการเมื่อต้นเดือนธันวาคม ผู้คนมากกว่า 113,800 ได้เดินทางโดยรถไฟ ในแต่ละวันมีผู้เดินทางอย่างน้อย 1,700 คน ในขณะที่บางวันมีจำนวนเกิน 2,800 คน สร้างรายได้มากกว่า 12 ล้านหยวน หรือเท่ากับ 21 พันล้านกีบ นอกจากนี้ทางรถไฟยังมีการขนส่งสินค้ามากกว่า 139,000 ตัน สร้างรายได้มากกว่า 48 ล้านหยวน (86 พันล้านกีบ)

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Rail28.php

สกุลเงินดอลลาร์ยังคงมีบทบาทสำคัญในกัมพูชา

แม้ว่าภาคธุรกิจจะยอมรับการชำระหรือการทำธุรกรรมด้วยสกุลเงินดอลลาร์และเรียล แต่ทางการกัมพูชาก็เน้นย้ำในการสนับสนุนให้ใช้สกุลเงินท้องถิ่นหรือสกุลเงินเรียลเพิ่มมากขึ้น สำหรับใช้จ่ายในท้องถิ่น ด้านSaravanan Ragupathy ผู้เชี่ยวชาญด้าน Core Banking ของ Chip Mong Bank Ragupathy กล่าวว่ากัมพูชาเป็นประเทศที่มีสกุลเงิน 2 ระบบ โดยทั่วไปแล้วสกุลเงินดอลลาร์จะถูกใช้เป็นสกุลเงินหลัก ซึ่งในระยะยาวอาจจะส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจในแง่ของเงินเฟ้อ ซึ่ง Kang Wai เจ้าของธุรกิจ Bliss Cafe ในกัมพูชา กล่าวว่า เขาเองก็สะดวกที่จะรับเงินดอลลาร์มากกว่าสกุลเงินเรียล ด้วยเหตุผลที่ว่ามูลค่าของผลิตภัณฑ์และบริการ สะท้อนด้วยสกุลเงินดอลลาร์ง่ายกว่า รวมถึงเป็นที่ยอมรับในระดับสากลเมื่อเทียบกับสกุลเรียล ในด้านการดำเนินธุรกิจอาจมีต้นทุนในการแปลงสกุลเงินจากเรียลไปเป็นสกุลเงินอื่นเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องทำการคำนวณเพื่อให้ได้มูลค่าที่แท้จริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักธุรกิจต่างชาติ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501021539/dollar-is-lovable-but-use-more-riel-when-it-comes-to-local-products/

GDT กัมพูชา เตรียมสกัดกั้นการทำธุรกรรมของบริษัทที่ไม่จดทะเบียน

กรมภาษีอากร หน่วยงานของกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังกัมพูชา ได้ขอความร่วมมือต่อบริษัทอินเทอร์เน็ต 49 แห่ง ในกัมพูชา เพื่อสกัดกั้นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หากองค์กรเหล่านั้นไม่ได้จดทะเบียน โดยคำประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างการประชุมกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต 49 รายในกัมพูชา เกี่ยวกับการดำเนินการด้านภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ ซึ่งในปัจจุบันธุรกิจออนไลน์ในกัมพูชากำลังเฟื่องฟู แต่ในทางกลับกันธุรกิจออนไลน์จำนวนมากกลับไม่ยอมจดทะเบียนการค้า ให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยรัฐบาลได้ออกกฤษฎีกาย่อย ฉบับที่ 65 ว่าด้วยการดำเนินการภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่ดำเนินการกัมพูชาต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดภาษีมูลค่าเพิ่ม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501021382/gdt-gears-up-to-block-unregistered-companies-electronic-transactions/

