ผู้นำเข้าสุกรในกัมพูชา เร่งเจรจารัฐบาลอนุมัติการนำเข้าสุกรมีชีวิตเพิ่มขึ้น

ผู้นำเข้าสินค้าปศุสัตว์กำลังเร่งเจรจารัฐบาลเพื่อให้สามารถนำเข้าสุกรมายังกัมพูชาได้มากขึ้น โดยบริษัท 4 แห่ง ได้ยื่นข้อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อขออนุญาตนำเข้าสุกร ซึ่งคาดว่าผู้บริโภคจะได้ประโยชน์จากราคาเนื้อสุกรที่ถูกกว่าราคาในปัจจุบัน และจากยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้น จะทำให้รัฐบาลมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอีก 3 ล้านดอลลาร์ต่อปี รวมถึงเกษตรกรในท้องถิ่นจะได้รับประโยชน์จากการแข่งขันในตลาดเสรี แต่จะต้องเข้มงวดและเฝ้าระวังการเกิดโรคที่ทำให้สุกรของเกษตรกรกัมพูชาไม่มีผู้ซื้อ จนถึงขั้นทำให้สูญเสียรายได้ของเกษตรกร โดยการนำเข้าสุกรที่มีชีวิตจากเวียดนามไปยังกัมพูชานั้นถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายเนื่องจากเกิดการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ในปี 2019 ซึ่งกัมพูชาอนุญาตให้นำเข้าสุกรที่มีชีวิตได้จากประเทศไทยภายใต้การควบคุมด้านสุขภาพที่เข้มงวดเท่านั้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50918764/livestock-conflict-brewing-between-pig-farmers-importers-and-officials/

ผู้บริโภคชาวเวียดนามปลื้มมะม่วงกัมพูชา

กัมพูชาส่งออกมะม่วงสดไปยังเวียดนามในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ปริมาณกว่า 140,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วน 86.8% ของปริมาณการส่งออกผลไม้ทั้งหมด สำนักงานการค้าเวียดนาม อ้างข้อมูลจากกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมงของกัมพูชา เปิดเผยว่าตั้งแต่เดือนม.ค.-ก.ค. เวียดนามส่งออกมะม่วง 161,228 ตัน พุ่ง 248% เมื่อเทียบเป็นรายปี นอกจากมะม่วงสดแล้ว กัมพูชายังได้ส่งแยมมะม่วงราว 13,525 ตัน ตลอดจน 77 ตันไปยังเวียดนาม, 1,000 ตันไปยังไทย และ 11,000 ตันไปยังจีนในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ นอกจากนี้ ปัจจุบันกัมพูชา มีพื้นที่เพาะปลูกมะม่วง 126,668 เฮกตาร์ และทำการส่งออก 845,274 ตัน เป็นมูลค่ากว่า 473.2 ล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไปยังเวียดนาม ไทย จีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ รัสเซียและฝรั่งเศส

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/vietnam-biggest-buyer-of-cambodia-s-mangoes-4342351.html

ต่างชาติแห่ลงทุนในเวียดนาม แม้เผชิญการระบาดของโควิด-19

เว็บไซต์ DigiTimes รายงานว่าแม้จะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่เวียดนามยังคงดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยจากข้อมูลของ Fitch Solutions ชี้ว่าท่ามกลางการระบาดโควิด-19 เวียดนามยังคงได้รับเลือกให้เป็นประเทศที่ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติจำนวนมาก ซึ่งผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์ต่างชาติส่วนใหญ่ 65% ได้ตั้งฐานการผลิตในภาคเหนือของเวียดนาม ขณะที่ประมาณ 30% สร้างโรงงานในภาคใต้และอีก 2-3 แห่งในภาคกลาง ทั้งนี้ ตามรายงานของบริษัทวิจัยเทคโนโลยีและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีระดับโลก “Technavio” เผยว่าตลาดเซมิคอนดักเตอร์กในเวียดนาม มีแนวโน้มเติบโตราว 19% ในปี 2020-2024 เป็นมูลค่ากว่า 6.16 พันล้านดอง

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/foreign-investment-poured-in-vietnam-despite-covid-19-883511.vov

