การส่งออกกลองพื้นบ้านเมียนมา ราคาจะแตกต่างตามการออกแบบ

นาย Ko Hein Htet ผู้ผลิตกลองพื้นบ้านในเมืองมัณฑะเลย์ เปิดเผยว่า ราคาของเครื่องดนตรีพื้นบ้านของเมียนมาแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการออกแบบและความมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างของเครื่องดนตรีแต่ละประเภท โดยราคากลองอยู่ในช่วง 600,000 ถึง 1,000,000 จัต ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังญี่ปุ่น มาเลเซีย ไทย และบรูไน เนื่องจากนักดนตรีเมียนมาที่ทำงานในต่างประเทศได้สั่งซื้อเข้ามา ส่วนใหญ่ผู้ผลิตมักจะใช้ไม้ยางพาราเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบ ซึ่งราคาไม้ยางพาราจะอยู่ที่ 3,000,000 ถึง 4,500,000 ต่อตัน กลองที่ทำจากไม้ยางพารามีคุณภาพสูงมากกว่ากลองที่ทำจากไม้พฤกษ์ (Albizia lebbek) นอกจากนี้ราคาของหนังสัตว์ที่ใช้ทำกลองยังขึ้นอยู่กับตลาดจีนอีกด้วย เพราะหนังกลองส่วนใหญ่รับซื้อมาจากโรงฆ่าสัตว์ในตลาดจีน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/e-paper/

ส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมาลดฮวบ 20% !

กรมศุลกากรเมียนมา เผย จากการปิดชายแดนของจีนซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ ส่งผลให้กลุ่มส่งออกสินค้าเกษตรลดลงเกือบ 20% ในช่วง 5 เดือนครึ่งที่ผ่านมา โดย ณ วันที่ 18 มีนาคม 2565 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรอยู่ที่ 2.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ 541.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปัจจุบัน ด่านชายแดนบางแห่งเริ่มเปิดทำการค้าเป็นบางส่วน โดยสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกาเป็นหลัก ทั้งนี้การส่งออกสินค้าเกษตรพุ่งเป็น 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 แม้ว่าการส่งออกอื่นๆ จะมีแนวโน้มลดลงก็ตาม

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/agricultural-export-value-down-by-nearly-20-per-cent-as-of-18-march/#article-title

ส่งออกสินค้าปศุสัตว์เมียนมา ดิ่งลง 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การส่งออกสินค้าปศุสัตว์รวมถึงวัวและควายของเมียนมา ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 11 มี.ค. 2565 ของปีงบประมาณย่อย (2564-2565) อยู่ที่ 4.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจาก 11.33 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2563-2564 ที่มีการส่งออก 15.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากการปิดชายแดนเมียนมา-จีน โดยเมียนมาอนุญาติให้ส่งออกวัวที่มีอายุมากกว่า 5 ปี พร้อมใบรับรองการฉีดวัคซีน ใบรับรองสุขภาพ และใบรับรองการจดทะเบียนเกษตรกรรม ทั้งนี้วัวถือเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศ ซึ่งจากการสำรวจจำนวนวัวและควายในปี 2561 พบว่ามีจำนวนประมาณ 11.5 ล้านตัว แบ่งเป็นควาย 1.8 ล้านตัว และวัวอีก 9.7 ล้านตัว กระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และชลประทานของเมียนมา ระบุว่า วัวที่มีอยู่ในตลาดในประเทศมีประมาณ 1.1 ล้านตัว แบ่งเป็นการส่งออกจำนวน 600,000 ตัวต่อปี ที่เหลือเป็นการบริโภคในประเทศจำนวน 400,000 ตัว

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/e-paper/

ราคาน้ำมันปาล์มเมียนมาลดฮวบ 7,000 จัตต่อ viss ผลจากราคานำเข้าดิ่งลง

สมาคมผู้ค้าน้ำมันพืชเมียนมา เผย ราคาน้ำมันปาล์มนำเข้าที่ลดลงทำให้ราคาในตลาดภายในประเทศปรับตัวลดลง ปัจจุบันราคานำเข้าอยู่ที่ 1,792 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ส่วนราคาขายในประเทศจะอยู่ที่ 7,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ซึ่งในช่วงต้นเดือนมี.ค. 2565 ราคานำเข้ายังอยู่ที่ 1,881 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน หนุนให้ราคาขายดีดตัวขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 8,000 จัตต่อ viss ซึ่งการบริโภคน้ำมันพืชในประเทศของเมียนมาอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี ส่วนการผลิตน้ำมันประกอบอาหารในท้องถิ่นมีประมาณ 400,000 ตัน และเพื่อความพอเพียงในประเทศ เมียนมาจึงต้องนำเข้าน้ำมันปรุงอาหารอีกประมาณ 700,000 ตันต่อปี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/e-paper/