หอการค้าไทย หารือรัฐ จับมือนำเอกชน 9 กลุ่มธุรกิจ เยือนซาอุฯฟื้นการค้า

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยได้นำคณะเข้าร่วมหารือกับ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายดามพ์ บุญธรรม อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา เพื่อเตรียมนำภาคเอกชนเดินทางเยือนซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นการดำเนินความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน หลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้เดินทางเยือนก่อนหน้านี้ โดยคณะที่ร่วมหารือเตรียมการในครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของภาคเอกชนในสาขาธุรกิจที่มีศักยภาพ อาทิ สินค้าอุปโภคบริโภค เกษตรและอาหาร พลังงาน อสังหาริมทรัพย์ ยานยนต์ อัญมณีและเครื่องประดับ ท่องเที่ยวและบริการ เป็นต้น โดยในปีที่ผ่านมา ไทยส่งออกไปประเทศซาอุฯ ประมาณ 45,000 ล้านบาท คิดเป็นเพียงร้อยละ 0.6 ของการส่งออกทั้งหมดจากประเทศไทย ซึ่งหวังให้สัดส่วนการส่งออกไปยังซาอุฯ กลับไปที่ประมาณร้อยละ 2.2 ของการส่งออก ที่เคยเกิดขึ้นในปี 2532 มูลค่าประมาณ 150,000 ล้านบาท โดยไทยจะสามารถเจาะตลาด ได้ทั้งสินค้ารถยนต์และส่วนประกอบ สินค้าอาหารและอาหารแปรรูป เครื่องจักรกล และอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นสินค้าที่มีศักยภาพ

ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_3174848

สรท.มั่นใจส่งออก Q1/65 โต 5% แม้ยังมีหลายปัจจัยเสี่ยง

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) มั่นใจภาวะการส่งออกของไทยในไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวต่อเนื่องที่ระดับ 5% และคงคาดการณ์ภาวะการส่งออกทั้งปี 65 โต 5-8% จากปี 64 ที่มีมูลค่า 271,314 ล้านดอลลาร์

ขณะที่มีปัจจัยปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ 1) ราคาพลังงานทรงตัวในระดับสูง ส่วนหนึ่งจากผลกระทบจากข้อพิพาทระหว่างรัสเซียและยูเครน ทำให้ราคาแก๊สธรรมชาติและถ่านหินน้ำมัน ในยุโรปและของโลกเพิ่มสูงขึ้น

2) แรงงานในภาคการผลิตขาดแคลนต่อเนื่อง ประกอบกับต้นทุนการจ้างงานปรับตัวสูงขึ้น กระทบการผลิตเพื่อการส่งออกที่กำลังฟื้นตัว

3) ปัญหาความหนาแน่นภายในท่าเรือประเทศปลายทาง ทำให้ต้องใช้ระยะเวลานานในการขนถ่ายสินค้า รวมถึงปัญหา Space allocation ไม่เพียงพอ

4) ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน อาทิ เซมิคอนดักเตอร์, เหล็ก, น้ำมัน ส่งผลให้ภาคการผลิตเพื่อส่งออก ยังคงประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

5) หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในหลายประเทศมีการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 และเข็มที่ 4 ต่อเนื่อง และเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการสำหรับการเดินทางเข้าประเทศ อาทิ นิวซีแลนด์ (เฉพาะผู้ที่เดินทางในประเทศและมาจากออสเตรเลีย) ขณะที่ นอร์เวย์ เดนมาร์ก ยกเลิกมาตรการควบคุมโควิด-19 ที่เหลืออยู่

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2022/171990

‘เวียดนาม’ แม่เหล็กดึงดูดนวัตกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การผลักดันสตาร์ทอัพของเวียดนามและสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการทำงานด้านนวัตกรรม เป็นผลมาจากความพยายามของรัฐบาล กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติเวียดนาม (NIC)

