ความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิตอลไตรมาส 3 ทรงตัวต่อเนื่อง พิษโควิด-รัฐกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ตรงจุด

นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิตอล ไตรมาส 3 ปี 2564 พบทรงตัวในเกือบทุกองค์ประกอบ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 การขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดิจิตอลขาดความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจ ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิตอล ไตรมาส 3 ประจำปี 2564 ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมย่อย โดยอยู่ที่ระดับ 45.0 ทรงตัวจากระดับ 45.6 ทั้งด้านปริมาณ การผลิต และการลงทุน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการคาดหวังให้ภาครัฐส่งเสริมและสนับสนุนเศรษฐกิจ และมีความชัดเจนในการสนับสนุนด้านการตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ที่มา: https://www.khaosod.co.th/economics/news_6695524

คณะกรรมการกลางสปป.ลาวมีมติดำเนินการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ หนี้สินและการว่างงาน

รายงานล่าสุดระบุว่าการว่างงานเพิ่มขึ้นหลังจากผลกระทบรุนแรงต่อธุรกิจที่เกิดจากการระบาดของ Covid-19 นอกจากนี้ แรงงานลาวหลายพันคนอพยพกลับบ้านจากประเทศไทยเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสในไทย ซึ่งทำให้สถานการณ์การว่างงานในประเทศลาวแย่ลง ด้วยสถานการณ์ดังกล่าวคณะกรรมการกลางของพรรคปฏิวัติประชาชนลาวได้มีมติที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อและหนี้สินอย่างเป็นระบบ ในขณะเดียวกันก็พยายามสร้างงานมากขึ้นเพื่อลดอัตราการว่างงานในประเทศ โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้รัฐบาล คณะกรรมการพรรค และเจ้าหน้าที่ทุกระดับดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ทั้งนี้ยังทบทวนความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนงบประมาณ และแผนสกุลเงิน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Party_resolves_208.php

กัมพูชาเห็นถึงการเกินดุลการค้าระหว่างญี่ปุ่น

กัมพูชาเห็นถึงการเกินดุลการค้าระหว่างญี่ปุ่นในช่วง 8 เดือนแรกของปี สะท้อนถึงความต้องการสินค้าที่ผลิตในกัมพูชาในตลาดญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้น โดยตัวเลขรายงานจากองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคมปีนี้ แสดงให้เห็นว่ากัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังญี่ปุ่นมูลค่ารวมประมาณ 1.124 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบเป็นรายปี ในทางกลับกันกัมพูชาได้ทำการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นมูลค่ารวมประมาณ 385.1 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28 ส่งผลทำให้กัมพูชาเกินดุลการค้ามูลค่า 739 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นมูลค่าการค้าทวิภาคี 1,509.3 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคม ตามการรายงาน โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญไปยังญี่ปุ่น ได้แก่ เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ เครื่องสำอาง กระดาษ เครื่องใช้สำนักงาน และเครื่องหนัง ส่วนกัมพูชาทำการนำเข้าเครื่องจักร รถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ ผ้า และพลาสติกจากประเทศญี่ปุ่นเป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50956600/cambodia-sees-trade-surplus-with-japan-in-eight-months/

คาดการณ์เศรษฐกิจกัมพูชาโต 4.8% ปีหน้า

ธนาคาร Phillip Bank Plc คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจกัมพูชาคาดจะเติบโตร้อยละ 2.4 ในปีนี้ และคาดว่าจะขยายตัวมาอยู่ที่ร้อยละ 4.8 ภายในปี 2022 ตามรายงานของ Phillip Bank Plc ทางด้านผู้อำนวยการของ Phillip Bank กล่าวว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปีหน้าจะได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจหลัก 3 ภาค ได้แก่ ภาคแรกการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและสิ่งทอ ภาคที่สองภาคการผลิตสินค้าที่ไม่ใช่เสื้อผ้า อาทิเช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ของเล่นและจักรยาน และภาคที่สามภาคเกษตรกรรม ถือเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของกัมพูชาให้กลับมาเติบโต รวมถึงกัมพูชายังมีปัจจัยสนับสนุนหลายด้าน อาทิเช่น การให้สัตยาบันความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค, ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับจีน และข้อตกลงที่ใกล้จะลงนามกับเกาหลีใต้ในเร็ว ๆ นี้ ไปจนถึงในระยะถัดไป โดย FTA กับรัสเซีย ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ ก็มีแนวโน้มที่จะเกิดการลงนามเช่นกัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50956602/economy-to-grow-4-8-percent-next-year-bank-says/

