ราคาข้าวเมียนมาในประเทศ ดิ่งฮวบ!

ศูนย์ค้าส่งข้าววะดาน เผย ราคาข้าวหักในในประเทศราคาร่วงลงอีกครั้งหนึ่ง ระหว่างวันที่ 11 – 15 ก.ค.2565 ราคาข้าวหักที่เคยสูงถึง 35,000 จัตต่อถุง (108 ปอนด์) ราคาลดฮวบเหลือ 28,000 จัตต่อถุงในวันที่ 18 ก.ค.2565  ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ 7,000 จัตต่อถุงภายใน 3 วัน ราคาข้าวปัจจุบันอยู่ในช่วงระหว่าง 31,200 จัตต่อถุง ถึง 55,000 จัตต่อถุงขึ้นอยู่กับสายพันธ์ ตั้งแต่ ไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2565-2566 (เม.ย.-มิ.ย.2565) เมียนมาส่งข้าวและข้าวหักกว่า 550,000 ตัน โดยส่งออกทางทะเลกว่า 510,000 ตัน และผ่านชายแดนอีก 33,000 ตัน โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฟิลิปปินส์, จีน, เบลเยียม, สเปน ฯลฯ ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ผ่านมา เมียนมา มีรายได้กว่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าว 2 ล้านตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/broken-rice-prices-fall-again/#article-title

ชาวประมงรัฐยะไข่ มุ่งเลี้ยงหอยนางรม-ปลาเก๋าดอกแดง สร้างรายได้งาม

กรมประมงของรัฐยะไข่ เผย ชาวประมงเริ่มเพาะเลี้ยงหอยนางรมและปลาเก๋าดอกแดง เพื่อส่งขายไปยังย่างกุ้งและเมืองอื่นๆ โดยราคาหน้าฟาร์มจะอยู่ระหว่าง 1,500 ถึง 2,000 จัต ส่วนที่ส่งไปยังโรงแรมและร้านอาหาร ราคาจะขายได้มากกว่า 5,000 จัต ขึ้นอยู่กับการแปรรูป ซึ่งหอยนางรมและปลาเก๋าดอกแดงส่วนใหญ่แล้วจะถูกเพาะเลี้ยงบริเวณป่าชายเลนของรัฐยะไข่ เขตตะนาวศรี และย่างกุ้ง โดยการเลี้ยงปลาเก๋าดอกแดงใช้เวลาประมาณ 6 เดือนจึงสามารถส่งขายได้ ราคาจะอยู่ระหว่าง 15,000-30,000 จัต ทั้งนี้ หอยนางรมและปลาเก๋าดอกแดงส่วนใหญ่มีการเพาะเลี้ยงในเมืองตั่งตแว, กวะ, มานออง, ย่าน-บแย และ เจาะตอ ของรัฐยะไข่

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/rakhine-state-produces-oysters-orange-spotted-groupers-on-commercial-scale/#article-title

การค้าเขตการค้าเมียวดี หดตัวเหลือ 42.262 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการค้าของเขตการค้าเมียวดีของวันที่ 18-24  มิ.ย.2565 ที่ผ่านมา มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 42.262 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  แบ่งเป็นการส่งออก 13.165 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  และนำเข้า 29.097 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ซึ่งน้อยกว่าสัปดาห์ก่อนหน้าที่มีการส่งออก 10.786 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้า 0.561 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ การส่งออกลดลงในสินค้าเกษตรและเครื่องนุ่งห่ม ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นจะเป็นอุปกรณ์โทรศัพท์และการสื่อสาร จำหน่ายและติดตั้งพลังงานไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปุ๋ย วัตถุดิบพลาสติก เภสัชภัณฑ์ และสิ่งทอลูกไม้

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myawady-trade-zone-handled-us-42-262-million-worth-of-trade-volume/#article-title

ไตรมาสแรกของปีงบฯ 65-66 ภาคการผลิตเมียนมาดูดเม็ดเงินลงทุนจากจีนไปแล้วกว่า 11.112 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

คณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) ของเมียนมา เผย ไตรมาสที่ 1 (เม.ย.-มิ.ย.2565) ของปีงบประมาณ 2565-2566 มีการลงทุนในภาคการผลิตจาก 7 บริษัทของจีน รวมทั้งสิ้น  11.112 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากเม็ดเงินลงทุนทั้งหมด 21.99 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มทุนจากฮ่องกง ลงทุนกว่า 5.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ญี่ปุ่นประมาณ 3.1 และไต้หวันอีก 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ว่าสถานประกอบการที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมากต้องเผชิญกับผลกระทบของโควิด-19 และความไม่สงบทางการเมือง แต่ขณะนี้เริ่มกลับสู่ภาวะปกติหลังจมีการเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับแรงงาน ตั้งแต่เดือนก.ย.2564 ที่ผ่านมา โดยภาคการผลิตส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอที่ผลิตแบบ CMP (การตัด การผลิต และบรรจุภัณฑ์) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของจีดีพีประเทศ ทั้งนี้ ในช่วงงบประมาณย่อยที่ผ่านมา (เดือนต.ค. 2564 ถึงเดือนมี.ค. 2565) เมียนมาดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 647.127 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 49 บริษัทต่างชาติ ในจำนวนนี้ มี 40 บริษัทลงทุนในภาคการผลิต

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-manufacturing-sector-attracts-11-million-from-china-in-q1-april-june/#article-title

ราคาข้าวส่งออกไปจีนผ่านด่านมูเซ พุ่งขึ้น!

นาย อู มิน เต็ง รองประธานศูนย์ค้าส่งข้าวชายแดนมูเซ เผย ราคาส่งออกข้าวไปจีนราคาพุ่งสูงเป็นที่พอใจเป็นอย่างมาก โดยราคาข้าวหักอยู่ที่ 36,000 จัตต่อถุง (น้ำหนัก 50 กิโลกรัม) จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของต่างประเทศ คาดว่าจะหนุนราคาไปได้ถึง 45,000 จัตต่อถุง ปัจจุบันมีการส่งข้าวและข้าวหักจีนผ่านชายแดนมูเซอยู่ที่ประมาณ 10,000 ถุง ซึ่งก่อนหน้านี้มีปริมาณการส่งออกมากถึง 60,000 ถุง ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. ถึง 30 มิ.ย.2565 ของปีงบประมาณ 2565-2566 มีส่งออกข้าวและข้าวหักกว่า 550,000 ตัน โดย 510,000 ตัน ส่งออกทางทะเล และผ่านชายแดนอีก 33,000 ตัน ทั้งนี้ เมียนมามีรายได้จากการส่งออกข้าวในปีงบประมาณ 2563-2564 ประมาณ 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าว 2 ล้านตัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/broken-rice-export-to-china-fetches-high-price/#article-title

Q1 ของปีงบ 65-66 ค้าระหว่างประเทศเมียนมา พุ่งแตะ 18.19%

ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ถึง วันที่ 24 มิ.ย.2565 ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2565-2566  มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเมียนมาเพิ่มขึ้น 18.19% เมื่อเทียบปีก่อน คิดเป็นมูลค่า 7.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกเพิ่มขึ้น 18.34 % ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น 18.04 % แม้ว่าการค้าโดยรวมจะสูงขึ้น แต่การค้าชายแดนของประเทศลดลง 15.54 % มาอยู่ที่กว่า 1.719 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งการค้าขายส่วนใหญ่ผ่านเส้นทางเดินเรือ ส่วนการค้าชายแดนจะทำการค้ากับจีน ไทย บังกลาเทศ และอินเดีย ทั้งนี้สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา ได้แก่ สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ การประมง แร่ธาตุและผลิตภัณฑ์จากป่า ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา : https://english.news.cn/20220707/a1174db83ab2439296f539a3a2e35999/c.html

เดือน เม.ย.-มิ.ย.65 เมียนมาส่งออกข้าวไปแล้วกว่า 550,000 ตัน

รายงานของสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) พบว่า  สามเดือนที่ผ่านมาของปี 2565 (เม.ย.-มิ.ย.) เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักมากกว่า 550,547 ตัน จากบริษัทผู้ส่งออกข้าวประมาณ 38 บริษัทผ่านการค้าทางทะเล ในขณะที่ 33,593 ตันถูกส่งออกผ่านด่านชายแดน ซึ่งลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปีที่แล้วเนื่องจากความเข้มงวดของจีน ส่วนใหญ่แล้วเมียนมาสงออกข้าวไปยังฟิลิปปินส์ (65,990 ตัน) และจีน (54,635 ตัน) ปัจจุบันราคาข้าวขาวคุณภาพต่ำอยู่ที่ประมาณ 320-360 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ซึ่งราคาส่งออกค่อนข้างต่ำกว่าราคาขาวของไทยและเวียดนาม แต่ยังสูงกว่าราคาของอินเดียและปากีสถาน ทั้งนี้ราคาข้าวส่งออก (คุณภาพต่ำ) อยู่ในช่วง 29,000 และ 30,000 จัตต่อถุง (น้ำหนัก 108 ปอนด์) ราคาขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าวที่ในประเทศ ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.2564 ถึงวันที่ 31 มี.ค.2565 ของปีงบประมาณย่อย (2564-2565)  เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักมากกว่า 1.4 ล้านตัน ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2563-2564  เมียนมาการส่งออกข้าว 2 ล้านตัน สร้างรายได้กว่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-over-550000-mt-of-rice-in-april-june/#article-title