ตลาดเมล็ดงาเมียนมา คึกคัก จากความต้องการของจีนที่สูงขึ้น

ราคางาดำในตลาดมัณฑะเลย์ เริ่มฟื้นตัวจากความต้องการที่ต่อเนื่องของจีนในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ราคางาดำเพิ่มขึ้นตามความต้องการที่สูงขึ้น สังเกตได้จากราคางานดำต่อสามตะกร้าอยู่ที่ 145,000 จัตในเดือนที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นเป็น 165,000 จัตในช่วงกลางเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา โดยงาดำเป็นที่ต้องการสูงมากในจีน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้งาดำในธุรกิจขนมขบเคี้ยว การผลิตน้ำมัน และการผลิตยาสมุนไพร เมียนมาส่งทั้งเมล็ดงาดิบและงาที่ผ่านการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มไปยังจีน แต่เมื่อมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ตลาดซบเซาลง หากคลายมาตรการด้านการควบคุมการแพร่ระบาดดลงและการคมนาคมคลี่คลาย เชื่อว่าตลาดค้าขายงาจะกลับมาสดใสอีกครั้ง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-sesame-seed-market-sees-high-demand-from-chinese-buyers/#article-title

ก.ค. 64 สปป.ลาว ขาดดุลการค้าถึง 99 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ณ เดือน ก.ค. 64 สปป.ลาว ขาดดุลการค้า 99 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  แบ่งเป็นการส่งออก 374 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่การนำเข้าอยู่ที่ 473 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ แร่ทองแดง กล้วย ชิ้นส่วนกล้อง ทองผสม (ทองคำแท่ง) เสื้อผ้า กาแฟดิบ ยาง ผลไม้ (แตงโม เสาวรสและมะขาม) และยาสูบ ส่วนสินค้านำเข้า ได้แก่ อุปกรณ์ไฟฟ้า ยานยนต์ (นอกจากรถจักรยานยนต์และรถแทรกเตอร์) ดีเซล เครื่องมือทางกล (นอกเหนือจากยานยนต์) ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ (รวมกระจกและโซ่) น้ำมันเชื้อเพลิงเกรดพรีเมียมและเกรดปกติ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ปุ๋ย และเศษอาหารจากโรงงาน ทั้งนี้การส่งออกส่วนใหญ่ไปจีนมีมูลค่า 149 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาเป็นเวียดนามมีมูลค่า 71 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และไทยมีมูลค่า 54 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/asiapacific/2021-08/18/c_1310134431.htm

สปป.ลาวรายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายวันสูงสุด

ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ของสปป.ลาวแตะระดับสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ที่ 381 ราย ทำให้ยอดรวมผู้ติดเชื้อในประเทศอยู่ที่ 11,029 ราย นางสีสวัสดิ์ สุทธานิรักไซ รองอธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อกระทรวงสาธารณสุขของสปป.ลาว กล่าวในการแถลงข่าวที่กรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของสปป.ลาวเมื่อวันพุธว่า พบผู้ป่วยรายใหม่ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีผู้ป่วยนำเข้า 333 ราย และการติดต่อในท้องถิ่น 48 ราย ในบรรดาผู้ติดเชื้อที่นำเข้า มีรายงานผู้ป่วย 146 รายในจังหวัดคำม่วน 108 ในสะหวันนะเขต 45 รายในจำปาสัก 32 รายในเวียงจันทน์เมืองหลวงของลาว ในจังหวัดบอลิคำไซและสารวันอย่างละ 1 ราย

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/asiapacific/2021-08/18/c_1310134226.htm

กัมพูชาเตรียมเปิดประเทศ หลังอัตราการฉีดวัคซีนเป็นไปตามเป้าหมาย

หลังจากทางการกัมพูชาได้เร่งทำการฉีดวัคซีนเชิงรุกให้กับประชาชนภายในประเทศ ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่ากัมพูชามีโอกาสที่จะเปิดประเทศอีกครั้งก่อนประเทศเพื่อนบ้าน หลังผู้ก่อตั้ง X1 คาดการณ์ว่ากว่าร้อยละ 70 ของประชากรกัมพูชา จะได้รับการฉีดวัคซีนอย่างครบถ้วนภายในวันที่ 21 ก.ย. 2021 และคาดว่าจะครอบคลุมร้อยละ 80 ของประชากร ภายในวันที่ 31 ส.ค. 2021 ซึ่งกรุงพนมเปญยังเป็นเมืองหลวงที่ได้รับการฉีดวัคซีนมากที่สุดในโลก โดยคิดเป็นกว่าประมาณร้อยละ 99 ของผู้ใหญ่ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว ตามรายงานของ MSP ซึ่งนายกรัฐมนตรี ฮุนเซน ประกาศเมื่อวันที่ 1 ส.ค. ว่าประชาชนจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 (Booster) ด้วยวัคซีน AstraZeneca ในระยะถัดไป โดยคาดว่าสิ่งแรกที่จะเกิดขึ้นหลังทำการเปิดประเทศ จะทำให้อุปสงค์ภายในประเทศปรับตัวดีขึ้น สนับสนุนการค้าปลีกและบริการอื่นๆ เช่น ร้านอาหาร ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติม และในขณะที่ภาคการท่องเที่ยวจะค่อยๆกลับมาฟื้นตัวในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50917989/rapid-vaccination-rates-a-cause-for-celebration/

