เมียนมาเปิดตัวคลังสินค้าในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำแม่โขง-ล้านช้าง

เมื่อวันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2565 นาย เจิ้ง จื้อหง เอกอัครราชทูตจีนในเมียนมา เปิดเผยว่าเมียนมาได้เปิดตัวศูนย์คลังสินค้าโครงการในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำแม่โขง-ล้านช้างในรัฐฉาน ภายใต้กองทุนพิเศษความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง(LMC) สร้างขึ้นในเมืองปินดายา เพื่อจัดเก็บสิ่งของบรรเทาทุกข์และสร้างความรู้ตระหนักเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ  ในการนี้ นาย Thet Thet Khine รัฐมนตรีกระทรวงสวัสดิการสังคม การบรรเทาทุกข์และการตั้งถิ่นฐาน ได้กล่าวขอบคุณจีน ที่ให้ความช่วยเหลือในครั้งนี้ โดยความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง(LMC) จะประกอบด้วย 6 ประเทศ คือ จีน กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม และไทย

ที่มา: https://english.news.cn/asiapacific/20221130/44be77645715422797fb24a481a2702d/c.html

7 เดือนครึ่งของงบฯ 65-66 เมียนมาส่งออกแร่ไปแล้วกว่า 199 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 18 พฤศจิกายน 2565 ของปีงบประมาณ 2565-2566  เมียนมามีรายได้จากการส่งออกสินค้าที่ผลิตจากแร่มากกว่า 199 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่พบว่าลดลง 248.419 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 447.667 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2565-2566 ที่ผ่านมา ทั้งนี้จากการสำรวจแร่ของเมียนมาส่วนใหญ่จะอยู่ในรัฐกะยา ตะนาวยี มัณฑะเลย์ และซะไกง์ ซึ่งสินค้าส่งออกที่ผลิตจากแร่ ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ทอง หยก มุก เพชร ตะกั่ว ดีบุก ทังสเตน เงิน ทองแดง สังกะสี ถ่านหิน และสินแร่อื่นๆ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-mineral-exports-top-199-million-over-seven-and-a-half-months-this-fy/

7 เดือนของปี 65 สิงคโปร์รั้งอันดับหนึ่ง FDI ในเมียนมา

หน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของเมียนมา  (DICA) เผย ใน 7 เดือนที่ผ่านมา (เดือนเม.ย.-เดือนต.ค. 2565)  บริษัทจดทะเบียนในสิงคโปร์ 14 บริษัทได้เร่งอัดฉีดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในเมียนมาเป็นมูลค่า 1.154 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในการพัฒนาเมือง อสังหาริมทรัพย์ พลังงาน และภาคการผลิตรองลงมาเป็นบริษัทจากฮ่องกง 163 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  จำนวน11 บริษัท และจีน 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน 22 บริษัทที่เข้ามาลงทุน ซึ่งในช่วงงบประมาณย่อยที่ผ่านมา (เดือนตุลาคม 2564-เดือนมีนาคม 2565) สิงคโปร์เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในเมียนมา จากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าในปีงบประมาณ 2562-2563 มีเม็ดเงินลงทุน .85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  และ 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2561-2562 นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังกลายเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่อันดับ 2 ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา รองจากญี่ปุ่น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/singapore-tops-fdi-ranking-in-myanmar-in-past-seven-months/#article-title

 

1 เม.ย.ถึง 18 พ.ย.65 การค้าระหว่างประเทศเมียนมา พุ่งแตะ 21.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาเผย ระหว่างวันที่ 1 เมษายนถึง 18 พฤศจิกายน 2565 ของปีงบประมาณ 2565-2566 การค้าระหว่างประเทศของเมียนมา พุ่งขึ้นถึง 21,468 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 3,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเป็นการส่งออก 10.427 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่การนำเข้าอยู่ที่ 11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้านการค้าชายแดนเพิ่มขึ้น 89.595 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่การค้าทางทะเลเพิ่มขึ้นถึง 3.8 พันล้านดอลลาร์ โดยสินค้าส่งสำคัญ ได้แก่ ผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งนี้ในช่วงปีงบประมาณ 2563-2564 การค้าระหว่างประเทศของเมียนมาอยู่ที่ 29.58 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนปี งบประมาณย่อย 2564-2565 (เดือนต.ค.2564-เดือนมี.ค.2565) อยู่ที่ 15.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-foreign-trade-surges-to-over-21-46-bln-as-of-18-nov/#article-title