ราคาน้ำมันปาล์มในเมียนมาปรับตัวสูงขึ้น

เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.2565 ราคาน้ำมันปาล์มนอกเขตเมืองย่างกุ้ง ลดฮวบเหลือ 6,300 จัตต่อ viss จากราคาเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.2565 ที่ 8,000 จัตต่อ viss เนื่องจากราคาน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศมีความผันผวนอย่างรวดเร็ว ที่ผ่านมาระหว่างวันที่ 9 ถึง 30 มิ.ย ราคาน้ำมันลดลงประมาณ 1,000 จัตต่อ viss เนืองจากความต้องการของจีนที่มีแนวโน้มลดลง และผลผลิตน้ำมันปาล์มของมาเลเซียที่ออกมาล้นตลาด ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ความต้องการในประเทศมีแนวโน้มมากขึ้น เนื่องจากเรือบรรทุกน้ำมันจะเข้ามาในไม่ช้า และส่งผลให้ราคาในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ราคาน้ำมันปาล์มจะเริ่มปรับตัวสูงขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/palm-oil-prices-on-the-rise/

จักรยานมือสองญี่ปุ่น ครองส่วนแบ่งตลาดใน “มัณฑะเลย์”

เมืองมัณฑะเลย์เป็นเมืองที่ขึ้นชื่อว่ามีการใช้จักรยานเพื่อการท่องเที่ยวในเขตเมืองเป็นหลัก ซึ่งจักรยานมือสองจากญี่ปุ่นมีส่วนแบ่งการตลาดสูงในเมืองมัณฑะเลย์ ทำให้มียอดขายสูงขึ้นส่งผลให้ราคาปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ราคาอยู่ที่ประมาณ 120,000 – 150,000 จัตต่อคัน ซึ่งจักรยานจากญี่ปุ่นที่นำเข้ามาในประเทศจะผ่านทางทะเล หลังจากนั้นร้านที่รับซื้อจะทำการซ่อมบำรุงรักษาเพื่อไปขายต่อให้กับผู้ที่สนใจรับซื้อ ปัจจุบันในตลาดจะมีที่นำเข้ามาทั้งจากจีนและญี่ปุ่นแต่ที่นิยมส่วนมากจะเป็นของญี่ปุ่นเพราะ มีความทนทานสูงและสมรรถนะที่ดี และในช่วงที่น้ำมันแพงยิ่งเป็นตัวเร่งให้จักรยานเป็นที่ต้องการในตลาดเป็นมากขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/used-bikes-from-japan-grasp-market-share-in-mandalay-city/

ครึ่งปีแรกของปี 65 ท่าเรือย่างกุ้งมีเรือขนส่งสินค้า เทียบท่าถึง 306 ลำ !

การท่าเรือเมียนมา เผย ครึ่งแรกของปี 2565 (ม.ค.-มิ.ย.) มีเรือขนสินค้าทั้งหมด 306 ลำเข้าจอดเทียบท่าของท่าเรือย่างกุ้ง ทำให้มีแผนที่จะขยายการให้บริการตั้งแต่เดือนพ.ค.2565 เพื่อให้การส่งออกและนำเข้าสะดวกสะบายมากขึ้น โดยมีจำนวนเรือที่เข้ามาเทียบท่า ดังนี้ เดือนม.ค. จำนวน 49 ลำ,เดือนก.พ จำนวน 48 ลำ, เดือนมี.ค. จำนวน 50 ลำ, เดือนเม.ย. จำนวน 52 ลำ, เดือนพ.ค.จำนวน 54 ลำ และเดือนมิ.ย. จำนวน 53 ลำ ซึ่งมูลค่าการค้าทางทะเลระหว่างวันที่ 1 เม.ย. ถึง 24 มิ.ย.2565 ของปีงบประมาณปัจจุบัน 2565-2566 มีมูลค่า 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 1.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว ที่มีมูลค่าการค้า 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์ประมง แร่ธาตุ ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในขณะที่การนำเข้า ได้แก่ สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และวัตถุดิบอุตสาหกรรม ปัจจุบันเมียนมามีท่าเรือ 9 แห่ง ซึ่งท่าเรือย่างกุ้งถือเป็นประตูการค้าทางทะเลของเมียนมา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/yangon-port-handles-306-cargo-ships-in-h1/#article-title