ไตรมาสแรกของปีงบฯ 64-65 เมียนมาส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป พุ่งขึ้น 18.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน

สำนักงานสถิติ กระทรวงการวางแผนและการเงินของเมียนมา เผย การส่งออกเสื้อผ้าในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2564-2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีงบประมาณก่อน โดยมีมูลค่าการส่งออกมากกว่า 1,055 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ขณะที่การส่งออกของไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2563-2564 มีมูลค่าอยู่ที่ 889.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นสามเท่าจาก 337 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2553 เป็นเกือบ 1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2557

โดยสินค้าส่งออกหลักของเมียนมา ได้แก่ ข้าว, ถั่ว, ข้าวโพด และสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในกลุ่ม CMP (Cut–Make-Pack) ในบรรดาสินค้าส่งออกจะพบว่า เครื่องนุ่งห่ม (เสื้อผ้าสำเร็จรูป) เพิ่มขึ้นมากกว่า 4 เท่าใน 5 ปี ถือเป็นสินค้าที่มีอนาคตมากที่สุดในภาคการส่งออกของประเทศ ซึ่งเมียนมาจะใช้กระบวนการแบบรับจ้างผลิต ในการตัดเย็บและบรรจุภัณฑ์ (CMP) โดยนำเข้าสินค้าสิ่งทอจากต่างประเทศและนำมาตัดเย็บภายในประเทศ

ด้านสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเมียนมา เผยสหภาพยุโรป เป็นหนึ่งประเทศชั้นนำที่นำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป ตามมาด้วย ญี่ปุ่น, เกาหลี, สหรัฐอเมริกา ฯลฯ ทั้งนี้ในปี 2558 การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีมูลค่าสูงถึง 1.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 10% ของการส่งออกสินค้าทั้งหมด

ที่มา : https://news-eleven.com/article/227890

ธุรกิจท่องเที่ยวเมืองมะริด ส่อเจ๊งระนาว! จากราคาน้ำมันปรับพุ่งขึ้น

ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวรายหนึ่งของเมืองมะริด เขตตะนาวศรี ได้ให้ข้อมูลว่า ธุรกิจการท่องเที่ยวของหมู่เกาะมะริด แทบจะหยุดชะงักลง เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น ความกังวลจากสถานการณ์โควิด-19 สายพันธ์ Omicron และความไม่แน่นอนทางการเมืองในเมียนมา โดยค่าเรือยนต์นำเที่ยวรอบเกาะเพิ่มขึ้นจาก 100,000 จัตเป็น 150,000 จัตต่อคน โดยในหมู่เกาะมะริดมีจุดท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ได้แก่ เกาะสมาร์ท เกาะไบเลย์ เกาะคยาลลิก เกาะปาดัน เกาะเลย์ เกาะโดเนนยองมีน และน้ำตกดอน ซึ่งนักท่องเที่ยวไม่ค่อยใช้เดินทางทางถนนเนื่องจากความกังวลด้านความปลอดภัยและการระบาดของโควิด-19 ในตอนนี้แทบไม่มีนักท่องเที่ยวบนเกาะเลย ทั้งนี้มีบริษัททัวร์ประมาณ 40 แห่งที่เปิดให้บริการในหมู่เกาะมะริด แต่ตอนนี้เหลือเพียง 10 บริษัทเท่านั้นที่ยังเปิดให้บริการอยู่

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/e-paper/

ค้าชายแดนเมซู ดิ่งฮวบ !

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา ณ วันที่ 4 มี.ค.2565 มูลค่าการค้าชายแดนมูเซในปีงบประมาณย่อย มีมูลค่า 579.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงเมื่อเทียบกับปีงบประมาณก่อน ที่มีมูลค่า 3.09 พันล้านดอลลาร์ ลดลงกว่า 1.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 4 มี.ค.2565 การส่งออกของเมียนมาไปยังจีนผ่านชายแดนมูเซ มีมูลค่า 555.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 23.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากจีนปิดจุดตรวจทั้งหมดที่เชื่อมโยงกับชายแดนมูเซจากการะบาดของ COVID-19 แต่เมื่อวันที่ 26 พ.ย.2564 ที่ผ่านมา จุดตรวจผ่านแดน Kyinsankyawt ได้เริ่มเปิดให้ซื้อขายกันผ่านแดนในระยะทางไม่ไกลมากนัก โดยเมียนมาได้ส่งออก ถั่วและพัลส์, ลูกพลัมแห้ง แตงโม,  แตงไทย และสินค้าโภคภัณฑ์อาหารอื่นๆ ไปยังจีนทุกวัน ในขณะที่เมียนมาจะนำเข้าสินค้าอย่าง ยา อิเล็กทรอนิกส์ และวัสดุก่อสร้าง

ที่มา:  https://www.gnlm.com.mm/value-of-trade-via-muse-border-trade-zone-on-the-decline/#article-title