7 เดือนแรกของ ปีงบฯ 65-66 เมียนมาขาดดุลการค้า 678.226 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ระหว่างวันที่ 1 เมษายนถึง 11 พฤศจิกายน 2565 ของปีงบประมาณปัจจุบัน 2565-2566 เมียนมาขาดดุลการค้า 678.226 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเมื่อเทียบบประมาณ 2564-2565  ที่เมียนมาเกินดุลการค้า 315.991 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดย 7  เดือนที่ผ่านมา เป็นการส่งออกประมาณ 10.072 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้าอยู่ที่ 10.751 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมูลค่าการค้าทางทะเลของเมียนมาเพิ่มขึ้นเป็น 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 12.29 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณก่อน แต่การค้าชายแดนลดลงเล็กน้อยเหลือ 62.637 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากการค้าชายแดนกับจีนกลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังจากการระบาดของ COVID-19 เริ่มคลี่คลาย ทั้งนี้สินค้าส่งออกหลักของเมียนมา คือ ผลผลิตทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ส่วนการนำเข้า คือ สินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์เมียนมาพยายามลดการนำเข้าสินค้าที่ฟุ่มเฟือย โดยเน้นการนำเข้าสินค้าจำเป็น วัสดุก่อสร้าง สินค้าทุน วัสดุสำหรับสุขภาพหรืออนามัย แทน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-registers-trade-deficit-of-678-226-mln-as-of-11-november/

MoC ออกใบอนุญาตส่งออกข้าวภายใต้ MoU ไปบังกลาเทศ

ระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนมกราคม 2566 กระทรวงพาณิชย์เมียนมา (MoC) ได้อนุญาตส่งออกข้าวจำนวน 191,700 ตันที่จะส่งไปบังกลาเทศตามบันทึกข้อตกลงระหว่าง 2 ประเทศ (MoU) โดยจะมีการส่งออกข้าวจำนวน 200,000 ตันด้วยการชำระเป็นเงินหยวนของจีน ตามสัญญา ข้าวขาว (ATAP) พันธุ์ GPCT Broken STX ราคา FOB ที่ส่งออกจะอยู่ที่ 2,788.56 หยวนต่อตัน ซึ่งกรมการค้าของเมียนมาได้ออกใบอนุญาตส่งออกข้าวกว่า 191,700 ตัน มูลค่ากว่า 534 ล้านหยวน ให้กับบริษัทส่งออกข้าว 41 แห่ง ซึ่ง MOU ฉบับนี้ บังคลาเทศได้ตกลงที่จะซื้อข้าวขาว 250,000 ตันและข้าวนึ่งอีก 50,000 ตัน ตั้งแต่ปี 2565-2570 ทั้งนี้ กรมอาหารของบังกลาเทศและสมาพันธ์ข้าวแห่งเมียนมา (MRF) ได้ลงนาม MoU ร่วมกัน โดยได้ส่งข้าวเป็นครั้งแรกในปี 2560 จำนวน 100,000 ตัน และในปี 2564 เป็นครั้งที่ 2

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/moc-issues-export-licence-for-rice-to-be-shipped-to-bangladesh-under-mou/

โรงงานน้ำตาลในเมียนมา ประกาศรับซื้ออ้อย 90,000 จัตต่อตัน

ในฤดูหีบอ้อยของปีงบประมาณ 2565-2566 มีหลายๆ บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอ้อย ได้ประกาศว่าจะซื้ออ้อยในราคาเฉลี่ยประมาณ 90,000 จัตต่อตัน โดย Wilmar Sugar Company ประกาศ จะรับซื้ออ้อยในราคา 79,000 จัตต่อตัน ในขณะเดียวกัน Silver Pearl Sugar Company จะรับซื้ออ้อยในอัตรา 90,000 จัตต่อตันในช่วงฤดูหีบอ้อยปี 2565-2566 ขณะที่ โรงงานบางแห่งระบุว่าจะซื้ออ้อยในราคาเพียง 75,000 จัตต่อตันเท่านั้น ทั้งนี้จากรายงาน พบว่า เมียนมาผลิตน้ำตาลได้ประมาณ 45,000 ตันทุกปี  ในปีที่แล้วราคาน้ำตาลอยู่ที่ 900 จัตต่อปอนด์ แต่ตอนนี้ราคาพุง่ไปถึง 2,300 จัตต่อปอนด์

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/sugarcane-to-be-bought-at-around-k90000-per-tonne/

