อุตสาหกรรมเครื่องดื่มของเวียดนาม พยายามหาทางออกจากวิกฤติที่คาดไม่ถึง

ในการประชุม ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน นาย Hoang Quang Phong รองประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) เปิดเผยว่าบริษัทเครื่องดื่มอย่าง Sabeco, Habeco, Carlsberg Vietnam และ Heineken Vietnam มีส่วนแบ่งทางการตลาดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในเวียดนาม รวมกันร้อยละ 90 แต่ด้วยปัจจัยลบจากการดำเนินธุรกิจ ส่งผลให้ธุรกิจดังกล่าวล้มเหลวไปสู่อุตสาหกรรมโดยรวมในไม่กี่ปีข้างหน้า และอีกปัจจัยหนึ่ง คือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงนโยบายของภาครัฐฯ ในปัจจุบัน ที่ล้วนส่งผลให้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มในประเทศเข้าสู่วิกฤติอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า คาดว่าการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มในปี 2562 มีสัดส่วนร้อยละ 15 ของ GDP และจะเพิ่มขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตาม “Sabeco” ผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีกำไรลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 44 ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ แต่ผลการดำเนินงานเริ่มกลับมาฟื้นตัวในไตรมาสที่ 3 มีกำไรอยู่ที่ 63.34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ประเด็นของทางออกจากวิกฤต นาย Nguyen Van Viet กล่าวว่าในช่วงวิกฤตโควิด-19 ธุรกิจในท้องถิ่นส่วนใหญ่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่อุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่มีส่วนน้อยร้อยละ 2 ยังคงไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐฯ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-beverage-industry-struggles-to-find-way-out-of-unprecedented-crisis-314924.html

ผลการดำเนินงานของธนาคารเวียดนามดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Fitch Rating ในรายงานฉบับใหม่ เปิดเผยว่าผลประกอบการดำเนินงานของธนาคารเวียดนามในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ แสดงให้เห็นถึงคุณภาพสินทรัพย์ฟื้นตัวและความสามารถในการทำกำไรดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในไตรมาสที่ 3 ปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยเฉพาะตลาดแรงงานที่มีแนวโน้มดีขึ้น หลังจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่คาดว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกจากการควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ หน่วยงานดังกล่าว คาดการณ์ว่าผลประกอบการของธนาคารจะฟื้นตัวในปี 2564 จากการด้อยค่าของสินทรัพย์ลดลงและการเติบโตของสินเชื่อที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับปีที่แล้วในไตรมาสที่ 3

ที่มา : https://www.vir.com.vn/vietnamese-banks-performance-improves-with-economic-recovery-80916.html


การค้าเมียนมาหดตัว เซ่นพิษ COVID-19

5 สัปดาห์แรกของปีงบประมาณ 63-64 มูลค่าการค้าของเมียนมาลดลงประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วอันเป็นผลมาจาก COVID-19 โดยในปีนี้มีมูลค่าการค้ามากกว่า 2.53 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับ 3.99 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว แม้จะมีแนวโน้มลดลงแต่กระทรวงพาณิชย์ได้เพิ่มเป้าหมายในปีงบประมาณปัจจุบันขึ้น 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเป็น 34,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยมีการส่งออก 16.2 พันล้านเดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้า 18.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากรายงานของกระทรวงพาณิชย์ การส่งออกผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้รับผลกระทบที่รุนแรงที่สุดซึ่งประกอบด้วยการส่งออกที่ลดลง 70% ในปีนี้ การส่งออกเครื่องนุ่งห่มก็ลดลงเช่นกัน อย่างไรก็ตามการส่งออกสินค้าเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นซึ่งสอดคล้องกับแผนในการกระตุ้นการค้าในปีนี้ โดยกำลังวางแผนเพิ่มการผลิตพืช เช่น ข้าวและข้าวโพดในการส่งออกเพื่อชดเชยสำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งออกลดลง ส่วนการนำเข้าก็ลดลงเช่นกันเนื่องจากความต้องการภายในประเทศลดลง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-trade-volumes-soften-back-covid-19.html