ทางการกัมพูชาคาด เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 4.8 ในปี 2022

การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาคาดว่าจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปีหน้าเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอันเป็นผลมาจากโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของรัฐบาลเป็นไปได้ตามเป้าหมาย โดยการคาดการณ์การเติบโตนี้จัดทำโดยกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง ซึ่งได้รายงานในระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการของรัฐสภา เรื่องการกำหนดกรอบนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและการจัดสรรเงินสาธารณะในร่างกฎหมายว่าด้วยงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2022 ซึ่งทางกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังได้เคยคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาไว้ก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 4 ในปี 2021 หลังจากหดตัวร้อยละ 3.1 ในปี 2020 แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดยังคงส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ทั้งจากโควิดสายพันธุ์เดลต้าที่กำลังแพร่กระจายไปทั่วประเทศ ส่งผลให้ทางการจึงต้องปรับลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลงเหลือร้อยละ 2.4 ในปี 2021 และคาดว่ากัมพูชาจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ 4.8 ในปี 2022 เนื่องจากสามารถฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนได้ครอบคลุมตามเป้าหมาย 10 ล้านรายในอนาคตอันใกล้ เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50918131/economic-growth-projected-at-4-8-percent-in-2022-deputy-pm/

“พาณิชย์” เผยไทยใช้ FTA-GSP ส่งออกครึ่งปี เพิ่ม 34%

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การใช้สิทธิประโยชน์สำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) และระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) เดือน มิ.ย.2564 มีมูลค่า 8,380.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.61 และยอดรวม 6 เดือนปี 2564 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 40,244.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.34 มีสัดส่วนการใช้สิทธิประโยชน์ร้อยละ 78.07 ของการได้รับสิทธิ์ทั้งหมด แบ่งเป็นมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA มูลค่า 38,329.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.27 มีสัดส่วนการใช้สิทธิ์ร้อยละ 79.05 และมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ GSP มูลค่า 1,914.84 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.63 มีสัดส่วนการใช้สิทธิ์ร้อยละ 62.61 สำหรับรายละเอียดการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA ในช่วง 6 เดือน ตลาดที่ไทยส่งออกโดยมีมูลค่าการใช้สิทธิ์สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.อาเซียน มูลค่า 13,439.89 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 2.จีน มูลค่า 12,734.82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 3.ออสเตรเลีย มูลค่า 4,270.36 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 4.ญี่ปุ่น มูลค่า 3,485.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 5.อินเดีย มูลค่า 2,336.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนกรอบ FTA ที่มีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.ไทย-เปรู 100% 2.อาเซียน-จีน 96.58% 3.ไทย-ชิลี 86.80% 4.ไทย-ญี่ปุ่น 80.04% และ 5.อาเซียน-เกาหลี 69.43%

ที่มา : https://www.thansettakij.com/economy/492374

สปป.ลาววอนไทยช่วยแรงงานลาวฝ่าวิกฤตโควิด-19

ประธานสมัชชาแห่งชาติลาว (NA) ขอให้ประเทศไทยช่วยเหลือชาวสปป.ลาวที่ทำงานในประเทศไทยดร.ไชสมพร พรหมวิหาร ประธาน NA ได้ยื่นข้อเสนอพร้อมพูดคุยกับชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎรแห่งประเทศไทย ผ่านการประชุมทางวิดีโอเมื่อวันอังคาร (17 ส.ค.) โดยขอให้ชวนผลักดันภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยให้ช่วยเหลือแรงงานสปป.ลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการอำนวยความสะดวกในการกลับไปสปป.ลาว การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ในประเทศไทยในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้มีงานเลิกจ้างจำนวนมาก และบังคับให้แรงงานลาวหลายร้อยคนต้องเดินทางกลับบ้าน ผู้นำทั้งสองกล่าวว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีและความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษา และสุขภาพ

ที่มา : https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2021/08/17/laos-govt-asks-thailand-to-help-lao-workers-overcome-their-coid-19-crisis