สามเดือนเมียนมาขาดดุลการค้ากว่า 230 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์เผยขาดดุลการค้ากว่า 230 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ในปีงบประมาณปัจจุบันซึ่งสูงกว่า 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 ถึง 1 มกราคม 64 ในปีงบการเงิน 63-64 ส่งออกสินค้ามูลค่า 3.685 พันล้านเหรียญสหรัฐลดลงกว่า 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับปีที่แล้วและนำเข้ามีมูลค่ากว่า 3.920 พันล้านเหรียญสหรัฐลดลงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นจึงขาดดุล 234.525 ล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะที่ช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้วมีการขาดดุลเพียง 89.233 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมียนมากำลังดำเนินการตามยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติเพื่อส่งเสริมการส่งออก แต่ไม่สามารถลดการนำเข้าสินค้าจำเป็นได้ ในทางปฏิบัติความพยายามในการลดการขาดดุลการค้าต้องเผชิญกับปัญหาบางประการ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-sees-trade-deficit-of-over-230m-in-three-months

อาคมถกนายกฯเตรียมเยียวยาประชาชน ลั่นเงินมีพอไม่ต้องกู้เพิ่ม

อาคม ถกนายกฯ มาตรการเยียวยาโควิด ยันมีแจกแน่ แต่ขอเลือกก่อนว่าแบบ เราไม่ทิ้งกัน หรือ คนละครึ่ง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้เข้าหารือร่วมกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ถึงรายละเอียดบรรเทาความเดือดร้อนผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบใหม่โดยกระทรวงการคลังจะกลับมาทำการบ้านเพิ่มเติม ขณะนี้รัฐบาลได้มีการเตรียมการเรื่องบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนแล้ว ซึ่งกำลังพิจารณารูปแบบ เช่น การเยียวยาเหมือนเดิม 5,000 บาท ระยะเวลา 3 เดือน หรือจะใส่เม็ดเงินเหมือนโครงการคนละครึ่งหรือไม่ เป็นรายละเอียดที่คลังต้องพิจารณา “ข้อเรียกร้องให้แจกเงิน 4,000 บาท ระยะเวลา 2 เดือนเยียวยาประชาชนนั้น เป็นข้อเสนอของเอกชน ไม่ทราบว่าเสนอบนพื้นฐานของอะไร แต่ส่วนของรัฐบาลได้มีการเตรียมการเรื่องบรรเทาความเดือดร้อน ซึ่งในรายละเอียดจะต้องพิจารณาอีกครั้ง แต่ยังไม่ได้เสนอ ครม.ในวันที่ 12 ม.ค.นี้ ต้องทำการบ้านให้จบก่อน” ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะใช้วงเงินจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท โดยล่าสุด กระทรวงการคลังกู้เงินจากวงเงินดังกล่าวแล้ว 3.7 แสนล้านบาท และเบิกจ่ายเงินแล้ว 3.6 แสนล้านบาท จึงยังมีเพียงพอ ยังไม่จำเป็นต้องขอกู้เงินเพิ่มเติม

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/818373

รัฐบาลกัมพูชาเร่งประชุมทางเทคนิคในการจัดซื้อวัคซีน COVID-19

รัฐบาลกัมพูชาเรียกคณะทำงานประชุมทางเทคนิคครั้งแรกเพื่อหารือเกี่ยวกับกลยุทธ์และแผนการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 สำหรับฉีดให้คนกัมพูชาอย่างรวดเร็ว โดยการประชุมได้พิจารณาถึงพื้นฐานที่เชื่อถือได้และปริมาณสำหรับการซื้อวัคซีน ตลอดจนวิธีการแจกจ่ายสำหรับการใช้งานในกรณีฉุกเฉินและในกรณีทั่วไป ซึ่งพิจารณาจากซัพพลายเออร์ผู้จัดจำหน่ายวัคซีนหลายรายที่อาจได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ในอนาคตอันใกล้ โดยมุ่งเน้นที่ผลประโยชน์สูงสุดของประชาชนชาวกัมพูชา อีกทั้งการประชุมยังได้ศึกษาทางเลือกในการจัดหาเงินทุนที่เป็นไปได้ รวมทั้งจากงบประมาณแผ่นดิน ให้ความช่วยเหลือและเงินกู้สัมปทานจากหุ้นส่วนการพัฒนาทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อเป็นการตอบสนองต่อการระบาดในครั้งนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50802014/cambodia-covid-19-containment-policy-first-technical-meeting-to-procure-covid-19-vaccine-convened/

