ญี่ปุ่นขอมีส่วนร่วมพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย

นาย U Myint San รองประธานคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) เผยรัฐบาลญี่ปุ่นยื่นข้อเสนอเพื่อเข้าร่วมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายแบบฐบาลต่อรัฐบาล (G2G) ถึงแม้มีการระบาดของ COVID-19 แต่ก็อนุมัติให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมทันทีและกำลังรอการสนับสนุนทางการเงินและทางเทคนิคเพื่อเริ่มต้นการก่อสร้างที่ล่าช้ามานาน โครงการการพัฒนาล่าสุดล่าสุดภายหลังจากจีนสนใจที่จะลงทุนในเขตเศรษฐกิจทวายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 63 ทวายคาดว่าจะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนซึ่งใหญ่กว่าติวลาในย่างกุ้งประมาณ 8 เท่าและใหญ่กว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวในยะไข่ถึงสิบเท่า เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายมีพรมแดนติดกับประเทศไทยโดยมีพื้นที่ 20,000 เฮกตาร์ซึ่งรวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมและท่าเรือ บริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างของไทยมีการลงนามบันทึกความเข้าใจเบื้องต้นระหว่างเมียนมาและไทยในปี 51 แต่หยุดชะงักลงในปี 56 เนื่องจากไม่สามารถหาเงินลงทุนได้ตามสัญญา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/japan-offers-participate-dawei-sez-development.html

รัฐบาลสปป.ลาวมั่นใจเศรษฐกิจปีหน้าฟื้นตัว

รัฐบาลสปป.ลาวมองเศรษฐกิจจะเติบโตร้อยละ 4-4.5 ในปีหน้าแม้ยังไม่มีความแน่นอนจากการสถานการณ์ COVID-19 และปัญหาทางการเงินของสปป.ลาวที่กำลังเผชิญในปัจจุบัน เพื่อบรรเทาความตึงเครียด ด้านงบประมาณ รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการดึงดูดการลงทุนภาคเอกชนเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและความพยายามลดความยากจนตามเป้าหมายแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรัฐบาลยังมีพยายามเสริมสร้างการผลิตเชิงพาณิชย์ร่วมกับอุตสาหกรรมแปรรูปตลอดจนส่งเสริมการบริการตามทางรถไฟและระเบียงเศรษฐกิจอื่น ๆ นอกจากนี้รัฐบาลจะเปิดตัวระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการจัดเก็บรายได้และเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการใช้จ่ายงบประมาณรวมถึงการดูแลควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ เงินสำรองต่างประเทศเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจเป้าหมายหลักประการหนึ่งของรัฐบาลในช่วงห้าปีข้างหน้าคือการติดตามการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสมยั่งยืนและมีประสิทธิผล

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_219.php

รัฐบาลกัมพูชาวางแผนลดภาษีสำหรับสินค้าส่งออกประเภทสินค้าทางการเกษตร

กัมพูชาซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่พึ่งพาสินค้าเกษตรที่มีการพัฒนาน้อยที่สุดในข้อตกลงการเจรจาการค้าเสรี (FTA) โดยประมาณร้อยละ 80 ของการส่งออกทั้งหมดของกัมพูชาคือ เสื้อผ้าและสิ่งทอ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปตามความชอบทางการค้าของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยขณะนี้รัฐบาลกำลังส่งเสริมสินค้าเกษตรผ่านการเจรจา FTA หลังจากที่ประเทศได้ลงนาม FTA กับจีน (CCFTA) อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 ต.ค. ซึ่งอย่างไรก็ตามข้าวของกัมพูชาไม่รวมอยู่ในรายการสินค้าภายใต้ CCFTA เนื่องจากประเทศได้รับกรอบโควต้าสำหรับการส่งออกข้าวสารไปยังจีนแล้ว ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาต่ำที่สุดควรได้รับการสนับสนุนทางภาษีศุลกากรเชิงกลยุทธ์เป็นลำดับแรก โดยสินค้าภายใต้ CCFTA ของจีนครอบคลุมสินค้ากว่า 340 รายการสำหรับการส่งออกของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50780935/lower-taxes-on-less-developed-agricultural-export-products-needed-as-trade-deals-sought/