‘เวียดนาม’ เผยวัคซีนพาสปอร์ต ช่วยภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

การเปิดรับนักท่องเที่ยวที่มีวัคซีนพาสปอร์ต ถือเป็นก้าวสำคัญของการใช้ชีวิตควบคู่กับวิกฤตโควิด-19 และช่วยฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์และรีสอร์ท คุณ Nguyễn Quốc Anh รองผู้อำนวยทั่วไปของเว็บสื่อกลางอสังหาฯ เวียดนาม “Batdongsan.com.vn” กล่าวว่าตลาดอสังหาฯ ยังคงประสบปัญหามากมาย ด้วยเหตุนี้ สิ่งสำคัญอันดับแรกในการช่วยตลาดอสังหาฯ และรีสอร์ท คือการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยทางฝั่งผู้เชี่ยวชาญ ชี้ว่าหากมีการเปิดใช้ “วัคซีนพาสปอร์ต” แก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้วประสบความสำเร็จขึ้นมา จะเป็นแรงผลักดันภาคเศรษฐกิจอื่นๆ อีกมาก เนื่องจากบริษัทต่างชาติจำเป็นต้องนำผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากมาทำงานในเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1064087/vaccine-passports-could-help-resort-real-estate-sector.html

 

‘เวียดนาม’ คาดยอดการค้าทำสถิติสูงถึง 600 พันล้านเหรียญสหรัฐ ปี 64

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) คาดการณ์มูลค่าการค้าในเดือน ต.ค. อยู่ที่ราว 510 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจะปรับตัวสูงขึ้นแตะ 600 พันล้านเหรียญสหรัฐในสิ้นปีนี้ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่คาดการณ์นั้นขึ้นอยู่กับว่าเวียดนามจะสามารถควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ ทั้งนี้ ในครึ่งเดือนแรกของเดือน ต.ค. เวียดนามทำรายได้จากการค้าประมาณ 26 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมาจากการส่งออก 13.16 พันล้านเหรียญสหรัฐ และการนำเข้า 13 พันล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนามที่ทำรายได้มากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ได้แก่ สมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องจักรและเสื้อผ้า เป็นต้น แต่เมื่อพิจารณาโดยภาพรวม พบว่าเวียดนามขาดดุลการค้า 2.45 พันล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ กระทรวงฯ แนะให้คงมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการท้องถิ่น ตลอดจนป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสและเร่งแก้ไขปัญหาการขนส่งสินค้าจำเป็น

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnams-trade-turnover-projected-to-reach-record-high-of-us600-billion-in-2021-319064.html

 

ชมผ่อนคลายมาตรการสินเชื่ออสังหาฯ กระตุ้นศก.ไทยคึก

ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต เปิดเผยว่า สนับสนุนการผ่อนคลายมาตรการสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดกระตุ้นในเกิดธุรกรรมซื้อขาย การจ้างงานและการลงทุนเพิ่มขึ้นในช่วงหนึ่งปีข้างหน้า การประกาศมาตรการผ่อนคลายการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ LTV ชั่วคราวจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีนี้และต่อเนื่องไปถึงปีหน้า คาดว่า ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ภาคก่อสร้างและธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้าง รวมทั้ง โรงแรมและรีสอร์ทในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่มีปัญหาสภาพคล่องและไม่สามารถดำเนินการธุรกิจต่อได้ จะถูกเปลี่ยนมือเป็นผู้ลงทุนรายใหม่ได้ง่ายขึ้น