เมียนมามีแผนปรับปรุงการภาคบริการเพื่อรับมือ COVID-19

กระทรวงโรงแรมและการท่องเที่ยวพยายามปรับปรุงบริการในภาคการท่องเที่ยวเพื่อให้เป็นไปตามแผนงานการฟื้นฟูยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของเมียนมาที่ได้จัดทำขึ้นร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากนานาประเทศเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวหลังการระบาดของโควิด -19 ทั้งนี้ธุรกิจต่างๆ จะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน COVID-19 เพื่อกลับมาเปิดการดำเนินการใหม่อีกครั้ง ซึ่งผู้ประกอบการกล่าวว่าภาคการท่องเที่ยวต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาลในการฟื้นตัว คาดว่าจะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งหลังจากยกเลิกข้อจำกัด โดยเริ่มจากการท่องเที่ยวในประเทศก่อน ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวกล่าวว่ากระทรวงจำเป็นต้องร่วมมือกับกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-hotel-ministry-plans-improve-services.html

พาณิชย์ร่วมหารือรัฐมนตรีเอเปค หนุนปรับทิศทางการค้ารับมือโควิด

พาณิชย์ร่วมหารือรัฐมนตรีเอเปค หนุนปรับทิศทางการทำงานรับมือผลกระทบจากโรคโควิด-19  และยกระดับการทำงานขององค์การการค้าโลก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบการค้าและการลงทุน นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจาก รมว.พาณิชย์ ให้เข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีเอเปคครั้งที่ 31 ผ่านระบบทางไกล โดยในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการหารือในเรื่องการส่งเสริมความเชื่อมโยงของห่วงโซ่การผลิตโลก และรัฐมนตรีเอเปคได้รับรองรายงานการดำเนินงานของคณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุน ประจำปี 63 เพื่อมอบหมายให้เขตเศรษฐกิจเร่งสานต่อการดำเนินการที่ยังไม่แล้วเสร็จให้สำเร็จตามเป้าหมายโบกอร์ต่อไป ทั้งนี้ ไทยได้ร่วมกล่าวโดยมีประเด็นสำคัญ คือ การเสริมสร้างระบบการค้าพหุภาคี ให้มีเสถียรภาพ ลดการหยุดชะงักทางการค้า และสนับสนุนการเจรจาภายใต้องค์การการค้าโลก อาทิ การอุดหนุนประมง และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นต้น  การสนับสนุนการดำเนินการตามเป้าหมายโบกอร์ แสดงถึงความคืบหน้าของการดำเนินงานในภาพรวมของเขตเศรษฐกิจเอเปค การให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ซึ่งคำนึงถึงความแตกต่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยพร้อมสนับสนุนการดำเนินโครงการหรือข้อริเริ่มทางการค้า เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของสมาชิกเอเปคจนนำไปสู่การจัดทำความตกลง   และสนับสนุนการไหลเวียนของสินค้าจำเป็นในภูมิภาคเอเปคโดยจะต้องสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก และยินดีให้ความร่วมมือกับเขตเศรษฐกิจเอเปคในการกำหนดแนวทางร่วมกันเพื่ออำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายบุคลากรที่จำเป็น เพื่อรองรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจการค้าในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/808360

INFOGRAPHIC : ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและจำนวนประชากร ในกลุ่มสมาชิกอาร์เซ็ป

จากข้อมูลของ Worldometer และ World Bank เปิดเผยว่าความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เป็นสนธิสัญญาการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งครอบคลุมตลาดที่มีประชากรรวมกัน 2.2 พันล้านคน และมี GDP รวมกันกว่า 26.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเกือบ 30% ของ GDP โลก

จำนวนประชากร ณ เดือนพฤศจิกายน 2563 (ล้านคน) และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในปี 2562 (ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ)

  1. จีน – จำนวนประชากร 1,441 ล้านคน, GDP 14.34 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
  2. เกาหลีใต้ – จำนวนประชากร 51.3 ล้านคน, GDP 1.64 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
  3. ญี่ปุ่น – จำนวนประชากร 126.3 ล้านคน, GDP 5.08 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
  4. อาเซียน – จำนวนประชากร 669.8 ล้านคน, GDP 2.87 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
  5. ออสเตรเลีย – จำนวนประชากร 25.6 ล้านคน, GDP 1.39 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
  6. นิวซีแลนด์ – จำนวนประชากร 4.8 ล้านคน, GDP 0.207 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อวันจันทร์ (4 พฤศจิกายน 2562) อินเดียถอนตัวจากข้อตกลง RCEP

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/gdp-and-population-of-rcep-member-countries/190525.vnp