คุณ Nguyễn Thị Ngọc Dung ตัวแทนจากศูนย์ฯ กล่าวกับสำนักข่าวเวียดนาม (VNA) ว่ากิจการในประเทศตระหนักถึงความสำคัญของนวัตกรรม เมื่อเผชิญกับการแพร่ระบาด โดยศูนย์ดังกล่าวได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญชาวเวียดนามกว่า 1 พันคนที่อยู่ในวงการการศึกษาและวิจัยที่มีชื่อเสียงทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่น “Genetica” สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medtech) ในสหรัฐฯ ซึ่งมีการให้บริการส่วนใหญ่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเมื่อเดือน ต.ค.64 ธุรกิจประกาศว่าได้พัฒนาศูนย์การศึกษาการหาลำดับคู่เบสในสาย DNA ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค ตั้งอยู่ในศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติเวียดนาม ด้วยกำลังการผลิต 500,000 จีโนมต่อปี

ทั้งนี้ ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ “Genetica” ชักชวนให้บริษัทหันมาเปิดสำนักงานใหญ่ในเวียดนาม ประกอบกับนาย Nguyễn Chí Dũng รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม ได้ให้คำมั่นว่าจะสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงาน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1142897/viet-nam-working-to-become-innovation-magnet-in-southeast-asia.html

สำนักงานการบิน ‘เวียดนาม’ เชื่อมั่นจะฟื้นตัวกลับมาอย่างเข็มแข็งอีกครั้งในปีนี้

สำนักงานการบินพลเรือนเวียดนาม (CAAV) เปิดเผยว่าปริมาณเที่ยวบินที่ให้บริการในประเทศ รวมทั้งสิ้น 126,280 เที่ยวบินในปี 2564 หดตัว 41.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว และส่วนใหญ่ราว 60% อยู่ในช่วงก่อนที่เกิดการแพร่ระบาด โดยเที่ยวบินระหว่างประเทศยกเลิกการบินเมื่อตั้งแต่การระบาดระลอกแรก ยกเว้นกรณีเที่ยวบินที่นำชาวเวียดนามที่อยู่ในต่างประเทศกลับมายังประเทศแม่ (เวียดนาม) หรือผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ

ทั้งนี้ คุณ Pham Viet Dung ประธานสมาคมธุรกิจการบินเวียดนาม (VABA) กล่าวว่าสายการบินเวียดนามมีรายได้ลดลง 80-90% อย่างไรก็ตาม ตัวแทนจากสายการบินเวียดนาม กล่าวว่าส่วนแบ่งการตลาดของสายการบินและรายได้จากการขนส่งยังเป็นผู้นำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีมูลค่ากว่า 8 ล้านล้านดองในปี 2564 เพิ่มขึ้น 60% จากปี 2560

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/11143502-vietnam%E2%80%99s-aviation-expected-to-strongly-rebound-this-year.html

สปป.ลาวอนุญาตให้บริษัทเอกชนศึกษาการสร้างสายส่งไฟฟ้าไปเวียดนาม

รัฐบาลสปป.ลาวได้ให้ไฟเขียวสำหรับบริษัทเอกชนสองแห่งในการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าขนาด 220kV ซึ่งจะนำไฟฟ้าจากเขื่อน 5 แห่งทางตอนเหนือของสปป.ลาวไปยังเวียดนาม หากการศึกษาได้รับการอนุมัติ สายการผลิตจะส่งกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนน้ำอู๋ที่ 3, 4, 5, 6 และ 7 ผ่านจังหวัดหลวงพระบางและจังหวัดพงสาลีไปยังเวียดนาม การศึกษาความเป็นไปได้จะใช้เวลา 18 เดือน และหากผลลัพธ์เป็นบวก การก่อสร้างในสายการผลิตจะเริ่มทันทีหลังจากนั้น การเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นในบริบทที่สปป.ลาวต้องการเพิ่มการส่งออกไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นของเวียดนาม ปัจจุบันสปป.ลาวส่งออกไฟฟ้ามากกว่า 6,423MW ส่วนใหญ่ไปยังประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงเวียดนาม

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/laos-allows-private-firms-to-study-building-power-line-to-vietnam-post922950.vov