เมียนมาส่งออกอ้อยกว่า 50,000 ตัน ไปจีนผ่านชายแดนรุ่ยลี่

รถบรรทุกอ้อยทั้งหมด 7 คัน บรรทุกอ้อยกว่า 50,000 ตัน ไปจีนผ่านเขตการค้ามูเซ 105 ไมล์ เข้าสู่ชายแดนรุ่ยลี่ ทั้งนี้จีนได้สร้างถนนเส้นใหม่สำหรับรถบรรทุกอ้อย ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าในการขนส่ง  โดยการส่งออกอ้อยภายในหนึ่งเดือนผ่านชายแดนรุ่ยลี่หลังจากกลับมาเปิดชายแดนอีกครั้ง มีปริมาณอ้อยทั้งหมด 5,440 ตัน (2.448502 ล้านหยวน)

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/over-50000-tonnes-of-sugarcane-exported-to-china-via-ruili/#article-title

เมียนมา เร่งส่งออกมะม่วง Sein ta lone จากเมืองกั่นบะลู ไปยังจีน

มะม่วงสายพันธุ์ Sein Ta Lone หรือหรือมะม่วงเพชรน้ำหนึ่งของเมียนมา ที่ปลูกในเขตเกษตรกรรมพิเศษ ในจังหวัดกั่นบะลู เขตซะไกง์ ได้ส่งออกไปยังจีนผ่านด่านชายแดนมูเซ สำหรับราคาในตลาดจีน อยู่ที่ประมาณ 90-100 หยวนต่อตะกร้า (ขนาด 16 กก). ราคาอาจพุ่งสูงถึง 120 หยวน ปัจจุบันราคาอาจปรับตัวลงเล็กน้อยเนื่องจากผลผลิตล้นตลาด กรมวิชาการเกษตรเขตซะไกง์กำหนดให้พื้นที่ 2,500 เอเคอร์ในจังหวัดกั่นบะลู เป็นเขตเกษตรกรรมพิเศษสำหรับการปลูกมะม่วง Seintalone ซึ่งอุปสรรคทางการค้าคือค่าขนส่งที่สูงจากการขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น มาตรการป้องกัน COVID-19 มีส่วนให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย โดยมะม่วง Seintalone อายุ 5 ปี ออกผลผลิตได้ 20-30 ลูกต่อต้น ถ้าอายุมากกว่า 10 ปี จะออกผลผลิตได้ประมาณ 70-80 ลูกต่อต้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/seintalone-mango-from-kanbalu-district-to-be-shipped-to-china/#article-title

เดือนเม.ย. ของปีงบประมาณ 65-66 ค้าชายแดนเมียนมา-ไทยลดลง 12.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ ระบุเดือนเม.ย.2565 ของปีงบประมาณปัจจุบัน 2564-2565 มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างของเมียนกับไทยลดลง 12.798 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าการส่งออกมีมูลค่ากว่า 240.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้ากว่า 92 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่ารวม 332.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ผ่านมา มีมูลค่าสูงถึง 345.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยผ่านด่านชายแดน 7 แห่ง ได้แก่ ชายแดนท่าขี้เหล็ก เขตการค้าเมียวดี ชายแดนเมียวดี ชายแดนคอทุ่ง ชายแดนตีกี และชายแดนมะริด โดยเมียนมาส่งออกข้าวโพดไปไทยผ่านชายแดนเมียวดีและท่าขี้เหล็ก นอกจากนี้ การส่งออกก๊าซธรรมชาติจากเขตตะนาวศรีมีส่วนทำให้การค้าชายแดนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้เมียนนมาส่งออกก๊าซธรรมชาติ สินค้าประมง ถ่านหิน ดีบุกเข้มข้น (SN ร้อยละ 71.58) มะพร้าว (สด/แห้ง) ถั่ว ข้าวโพด หน่อไม้ งา เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า ไม้อัดและวีเนียร์ ข้าวหัก และสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน อาทิ เครื่องจักร สินค้าวัตถุดิบอุตสาหกรรม อาทิซีเมนต์และปุ๋ย และสินค้าอุปโภคบริโภค อาทิเครื่องสำอาง น้ำมันพืช และผลิตภัณฑ์อาหารจากไทย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-thailand-border-trade-down-by-12-79-mln-in-april/

เดือนเม.ย. 4 บริษัททุ่มเม็ดเงิน FDI ในภาคการผลิตของเมียนมา พุ่งแตะ 5.99 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

คณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) เผย การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเดือนเม.ย. 2565 ของปีงบประมาณ 2565-2566 มี 4 บริษัทจีนและเขตบริหารพิเศษฮ่องกงเข้ามาลงทุนในภาคการผลิตประมาณ 5.99 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สามารถสร้างโอกาสในการทำงานให้กับชุมชนท้องถิ่นเป็นอย่างมาก แม้สถานประกอบการที่ใช้แรงงานจำนวนมากต้องได้รับผลกระทบของโควิด-19 และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่ขณะนี้อุตสาหกรรมกำลังกลับสู่สภาวะปกติหลังจากการเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับผู้ใช้แรงงานในประเทศ  ที่ผ่านมาในช่วงงบประมาณย่อย (เดือนต.ค.2564-มี.ค.2565) เมียนมาสามารถดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 647.127 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 49 บริษัทต่างชาติ ในจำนวนนี้ มี 40 บริษัท ที่ลงทุนในภาคการผลิต โดยมีเงินลงทุนโดยประมาณ 202.667 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/4-enterprises-pump-5-99-mln-of-fdi-into-manufacturing-sector-in-april/

การท่องเที่ยวเมียนมาคึกคัก เริ่มฟื้นตัวเป็นปกติ

หลังจาการคลี่คลายของการแพร่ระบาดโควิด-19  ภาคการท่องเที่ยวของเมียนมาเริ่มกลับมาคึกคักเป็นปกติอีกครั้ง โดยเฉพาะในช่วงวันหยุด เทศกาลติงยาน (Thingyan) หรือสงกรานต์ของชาวเมียนมาในเดือนเมษายน ที่ผ่านมา พบว่ามีนักท่องเที่ยวเดินทางกันอย่างล้นหลาม ซึ่งก่อนช่วงเทศกาล และนักท่องเที่ยวและผู้แสวงบุญมักจะนิยมเหมารถเพื่อการเดินทางมากกว่าใช้บริการโดยสารประจำทาง ส่งผลให้รถโดยสารต้องหันไปใช้สำหรับบรรทุกสินค้าในทุกๆ วัน แทน จากข้อมูลของผู้ขายสินค้าออนไลน์รายหนึ่ง พบว่า ค่าใช้จ่ายในการขนสินค้าใช้บริการขนส่งโดยรถโดยสารค่อนข้างมีราคาสูง โดยต้องชำระค่าธรรมเนียมขั้นต่ำในการจัดส่งสูงถึง 3,000 จัต ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของสินค้า จากข้อมูลของกระทรวงโรงแรมและการท่องเที่ยว ในช่วงก่อนเทศกาลติงยาน ค่าตั๋วโดยสารรถประจำทางอยู่ที่ประมาณ 35,000 จัต จากนั้นลดลงเหลือ 25,000 จัตในช่วงเทศกาล ซึ่ง รัฐยะไข่ หาดซวงทา หาดงาปาลี เมืองพุกาม เมืองตองยี และทะเลสาบอินเลย์ เป็นพื้นที่ที่มีนักท่องเที่ยวหนาแน่นที่สุด

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/domestic-tourism-back-in-operation-almost-as-usual/

เดือนเม.ย.65 เมียนมา ส่งออกสินค้าเกษตรลดลงเล็กน้อย

เดือนเม.ย. ของปีงบประมาณ 2565-2566 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร อยู่ที่ 325.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงเล็กน้อย 11.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อยู่ที่ 337.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สาเหตุจากการปิดชายแดนและการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบศุลกากรของจีน ซึ่งทำการปิดชายแดนทั้งหมดที่เชื่อมโยงกับชายแดนมูเซในช่วงที่ COVID-19 ระบาดหนัก แต่เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลงจีนได้ทดลองเปิดด่านจินซันเฉาะ (Kyinsankyawt) เพื่อทำการซื้อขายอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย. 64 เป็นต้นมา ทั้งนี้สินค้าเกษตรส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกาเป็นหลัก โดยในช่วงงบประมาณย่อย (เดือนต.ค.64 ถึง เดือนมี.ค.65) การส่งออกสินค้าเกษตรมีมูลค่า 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/agricultural-export-value-sees-slight-decline-in-april/#article-title

MIC เชิญชวนลงทุน 8 ภาคธุรกิจในเมียนมา

Interest: EoI) สำหรับ 8 ภาคส่วนเพื่อพัฒนาประเทศ ได้แก่ 1.การผลิตปุ๋ย 2.การผลิตปูนซีเมนต์ 3.การผลิตเหล็ก 4.การเกษตรและการเลี้ยงปศุสัตว์ 5.การผลิตหรือการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของอาหารอาหาร 6.การผลิตยานยนต์อิเล็กทรอนิกส์ 7.ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพและวัสดุที่เกี่ยวข้อง และ 8.การขนส่งสาธารณะ ซึ่งหากนักลงทุนชาวเมียนมาและนักลงทุนต่างชาติที่สนใจลงทุนให้ติดต่อ MIC กระทรวงหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดเตรียมเอกสารหรือหลักฐานที่จำเป็นในการยื่นข้อเสนอในการขอลงทุน ตั้งแต่เดือนต.ค. 2564 ถึงมี.ค. 2565 ได้มีการอนุมัติการลงทุน 48 รายการ เป็นเงิน 684.686 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาการลงทุนจากต่างประเทศ และการลงทุนของชาวเมียนมาเองอีก 38 รายการ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 468,393.528 ล้านจัต สร้างตำแหน่งงานได้ถึง 42,880 ตำแหน่ง ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564-2565 MIC ได้อนุมัติการทั้งลงทุนในประเทศและต่างประเทศไปแล้วกว่า  684 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 468 พันล้านจัต ตามลำดับ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/mic-invites-eoi-for-eight-investment-sectors/