เดือนต.ค 65 เมียนมาส่งออกข้าวโพดทะลุ ! 177,000 ตัน

กระทรวงพาณิชย์ เผย เดือนต.ค.2565 เมียนมาส่งออกข้าวโพดกว่า 177,000 ตัน นำรายได้เข้าประเทศกว่า 53 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งงออกทางทะเล 174,970 ตัน และอีก2,870 ตัน ถูกส่งออกผ่านด่านชายแดน ซึ่งจากปัญหาการระบาดของ COVID-19 ที่ผ่านมา ทำให้การส่งออกส่วนใหญ่ต้องอาศัยการขนส่งทางทะเลเป็นหลัก โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม บังคลาเทศ ศรีลังกา และมาเลเซีย ซึ่งในปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ผ่านมา เมียนมาออกข้าวโพดประมาณ 2.3 ล้านตัน ทั้งนี้พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่สำคัญในเมียนมา ได้แก่ รัฐฉาน รัฐคะฉิ่น รัฐกะยา และรัฐกะเหรี่ยง รวมถึงไปถึงภาคมัณฑะเลย์ ภาคซะไกง์และภาคมะกเว

ที่มา: https://english.news.cn/asiapacific/20221112/92d074beee034d4aa5039841757ecd9c/c.html

 

เมียนมานำเข้าปุ๋ยทางทะเลทะลุ 75,000 ตัน มูลค่า 46.847 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ระหว่างวันที่ 1-31 ตุลาคม 2565 เมียนมานำเข้าปุ๋ยจากการค้าทางทะเลกว่า 75,000 ตัน มูลค่า 46.847 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนำเข้าจากโอมานมากกว่า 25,000 ตัน จีน 27,000 ตัน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 8,500 ตัน เวียดนาม 5,200  ตัน และไทย 3,800 ตัน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปริมาณการนำเข้าลดลงกว่า 35,000 ตันเมื่อเทียบกับเดือนกันยายนที่ผ่านมา ส่วนการนำเข้าผ่านชายแดนมีปริมาณมากกว่า 11,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 4.281 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเป็นการนำเข้าจากจีนประมาณ 5,700 ตัน ไทย 3,700 ตัน และอินเดีย 1,100 ตัน ทั้งนี้ราคาปุ๋ยจะเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 65,000-170,000 จัตต่อถุงกระสอบ (50 กก.) ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและชนิดของปุ๋ย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-imports-over-75000-tonnes-of-fertilizer-worth-46-847-mln-by-sea-in-oct/#article-title

เมียนมา ผลักดันบริษัทมากกว่า 600 แห่ง ยื่นจดทะเบียนกับ GACC เพื่อส่งออกสินค้าเกษตรไปจีน

บริษัทและวิสาหกิจในเมียนมามากกว่า 600 แห่ง รวมถึงบริษัทส่งที่ออกข้าว ข้าวหัก ข้าวโพด และกล้วย กำลังพยายามยื่นนจดทะเบียนกับกรมศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) เพื่อส่งออกสินค้ามากกว่า 1,600 รายการ โดยหน่วยงานของภาครัฐต่างๆ เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์และสัตวแพทย์ กรมประมง และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กำลังยื่นมือเข้าช่วยเหลือบริษัท วิสาหกิจ องค์กร และนิติบุคคล ที่กำลังขึ้นทะเบียนกับ GACC สำหรับสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ข้าวหัก ข้าวโพด และกล้วย ซึ่งสินค้าเกษตรของเมียนมาที่มีข้อตกลงระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล (G2G) นั้นมีส่วนแบ่งการตลาดที่เติบโตค่อนข้างแข็งแกร่ง ทั้งนี้บริษัทหรือวิสาหกิจที่จะทำการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวกับ น้ำมันเพื่อการบริโภค เมล็ดพืชน้ำมัน ขนมยัดไส้ รังนกและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ธัญพืชและมอลต์ ผักสดและแห้ง ถั่วแห้ง พันธุ์พืช ถั่วและเมล็ดพืช ผลไม้แห้ง กาแฟที่ยังไม่ได้คั่วและเมล็ดโกโก้ อาหารเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ รวมถึงผลิตภัณฑ์จากฟาร์ม ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และอาหารสัตว์ จำเป็นต้องยื่นขอใบอนุญาตจาก GACC เพื่อวางขายสินค้าในตลาดจีน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/over-600-local-companies-eye-registering-with-gacc-to-export-agri-products/#article-title