ผู้เชี่ยวชาญ ชี้ ‘ตลาดรถยนต์เวียดนาม’ โตต่อเนื่อง

ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ตลาดรถยนต์ในประเทศจะขยายตัวต่อไปจนถึงเดือนสุดท้ายของปีนี้ หลังจากขยายตัวสูงถึง 120% ในเดือน ต.ค. สมาคมผู้ผลิตรถยนต์เวียดนาม (VAMA) เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 16 พ.ย. ยอดขายรถยนต์ของสมาชิก อยู่ที่ 29,797 คัน โดยตลาดรถยนต์นั่ง มีปริมาณการขาย 19,865 คัน เพิ่มขึ้น 138% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 9,492 คัน เพิ่มขึ้น 94% รถยนต์แบบพิเศษ 404 คัน เพิ่มขึ้น 45% สืบเนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ ยอดขายรถยนต์รวมทั้งสิ้นของสมาชิก VAMA ทุกเซ็กเมนต์ อยู่ที่ 218,734 คัน เพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/auto-market-to-continue-growing-experts-905531.vov

‘เกษตรกรรมเวียดนาม’ เล็งปรับวิธีการให้เข้ากับการเกษตรยุคใหม่

นาย Le Minh Hoan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท เผยในการสัมมนาเมื่อวันที่ 16 พ.ย. ณ กรุงฮานอย ว่าเวียดนามควรยกระดับการเกษตรสีเขียวให้เหมาะสมกับบริบทใหม่ ในขณะเดียวกัน เวียดนามต้องปรับแนวคิดทางด้านการเกษตร โดยมุ่งเน้นไปที่ภาคเกษตรกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แทนที่การสร้างปริมาณผลผลิตสูง ดังนั้น รัฐมนตรีจึงเสนอให้มีการปรับการเกษตรด้วยดิจิทัลและพื้นที่ชนบท รวมถึงการจัดการผลิต เก็บเกี่ยว การกระจาย การฝึกอบรมบุคลากรและความเชื่อโยงในทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างทางการเกษตรจะทำได้โดยการเพิ่มศักยภาพและความได้เปรียบ ซึ่งมุ่งเน้นที่การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานในประเทศและระหว่างประเทศ นับว่าเป็นการสร้างตำแหน่งใหม่ของภาคการเกษตรของเวียดนาม

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-agriculture-seeks-ways-to-adapt-to-new-context-905542.vov

ราคาพริกขี้หนูสดชายแดนเมียวดี ราคาพุ่งเป็น 10,000 จัตต่อ 5 viss

ราคาพริกสดที่ชายแดนเมียวดี อยู่ที่ 10,000 จัตต่อ 5 viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) ปัจจุบันพริกสดในประเทศขาดแคลน ราคาพุ่งไปถึง 1,400-2,000 จัตต่อ viss ซึ่งผลมาจากสต็อกที่ต่ำ ผลผลิตลดน้อยลง และเป็นช่วงการเก็บเกี่ยวพริกของไทย อย่างไรก็ตาม การปิดด่านมูเซ ซึ่งเป็นด่านสำคัญของเมียนมาและจีนตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค.64 ส่งผลให้การส่งออกพริกสดต้องหยุดชะงัก ทั้งนี้พริกสดในประเทศนิยมปลูกในเขตอิรวดี มัณฑะเลย์ มาเกว และรัฐฉาน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/fresh-chilli-pepper-priced-at-k10000-per-five-visses-in-myawady-border/#article-title

สภานิติบัญญัติ อนุมัตินโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจที่สำคัญและกฎหมายใหม่

ฝ่ายนิติบัญญัติพิจารณารายงานสำคัญที่รัฐบาลส่งให้และหารือเกี่ยวกับข้อกังวลของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการเอาชนะปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงินที่รัฐบาลกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน สมาชิกรับรองรายงานของรัฐบาลเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและงบประมาณสำหรับปี 2564 และแผนสำหรับปี 2565 วิสัยทัศน์ 20 ปี (พ.ศ. 2564-2583), ยุทธศาสตร์ 10 ปี (พ.ศ. 2564-2573) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลระดับชาติสำหรับปี พ.ศ. 2564-2568; และยุทธศาสตร์การพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำ (2021-30) นอกจากนี้ฝ่ายนิติบัญญัติยังรับรองกฎหมาย 11 ฉบับรวมถึงกฎหมายใหม่สี่ฉบับที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะทางบก การสำรวจและทำแผนที่พรมแดนของประเทศ และการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_NA226.php

ตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา รายงานถึงปริมาณซื้อขายที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน

ตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX) รายงานถึงปริมาณการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 82 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปี ปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเกิน 200,000 ดอลลาร์ เทียบกับ 110,000 ดอลลาร์ ตลอดทั้งปีของปี 2020 ตามรายงานของผู้อำนวยการ CSX ซึ่งปริมาณการซื้อขายรวมสำหรับปีนี้ (ถึงเดือนตุลาคม) มีมูลค่ารวมมากกว่า 33 ล้านดอลลาร์ เทียบกับมูลค่า 28 ล้านดอลลาร์ สำหรับตลอดทั้งปี 2020 โดยก่อนเกิดการแพร่ระบาดในปี 2019 ปริมาณการซื้อขายอยู่ที่ 37 ล้านดอลลาร์ ซึ่งภายในสิ้นปีนี้ CSX คาดว่าจะมีบริษัทอีก 1-2 แห่งเข้าจดทะเบียนเพิ่มเข้ามาในตลาด และอีก 5-6 แห่งภายในปี 2022 ซึ่งในปัจจุบัน ตลาดหลักทรัพย์กัมพูชามีบริษัทจดทะเบียนทั้งสิน 13 แห่ง แบ่งออกเป็นตราสารทุน 7 แห่ง และตราสารหนี้ 6 แห่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50972376/csxs-daily-trading-volume-rises-82-percent-from-2020/

ทางการกัมพูชาวางแผนกำหนดร่างนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19

รัฐบาลกัมพูชาวางแผนกำหนดร่างกรอบนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจฉบับใหม่ ภายหลังการประชุมของคณะทำงานในรัฐบาลกัมพูชา ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เพื่อหาแนวทางในการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาเติบโตอีกครั้งหลังจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งรัฐบาลได้ออกมาตรการหลายอย่างในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบภายในประเทศ รวมทั้งการสนับสนุนทางด้านการเงินและการระดมทุน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุน โดยเฉพาะในภาคการเกษตรและภาคการแปรรูปทางการเกษตร เป็นสำคัญ เนื่องจากมีแนวโน้มในการเติบโตที่ดีในทุกมิติ ซึ่งรัฐบาลตั้งกรอบเงินงบประมาณในการสนับสนุนทางด้านสินเชื่อไว้ที่ 250 ล้านดอลลาร์ ให้แก่ภาคเอกชน ผ่านธนาคารพาณิชย์และธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบท ภายใต้กรอบปีงบประมาณ 2022 โดยคิดบนอัตราดอกเบี้ยต่ำ ระหว่างร้อยละ 5-5.5 แก่สาขาที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ อาทิเช่น สาขาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การเพาะเลี้ยงสัตว์อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นต้น รวมถึงมีการกำหนดมาตรการอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การยกเว้นภาษี นำเข้า-ส่งออก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50972244/draft-policy-to-boost-economy-amid-covid-19-pandemic/

FTA อาเซียน-แคนาดา “พาณิชย์” เดินหน้าเจรจาอย่างเป็นทางการ

นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-แคนาดา ครั้งที่ 10 โดยที่ประชุมได้ประกาศเดินหน้าเจรจาจัดทำ FTA อาเซียน-แคนาดา พร้อมทั้งติดตามความคืบหน้าความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนระหว่างอาเซียน-แคนาดา รวมทั้งหารือแนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโควิด-19 และพบภาคเอกชนสภาธุรกิจแคนาดา-อาเซียน การประชุมครั้งนี้ ไทยได้ร่วมกับสมาชิกอาเซียนและแคนาดาประกาศเริ่มเจรจา FTA อาเซียน-แคนาดา อย่างเป็นทางการ ซึ่งการเปิดเจรจา FTA ถือเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงพาณิชย์ที่มุ่งเปิดตลาดการค้าใหม่ๆ โดยการจัดทำ FTA อาเซียน-แคนาดา จะช่วยขยายโอกาสการค้า การลงทุน และสร้างความเชื่อมโยงของห่วงโซ่การผลิตไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ ซึ่งไทยยังไม่เคยมี FTA มาก่อน รวมทั้งเป็นโอกาสดีที่ผู้ประกอบการไทยจะส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย. 2564) อาเซียนกับแคนาดามีมูลค่าการค้ารวม 18,450 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.8 โดยไทยกับแคนาดามีมูลค่าการค้ารวม 2,002 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 ซึ่งคิดเป็นไทยส่งออกไปแคนาดา มูลค่า 1,349 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 และไทยนำเข้าจากแคนาดา มูลค่า 653 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8