ที่มา: https://www.posttoday.com/economy/news/666310

ต.ค. 64 ชาวประมงมีรายได้จากการส่งออกไประนอง 15.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

รายได้รวม 15.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกประมงมากกว่า 14,037 ตัน ไปยังจังหวัดระนอง ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 21 ต.ค. พ.ศ. 2564 เนื่องจากอำเภอเกาะสอง เขตตะนาวศรี ประกอบธุรกิจการประมงเป็นหลัก ซึ่งช่วงนี้เป็นฤดูจับปลาชาวประมงมีกำไรจาการการจับปลา ได้อย่างน้อย 22 วันต่อเดือน โดยปัจจุบันราคาสินค้าประมงในตลาด ได้แก่ กุ้งก้ามกรามขนาดใหญ่ กก.ละ 60 บาท และเต่าขนาดเล็กราคา 90 บาท และขนาดใหญ่กว่า กก.ละ 120 บาท ซึ่งอนุญาตให้ใช้อวนจับปลาตามที่กรมประมงกำหนดเท่านั้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/usd-15-42-million-earned-from-fishery-exports-to-ranong-in-october/#article-title

ตะนาวศรีเริ่มฤดู ตกปลาหมึก หลังหมดหน้าฝน

ราคาน้ำมันพุ่งสูงส่งผลให้ต้นทุนของการจับปลาหมึกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยที่เรือประมงนอกชายฝั่งมีต้นทุนในการออกเรือ ประมาณ 15 – 20 ล้านจัต ในขณะที่เรือชายฝั่งมีต้นทุนตั้งแต่ 5 -7 ล้านจัต จากราคาน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นสามเท่าในปีนี้ ก่อนการระบาดของ COVID-19 พ่อค้าชาวจีนจะมารับซื้อปลาหมึกที่เมืองมะริด แต่ปัจจุบันจีนได้หันมาพึ่งตลาดไทยแทน สมาคมผู้ประกอบการปลาหมึกมะริด ให้ข้อมูลว่า การส่งปลาหมึกไปเมืองมะตองผ่านมะริดโดยไม่ต้องแปรรูปในห้องเย็นจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้  ซึ่งต้นทุนการแปรรูปที่อยู่ที่ประมาณ 500 จัตต่อกิโลกรัม แต่ขณะที่ต้นทุนการแปรรูปที่เมืองย่างกุ้งอยู่ที่ 150 จัต เมื่อผู้ประกอบการต่างชาติเข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากมาย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/squid-fishing-season-starts-in-taninthayi/

รัฐบาลสปป.ลาวเร่งผลิตวัวส่งออกไปจีน

รัฐบาลกำลังส่งเสริมให้เกษตรกรใน 18 จังหวัดทั่วประเทศเลี้ยงโคเพื่อส่งออก โดยได้แรงหนุนจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากประเทศจีน ภายใต้ข้อตกลงที่ลงนามระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศ สปป.ลาวได้รับโควตาจำนวน 500,000 ตัวเพื่อส่งออกไปยังประเทศจีน โดยมีแนวทางในการใช้ประโยชน์จาโครงการรถไฟสปป.ลาว-จีนเพื่อส่งเสริมศักยาภาพในการส่งออก ปัจจุบันสปป.ลาวมีแผนที่จะผลิตโคอย่างน้อย50,000 ตัวต่อปีและเป้าหมายการเลี้ยงคู่ผสมพันธุ์ที่จะออกลูกและสนับสนุนฟาร์มเป้าหมายกว่า 100 แห่งเพื่อขยายจำนวนให้เพียงพอต่อความต้องการ ความท้าทายอย่างหนึ่งที่สปป.ลาวต้องเผชิญคือความจำเป็นต้องใช้เงินลงทุน 1.76 ล้านล้านกีบเพื่อดำเนินโครงการผลิตโคเชิงพาณิชย์รวมถึงการควบคุมโรคระบาดในโคซึ่งจะเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการขยายพันธุ์เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการจากจีน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_205_21.php