รัฐบาลกัมพูชาจัดหาเงินเพิ่มสำหรับการกักกันแรงงานที่เดินทางกลับจากไทย

รัฐบาลกัมพูชาตัดสินใจเพิ่มงบประมาณจัดสรรให้กับ 4 จังหวัดชายแดนสำหรับการกักกันแรงงานกัมพูชาที่เดินทางกลับจากประเทศไทยจำนวน 700 ล้านเรียล (170,000 ดอลลาร์) รวมถึงรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศกล่าวกับสื่อท้องถิ่นว่าจังหวัดพระตะบองและบันเตียเมียนเจยได้รับการจัดสรรเพิ่มเติมอีก 200 ล้านเรียล (49,000 ดอลลาร์) จังหวัดอุดรมีชัยได้รับเงินเพิ่มอีก 100 ล้านเรียล (24,000 ดอลลาร์) สำหรับการต่อสู้กับ โควิด-19 ในภูมิภาค โดยรายงานอ้างว่าแม้ว่าจุดผ่านแดนของไทยจะยังคงถูกปิด แต่ก็ยังคงเปิดรับแรงงานกัมพูชาที่มีความประสงค์เดินทางกลับมายังกัมพูชา ซึ่งจำเป็นต้องมีการกักกัน 14 วัน ถึงจะอนุญาตให้เดินทางกลับไปยังบ้านพักได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50802078/government-provides-additional-700-million-riels-for-quarantining-of-workers-returning-from-thailand/

หน่วยงานรัฐบาลสปป.ลาวเร่งศึกษาวิธีการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน

หน่วยงานภาครัฐได้รับคำสั่งให้ศึกษากลไกและแนวทางในการดำเนินนโยบายแปลงสินทรัพย์เป็นทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติมากขึ้น การเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาระหนี้ที่พวกเขาก่อขึ้นจากการดำเนินกิจการรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ในระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีและผู้ว่าราชการจังหวัดได้หารือเกี่ยวกับผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด -19 ต่อเศรษฐกิจ วิกฤตดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการส่งออกการท่องเที่ยวและภาคบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทำให้รายได้ของ บริษัท และครัวเรือนหดตัว แม้จะมีความท้าทายที่น่ากลัว แต่รัฐบาลก็พยายามที่จะสร้างความมั่นใจให้กับการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยทางสังคมเพื่อให้ประชาชนสามารถหาเลี้ยงชีพและลดความยากจนได้

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_6.php

ตะนาวศรีเสนออุตสาหกรรมประมงเป็นเขตเศรษฐกิจ

รัฐบาลเขตตะนาวศรีได้ยื่นข้อเสนอต่อคณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC) ในการสร้างเขตเศรษฐกิจสำหรับอุตสาหกรรมการประมงรวมโดยรวมถึงตลาดค้าส่งปลา ห้องเย็นและท่าเทียบเรือเพื่อการค้าชายแดนระหว่าเมียนมา-ไทย ทั้งนี้ยังสร้างโอกาสในการทำงานให้กับแรงงานข้ามชาติเมียนมาและในระยะยาวสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มสำหรับอุตสาหกรรมประมงของท้องถิ่น โครงการนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศ ปัจจุบันเริ่มมีการส่งออกปลาดุกไปยังจีนแม้ว่าเมียนมากำลังใช้เส้นทางที่ยากลำบากในการส่งออกไปยังจีนเพราะการระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ต้องเลี่ยงไปใช้เส้นมางด่านมูเซแทนด่านชินฉ่วยฮ่อเป็นระยะ 3 เดือน ในปีงบประมาณ 62-63 อุตสาหกรรมประมงมีรายได้จากการส่งออกเพียง 860 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากที่คาดการณ์ไว้มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะนี้รัฐบาลยังพยายามส่งเสริมการบริโภคการประมงของท้องถิ่นในตะนาวศรี ย่างกุ้ง อิรวดี และมัณฑะเลย์ โดยได้หารือเกี่ยวกับการส่งเสริมการบริโภคปลาและปรับโครงสร้างระบบการจัดจำหน่าย เช่น การใช้รถบรรทุกตู้เย็นเพื่อขายปลา กุ้งและปลาหมึกในท้องถิ่น หากดำเนินการตามแผนรัฐบาลคาดว่าภายในสองหรือสามปีการบริโภคปลาในท้องถิ่นจะพิ่มขึ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/tanintharyi-government-proposes-economic-zone-fisheries.html