ที่มา : https://www.thansettakij.com/economy/503633

ลาว ต่อเวลากฎคุมโควิดไม่มีกำหนด หลังป่วยเพิ่มทั่วประเทศ

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า รัฐบาลลาวประกาศขยายระยะเวลาบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง หลังจากจำนวนผู้ป่วยในประเทศยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ลาวจะยังคงปิดทำการพรมแดนและด่านตรวจ ยกเว้นด่านที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการเฉพาะกิจด้านการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 แห่งชาติ ขณะเดียวกันจะงดออกวีซ่านักท่องเที่ยวให้ชาวต่างชาติ ยกเว้นบุคลากรการทูต พนักงานองค์กรระหว่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญ และนักลงทุนที่ต้องการเข้าประเทศเร่งด่วน ซึ่งพวกเขาจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการทั้งหมดที่กำหนดโดยรัฐบาล

ที่มา : https://www.naewna.com/inter/615916

‘อโกด้า’ ชี้ชาวเวียดนามคาดการเดินทางทั่วโลกจะกลับมาอีกครั้งในอีก 6 เดือนข้างหน้า

อโกด้า (Agoda) ผู้ให้บริการดิจิทัลแพล็ตฟอร์มด้านการท่องเที่ยว เปิดเผยผลสำรวจหัวข้อ “ต้อนรับการกลับมาเดินทางอีกครั้ง” พบว่าชาวเวียดนามส่วนใหญ่ 60% คาดว่าการเดินทางจะกลับมาดำเนินการอีกครั้งในอีก 6 เดือนข้างหน้า โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 45-54 ปี ส่วนใหญ่ 52% มองในแง่ดีต่อการปราศจากข้อจำกัดในการเดินทางในเอเชีย แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือ เมื่อสอบถามถึงการเดินทางทั่วโลกโดยปราศจากข้อจำกัด พบว่ากลุ่มอายุ 55 ปีขึ้นไปมองในทิศทางที่ดีมากที่สุด (54%) รองลงมาคือกลุ่มอายุ 45-54 ปี (45%)

ทั้งนี้ แม้ว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 1 ใน 10 คาดหวังว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าเวียดนามได้ หลังจากผ่านไปเพียง 2 ปี รัฐบาลก็ได้ประกาศว่าจะเริ่มเปิดจุดหมายปลายทางบางแห่งสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือน พ.ย. โดยเริ่มจากฟู้โกว๊ก (Phú Quốc) แต่มีเพียง 27% เท่านั้นที่เชื่อว่าการเปิดพรมแดนเต็มรูปแบบอีกครั้งน่าจะเป็นภายในสิ้นปีนี้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1080584/vietnamese-expect-global-travel-to-restart-in-next-6-months-agoda.html

‘IHS Markit’ ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัว

จากข้อมูลเศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายปีนี้ของ IHS Markit แสดงให้เห็นถึงโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่ยังคงเผชิญกับอุปสรรคหลายประการ เนื่องจากตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ต่อวันกลับมาเพิ่มขึ้น รวมถึงการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ต่อวัน เริ่มลดลงในช่วงครึ่งหลังของเดือน ก.ย. และต้นเดือน ต.ค. การผ่อนตลายมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้โรงงานหลายแห่งกลับมาดำเนินกิจการอีกครั้ง ส่งผลให้ดัชนี PMI ภาคการผลิต พุ่งขึ้นแตะ 52.1 จุด ในเดือน ต.ค. นอกจากนี้ สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจอีก 5 ปีข้างหน้า มีปัจจัยสำคัญที่ทำให้เวียดนามกลายมาเป็นหนึ่งในตลาดเกิดใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในเอเชีย ได้แก่

(ประการแรก) เวียดนามยังคงได้รับประโยชน์จากต้นทุนการผลิตภาคอุตสาหกรรมต่ำ,

(ประการที่สอง) เวียดนามมีกำลังแรงงานที่มีขนาดใหญ่และมีการศึกษาที่ดีเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(ประการที่สาม) การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและการใช้จ่ายทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน

(ประการที่สี่) เวียดนามได้รับประโยชย์ในฐานะตลาดที่มีศักยภาพ

(ประการที่ห้า) บริษัทต่างชาติกระจายห่วงโซ๋อุปทานการผลิตในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เพื่อลดความเสี่ยงการหยุดชะงักด้านอุปทานและปัญหาทางการเมือง

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/ihs-markit-optimistic-about-vietnams-economic-recovery-from-covid-19-wave-905282.vov