PPSP ภายในกัมพูชายังคงไม่ดำเนินการซื้อหุ้นคืนหลังจากราคาหดตัว

ราคาหุ้นของเขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ (PPSP) แตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อวันศุกร์โดยราคาปิดที่ 1,850 เรียลต่อหุ้น เนื่องจากบริษัทระบุว่ายังคงดำเนินการเกี่ยวกับแผนการซื้อคืนหุ้นที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นเมื่อเดือนที่แล้ว โดยราคาหุ้น PPSP มีแนวโน้มลดลงนับตั้งแต่แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3,650 เรียลต่อหุ้นเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2019 เพิ่มขึ้นจากเดิม 2,890 เรียลเมื่อจดทะเบียนครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม 2016 ซึ่งบริษัทได้ประกาศจะไม่มีการจ่ายเงินปันผลในปีนี้และจะทำการซื้อหุ้นคืนแทนส่งผลทำให้ราคาหุ้นตกลงมาอย่างมาก โดยการซื้อหุ้นคืนบ่งบอกถึงความมุ่งมั่นของ PPSP ที่จะรักษาราคาหุ้นให้อยู่ภายใต้การควบคุม ซึ่งเห็นแนวโน้มการลดลงของราคาหุ้นของ PPSP มาตั้งแต่ในช่วงปีงบประมาณที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50780979/ppsp-yet-to-implement-buyback-as-share-price-hits-record-low-level/

เวียดนามเผยยอดการลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษในนครโฮจิมินห์ พุ่ง 321 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นาย Hua Quoc Hung ผู้อำนวยการของหน่วยงานบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษ (HEPZA) กล่าวว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ การจดทะเบียนธุรกิจรายใหม่รวมและการปรับเพิ่มเงินทุน มีมูลค่าอยู่ที่ 592 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่ เงินลงทุนจากต่างประเทศ อยู่ที่ 270.67 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา เงินลงทุนรวมในประเทศ สำหรับเขตอุตสาหกรรมส่งออกและเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีมูลค่ามากกว่า 321 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.6 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แบ่งออกเป็นจำนวน 46 โครงการใหม่ที่ยื่นขอจดทะเบียน ด้วยมูลค่ารวมราว 251 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และ 32 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามลำดับ นอกจากนี้ องค์กรต่างๆ ที่ยังไม่ฟื้นตัวในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ความคืบหน้าของโครงการประสบปัญหาเกี่ยวกับการระดมทุน ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการจึงรับพิจารณาอนุมัติความคืบหน้า 34 โครงการ

  ที่มา : https://en.dangcongsan.vn/economics/over-321-million-usd-invested-in-izs-in-ho-chi-minh-city-564353.html

ตลาดค้าปลีกเวียดนามดึงดูดผู้ประกอบการญี่ปุ่น

จากรายงานเศรษฐกิจและสังคมของสำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม (GSO) ระบุว่าถึงแม้จะเผชิญกับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปทั่วโลก แต่ว่าการส่งออกและนำเข้าของเวียดนามยังคงเติบโตไปในทิศทางเชิงบวก ในขณะที่ เดือนต.ค. ยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้วและร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ คุณ Tetsuyuki Nakagawa ผู้อำนวยการกลุ่มบริษัทอิออนเวียดนาม มองว่าสภาพแวดล้อมธุรกิจในอนาคตของเวียดนามอยู่ในทิศทางที่ดี ประกอบกับความพยายามของเวียดนามในการยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ช่วยให้ภาคค้าปลีกกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเครือข่ายธุรกิจศูนย์การค้า

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnamese-retail-market-lures-japanese-firms-816274.vov

DICA เปิดตัวแอปฯ ลงทุนออนไลน์เป็นครั้งแรกในเมียนมา

คณะกรรมการการลงทุนและการบริหาร บริษัท (DICA) ของเมียนมา จะเปิดตัวแอปพลิเคชันการลงทุนออนไลน์เพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนเพื่อดึงดูดนักลงทุน ฟังก์ชั่นใหม่ฯ นี้ จะช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการลงทุนโดยไม่ต้องไปที่สำนักงานของ DICA จึงเชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นให้เกิดการลงทุนมากขึ้นในช่วงเวลาที่การเดินทางเข้าประเทศยังถูกจำกัดจากการระบาดของ COVID-19 ทั้งยังลดการใช้กระดาษและลดจำนวนคนทำงานลง การเปิดตัวเกิดขึ้นหลังจาก DICA อนุญาตให้นักลงทุนและธุรกิจจดทะเบียนบริษัทผ่านระบบออนไลน์ ในปี 2561 ระบบการจดทะเบียนบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ Myanmar Companies Online (MyCO) ปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนมากกว่า 68,000 แห่ง กระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศ ได้อนุมัติใบอนุญาตทางออนไลน์มากขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/investment-applications-go-online-myanmar.html