จุรินทร์ ชี้ไทยได้ประโยชน์จากซีพีทีพีพี หลังร่วมลงนามอาร์เซ็ป-แต่ยังเหลือขั้นตอนทำสัตยาบัน

เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์​ รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมครม.ว่า ในที่ประชุมวันเดียวกันนี้ จะยังไม่มีการนำเรื่องความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) เข้าหารือ เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรืออาร์เซ็ป ซึ่งหลังจากลงนามาร่วมกันเมื่อวันที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมาแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีผลบังคับใช้ทันที ขั้นตอนต่อไปจะต้องมีการให้สัตยาบันระหว่างประเทศสมาชิกทั้ง 15 ประเทศ รายละเอียดขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศที่กำหนดไว้ สำหรับประเทศไทยต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน ถ้ารัฐสภาผ่านความเห็นชอบ จึงจะสามารถแจ้งให้กับทางเลขาธิการอาร์เซ็ปทราบ ซึ่งตนจะเร่งนำเสนอต่อที่ประชุมรัฐสภาโดยเร็ว และให้ทันในสมัยประชุมนี้ มีระยะเวลาอีกเพียง 4 เดือนคือ พ.ย.2563-ก.พ.2564

ที่มา : https://www.naewna.com/business/532311

NA อนุมัตินโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจและกฎหมายเพิ่มเติม 5 ฉบับ

การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติสมัยที่ 10 (NA) สมัยสามัญครั้งที่ 8 สิ้นสุดลงในวันอังคารหลังจากอนุมัตินโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและกฎหมาย 5 ฉบับ ช่วงสามสัปดาห์ที่ผ่านมาสมาชิกสภานิติบัญญัติได้ถกเถียงหารือเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาล รวมถึงเรื่องภาระหนี้ที่เกิดขึ้นจากดำเนินนโยบายต่างๆในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19  ในปีนี้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของ COVID-19  และคาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.3 อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.72 ในช่วงเก้าเดือนที่ผ่านมา รัฐบาลยังได้รับการร้องขอของสมาชิกให้เพิ่มการผลิตทางการเกษตรเพื่อการส่งออกในขณะที่ลดการนำเข้าให้น้อยที่สุดเพื่อเป็นการบรรเทาอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน นอกจากนี้ในที่ประชุมยังได้มีการอนุมัติเพิ่มเติมกฎหมาย 5 ฉบับเพื่อให้สอดคล้องกับโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_NA_225.php

เวียดนามนำเข้ารถยนต์จำนวนมากจากไทย อินโดนีเซีย

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา เวียดนามนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศมากที่สุด (CBU) จากไทย จำนวน 38,800 คันและอินโดนีเซีย จำนวน 28,900 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 84 ของการนำเข้ารวม ทั้งนี้ ในภาพรวม มูลค่าการนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ อยู่ที่ 1.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จำนวนมากกว่า 80,000 คัน ในช่วงเวลาดังกล่าว ลดลงร้อยละ 33.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในเดือนตุลาคม เวียดนามนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศทั้งหมด อยู่ที่ 13,650 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnam-imports-most-cars-from-thailand-indonesia-818105.vov

เวียดนามเกินดุลการค้า แตะ 19.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเดือนม.ค.-ต.ค. ปี 63

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่ายอดเกินดุลการค้าในเดือนต.ค. อยู่ที่ประมาณ 2.94 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลักดันให้ยอดเกินดุลการค้าในช่วงเดือนม.ค.-ต.ค. อยู่ที่ระดับ 19.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยยอดการค้าระหว่างประเทศของเวียดนามอยู่ที่ 440.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเดือนม.ค.-ต.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออก 229.79 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่มูลค่าการนำเข้า 210.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ โทรศัพท์และชิ้นส่วนเป็นสินค้าส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนามในช่วงเดือนม.ค.-ต.ค. อยู่ที่ 42.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.3 ของยอดการส่งออกรวม รองลงมาคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และชิ้นส่วน, เสื้อผ้า, อุปกรณ์และชิ้นส่วน, รองเท้า, ไม้และผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้ ตามลำดับ นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกายังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดในช่วงดังกล่าว ด้วยมูลค่า 62.36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา รองลงมาจีนและสหภาพยุโรป ในขณะที่ จีนยังคงเป็นตลาดนำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 65.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา รองลงมาเกาหลีใต้และอาเซียน

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-trade-surplus-hits-us195-billion-in-jan-oct-314851.html