จีนระงับการนําเข้าสินค้า 7 รายการจากเมียนมาผ่านทางชายแดน

หอการค้าชายแดนมูเซ-น้ำคำ รายงานว่า หน่วยเฉพาะกิจป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 ในเมืองรุ่ยลี่ ประเทศจีน แจ้งคณะทำงานของเชายแดนมูเซว่าจะมีการระงับการนำเข้าสินค้า 7 รายการ หนึ่งในนั้นรวมไปถึงข้าวจากเมียนมา เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ COVID-19 โดยสินค้าที่ถูกระงับการนำเข้าทั้ง 7 รายการ ได้แก่ ข้าว, ข้าวหัก, พริกสด, สินค้าที่ขนส่งในระบบห่วงโซ่ความเย็น, สินค้าแช่แข็ง, สินค้าประมง และ สินค้าประเภทของใช้ประจำวัน รวมถึงสินค้าอาหารบรรจุหีบห่อ ณ ด่านตรวจว่านติง-มังมาน ณ วันที่ 4 มี.ค. 2565 ของงบประมาณย่อย (ต.ค. 2564- มี.ค. 2565) การปิดชายแดนมูเซทำให้มูลค่าการค้า  ลดลงเหลือ 579.48 ล้านดอลลารณ์สหรัฐฯ  ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ระบุว่า ตัวเลขดังกล่าวลดลงอย่างมากจาก 2.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อน โดยปกติเมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว ถั่วและข้าวโพด และผลิตภัณฑ์ประมง เช่น ปู กุ้ง เป็นต้น นอกจากนี้ การค้าผ่านชายแดนมูเซ-รุยลี เมียนมาส่งออกก๊าซธรรมชาติไปยังจีน ด้านการนำเข้าจะเป็นวัตถุดิบ CMP ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม, เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2563-2564 การค้าชายแดนมูเซ ระหว่างจีน-เมียนมา มีมูลค่า 4.057 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกมูลค่า 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้ามูลค่า 1.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/china-to-temporarily-halt-imports-of-seven-items-including-rice/#article-title

 

ราคาถั่วชิกพีพุ่งขึ้นเป็นสองเท่าในปีนี้

ผู้ค้าถั่วในมัณฑะเลย์ เผยความต้องการราคาถั่วชิกพีมีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาพุ่งไปอยู่ที่ 132,000 จัตต่อถุง จาก 80,000 จัตต่อถุง ชาวเมียนมาส่วนใหญ่ชื่นชอบการบริโภคถั่วชิกพีเพราะมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์และรสชาติที่เข้มข้น แกงที่ทำจากถั่วชิกพีเป็นหนึ่งในอาหารที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ความต้องการในประเทศที่สูงขึ้นกระตุ้นให้โรงงานในมัณฑะเลย์เร่งเปิดดำเนินการ สามารถสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นได้อีกด้วย ด้านการส่งออกตลาดหลัก คือ อินเดีย ปากีสถาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี เป็นต้น ทั้งนี้พื้นที่การเพาะปลูกถั่วชิกพีทั่วประเทศอยู่ที่ 890,000 เอเคอร์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ พะโค ซะไกง์ อิรวดี และเนปิดอว์ การเพาะปลูกจะอยู่ในช่วงเดือนต.ค.และพ.ย.และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนม.ค.ถึงเม.ย. ของแต่ละปี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/chickpea-prices-rise-to-double-this-year/

ราคางาดำในเมียนมาพุ่งเป็น 235,000 จัตต่อถุง

จากข้อมูลของตลาดบุเรงนอง ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาราคางาดำที่จำหน่ายในประเทศพุ่งขึ้นเป็น 235,000 จัตต่อถุง (1 ถุง = 3 ตะกร้า) ผลมาจากค่าเงินจัตที่อ่อนค่าลงและความต้องการที่มีมาอย่างต่อเนื่อง โดยราคาจะอยู่ในช่วง 155,000 – 235,000 จัตต่อถุง โดยปกติแล้วร้อยละ 80 จะถูกส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหภาพยุโรป และไต้หวัน ซึ่งทั้งเมล็ดงาดิบและงาที่แปรรูปแล้วส่งออกไปยังจีนผ่านชายแดนได้มากขึ้น เมื่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้คลี่คลายลง โดยเขตมะกเวเป็นพื้นที่เพาะปลูกหลักของประเทศและสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี สำหรับพืชน้ำมันที่ใช้อาหารที่ปลูกในเมียนมา พื้นที่เพาะปลูกงามีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 51.3 ของพื้นที่เพาะปลูกพืชน้ำมันทั้งหมด มีผลผลิตเมล็ดงาประมาณ 600,000-800,000 ตันต่อปี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/prices-of-black-sesame-seeds-soar-to-k235000-per-bag/#article-title