เขตพะโค ดูดเม็ดเงิน FDI -สะพัดกว่า 117.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ บวกการลงทุนในประเทศอีก 9.5 พันล้านจัตภายใน 1 ปี

คณะกรรมการการลงทุนเขตพะโค (BRIC) เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. 2564 ถึงเม.ย. 2565 เขตพะโคดึงเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) มูลค่า 117.612 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการลงทุนภายในประเทศ มูลค่า 9.529 พันล้านจัต ซึ่งสร้างตำแหน่งงานให้กับประชากรในพื้นที่กว่า 6,000 ตำแหน่ง ซึ่งเศรษฐกิจของเขตพะโคขึ้นอยู่กับการเกษตรและปศุสัตว์เป็นหลัก เนื่องจากมีวัตถุดิบมากมายสำหรับการผลิตปุ๋ยธรรมชาติ โดยหัวหน้าคณะรัฐมนตรีของเขตพะโคได้เรียกร้องให้ BRIC เชิญชวนให้นักลงทุนที่สนใจมาลงทุนในโรงงานปุ๋ยและโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานมีความสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตและการพัฒนาเมือง โดยเฉพาะโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ เนื่องจากเขตพะโคต้องอาศัยแหล่งน้ำ เขื่อน และแม่น้ำสำหรับภาคการเกษตร และได้อำนวยความสะดวกในการให้เช่าพื้นที่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมที่เริ่มมีการขยายตัว

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/bago-region-attracts-over-117-6-mln-fdi-k9-5-bln-domestic-investment-over-one-year/

ธุรกิจประมงปลาหมึกบูมสุดๆ ในปีนี้

ผู้ประกอบการเรือประมง เผย ธุรกิจประมงปลาหมึกในฤดูกาลนี้เฟื่องฟูสุดๆ เนื่องจากได้ราคาดี โดยราคาในช่วงการจับปลาหมึกระหว่างเดือนต.ค.64 ถึงเม.ย. 65 ราคาพุ่งไปถึง 160,000 จัตต่อ 10 viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ในเมืองทวาย ส่วนเมืองมะริดจะอยู่ที่ 140,000 ต่อ viss ซึ่งการปรับขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงทำให้เรือประมงมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ทว่าธุรกิจเประมงยังไปได้ดีเพราะราคายังสูงอยู่ และคาดว่าราคาน้ำมันจะลดลงในปีหน้า ดังนั้นผู้ประกอบการเรือประมงต้องเสี่ยงราคาที่ผันผวนของตลาด ปัจจุบันมีเรือขนาดใหญ่ที่ได้รับการจดทะเบียนจำนวน 300 ลำ และเรือขนาดเล็กจำนวน 500 ลำ ในเมืองมะริด เขตตะนาวศรี โดยส่วนใหญ่แล้วปลาหมึกของเมียนมาถูกส่งออกไปยังจีนและไทยเป็นหลัก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/e-paper/

เมียนมาผ่อนผันคำสั่งแปลงสกุลเงินให้ผู้ค้าที่ชายแดนจีน-ไทย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ธนาคารกลางเมียนมา (CBM) ได้ขยายระยะเวลาบังคับแปลงสกุลเงินต่างประเทศเป็นเงินจัตสำหรับผู้ส่งออกที่ทำการค้าที่ชายแดนกับจีนและไทย โดยผู้ส่งออกที่ซื้อขายภายใต้โครงการการค้าชายแดนจีน-เมียนมา และไทย-เมียนมา ไม่จำเป็นต้องแปลงรายได้จากการส่งออกเป็นสกุลเงินจัตภายในหนึ่งวันทำการอีกต่อไป และอนุญาตแปลงรายได้ของตนเองที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศมาเป็นเงินจัตได้ภายในระยะเวลา 1 เดือน ทั้งนี้ ธนาคารกลางยังมีคำสั่งให้ธนาคารตัวแทนที่ได้รับอนุญาตดำเนินการตรวจสอบการบังคับนำรายได้ของผู้ส่งออกเข้าบัญชีธนาคารของรัฐสำหรับรายได้จากการส่งออก นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้ผู้นำเข้าสามารถชำระเงินเป็นสกุลเงินต่างประเทศกับธนาคารที่กำหนด โดยไม่ต้องผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการกำกับดูแลการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ.

ที่มา: https://english.news.cn/20220428/c939e28c2cdf49dab0f244300c49df72/c.html