คลังเชื่อ ไบเดน นั่งปธน.เป็นแรงหนุนช่วยเศรษฐกิจไทย

9 พ.ย.2563 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง กล่าวถึงกรณีที่นายโจ ไบเดน ชนะการเลือกตั้งและได้ขึ้นเป็นว่าที่ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ คนใหม่ ว่า ยังต้องรอติดตามนโยบายของประธานาธิบดีคนใหม่ก่อน อย่าเพิ่งรีบวิพากษ์วิจารณ์อะไรตอนนี้ แต่เมื่อพิจารณาตามนโยบายหาเสียงของนายโจ ไบเดน ในช่วงที่ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งเน้น 2 เรื่องสำคัญ 1.นโยบายด้านภาษี และ 2. นโยบายการขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ ทั้งนี้ ในส่วนของนโยบายภาษีและการขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ มองว่า เป็นข้อดี ที่ไทยจะได้ประโยชน์ตรงนี้ โดยเฉพาะเรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ จะส่งผลให้นักลงทุนมีการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย แต่ก็ต้องขอรอดูความชัดเจนของนโยบายของนายโจ ไบเดนอีกครั้ง

ที่มา: https://www.thaipost.net/main/detail/83278

9.11.63

Asean Sustainable Tourism Solutions Expo กระตุ้นการท่องเที่ยวในภูมิภาค

งาน Asean Sustainable Tourism Solutions Expo ครั้งที่ 3 งานแสดงสินค้าดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญและเอกลักษณ์ของสินค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผู้เข้าร่วมงานเป็นตัวแทนของหมวดหมู่ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธีมของงานได้แก่ ของใช้ในโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พลาสติกทางเลือก พลังงาน นอกจากนี้ภายในงานยังได้มีการอภิปรายในสามหัวข้อได้แก่ “ อนาคตของการท่องเที่ยวในอาเซียนและลาว “ การเดินทางที่ปลอดภัย: ความสำคัญของสุขภาพและความปลอดภัยในพิธีสารการฟื้นตัวที่มีประสิทธิภาพ” และ“ การสร้างแรงงานการท่องเที่ยวที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น” หัวข้อที่นำมาอภิปรายในงานจะเน้นไปในเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพในอีกแง่งานแสดงสินค้าดังกล่าวเป็นแคมเปญหนึ่งที่จะกระตุ้นการท่องเที่ยวให้เกิดในประเทศ ท่ามกลางสถานการณ์โลกที่เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้การส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ภาคการท่องเที่ยวผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt217.php

สปป.ลาว-เวียดนามกระชับความสัมพันธ์การค้ามากกว่า 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้จะมีการระบาด Covid-19

มูลค่าการส่งออกของสปป.ลาวไปยังเวียดนามเพิ่มขึ้นในปี 63 แม้ว่าจะมีการระบาด Covid-19 ก็ตาม โดยในปี 62 มูลค่าการส่งออกจากสปป.ลาวไปเวียดนามในช่วง 9 เดือนแรกอยู่ที่ 757.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 758 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าลดลงจาก 458 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วง 9 เดือนของปี 62 เหลือ 410 ล้านเหรียญสหรัฐใน 9 เดือนของปี 63 ในขณะเดียวกันทั้งสองฝ่ายจะเพิ่มความพยายามในการส่งเสริมการค้าทวิภาคีในปี 63 โดยคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นระหว่าง 10-15% สินค้าหลักที่ส่งออกไปยังเวียดนาม ได้แก่ น้ำดื่ม แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากไม้และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่นยางพารา กาแฟ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ข้าวและวัว ด้านการนำเข้า จะเน้นกลุ่มสำคัญ เช่น ปิโตรเลียม ปุ๋ย เหล็ก เครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้างและชิ้นส่วนอะไหล่ เวียดนามยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 3ของสปป.ลาวและนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่อันดับ 3 ในสปป.ลาว รองจากไทยและจีน ธุรกิจของเวียดนามได้ลงทุนในโครงการ 413 โครงการในสปป.ลาวมูลค่ารวม 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เหมืองแร่ การขนส่ง สวนป่าอุตสาหกรรม และบริการซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาของทั้งสองประเทศ รัฐบาลสปป.ลาวหวังว่าการนำเข้าและการส่งออกรวมกันของประเทศจะบรรลุเป้าหมายในแผน โดยรัฐบาลสปป.ลาวได้ตั้งเป้าหมายการค้ารวมไว้ที่ 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 63 และเนื่องจากวิกฤต Covid-19 มีการแก้ไขเป็น 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2020/11/07/laos-and-vietnam-strengthen-ties-more-than-us12bil-in-trade-agreements-despite-pandemi