คุมเข้มทุเรียนเพื่อนบ้านสวมสิทธิทุเรียนไทยส่งออกจีน

กรมการค้าต่างประเทศ สั่งคุมเข้มทุเรียนเพื่อนบ้านสวมสิทธิทุเรียนไทยส่งออกไปจีน ห่วงกระทบภาพลักษณ์ทุเรียน นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า  กรมฯ ได้รับแจ้งให้สำนักงานพาณิชย์ และผู้ส่งออกจังหวัดจันทบุรีเร่งตรวจสอบ หลังพบว่ามีการนำเข้าทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน มาสวมสิทธิเป็นทุเรียนไทย พร้อมกับใช้หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรส่งออกไปยังประเทศจีน ซึ่งถือเป็นการปลอมแปลงถิ่นกำเนิด และส่งผลต่อภาพลักษณ์รวมถึงชื่อเสียงของทุเรียนไทย “เพื่อป้องกันการสวมสิทธิทุเรียนไทย และป้องกันการแอบอ้างถิ่นกำเนิด กรมฯ จึงได้ดำเนินการเพิ่มสินค้าทุเรียนในบัญชีรายการสินค้าเฝ้าระวัง ซึ่งจะทำให้ขั้นตอนในการพิจารณาออกหนังสือรับรองฯ เข้มงวดและรัดกุมยิ่งขึ้น” หรับสินค้าทุเรียนที่ถูกสวมสิทธินั้น ประกอบด้วย ทุเรียนสด  พิกัดศุลกากร 0810.60 และทุเรียนแช่แข็ง  พิกัดศุลกากร 0811.90 ซึ่งกรมฯ ได้กำหนดแนวปฏิบัติในการออกหนังสือรับรองฯ ทุกประเภท สำหรับสินค้าทุเรียนดังกล่าว โดยให้ผู้ยื่นขอหนังสือรับรองฯ ต้องระบุข้อความยืนยันแหล่งที่มาของทุเรียนในประเทศที่ขอรับหนังสือรับรองฯ เพิ่มเติมลงในแบบขอรับการตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิดเพื่อขอใช้สิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร  ตั้งแต่วันที่ 21 ธ.ค.63 เป็นต้นไป นายกีรติกล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าว จะเป็นการดำเนินงานเชิงรุกในการป้องกันการสวมสิทธิและการแอบอ้างถิ่นกำเนิดสินค้าทุเรียน เพื่อให้ไทยได้รับความเชื่อถือและความมั่นใจจากประเทศคู่ค้าว่า ทุเรียนที่ส่งออกจากไทยเป็นทุเรียนที่มีถิ่นกำเนิดไทยจริง โดยจากสถิติการส่งออกทุเรียนสดและทุเรียนแช่แข็งของไทย ปี 63 (ม.ค.-ต.ค.) ปริมาณรวม 631,394 ตัน มูลค่า 69,153 ล้านบาท ปริมาณลดลง 4.2% แต่มูลค่าเพิ่มขึ้น 42.9%  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 62 โดยส่งออกไปยังประเทศ 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน ฮ่องกง และเวียดนาม ตามลำดับ

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/818113

เวียดนามเดินหน้าสู่ศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ

นาย Nguyen Chi Dung รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน กล่าวว่าหลังจากล่าช้ามาหลายปี เวียดนามก็เริ่มดำเนินก่อตั้งศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ ตามแผนในปีนี้  ซึ่งในปัจจุบัน เวียดนามได้รับโอกาสอีกครั้ง ในการจัดตั้งศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ (IFC) และเมืองสำคัญ อาทิ เมืองโฮจิมินห์ และดานัง เป็นต้น ศูนย์กลาง IFC จะดึงดูดเงินทุนระหว่างประเทศและเพิ่มรายได้ของรัฐบาล ทั้งนี้ ศูนย์กลางทางการเงิน จะกระจายไปทั้งทั่วภูมิภาคหรือเมืองที่พร้อมด้านการบริการทางการเงินอย่างเต็มรูปแบบ และสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนขนาดใหญ่ได้โดยตรงจากกลุ่มธนาคาร บริษัทประกัน กองทุนเพื่อการลงทุนและตลาดทุนที่จดทะเบียน ด้วยเหตุนี้ จะช่วยให้บริษัท องค์กรและผู้คนจากทั่วโลก เข้ามาใช้ประโยชน์จากการจัดหาเงินทุนในห่วงโซ่อุปทานและการจัดการความเสี่ยง

  ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/vietnam-to-begin-work-on-international-financial-center-in-earnest-4218770.html

เวียดนามเผยอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ คาดว่ายอดขายในประเทศพุ่ง แต่ส่งออกชะลอตัว

ตามรายงานของ SSI Research เปิดเผยว่าความต้องการปูนซีเมนต์ในประเทศคาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 5-7% ในปีนี้ เมื่อเทียบกับปี 63 โดยยอดขายในประเทศที่เพิ่มขึ้นนั้น ส่วนใหญ่มาจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการไหลเข้าของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) รวมถึงการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ ล้วนส่งผลให้ความต้องการปูนซีเมนต์พุ่ง ในขณะที่การส่งออกปูนซีเมนต์ คาดว่าอยู่ในระดับไม่เปลี่ยนแปลง/ทรงตัว เนื่องจากความต้องการนำเข้าของจีนยังอยู่ในระดับสูง การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ตามคงเป็นเรื่องยากที่จะเห็นการเติบโตสูงขึ้นในปี 63 เป็นผลมาจากอุปทานปูนซีเมนต์ของจีนที่กำลังค่อยๆฟื้นตัว ทั้งนี้ คาดการณ์ว่ากำลังการผลิตรวมของอุตสาหกรรมดังกล่าว จะเพิ่มขึ้น 7 ล้านตัน หรือ 7% เนื่องจากสายการผลิตใหม่ที่เริ่มเปิดดำเนินการในปลายปี 63 และต้นปีนี้ สำหรับการส่งออกของอุตสาหกรรมดังกล่าวนั้น พบว่าอุตฯ พึ่งพาตลาดจีนค่อนข้างมาก และสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือการปรับนโยบายการคลังที่เข็มงวดขึ้นในอนาคตข้างหน้า

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/855281/cement-industry-domestic-sale-forecast-to-increase-but-export-to-slowdown.html

FTA ดันส่งออกนมและผลิตภัณฑ์นมไปตลาดโลกโต 5%

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศภายใต้กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า เอฟทีเอหนุนส่งออกสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมของไทย 11 เดือน ปี 2563 ขยายตัว 5% มูลค่าส่งออกกว่า 516 ล้านเหรียญสหรัฐ โดย 94% เป็นการส่งออกไปประเทศคู่          เอฟทีเอ พบว่านมและผลิตภัณฑ์นมซึ่งเป็นหนึ่งในสินค้าดาวรุ่งของไทยมีการพัฒนาและยังปรับตัวได้ดีท่ามกลางกระแสการค้าโลกที่มีความท้าทายสูง ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมของไทยไปตลาดโลกเพิ่มขึ้น      คืออุตสาหกรรมนมและผลิตภัณฑ์นมของไทยมีศักยภาพในการผลิตและมีคุณภาพที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียน สินค้านมและผลิตภัณฑ์นมของไทยจึงเป็นที่นิยมและมีความพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมนมในอาเซียน ทั้งนีความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันซึ่งภายใต้ความตกลงการค้าเสรีของไทยสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมทุกรายการที่ส่งออกจากไทยได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าแล้วจาก 14 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี และฮ่องกง ส่วนอีก 4 ประเทศ ได้ลดภาษีนำเข้าสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมให้ไทยบางส่วนแต่ยังเก็บภาษีนำเข้าในบางสินค้า เพื่อสร้างโอกาสขยายการส่งออกและขยายตลาดให้กับสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมของไทยได้เพิ่มขึ้น กระทรวงพาณิชย์มีแผนจะจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจออนไลน์ (Online Business Matching) ระหว่างผู้ประกอบการโคนมแปรรูปของไทยกับผู้นำเข้า ผู้กระจายสินค้า ผู้แทนห้างค้าส่ง/ค้าปลีก ในตลาดจีนเพื่อขยายมูลค่าการค้าของผลิตภัณฑ์นมให้สูงขึ้น

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/beco/3189424